วัดนักบุญอันนา ท่าจีน

79 ม.4 ต.บางหญ้าแพรก
อ. เมือง จ. สมุทรสาคร 74000
----------------------------------------------------------

  0-3481-9216-17

ตารางมิสซา

0-3481-9218

แผนที่การเดินทาง

รูปวัด   800x600 1024 x768

บาทหลวงเปโตร ธีรพล กอบวิทยากุล

  • รายงานพิเศษ ผลผลิตจากความศรัทธา ความเชื่อ และความหวัง  พระรูปนักบุญอันนา สูงที่สุดใสประเทศไทย

  • พระสังฆราชกูร์เวอซีได้ขอให้คุณพ่ออัลบรังด์ แพร่ธรรมในหมู่ชาวจีนตั้งแต่ปี 1835 คุณพ่อได้ประจำที่วัดกาลหว่าร์    ซึ่งมีคนจีนอาศัยอยู่มาก ต่อมาวัดนี้จึงกลายเป็นวัดของคนจีนไป คุณพ่อทำงานแพร่ธรรมทั้งในพระนครและต่างจังหวัด    ในต่างจังหวัดคุณพ่อจะเดินทางไปตามแม่น้ำลำคลองซึ่งมีพวกคนจีนอาศัยอยู่และชักชวนให้พวกเขาเข้าถือศาสนาคริสตัง        สอนคำสอนให้และไปเยี่ยมเยือ นเขาอย่างสม่ำเสมอ คริสตังหมู่แรกที่บางช้างและบริเวณดอนกระเบื้องแม่กลองนครชัยศรี  ท่าจีน ปากน้ำ ปากลัด ฯลฯ ก็เกิดขึ้นเพราะคุณพ่ออัลบรังด์ และมิชชันนารีเคลื่อนที่

     ที่ท่าจีนจะมีคุณพ่อจากวัดกาลหว่าร์บ้าง จากวัดนครชัยศรีบ้าง มาเยี่ยมเยือนและแปลคำสอนให้อยู่เสมอๆ   ต่อมาในปี 1949  มีสาเหต ุหนึ่งที่ทำให้บรรดา  มิชชันนารีต้องถูกเนรเทศออกจากประเทศสยาม พระสังฆราชปัลเลอกัวเกรงว่าคนที่กำลังเรียนคำสอน   หรือเป็นคริสตังใหม่จะหมดกำลังใจ

     เนื่องจากขาดมิชชันนารี    จึงให้พวกเขาย้ายไปอยู่นครชัยศรีซึ่งมีคริสตังมากกว่า  ปี  1951   เมื่อคุณพ่อดือปองด์และเพื่อนมิช ชันนารีกลับมาแล้ว  บรรดามิชชันนารีเคลื่อนที่ก็เริ่มทำงานเผยแพร่พระวรสารอีกครั้งหนึ่ง ในเวลานั้นจำนวนคริสตังที่ท่าจีนได้เพิ่มขึ้นมากพอสมควร

      ปี 1822 คุณพ่อปิโอ ปลัดที่บางช้าง รับเป็นผู้ดูแลคริสตังที่ท่าจีน คุณพ่อเห็นว่าคริสตังที่นี่มีความศรัทธาและมีจำนวนมากพอสมควร จึงคิดจะสร้างวัดขึ้น ปี 1886 คุณพ่อได้ซื้อที่ดินแปลงหนึ่งและเริ่มลงมือก่อสร้างวัดหลังแรก สร้างเสร็จในปี 1888 ถวายเป็นเกียรติแ ด่ท่านนักบุญอันนา ปี 1889        พระสังฆราชเวย์ ได้ย้ายคุณพ่อปิโอไปเป็นเจ้าอาวาสวัดซางตาครู้ส และให้วัดท่าจีนขึ้นกับวัดซางตาครู้ส ให้พระสงฆ์เจ้าอาวาสวัดซางตาครู้สเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบวัดท่าจีนด้วย คุณพ่อปิโอ และคุณพ่ออัมบรอซิโอ (แก้ว) ซึ่งเป็นปลัดได้ผลัดเปลี่ยนกันมาดูแลคริสตังที่วัดท่าจีน

    จนถึงปี 1890   คุณพ่อปิโอได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดนครชัยศรี  วัดท่าจีนจึงย้ายไปขึ้นกับวัดนครชัยศรี          ในเวลาเดียวกัน คุณพ่อปิโอก็ยังคงเป็น เจ้าอาวาสวัดซางตาครู้สอยู่ การที่คุณพ่อต้องดูแลถึง 3 วัด รวมทั้งการเดินทางที่ยากลำบาก ทำให้สุขภาพของท่านทรุดโทรม คุณพ่อจึงเดินทางกลับไปรักษาตัวที่    ประเทศฝรั่งเศสในปี 1893

      เนื่องจากยังไม่สามารถจัดหาพระสงฆ์มาประจำที่วัดท่าจีนได้  พระสังฆราชเวย์จึงมอบหมายให้คุณพ่อจากวัดนครชัยศรี             และจ ากวัดในกรุงเทพฯ มาเยี่ยมเยือนคริสตังที่ท่าจีนเป็นครั้งคราว ในปี 1895 คุณพ่อกิยู เจ้าอาวาสวัดนครชัยศรีได้ส่งปลัดของท่านคือ คุณพ่อแปร์รอส มาดูแลวัดท่าจีน ในปีนี้เองคุณพ่อ     แปร์รอสได้เป็นผู้เปิดบัญชีศีลล้างบาปของวัดท่าจีนขึ้นเป็นครั้งแรก

    ปี 1896 คุณพ่อปิโอกลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดนครชัยศรีอีกครั้งหนึ่ง คุณพ่อได้มาดูแลวัดท่าจีนด้วยตัวเองเป็นส่วนมาก และส่งพ่อปล ัดมาแทนในบางครั้ง  จนถึงปี 1899 คุณพ่อเกิดล้มป่วยลงต้องเดินทางกลับประเทศฝรั่งเศสและมรณภาพในปีต่อมา ปี 1900-1904 คุณพ่อเออเย็น เล็ตแชร์, คุณพ่อท็อกแกลร์    และคุณพ่อ  แกรมฟ์ จากวัดนครชัยศรีได้ผลัดกันมาดูแลวัดท่าจีน

    ปี 1904 เมื่อรัฐบาลเปิดรถไฟสายกรุงเทพฯ-มหาชัย  ดังนั้นเพื่อความสำดวกในการเดินทางพระสังฆราชเวย์จึงมอบหมายให้พระสง ฆ์วัดกาลหว่าร์รับหน้าที่มาดูแลวัดท่าจีนจนถึงปี 1910 ตลอดเวลา 6 ปีได้มีคุณพ่อแฟร์เลย์, คุณพ่อแบลามี, คุณพ่อริชารด์, คุณพ่อแอสเตวัง และคุณพ่อแปร์รัว ผลัดเปลี่ยนกันมาอยู่เสมอๆ

    ปี 1910 พระสังฆราชแปร์รอสได้แต่งตั้งคุณพ่อริชารด์เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าจีน  นับเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดท่าจีน ท่านอยู่ได้เ พียง 4 เดือนก็ต้องย้ายไปดูแลวัดดอนกระเบื้อง คุณพ่อชันลิแอร์ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าจีนเป็นองค์ต่อมาในปี 1910 โดยมีคุณพ่อมาร์แซล พระสงฆ์ไทยเพิ่งบวชใหม่เป็นผู้ช่วยจนถึงปี 1911 คุณพ่อชันลิแอร์ต้องย้ายไปดูแลวัดปากน้ำ คุณพ่อมาร์แซล ซึ่งเป็นปลัดจึงรักษาการณ์แทนในตำแหน่งเจ้าอาวาส

       ปี 1913 พระสังฆราชแปร์รอสได้ให้วัดท่าจีนขึ้นกับวัดซางตาครู้สอีกครั้งหนึ่ง โดยมีคุณพ่อกูเลียลโม กิ๊น ดาครู้ส เจ้าอาวาสวัดซาง ตาครู้สเป็นผู้ปกครองดูแล เนื่องจากคุณพ่อไม่มีปลัดจึงต้องมาเยี่ยมเยือนคริสตังที่วัดท่าจีนด้วยตัวเองอย่างสม่ำเสมอ มาถวายมิสซา  สอนคำสอน  นอกจากนี้คุณพ่อยังได้มอบรูป 14 ภาค ของวัดซางตาครู้สให้แก่วัดท่าจีนอีกด้วย คุณพ่อดูแลวัดท่าจีนจนถึงปี 1932

         ปี  1933 วัดท่าจีนกลับไปขึ้นกับวัดกาลหว่าร์อีกครั้งหนึ่ง คุณพ่อเจ้าอาวาสวัดกาลหว่าร์ได้ส่งปลัดของท่านมาดูแลวัดท่าจีนจนถึงปี 1947

         ปี  1947 พระสังฆราชแปร์รอสได้แต่งตั้งคุณพ่อเทโอฟิล เซ่งฮง กิจบุญชู เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าจีนและพักประจำอยู่ที่วัด ตลอดระยะเวลา 60 ปี นับตั้งแต่มีการสร้างวัดมา วัดและอาคารต่างๆของวัดได้ชำรุดทรุดโทรมลงไปมาก คุณพ่อเทโอฟิลต้องซ่อมแซมอาคารต่างๆ เริ่มตั้งแต่ปรับปรุงและขยายต่อเติมอาคารโรงเรียนอันนาลัย  ซึ่งได้ปิดทำการสอนชั่วคราวเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง สำหรับบ้า นพักซิสเตอร์ และบ้านพักพระสงฆ์หลังแรกซึ่งเก่าและถูกคลื่นเซาะ เนื่องจากปลูกอยู่กลางน้ำ ต้องรื้อและสร้างใหม่เป็นอาคารไม้สองชั้น  นอกจากนี้ยังได้ขยายมุขทั้งสองข้างของตัววัดและต่อส่วนพระแท่นให้กว้างออกไป         เพื่อจะได้สามารถจุคน ได้เพิ่มขึ้น  ทุกอย่างสำเร็จลงได้ด้วยดี โดยอาศัยความพร้อมเพรียง และความสามัคคีของสัตบุรุษ เฒ่านั้ง และคณะกรรมการวัด โดยมีคุณพ่อเทโอฟิลเป็นผู้นำ

    ปี 1951 คุณพ่อคุณพ่อได้ติดต่อขอซิสเตอร์คณะพระหฤทัยแห่งกรุงเทพฯ มาช่วยงานของวัดและโรงเรียน คุณพ่อเทโอฟิลปกครองดูแล วัดท่าจีนนานถึง  22  ปี  ตลอดเวลาที่คุณพ่ออยู่ที่นี่ ท่านเข้มงวดกวดขันในเรื่องการเรียนคำสอนอย่างจริงจัง  ดูแลเอาใจใส่สัตบุรุษทั้งทางด้านวัตถุและด้านวิญญาณ ปี 1969        คุณพ่อ ได้ลาพักเกษียณที่บ้านเณรยอแซฟ สามพราน

      ในระหว่างปี 1969-1980 พระอัครสังฆราชยวง นิตโย ได้มอบหมายให้คุณพ่อจากสามเณราลัยนักบุญยอแซฟ มาช่วยดูแลวัดท่าจีนแทนคุณพ่อเทโอฟิลซึ่งชรามากแล้วและได้ขอลาพัก

    วันที่ 3 พฤษภาคม 1982 คุณพ่อวรยุทธ กิจบำรุง (1982-1986)ได้รับแต่งตั้งให้มาเป็นเจ้าอาวาสและประจำอยู่ที่ท่าจีน เพื่อดูแลกิจการงานของวัด    และ โรงเรียน   พระคาร์ดินัลมีชัย กิจบุญชู ได้อนุมัติโครงการก่อสร้างอย่างต่อเนื่องที่ท่าจีน ได้ทำพิธีเสกและเปิดใช้อาคารเรียนสามชั้นที่ก่อสร้างเสร็จใน

    ปี 1982 และใช้อาคารเรียนในส่วนที่ต่อใหม่เป็นวัดชั่วคราว  นอกจากนี้ยังถมที่บริเวณอาคารเรียน ทำเขื่อนกันดินพังแทนเขื่อนเก่ า  ปี 1983     ได้รื้อวัดไม้หลังเก่าซึ่งทรุดโทรมมากแล้วและมีอายุถึง 95 ปี ปรับปรุงพื้นที่บริเวณวัดเก่าเพื่อเตรียมสร้างหอพักสำหรับนักเรียนและบ้านพักคนงาน นอกจากนี้ยังได้สร้างศาลาเอนกประสงค์ และโรงอาหารใหม่ ซึ่งได้ทำการเสกและเปิดใช้ในโอกาสฉลองวัดวันที่ 31 กรกฎาคม 1983 และในวันนี้เองก็ได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์วัดนักบุญอันนาหลังใหม่   โดยพระคาร์ดินัลมีชัย  กิจบุญชู  เป็ นประธานการก่อสร้างต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นบ้านพักซิสเตอร์ บ้านพักพระสงฆ์ วัด  หอระฆัง ฯลฯ เสร็จในราวปี 1984 และในวันที่ 11 พฤศจิกายน 1984 พระคาร์ดินัลได้มาทำพิธีเสกวัดนักบุญอันนา ท่าจีน อย่างสง่า คุณพ่อได้เอาใจใส่งานด้านการอภิบาลเป็นอย่างดี ส่งเสริมกิจกรรมต่างๆของวัด ฟื้นฟูคณะเยาวชนให้เข้ามามีบทบาทในการช่วยเหลือวัดมากขึ้น   ปรับปรุงและเอาใจใส่ทางด้านการบริหา รงานโรงเรียนจนมีประสิทธิภาพมากขึ้น     คุณพ่อวรยุทธปกครองดูแลวัดท่าจีนจนถึงปี 1986 จึงย้ายไปเป็นผู้จัดการโรงพิมพ์อัสสัมชัญ

       ปี  1986  วัดท่าจีนได้ต้อนรับเจ้าอาวาสองค์ใหม่คือ คุณพ่อพจนารถ นิรมลทินวงศ์ (1986-1989)คุณพ่อได้จัดสร้างอนุสาวรีย์นักบุญอันนาไว้บริเวณหน้าวัด   เพื่อให้สัตบุรุษวัดท่าจีนและผู้ที่ศรัทธาได้มาสวดขอพรจากท่านนักบุญอันนา

    • คุณพ่อสมโภชน์ พูลโภคผล (1989-1993)ได้รับแต่งตั้งให้มาเป็นเจ้าอาวาสในปี 1989
    • คุณพ่อประยุทธ ชลหาญ ( พฤษภาคม 1993-1998) ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส แต่เนื่องจากคุณพ่อยังศึกษาอยู่ที่กรุงโรม ทางอัครสังฆมณฑลจึงได้แต่งตั้ง คุณพ่อสุรชัย ชุ่มศรีพันธ์ ให้มาปฏิบัติงานแทนคุณพ่อเจ้าอาวาสไปก่อนจนถึงวันฉลองวัดในปี ค.ศ.1993 คุณพ่อประยุทธจึงได้เข้าประจำหน้าที่
    • กลางปี ค.ศ.1997 ทางอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้อนุมัติให้สร้างอาคารเรียนหลังใหม่อีกหลังหนึ่งเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ โดยลงมือ ตอกเสาเข็มตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ.1997 และเริ่มลงมือก่อนสร้างในวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ.1997 เป็นอาคารคอนกรึตเสริมเหล็ก 4 ชั้น ชั้นบนสุดเป็นดาดฟ้า     มีห้งอเรียนจำนวน 28 ห้องเรียน ชั้นหนึ่งชั้นสองใช้เป็นห้องเรียนอนุบาล ส่วนชั้นสามและสี่ใช้เป็นห้องเรียนระดับประถม การก่อสร้างเสร็จสิ้นและเริ่มใช้ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม 1998 ในระหว่างปิดภาคเรียนปีการศึกษานี้เองก็ได้ทำการปรับปรุงอาคารเรียนหลังเก่าให้เป็นห้องประกอบการเรียนต่างๆ      ในเวลาเดียวกันก็ได้ทำ การรื้ออาคารไม้ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับอาคารเรียนใหม่เพื่อปรับปรุงให้ดูสวยงาม เรียบร้อยมากขึ้น รวมทั้งได้ปรับปรุงโรงอาหารของโรงเรียนในส่วนที่ประกอบอาหารและขายของให้ดูสะอาดเรียบร้อยมากขึ้น และได้ทาสีโครงเหล็กและกระเบื้องหลังคาโรงอาหารด้วย นอกนั้นยังได้ปรับปรุงประตูทางเข้า  และป้ายชื่อวัดและโรงเรียนใหม่เป็นแผ่นหินอ่อนแกะสลักชื่อวัดและโรงเรียนซึ่งเสร็จเรียบร้อยก่อนวันฉลองวัดในปีนี้
    • ในช่วงต้นปี 1998 ทางอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ     ยังได้ให้ทางวัดจัดทำแนวคันหินต่อจากแนวเขื่อนเดิมจากหลังบ้านซิสเตอ ร์ไปสุดที่ดินของวัดทางด้าน ใต้เพื่อป้องกันน้ำเซาะตลิ่งพังไปมากกว่าเดิม ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการ
    • คุณพ่อบุญเสริม เนื่องพลี(1999-2004 ) เป็นเจ้าอาวาส
    • คุณพ่อธีรพล กอบวิทยากุล ( 10 พฤษภาคม 2004 - 30 เมษายน 2013 ) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ปี 2009 นี้ ทางวัดได้จัดสร้างพระรูปนักบุญอันนา สูง 8 เมตร นำประดิษฐานไว้บนศาลานักบุญอันนา ในวันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม 2009 โดยมีคุณพ่อจำเนียร กิจเจริญ อุปสังฆราช เป็นประธานในวจนพิธีกรรมดังกล่าวด้วย วันที่ 1 พฤษภาคม 2013 ย้ายไปเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ สามพราน และ เลาขาธิการคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อมรดกวัฒนธรรมสภาพระสังฆราชฯ
                       คุณพ่อธีรวัฒน์ เสนางค์นารถ ( 30 เมษายน 2011 - 2011 ) พักประจำและช่วยงานอภิบาลวัดนักบุญอันนา ท่าจีน ย้ายไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ และเสียชีวิตแล้วในวันที่ 31 มีนาคม 2012 พิธีปลงศพวันที่ 3 เมษายน 2012
                       คุณพ่อชูศักดิ์ บุญอนันตบุตร ย้ายมาช่วยงานอภิบาล ค.ศ 2011 -  30 เมษายน 2013  ย้ายไปเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอัครเทวดาราฟาแอล ปากน้ำ
    • คุณพ่อวิทยา ลัดลอย ( 1 พฤษภาคม 2013 - ปัจจุบัน ) ย้ายจากเจ้าอาวาสวัดอัครเทวดาราฟาแอล ปากน้ำ มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบักบุญอันนา ท่าจีน องค์ปัจจุบัน
    • คุณพ่อสุรพงศ์ ไม้มงคล ( 1 พฤษภาคม 2013 - ปัจจุบัน ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดนักบุญอันนา ท่าจีน
    หน้าหลักอ่านทั้งหมดหน้ารวม