30 ม.11 ต.สำเภาล่ม
อ.พระนครศรีอยุธยา
จ.พระนครศรีอยุธยา  13000
------------------------------------------------------------------------

0-3570-1526,0-3532-1447,085-9037289

ตารางมิสซา

 0-3532-1449

แผนที่การเดินทาง

รูปวัด 800x600   1024 x768

บาทหลวงวิชา หิรัญการ



พระสังฆราชลังแบรต์ เดอลาม็อต หนึ่งในเจ็ดประมุขมิสซัง     ที่พระสันตะปาปาทรงแต่งตั้งให้มาเผยแพร่ศาสนาในประเทศต่างๆ ทางตะวันออกไกล     ได้เดินทางมากรุงศรีอยุธยาในปี 1662    โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะไปแพร่ธรรมในประเทศจีน   แต่เนื่องจากเรือถูกพายุ อัปปาง และในเวลานั้นเกิดการเบียดเบียนศาสนาอย่างรุนแรงในประเทศจีน ท่านจึงได้พักอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาในค่ายของชาวญวณก่อน

   ปี 1665 พระสังฆราชลังแบรต์ทูลขอพระบรมราชานุญาตจากพระเจ้าแผ่นดิน สร้างโรงเรียนขึ้นแห่งหนึ่ง สมเด็จพระนารายณ์ทรงพระ ราชทานที่ดินแปลงหนึ่งและวัสดุต่างสำหรับสร้างวัด ท่านลังแบรต์ได้สร้างโรงเรียนและสามเณราลัยเป็นอิฐ สร้างวัดชั่วคราว  และบ้านพักพระสงฆ์เป็นไม้ในปี 1666 สิ่งก่อสร้างทั้งหมดนี้เรียกว่าค่ายนักบุญยอแซฟ  ในปี 1669 ได้สร้างโรงพยาบาลหลังเล็กๆโดยมีคุณพ่อลาโนเป็นแพทย์ ประจำ โรงพยาบาล

วันที่ 4 กรกฎาคม 1669  ทางกรุงโรมได้แต่งตั้งให้เป็นเทียบสังฆมณฑลสยาม   และขอให้ท่านลังแบรต์กับท่านปัลลือแต่งตั้งประมุข มิสซังองค์หนึ่งสำหรับปกครอง ดังนั้นในปี 1673 คุณพ่อลาโนจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระสังฆราชประมุขมิสซังสยาม ตั้งแต่ปี 1679 วัดอยุธยาได้เป็นศูนย์กลางของมิสซังต่างๆ          ทั่วตะวันออกไกล   ต่อมาท่านลาโนได้ก่อสร้างวัดอยุธยาใหม่เป็นอิฐอย่างถาวร ทำการเสกในวันที่ 25 มีนาคม 1685 และให้อยู่ในความอุปถัมภ์ของนักบุญยอแซฟ

  หลังจากสมเด็จพระนารายณ์สวรรคตในปี 1688 ก็เกิดการเบียดเบียนศาสนาขึ้น และนับตั้งแต่นั้นมาพระศาสนจักรในประเทศสยามก็ ต้องพบกับมรสุมมากมายหลายประการ แต่งานเผยแพร่พระวรสารก็ยังคงดำเนินต่อไปถึงแม้จะไม่ค่อยได้ผลดีนัก จนกระทั่งทหารพม่าบุกเข้าทำลายกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองในปี  1767   วัดนักบุญยอแซฟ  บ้านพักพระสงฆ์ สามเณราลัยทั้งเล็กและใหญ่ โรงเรียนครูสอนคำสอนโรงพยาบาล  หมู่บ้านคริสตัง ถูกเผาทำลายจนหมดสิ้น   บรรดาคริสตังที่  มิได้ถูกฆ่าหรือนำไปเป็นเชลยต่างก็พากันหลบหนีกระจัดกระจายไปอาศัยอยู่ตามที่ต่างๆ คุณพ่อกอร์สามารถหนีจากเงื้อมมือของพม่าได้และพาสามเณรจำนวนหนึ่งหนีถึงจันทบุรี โ ดยมีคริสตังจำนวนหนึ่งติดตามไปด้วย พระสังฆราช และมิชชันนารี พร้อมด้วยนักบวชโปรตุเกส กับคริสตังที่อยู่ในความปกครองของท่านถูกจับเป็นเชลย และถูกนำตัวไถึงประเทศพม่า  คริสตังไทยเชื้อสายโปรตุเกสที่หนีรอดจากการถูกจับได้หนีลงมาอยู่ที่บางกอก      คริสตังญวนก็กระจัดกระจายไปตามหมู่บ้านบริเวณ กรุงศรีอยุธยา เพราะหมู่บ้านคริสตังถูกเผาหมด และมีบางคนเข้ายึดเอาที่ดินของพวกคริสตังเหล่านี้มาเป็นกรรมสิทธิ์   

 ปี  1830 คุณพ่อปัลเลอกัวได้ไปดูสถานการณ์ที่อยุธยา ซึ่งไม่มีพระสงฆ์องค์ใดไปอยู่เลยนับตั้งแต่เมืองถูกพม่าเผาทำลาย ท่านได้ซ ื้อที่ดินบริเวณรอบๆวัดเก่า กลับคืนมา และรวบรวมบรรดาคริสตังญวณที่กระจัดกระจายอยู่ให้กลับมาอยู่ที่เดิมเป็นหมู่บ้านคริสตัง ปี 1835คุณพ่อปัลเลอกัวได้มอบหมายให้คุณพ่ออัลแบร์ตสร้างวัดขึ้นใหม่เป็นอิฐ บนส่วนหนึ่งของที่ตั้งวัดนักบุญยอแซฟหลังเดิม และบนอุโมงค์ที่บรรจุศพของประมุขมิสซังสยาม 8 องค์แรก    ในเวลานั้นมีคริสตังประมาณ 200 คน  คุณพ่ออัลแบร์ตปกครอง  คริสตังเ หล่านี้จนถึงปี 1851   คุณพ่อลาร์โนดี เป็นเจ้าอาวาสในปี 1851 ท่านได้สร้างโรงงานทำน้ำตาลขึ้นหลังหนึ่งเพื่อช่วย     ยกระดับการครองชีพให้แก่สัตบุรุษ  บัญชีวัดของวัดอยุธยาได้เริ่มเปิดในปี 1951 ในสมัยของคุณพ่อลาร์โนดีนี้เอง แต่มิใช่ต้นฉบับ เชื่อว่าบัญชีแรกๆของวัดอยุธยาในสมัยของคุณพ่อปัลเลอกัวและคุณพ่ออัลแบร์ต คงอ่านไม่ออก เพราะใช้กระดาษและน้ำหมึกไม่ดี

   ปี 1872 คุณพ่อแปร์โรซ์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส เมื่อท่านไปเห็นซากของวัดเดิมและวัดเล็กๆของคุณพ่อปัลเลอกัวตั้งอย ู่อย่างน่าสมเพช    ท่านรู้สึกสะเทือนใจ จึงตัดสินใจที่จะสร้างวัดใหม่บนซากวัดเก่าซึ่งมิชชันนารีรุ่นแรกๆได้สร้างไว้ และจัดการซื้อที่ดินอีกหลายแปลงซึ่งเคยเป็นของมิสซังกลับคืนมา        คุณพ่อ  ได้เริ่มสร้างวัดชั่วคราวเป็นไม้ขึ้นก่อน เพื่อจะได้รื้อวัดของคุณพ่อัลเลอกัว และสร้างวัดใหม่ตรงฐานเดิมของวัดหลังแรก คุณพ่อแร์โรซ์วาดแผนผังของวัดใหม่           ด้วยตนเอง โดยมีสถาปนิ กผู้หนึ่งตรวจรับรอง และเป็นนายช่างควบคุมการก่อสร้างเองด้วย งานก่อสร้างดำเนินไปอย่างช้า ๆ เพราะขาดเงิน ขณะที่ทำการขุดพื้นที่เพื่อสร้างรากฐานของวัด ได้ขุดพบโครงกระดูกของมิชชันนารี 13 ท่านที่ถูกฝังไว้ที่นี่กว่า 1 ศตวรรษแล้ว โครงกระดูกบางโครงยังอยู่ในสภาพดี   พระสังฆราชหลุยส์    เวย์ ได้เดินทางมาทำพิธีเสกศิลาฤกษ์วัดใหม่พร้อมกับพระสงฆ์มิชชันนารีอีก 16 ท่าน ในวัน ที่ 21 พฤศจิกายน 1883 ในขณะที่วัดหลังใหม่ยังสร้างไม่เสร็จ ในปี 1888 วัดชั่วคราวก็ได้ถูกไฟไหม้ ในวันที่ 19 มีนาคม 1891  ได้มีพิธีเสกวัดนักบุญยอแซฟหลังใหม่  และพระแท่น โดยพระสังฆราชหลุยส์ เวย์   นอกจากนี้ในปี 1884 คุณพ่อแร์โรซ์ยังได้เปิดโรงเรียนของวัดนักบุญยอแซฟขึ้น เพื่อให้การศึกษาแก่บุตรหลานคริสตัง โดยใช้อักษรโรมันมาผสมอ่านเป็นคำไทย หรือที่เรียกว่าภาษา วัด

  • ในสมัยคุณพ่อมาร์แซล (1933-1942) ได้มีการซ่อมแซมตัววัดซึ่งหน้ากลัวว่ากำลังจะพังแบะออกไปให้กลับมั่นคงแข็งแรงขึ้น  ในปี 1934       ได้ขอเปลี่ยนบานะของโรงเรียนเป็นโรงเรียนประถมศึกษา ใช้ชื่อว่า โรงเรียนประชาชน เพราะประชาชนมีส่ วนช่วยในการศึกษา ต่อมาในปี 1941    คุณพ่อได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียน เป็นโรงเรียน"ราษฎร์สงเคราะห์" เนื่องจากเห็นว่าชื่อโรงเรียนประชาชนไม่เหมาะสม
  • คุณพ่อเฮนรี่สุนทร วิเศษรัตน์ (1948)มาเป็นเจ้าอาวาส  ท่านสังเกตเห็นว่ากำแพงวัดด้านยาวทั้งสองด้านกำลังจะพัง จึงรายงานให้พระสังฆราชโชแรง     ทราบพระคุณเจ้าได้ส่งวิศวกรจากกรุงเทพฯมาทำการซ่อมในปี 1966 คุณพ่อได้สร้างอาคารเรียนหล ังใหม่ 2 ชั้น ครึ่งตึกครึ่งไม้ เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้น ป.1-ม.ศ.3 ในปี 1969 พระอัครสังฆราชยวง นิตโย ได้มอบเงินให้คุณพ่อเฮนรี่จัดการเปลี่ยนหลังคาวัดนักบุญยอแซฟจากหลังคาปูนเป็น หลังคากระเบื้อง เพื่อเตรียมฉลอง 300  ปีของการก่อตั้งกลุ่มคริสตชนที่อยุธยา ในเดือนเมษายน 1969
  • คุณพ่อบัญชา ศรีประมงค์ (1972-1977) เป็นเจ้าอาวาส คุณพ่อได้ทำลูกกรงเหล็กป้องกันกระจกไม่ให้เสียหายมากขึ้น และไ ด้สร้างถ้ำแม่พระขนาดใหญ่ขึ้นที่บริเวณด้านหน้าวัดโดยได้รับเงินบริจาคจากร้าน ปืนอำนาจ
  • คุณพ่อวิศิษฏ์ หริพงศ์ (1977-1979) เป็นเจ้าอาวาส ได้ตกแต่งทาสีภายในวัดอย่างสวยงาม และเอารื้อเสาที่ดูเกะกะภายในวัดออกด้วย
  • คุณพ่อประสาร คูรัตนสุวรรณ (1979-1981) เป็นเจ้าอาวาส ได้เทซีเมนต์พื้นวัดที่ทรุด และปูหินอ่อนให้เรียบ พร้อมกับปรั บปรุงบริเวณพระแท่นให้สวยงามมากขึ้น
  • คุณพ่อสุรชัย กิจสวัสดิ์ (1981-1985)ไเป็นเจ้าอาวาส ด้ขัดพื้นหินอ่อนภายในวัดให้เรียบ และทาม้านั่งในวัดด้วยน้ำมัน เพื่อความคงทนและสวยงาม
  • คุณพ่อธีรวัฒน์ เสนางค์นารถ (1985-1989) ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส
  • คุณพ่อไพริน เกิดสมุทร (1989-1994)ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส
  • คุณพ่อธนันชัย กิจสมัคร(1994-1998) เป็นเจ้าอาวาส
  • คุณพ่อสมพร เส็งเจริญ(1999-2004 ) เป็นเจ้าอาวาสคุณพ่ออนุศักดิ์ กิจบำรุง ( 10 พฤษภาคม 2004 - 2005 ) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส
  • คุณพ่อธีระ กิจบำรุง ( 2006 - 29 เมษายน 2011  )ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส และย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดเซนต์จอห์น
  • คุณพ่อวิชา หิรัญญการ ( 30 เมษายน 2011 - 30 เมษายน 2013 ) ย้ายจากวัดพระกุมารเยซู กม.8 มาเป็นเจ้าอาวาส และ วันที่ 1 พฤษภาคม 2013 พักรักษาตัว
  • คุณพ่อยอดชาย เล็กประเสริฐ ( 1 พฤษภาคม 2013 -  ปัจจุบัน ) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส องค์ปัจจุบัน
หน้าหลักอ่านทั้งหมดหน้ารวม