ในปี 2009 นี้ นับเป็นปีประวัติศาสตร์ที่ต้องจารึกและจดจำของชุมชนท่าจีน สำหรับการนำพระรูป นักบุญอันนา ที่ทำด้วยไฟเบอร์กราส
ความสูง 8 เมตร ขึ้นประดิษฐานบนศาลาอันนาที่สง่างาม จากความสูง 11 เมตร ตั้งโดดเด่น ท่ามกลางความเชื่อของคริสตชนวัดนักบุญอันนาท่าจีน แห่งนี้ และความโดดเด่นนี้ ยังได้รวมถึงการที่พระรูปนักบุญอันนา ที่สูงที่สุดในประเทศไทย หมุนได้ และแม้ใครจะสัญจรมาในเส้นทางไหนก็ตาม จะทางบก ก็ดี ทางน้ำ ก็ดี จะได้เห็นทั้งด้านหน้า และด้านหลัง นับเป็นความภูมิใจของคริสตชน ที่รอคอยการสร้างมาเป็นเวลากว่า 2 ปี
 
 คุณพ่อธีรพล กอบวิทยากุล เจ้าอาวาสวัดนักบุญอันนาท่าจีน ที่ทำงานเคียงบ่า เคียงไหล่ ร่วมกับคริสตชนในชุมชนคริสตชนที่นี่มากว่า 5 ปี เล่าให้ฟ
ังถึงประวัติความเป็นมาของการ สร้างศาลา และพระรูปนักบุญอันนา ว่า จุดเริ่มต้น ของการสร้างศาลาพระรูป นักบุญอันนา ก็เป็นเพราะความเชื่อความศรัทธาของทุก ๆ คน ที่มีต่อนักบุญอันนา ความต้องการที่จะถวายเกียรติแด่ท่าน เนื่องจากสัตบุรุษนักบุญอันนาก่อนจะอออกเรือหาปลาทุก ๆ ครั้ง จะมาหานักบุญยาย มาไหว้ยาย ขอพระก่อนที่จะออกไป ก่อนหน้านี้ เวลาที่ศาลาถูกรื้อทุบไป เพื่อสร้างเขื่อนกั้นน้ำ เราทุกคนคิดว่าจะสร้างศาลาหลังใหม่ถวายท่านนักบุญอันนา แต่คิดว่าจะสร้างอย่างไร จะท
ำพระรูปอย่างไรทดแทนอัีนเก่าที่ถูกรื้อไป นี้จึงเป็นเป็นที่มาของการสร้างศาลา และพระรูปใหม่
และจากการประชาสัมพันธ์ มีเสียงตอบรับจากสัตบุรุษที่ดีมาก ชาวบ้านที่นี่มีความตั้งใจอยากจะสร้างใหม่โดยเร็ว แต่เนื่องจากต้องรอสร้างเขื่อนกั้นน้ำให้เสร็จสิ้นลงก่อน พวกเราคิดว่าจะขยายศาลานักบุญอันนา ให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม และมาดูว่าจะสร้างพระรูปอย่างไหน ให้เหมาะสมกับศาลา เหมาะสมกับสัตบุรุษ เวลามาแสวงบุญในโอกาสต่อไป การวางแผนการก่อสร้างจึงใช้ระยะเวลาพอสมควร แต่ที่สุดแล้ว พระคุณเจ้าพระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ให้คำแนะนำ และการสนับสนุนเป็นอย่างดี มีดำริว่า อยากให้วัดนักบุญอันนา เป็นสถานที่มีคนมาสวดภาวนา แสวงความเชื่อ ความศรัทธาต่อท่านนักบุญอันนา เพราะว่า มีส ัตบุรุษหลายคนอาจไม่มีโอกาสไปในที่ปีนัง มาเลเซีย หรือในต่างประเทศ ก็ให้มาที่วัดนักบุญอันนาแห่งนี้
คุณพ่อเล่าให้ฟังอีกว่า ในตอนแรกที่คิดจะสร้าง ก็ไม่ได้คิดจะสร้างให้สูงใหญ่ขนาดนี้ เพียงแต่ให้เหมาะสมกับศาลา แต่เวลาที่ออกแบบไป พิจารณาดูแล้ว พระรูปก็ควรจะสูงใหญ่พอสมควร ก็ไม่คิดว่าพระรูปจะสูงใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เพียงแต่อยากจะถวายเกียรติแด่ท่านนักบุญอันนา สัตบุรุษทุก ๆ คน ก็มีส่วนร่วมในการบริจาคเงินในสมทบทุนในการสร้างนักบุญอันนา
และเกิดจากแรงศรัทธาของสัตบุรุษแท้ ๆ ไม่ใช่เฉพาะสัตบุรุษจากวัดนักบุญอันนาท่าจีน เท่านั้น แต่มาจากที่อื่นด้วย เป็นการบอกบุญต่อ ๆ ไป ทำให้มีคนมาบริจาคเงินมากพอสมควรที่จะสร้างพระรูปองค์ใหญ่ได้
สำหรับระยะเวลาในการสร้างศาลาแห่งนี้ใช้เวลา เกือบ 2 ปี เนื่องจากต้องสร้างเขื่อนให้เสร็จก่อน จึงจะลงมือสร้างศาลาในเวล
าต่อมา ที่จริงก็ใช้เวลาไม่นานนักแต่ ส่วนหนึ่งก็ติดขัดกับเรื่องปัจจัย ทำให้ไม่สามารถโดยเร็ววัน ส่วนพระรูป ใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน ดำนเนิการสร้างโดยอาจารย์ประวัติ รักษ์สยาม ตั้งแต่ขบวนการปั้นถึงหล่อ เป็นอาจารย์ที่มีฝีมือ มีชื่อเสียง ติดอันดับต้น ๆ ทำให้ได้รูปนักบุญอันนาที่สวยงาม สำหรับงบประมาณในการสร้างอยู่ที่ราคา สองล้านบาท ที่จริงก็มีราคาสูงกว่านี้ แต่อาจารย์ประวัติ ท่านก็ตั้งใจที่จะปั้นถวายเกียรติแด่ท่านนักบุญอันนา ท่านใจดี ได้ลดราคาให้เรา ส่วนราคาของศาลาก็ประมาณ สองล้านกว่า แต่ไ
ม่รวมเรื่องการตกแต่ง ไฟฟ้า เครื่องเสียง หรืออื่น ๆ ที่ต้องปรับภูมิทัศน์อื่น ๆ เราจะสร้างน้ำพุ ด้านนหน้า ซึ่งยังใช้ต้องใช้งบประมาณในการปรับภูมิทัศน์อีกจำนวนหนึ่ง
 
ในส่วนของพระรูปนักบุญอันนาที่สวยงามนี้ ทางทีมงานได้มีโอกาสสัมภาษณ์ อาจารย์ประวัติ รักษ์สยาม ผู้ตอบรับแผนการของพระเจ้าในการมีส่วนสร้างความเชื่อ ความศรัทธา และ การถวายเกียรติแด่ท่านนักบุญอันนา องค์อุปถัมภ์ความหวังของคนในชุมชน ปีนี้ อาจารย์ อายุ 60 ปี แล้ว และเป็นคาทอลิกคนหนึ่งที่ มีความรักความศรัทธาต่อท่านนักบุญอันนา เช่นกัน อาจารย์น่ารักมาก เมื่อเราขอสัมภาษณ์ อาจารย์เล่าให้ฟังว่า เมื่อได้รับการทาบทามให้จัดสร้างพระรูปแห่งนี้ ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ท้่า
ทายสำหรับผมมาก ของทางศาสนาคริสต์ไม่มีรูปใหญ่ จะนิยม อย่างน้อยก็แค่ 3 เมตร ผมเลยคิดว่า เป็นสิ่งที่ท้าทาย และเมื่อคุณพ่อมั่นใจในผม และให้ไว้ใจวางใจให้ผม ผมก็คิดว่าทำได้แน่นอน
จากประสบการณ์ของผม เคยสร้างพระรูปที่ใหญ่กว่านี้ในศาสนาพุทธ ครับ แต่ในศาสนาคริสต์ อันนี้ ใหญ่ที่สุดแล้ว คุณพ่อมีแบบให้ผม
อยู่แล้ว สำหรับความยากง่าย ที่สร้าง พระรูปนักบุญอันนานี้ มีความยากครับ เมื่อเทียบกับการปั้นรูปโดยทั่ว ๆ ไป เพราะเป็นรูปเหมือน เพราะมีสองคนยื่น ถือเป็นความยาก มีริ้วผ้า ซึ่งลำบากกว่า ทำรูปอื่นไม่ยากเท่านี้ ตอนรับงานไม่หนักใจเท่าไหร่ เพราะคิดว่า ทำได้แน่นอน ครับ
 อาจารย์ เล่าถึงขึ้นตอนการทำให้ฟังว่า ได้นำรูปต้นแบบจากวัดไปทำยาง แล้วหล่อด้วยไ
ฟเบอร์ แล้วตัดเป็นส่วน ๆ เพื่อขยายออกไป 7 เท่าครึ่ง หลังจากนั้นก็นำโฟมมาเหล่ารูป และลงขี้ผึ้ง ลงโฟม แต่งขึ้ผึ้ง ขั้นตอนนี้สำคัญ เพราะลงขี้ผึ้งอย่างไรก็ออกมากอย่างนั้น แล้วก็ถอดปูนปาสเตอร์ เสร็จแล้ว นำมาหล่อไฟเบอร์เป็นส่วน ๆ แล้วเอามาประกอบเป็นองค์ท่าน นำโครงเหล็กให้แข็งแรง นำมาขัดแต่ง ทำสี
ส่วนขึ้นตอนที่ยากที่สุด คือ การประกอบไฟเบอร์ หากมันบิดเบี้ยว ไม่ลงตัว ต้องมาขัด ฝุ่นพุ้งไปโรงเรียนไปหมด สำหรับอุปสรรคที่ทำ คือเรื่องฟ้าฝน ส่วนประกอบสำคัญใน
การทำส่วนใหญ่คือ ไฟเบอร์กราส กับโครงเหล็กภายใน มีความสูง รวมฐาน 8 เมตร ครึ่ง ความกว้าง 3 เมตร น้ำหนัก 3.8 ตัน
ในขั้นตอนของการบำรุงรักษาไฟเบอร์กราส แน่นอนครับ วัตถุุ ตากแดด ตากฝน ก็จะมีหดตัวบ้าง ขยายตัวบ้าง นาน ๆ สีอาจแตกลายงา ถ้ามีระยะเวลา 5 ปี หรือ 10 ปี อาจต้องมีการบูรณะเรื่องสีบ้าง ทีมงานยังสอบถามถึงสิ่งที่ทำให้อาจารย์รู้สึกภูมิใจในการจัดทำพระรูปที่สวยงาม หน้าตาของนักบุญยายที่ใจดี และรูปหน้าของแม่พระก็ อ่อนหวาน น่ารัก อาจารย์ตอบว่า มีเสียงสะท้อนการตอบรับเ
ป็นอย่างดีจากสัตบุรุษที่นี่ ทำให้อาจารย์อมยิ้มแบบปลื้มปิดติ แถมอาจารย์ปิดท้ายฝากขอบคุณมาว่า วันนี้ผมต้องขอบคุณพี่น้อง ที่ได้ให้ผม ฝากผลงานเรียกว่า มาสเตอร์ พีช ( master piece ) ผมรู้สึกยินดีแทนคนท่าจีนมาก ผมคิดว่าอีกนานมากกว่าจะมีรูปที่สวยงามอย่างนี้ครับ |