หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

ประมวลภาพ ชมรมคนหูหนวกคาทอลิกแห่งประเทศไทยเข้าพบพระคาร์ดินัล

 ต้อนรับพระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญช56 K | dsl

 พระคาร์ดินัลกล่าวปราศรัย   56 K | dsl

 ซิสเตอร์ซาเลเซียน รายงาน   56 K | dsl

 ศ.วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ประธานมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการกล่าว56 K | dsl

 อาจารย์กำพล สุวรรณรัตน์  56 K | dsl

 คุณมนัส วงษ์นิล อาสาสมัครกล่าวรายงาน   56 K | dsl




วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม 2009  เวลา 10.30 น. คุณพ่อวัชศิลป์ กฤษเจริญ จิตตาธิการกลุ่มชมรมคนหูหนวก นำชมรมคนหูหนวกคาทอลิก ( DCAT ) อาสาสมัครเรียนภาษามือ   กลุ่มคนตาบอด นำโดยศ.วิริยะ    นามศิริพงศ์พันธุ์ ประธานมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ  เข้าพบปะ พูดคุย และรายงานผลการดำเนินงานตลอดระยะเวลา 1 ปี  และยังเป็นโอกาส ฉลองครบรอบ 1 ปี ของการก่อตั้งชมรมคนหูหนวกคาทอลิกแห่งประเทศไทยด้วย

หลังจากพระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู เดินทางมาถึง คุณเกยูน ตัวแทน DCAT มอบมาลัยกร แด่พระคุณเจ้า มีตัวแทนคนหูหนวก มอบของที่ระลึกแด่พระคุณเจ้า   จากนั้นพระคุณเจ้ากล่าวทักทาย  และสอบถาม ผู้มาร่วมพบปะด้วยความสนใจเป็นอย่างมาก 

คุณพ่อวัชศิลป์ กฤษเจริญ จิตตาธิการกลุ่มชมรมคนหูหนวก ได้แนะนำ 4 หน่วยงาน ที่ร่วมใจกันมาพบกับพระคุณเจ้าคือ หน่วยงานแรกคือชมรมคนหูหนวกคาทอลิกประเทศไทย ( DCAT ) อาสาสมัครภาษามือ และครูคำสอน มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ ศูนย์อาชีพหญิงตาบอด สามพราน




จากนั้น คุณมนัส วงษ์นิล อาสาสมัครทำงานชมรมคนหูหนวกคาทอลิก กล่าวรายงานผลการดำเนินของชมรมคนหูหนวกคาทอลิกปรเทศไทย ตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมาว่า  “ เมื่อวันที่  28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 พระคุณเจ้าได้โปรดให้ก่อตั้ง และมอบชื่อ ชมรมคนหูหนวกคาทอลิกประเทศไทย ซึ่งกลุ่มได้ดำเนินกิจกรรมมาครบ 1 ปั   ปัจจุบันชมรมมีสมาชิกที่ได้รับศีลล้างบาปแล้ว จำนวน 12   คน ผู้เตรียมรับศีลมหาสนิทครั้งแรก 1 คน ผู้เตรียมรับศีลล้างบาป 1 คน คริสตชนสำรอง 5 ค น  และเตรียมอบรมศีลสมรสจำนวน 1 คู่ มีอาสาสมัครล่ามภาษามือในชมรมจำนวน 2 คน”

ชมรมได้เิริ่มการพัฒนามากขึ้น จากการเอาใจใส่ของคุณพ่อเปโตร วัชศิลป์ กฤษเจริญ พระสงฆ์จิตตาธิการของชมรม มีคุณณรงค์ ถนอมเล็ก และคุณมนัส วงษ์นิล เป็นครูคำสอน และล่ามภาษามือของชมรม

โครงการและกิจกรรมที่ได้ทำในรอบปีที่ผ่านมามีโครงการระยะสั้น และระยะยาว

1. ได้ร่วมกิจกรรมฉลองวัดและแห่ศีลเขต 2 อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ  วัดพระมารดาคลองจั่น ได้ออกร้านจำหน่ายสินค้า เสื้อชมรม หนังสือภาษามือ ของที่ระลึก และขนมปัง

2. ได้ร่วมบวชสังฆานุกร ณ สามเณราลัย แสงธรรม ว

3. ฉลอง 330 ปี วัดคอนเซ็ปชัญ

4. ฉลองครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ที่วัดปัญจทรัพย์

5. ฉลองวัดแม่พระประจักษ์ เมืองลูร์ด หัวตะเข้

ศึกษาดูงาน และการจัดอบรม
1. เข้าร่วมอบรมครูซิลโลห์ จำนวน 5 คน ชาย 3 คน หญิง 2 คน 
2. ร่วมเป็นพี่เลี้ยงอบรมภาษามือขั้นพื้่นฐาน ณ วิทยาลัยแสงธรรม
3. ศึกษาดูงานอภิบาล แพร่ธรรม กับคนหูหนวกที่ สิงค์โปร์
4. ส่งสมาชิกชมรม เข้าร่วมแสดงความยินดีกับชมรมคาทอลิกประเทศสิงค์โปร์ โอกาสครบรอบ 30 ปีแห่งการจัดตั้ง
5. เข้าร่วมสัมมนา แสงธรรม และนักศึกษา คริสเตียน ณ บ้านผู้หว่าน
6. โครงการจิตอาสาสา ณ มหาวิทยาลัยราชสุดา ศาลายา
7. ค่ายภาษามือ กับนักศึกษาภาษามือ จำนวน  22 คน   ณ บ้านเพชรสำราญ จ.ประจวบคีรีขันธ์


งานด้านธรรมทูต
จัดงานคริสตมาส ณ โรงเรียนโสตศึกษา จ.นครปฐม กับนักศึกษาแสงธรรม
แบ่งปันประสบการณ์ แด่ ภคินีแม่พระองค์อุปถัมภ์ ณ บ้านธารพระพร สามพราน
แบ่งปันประสบการณ์ การทำงานธรรมทูต ผู้ประกาศข่าวดี ศูนย์นักบวชหญิง สามพราน
การให้สัมภาษณ์เพื่อลงเว็บไซต์ของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ให้สัมภาษณ์เพื่อลงหนังสือวรสารพระผู้ไถ่ เพื่อหน่วยงานยุติธรรมและสันติ ให้สัมภาษณ์เพื่อลงวรสารแสงธรรม และ ลงหนังสืออุดมสาร

ทางกลุ่มได้ร่วมบูชามิสซาอย่างสม่ำเสมอ ณ วัดแม่พระฟาติมา ดินแดง มีการประชุมชมรม และการเรียนคำสอน แบ่งปันพระวาจา มีการส่งเสริมสนับสนุนล่ามภาษามือ มากขั้น รวมถึง สื่อการสอนต่างๆ  มีบทเรียนคำสอนเป็นภาษามือไทย มีการบันทึกเรื่องราวในพ ระคัมภีร์เป็นภาษามือไทย  จัดแปลเพลงเป็นภาษามือไทย และมีการบัญญัติศัพท์ เป็นภาษามือไทย และพัฒนาเว็บไซต์

ความต้องการ และความจำเป็นเร่งด่วน ต่อการประกาศข่าวดี คือ อยากให้้การอบรมภาษามือเป็นรายวิชาในวิทยาลัยแสงธรรม อยากให้มีล่ามภาษามือ และล่ามภาษามือครูคำสอนมากขึ้น อยากให้มีพระสงฆ์ที่ทำงานด้านอภิบาล ภาษามือของคนหูหนวก อยากให้มีสำนักงานวัดที่มีการรวมกลุ่ม ปัจจุบันห้องคำสอนที่วัดฟาติมา เล็ก และแคบ เกินไป และอยากให้มีโรงเรียนคาทอลิกโสตศึก ษา และให้การอบรมแบบคาทอลิก ทั้งนี้ขอฝากชมรมไว้ในการสนับสนุนของพระคุณเจ้า และ ฝากไว้ในความรักของพระเจ้าเสมอ 

จากนั้นคุณพ่อวัชศิลป์ ได้เชิญให้ อาจารย์ กำพล สุวรรณรัตน์ ผู้บุกเบิกภาษามือ กล่าวแสดงความรู้สึก อาจารย์บอกว่า  “ผมได้มีโอกาสได้พบกับพระคุณเจ้าอีกครั้้งหนึ่ง  ผมได้ทำงานกับคนหูหนวกมานาน ตลอดทั้งชีวิต ปัญหาคือ ความเข้าใจกับ คนพิการ ยังไม่เข้าใจมากนัก ต้องอาศัยความร่วมมือ และการประชาสัมพันธ์ให้เกิดความเข้าใจ ต้องยอมรับว่า วงการคนตาบอดจะนำคนหูหนวกไป เพราะคนตาบอดมีการศึกษาที่ดี การเรียนรู้ที่ดี และวิธีการส่งเสริมคนตาบอด เป็นไปอย่างถูกวิธี ต้องมีการส่งเสริม และ ความแตกต่างกันในด้านความพิการ เราเน้นเสมอว่า “ต้องลงมือทำ”

อยากให้มองเห็นว่าคนพิการไม่เป็นภาระของสังคม แต่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม ในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ คนหูหนวกที่รอคอยข่าวดี ยังมีอีกมาก แต่หลายคนยังไม่ได้รับความช่วยเหลือเท่าที่ควร คนหูหนวกควรได้รับการอบรม เพื่อได้ลดทัศนคติที่ผิด ๆ หรือว่า ความปวดร้าวในหัวใจ ความเงียบที่เป็นความกดดัน หรือ หลายคนที่ถูกล่ามโซ่ เหมือนกับไม่ใช่มนุษย์ การอบรมล่าวมภาษามือที่ได้เริ่มทำ เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ผมคิดว่ามาถูกกลุ่มครับ มีคนที่ต้องการ รอคอยข่าวดีอีกมากในพระศาสนจักร  แต่งานที่ทำต้องทำอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดผลต่อไป


จากนั้น ศ.วิริยะ   นามศิริพงศ์พันธุ์  ประธานมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ ได้เล่าประสบการณ์ที่ร่วมทำงานกับคนพิการทางตา ทั้งภาครัฐ และมูลนิธิ  อาจารย์ได้ทำงานกับเื่พื่อนคนพิการ ทั้งคนตาบอด และ คนหูหนวก แต่ปัญหาที่พบคือ ไม่มีล่ามภาษามือ เมืองไทยเราขาดบุคคลากรด้านี้ แม้ว่จะมีการผลักดันกฎหมาย “คนหูหนวกไม่ว่าจะไปโรงพยาบาล หรือ จะขึ้นศาล ก็ต้องใช้ล่ามภาษามือ “ ถ้าชมรมคนหูหนวกคาทอลิก ไปร่วมกับกลุ่มอื่น ๆ กำหนดหลักสูตร ก็จะมีคนช่วยคนหูหนวกได้อย่างมาก พร้อมนำเสนอผลงาน “ยิ้มสู้ชีวิต” และ การผลิดสื่อให้กับคนพิการ เป็นต้นคนตาบอด เพื่อส่งเสริม และสนับสนุน ให้อยู่ในสังคม และทำประโยชน์กับสังคมส่วนรวม อีกทั้งร่วมเสนอความคิด เกี่ยวกับบทบาทของคนพิการกับพระศาสนจักรคาทอลิกด้วย



โอกาสนี้พระคุณเจ้าได้ให้โอวาทในโอกาสเข้าพบในครั้งนี้ว่า “ วันนี้รู้สึกดีใจมาก ๆ ที่ได้มีโอกาสมาพบปะกับพวกเรา แม้่ว่ าพวกเราจะมีส่วนบกพร่องในร่างกายของเราก็ตาม เมื่อได้เห็นทุกคนที่อยู่ ณ ที่นี้ ต่างก็มีความสำนึกถึงคุณค่าของความเป็นคน และพยายามที่จะให้ทุกคนได้รับรู้ด้วยว่า ฉันก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งที่มีคุณค่า และมีความสามารถ จึงใช้ความพยายามตามศักยภาพเท่าที่ โอกาส อำนวย เพื่อให้คนรับรู้มากขึ้น ขอเป็นกำลังใจมาก ๆ สำหรับท่านอาจารย์ที่ได้ใช้ความสามารถ ให้สามารถสื่อความรู้สึก และขอขอบคุณแทนทุก ๆ คนที่ได้รับส่วนแห่งคุณค่านั้น

และแม้คนที่ไม่สามารถมองเห็น นี่ก็เช่นเดียวกัน ทางอาจารย์ และหลาย ๆคน ต่างก็มีีความรู้สึกร่วมกัน ที่จะช่วยให้สังคมได้รับรู้ถึงความเป็นมนุษย์ ที่มีคุณค่าทัดเทียมกัน เป็นโอกาสตามคำสอน ที่พระเยซูเจ้าทรงสอน เป็นโอกาสได้ร่วมมือ เมตตาต่อกัน นี่เป็นโอกาส และ มีโอกาสให้คนอื่นได้มีส่วนในพันธกิจอันนี้ และเราก็ได้แสดงความตั้งใจที่จะเดินหน้าต่อไป

อย่างที่อาจารย์ได้กล่าวไว้ว่า ใ้ห้เราร่วมมือกันมาทำให้เป็นรูปร่าง เราจะศึกษา และปรึกษาหารือในสภาพระสังฆราช และสันตะสำนักมี ส่วนหนึ่งที่ทำเรื่องสุขภาพอนามัย และเกี่ยวกับผู้พิการ  และกลุ่มอาสาสมัครกำลังก่อขึ้นมา และสิ่งเหล่านี้จะได้พัฒนา เติบโตขึ้น และจะเป็นขั้น เป็นตอนต่อไป จะได้รวมเป็นพลังสร้างสรรค์ จะอยู่ด้วยกันอย่างเข้าใจกันดี และอยู่กันอย่างมีคุณค่า

จบการพบปะ พูดคุย ด้วยการถ่ายรูป และรับประทานอาหารร่วมกัน ณ สำนักมิสซัง อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯด้วยบรรยากาศของความสุข และความห่วงใยซึ่งกันและกัน จากนั้น คุณ ณรงค์ ถนอมเล็ก และกลุ่มอาสาสมัครคนหูหนวกได้นำสมาชิกชมรมคนหูหนวกเยี่ย มชมบริเวณภายในอาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก

การอบรมฟื้นฟูจิตใจประจำปี2009 ชมรมคนหูหนวกคาทอลิกแห่งประเทศไทยและค่ายภาษามือครั้งที่1เว็บไซต์ชมรมคนหูหนวกคาทอลิกประเทศไทย