15/1 ม.10 ถ.สวนผัก
แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน
จ. กรุงเทพฯ  10170
------------------------------------------------------------------

02-433-4529, 02-882-0283-4

ตารางมิสซา

02-882-0284

แผนที่การเดินทาง

รูปวัด   800x600 1024 x768

บาทหลวงเปโตร สุรพันธ์ ดาวพิเศษ

วัดศีลมหาสนิท เดิมชื่อวัดพระสัตถา ปรากฏในประวัติวัด ซึ่งค้นพบจากห้องเอกสารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เขียนโดย คุณพ่อลาร์เก มีข้อความตอนหนึ่งดังนี้ “แต่เดิมนั้นมีคริสตังทั้งญวนและจีนไปอยู่ในเขตตลิ่งชัน ทางวัดกาลหว่าร์ก็จัดให้มี คุณพ่อปลัดไปทำมิสซาตามบ้านคริสตังนานๆ ครั้ง แต่ก็เป็นปัญหาสำหรับคุณพ่อเจ้าอาวาส เพราะว่าเมื่อจัดให้ไปทำมิสซาบ้านคนญวน คนจีนก็ไม่ไปร่วม ทำมิสซาบ้านคนจีน คนญวนก็ไม่ไป เนื่องจากอาชีพแตกต่างกันการทำพิธีมิสซาต้องนัดหมายล่วงหน้าและเป็นเวลาที่สะดวกหรือว่างจากภารกิจปลูกผัก เก็บผักหรือค้าขาย ระยะทางระหว่างกลุ่มบ้านคนญวนหรือชุมชนสวนแดน กับกลุ่มบ้านคนจีนหรือชุมชนสวนผักห่างไกลพอสมควรและระยะเวลาเดินทางไม่สะดวก เพราะต้องเดินเท้าหรือไปทางเรือ ถนนหนทางไม่สะดวก หรือเป็นช่วงเวลาที่ไม่ทราบล่วงหน้าพอสมควร ก็ไม่สามารถเตรียมตัวและไปวัดร่วมพิธีมิสซาได้ ดังนั้นคุณพ่อกิมฮั้ง แซ่เล้า เป็นเจ้าอาวาสวัดกาลหว่าร์ ก็ได้พยายามหาซื้อที่ดินแปลงหนึ่ง เนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน 56 ตารางวา เพื่อที่จะได้สร้างวัด บ้านพักพระสงฆ์ บ้านพักซิสเตอร์ พระอัครสังฆราช ยอแซฟ ยวง นิตโย จึงอนุมัติเห็นชอบให้สร้างวัดและอาคารดังกล่าว”

       ความเป็นมาของวัดสวนผัก ตลิ่งชัน สัตบุรุษดั้งเดิมของวัดมีสองกลุ่ม  คือ กลุ่มคนญวนที่สวนแดน และกลุ่มคนจีนที่สวนผัก สมัยแรกๆ สัตบุรุษทั้งสองกลุ่มนี้อยู่ในความดูแลของวัดกาลหว่าร์ ซึ่งในขณะนั้นมีคุณพ่อกิมฮั้ง แซ่เล้า เป็นเจ้าอาวาส คุณพ่อได้มาเยี่ยมเยียน และถวายมิสซาให้กับสัตบุรุษทั้งสองกลุ่มในคราวเดียวกัน

ประมาณกลางปี ค.ศ.1962-1972 คุณพ่อกิมฮั้ง แซ่เล้า เป็นเจ้าอาวาส ได้มอบหมายให้คุณพ่อเจ้าวัดบางสะแก (คุณพ่อราแป็ง ต่อมาคือ คุณพ่อฟอร์แตง) ดูแลและถวาย มิสซาให้กับกลุ่มคนจีนที่สวนผัก โดยกลุ่มคนจีนร่วมกันสร้างโรงสวดเพื่อให้สวดภาวนา ร่วมมิสซาและเป็นที่สอนคำสอนสำหรับลูกหลาน ซึ่งมีอาโกวชุนฮวงจากวัดกาลหว่าร์มาช่วยสอน บางช่วงเวลาหรือปิดภาคเรียนก็ให้เด็กไปเรียนคำสอนที่วัดกาลหว่าร์ หรือวัดเซนต์ฟรังซิส เซเวียร์ สามเสน แบบพักอยู่กินนอนที่วัดประมาณหนึ่งเดือนจนเรียนคำสอนจบหลักสูตรรับศีลมหาสนิทครั้งแรก ศีลกำลังหรือศีลมหาสนิทอย่างสง่า ในขณะเดียวกันก็มอบหมายให้คุณพ่อเจ้าวัดบางเชือกหนัง (คุณพ่อลออ สังขรัตน์ ต่อมาคือ คุณพ่อถาวร กิจสกุล) ดูแลและถวายมิสซาให้กับกลุ่มคนญวนที่สวนแดน โดยใช้บ้านของนายพยนต์ สุระศรางค์ หรือบ้านของนายบำรุง พิศพาน เป็นที่ถวายมิสซา

พระสงฆ์ที่ทำงานอภิบาลสัตบุรุษก่อนเป็นวัดศีลมหาสนิทอย่างเป็นทางการ

1.คุณพ่ออันเดร ลออ สังขรัตน์ สมัยที่เป็นเจ้าอาวาสวัดบางเชือกหนัง ได้มาถวายมิสซาให้สัตบุรุษที่สวนแดน ปี ค.ศ.1962 – 1972

2.คุณพ่อปอล ถาวร กิจสกุล เป็นเจ้าอาวาสแทนคุณพ่อลออที่บางเชือกหนัง ได้มาถวายมิสซา จนถึงปี ค.ศ.1973 เมื่อคุณพ่อกิมฮั้งสร้างวัดซึ่งเป็นจุดกึ่งกลางระหว่างคนจีนกับคนญวน

3.คุณพ่อโคลด ราแป็ง สมัยเป็นปลัดวัดกาลหว่าร์ ได้มาถวายมิสซาให้คนจีนในสวนผัก (คลองขุดมหาสวัสดิ์)  และให้อาโกวชุนฮวงมาสอนภาษาจีน และสอนคำสอนแก่เด็กๆ และได้ให้สร้างกงซ้อ (โรงสวด)สำหรับใช้เรียนคำสอนและร่วมมิสซา

4.คุณพ่อฟอร์แตง สมัยเป็นเจ้าอาวาสวัดบางสะแกได้มาถวายมิสซาให้คนจีนในสวนผักต่อจากคุณพ่อราแป็ง และเมื่อมีวัดเป็นการถาวร คุณพ่อก็งดมาทำมิสซาตั้งแต่ปีค.ศ. 1973

ความเป็นมาของชื่อวัด
     คุณพ่อยอห์น บัปติสต์ กิมฮั้ง แซ่เล้า สร้างวัดแห่งนี้ ยังไม่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ แต่ทางทะเบียนของอุดมสารได้ใช้ชื่อ “ว ัดพระคริสตกายา” ตั้งแต่ปี ค.ศ.1973 ซึ่งส่วนใหญ่คนทั่วไปเรียกวัดสวนผัก ส่วน “ซิน กั้ง” เป็นชื่อที่คนจีนเรียกโรงสวดที่คุณพ่อราแปงสร้างไว้ในสวนผัก แปลว่า วัดคลองใหม่ (คลองขุดมหาสวัสดิ์)
     ปี ค.ศ.1983 คุณพ่อกิมฮั้งพยายามตั้งชื่อวัดนี้ โดยปรึกษากับพระอัครสังฆราช ยวง นิตโย  ว่าน่าจะเป็น “พระสัตถาสถิต” แปลว่า พระอาจารย์อยู่ที่นี่ พระอัครสังฆราช ยวง แนะนำว่า “พระสัตถา” ก็ให้ความหมายชัดเจนแล้ว จึงใช้ชื่อนี้เรื่อยมา แต่เนื่องจากเป็นชื่อที่หลายคนฟังแล้วไม่เข้าใจความหมาย
     ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1990 เมื่อพระคาร์ดินัล มีชัย กิจบุญชู มาถวายมิสซาที่วัดนี้เป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปีที่สร้างวัดนี้ สภาอภิบาลจึงขอให้คาร์ดินัลพิจารณาชื่อที่เหมาะสมกับวัดนี้
     เดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1990 พระคาร์ดินัลพร้อมคณะที่ปรึกษาได้พิจารณาและตั้งชื่อเป็น “วัดศีลมหาสนิท” แต่เนื่องจากความผิดพลาดบางประการในหนังสือเอกสารแจ้งการตั้งชื่อวัดพิมพ์ผิดเป็น “วัดแห่งศีลมหาสนิท”  ซึ่งที่ถูกต้องคือ “วัดศีลมหาสนิท”
     ส่วนคำว่า วัดสวนผัก เป็นชื่อที่ชาวบ้านนิยมเรียกกัน เพราะเขตตลิ่งชันบริเวณนี้เดิมทำสวนผักและปลูกดอกไม้กันมากแต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนสภาพเป็นบ้านจัดสรรมากขึ้น จนแทบไม่มีบรรยากาศสวนผักให้เห็นอีก
   วัดตลิ่งชัน ก็เป็นอีกชื่อหนึ่งที่ชาวบ้านเรียก เพราะอยู่ในเขตตลิ่งชัน และเพราะไปเข้าใจไขว้เขวกับวัดบางเชือกหนัง ซึ่งอยู่ในเขตตลิ่งชันด้วย ชื่อนี้จึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมเรียกมากนัก เพราะฉะนั้น ชื่อที่ถูกต้องและเข้าใจชัดเจนจึงเป็น “วัดศีลมหาสนิท” (สวนผัก)
 
ประวัติกลุ่มคริสตชน
     คริสตชนวัดศีลมหาสนิทตั้งแต่แรกจนถึงปัจจุบัน จำแนกเป็นกลุ่มใหญ่สามกลุ่ม  คือ กลุ่มสวนผัก กลุ่มสวนแดน และกลุ่มหมู่บ้าน คริสตชนดั้งเดิมมีเพียงสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสวนผัก และกลุ่มสวนแดน ในสมัยที่ยังไม่มีวัด จะมีพระสงฆ์มาดูแลและถวายมิสซา โดยใช้บ้านของสัตบุรุษเป็นสถานที่ประกอบพิธี จนกระทั่งปี ค.ศ.1973 คุณพ่อกิมฮั้ง แซ่เล้า ได้รับอนุมัติจากอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ใ ห้สร้างวัดที่สวนผัก คริสตชนทั้งสองกลุ่มดังกล่าวจึงมาร่วมฟังมิสซาที่วัด และอยู่ในความดูแลของคุณพ่อกิมฮั้ง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
     ราวปี ค.ศ.1986 เริ่มมีคริสตชนกลุ่มใหม่จากบ้าน และหมู่บ้านสร้างใหม่ในอาณาบริเวณ ใกล้เคียงกับวัดมาร่วมมิสซาเพิ่มขึ้นทีละเล็กทีละน้อย ทำให้สมาชิกทวีจำนวนมากขึ้น คริสตชนรวมทั้งสามกลุ่มตั้งแต่แรกจนถึงปัจจุบันมีประมาณ 70 ครอบครัว มาจากหล ายจังหวัด ได้แก่ อยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม นครปฐม พิษณุโลก ฯลฯ และจากวัดในอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ประกอบอาชีพหลายสาขา เช่น ทำสวน จับปลา ช่างไม้ ค้าขาย ทำธุรกิจส่วนตัว รับราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และรับจ้าง เป็นต้น
     อย่างไรก็ดี เมื่อได้มาเป็นสมาชิกวัดเดียวกันแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มใด ถือว่าได้มาอยู่ร่วมในครอบครัวเดียวกัน คือ “วัดศีลมหาสน ิท” ถ้ามีอะไรที่จะช่วยกันก็ยินดีให้ความร่วมมือร่วมใจอย่างเต็มที่ และชุมชนของเราจะได้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น ดังคำกล่าวที่ว่า“ทำอะไรได้ดังฝันใฝ่ถ้าเราร่วมใจ”
 
 คริสตชนกลุ่มสวนผัก
 คริสตชนสวนผักระยะแรกมีประมาณ 10 ครอบครัว ประกอบอาชีพปลูกผัก ทำสวนดอกไม้ ส่วนใหญ่มีเชื้อสายจีน จึงนิยมไปร่วมมิสซาที่วัดกาลหว่าร์ เนื่องจากมีพระสงฆ์หลายองค์พูดภาษาจีนได้ และยังประกอบพิธีเป็นภาษาจีนด้วย การเดินทางไปวัดลำบากมาก ต้องต ื่นแต่เช้ามืด นั่งเรือแท็กซี่ไป - กลับ ถ้าไม่ได้แวะที่ไหนกว่าจะกลับถึงบ้านก็บ่ายมากโขทีเดียว จึงพากันไปวัดปีละ 1- 2 ครั้ง เฉพาะวัดฉลองบังคับเท่านั้น หลังจากนั้นอาโกวชุนฮวง ซึ่งเป็นพลมารีวัดกาลหว่าร์และสนิทสนมกับ คริสตชนสวนผักในสมัยนั้น ได้แนะนำคุณพ่อราแป็ง ปลัด วัดกาลหว่าร์ให้มาถวายมิสซาที่สวนผัก จึงมี “โรงสวด” ขึ้น เรียกตามบัญชีวัดว่า “วัดซินกั้ง” โรงสวดหรือวัดซินกั้งนี้ เป็นที่เก็บอุปกรณ์ทำสวนผักของสัตบุรุษครอบครัวหนึ่ง คุณพ่อราแป็ง มาถวายมิสซาและสอนคำสอนเดือนละครั้ง การเดินทางขอ งคุณพ่อก็มาทางเรือด้วยความยาก ลำบากเช่นเดียวกัน  ถ้ามีเวลาว่างหลังจากถวายมิสซาแล้ว คุณพ่อก็จะเยี่ยมสัตบุรุษตามบ้าน และถ้ามีเด็กล้างบาปคุณพ่อก็จะประกอบพิธีให้ที่บ้าน คุณพ่อมีภารกิจมากมาย การสอนคำสอนทำได้ไม่ดีนัก จึงมีเด็กบางรุ่นต้องไปอยู่ประจำที่วัดกาลหว่าร์เรียนคำสอน เพื่อรับศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ บางครั้งถ้าไม่มีที่พักคุณพ่อก็จะติดต่อให้ไปเรียนที่วัดสามเสน  จำได้ว่ารุ่นอาหรือรุ่นพี่ๆ กว่าจะได้รับศีลก็อายุมากแล้ว

 เมื่อคุณพ่อราแป็ง ย้ายไปอยู่ที่วัดบางสะแก วัดซินกั้งก็ไม่มีพระสงฆ์มาถวายมิสซาอยู่ระยะหนึ่ง แต่อาม่าอาโกวได้ชักชวนเด็กๆ ให้มาร่วมสวดสายประคำแทนการฟังมิสซาทุกเดือนๆ ละครั้ง หลังจากนั้นไม่นาน คุณพ่อฟอร์แตงซึ่งทำงานกับคุณพ่อราแป็งที่วัดบางสะแก ได้มาถวาย มิสซาให้ทุกวันเสาร์เป็นเวลาประมาณ 2 ปี จนกระทั่งมีวัดใหม่ ในช่วงนี้มี คริสตชนย้ายจากสุพรรณบุรีมาเป็นสมาชิกเพ ิ่มขึ้นอีก 1 ครอบครัว เมื่อคุณพ่อกิมฮั้งดูแลสร้างวัดใหม่เสร็จแล้ว ทางอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯได้แต่งตั้งคุณพ่อกิมฮั้งเป็นเจ้าอาวาส กลุ่มคริสตชนสวนผักจึงอยู่ในความดูแลของคุณพ่อกิมฮั้ง และมาร่วมมิสซาที่วัดนับตั้งแต่ปี ค.ศ.1973 เป็นต้นมา
 คุณพ่อกิมฮั้งได้ขอซิสเตอร์มาช่วยงานที่วัดและช่วยสอนคำสอน ในระยะแรกปรากฏว่าเด็กที่จะต้องเรียนคำสอนมีมาก และไม่สามารถมาเรียนที่วัดได้ เนื่องจากการเดินทางสมัยนั้นค่อนข้างลำบาก คุณพ่อจึงขอบราเดอร์จากบ้านเณรมาช่วยงานที่วัดและช่วยสอนคำสอนการ ทำงานของบราเดอร์รุ่นแรกลำบากมาก ต้องถีบจักรยานไปสอนตามบ้านซึ่งอยู่กระจัดกระจายกัน บางครั้งน้ำท่วมต้องลุยน้ำไป แต่บราเดอร์ก็ไม่หวั่นกลัวเลย ได้เสียสละในการทำหน้าที่สั่งสอนตามพระวาจาของพระคริสตเจ้าด้วยความเอาใจใส่ ตลอดจนรวบรวมเด็กให้มาวัดเพื่อที่จะได้รู้จัก และใกล้ชิดพระมากยิ่งขึ้น จนกระทั่งได้รับศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ด้วยความเสียสละดังกล่าว  ทำให้ บราเดอร์ที่เคยมาช่วยงานที่วัดนี้ได้บวชเป็นพระสงฆ์เกือบทุกคน

 ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบันของกลุ่มคริสตชนวัดสวนผัก มีครอบครัวสมาชิกเพิ่มขึ้นมากมายจากครอบครัวดั้งเดิม และจากครอบครัวที่ย้ายมาอยู่ในบริเวณใกล้เคียงสวนผัก ได้แก่แถบซอยขุนสามศรที่ย้ายมาจากวัดสามเสนและจากกาญจนบุรี แถวถนนฉิมพลี ถนนทุ่งมังกร และถนนสวนผัก

คริสตชนกลุ่มคลองสวนแดน
  สัตบุรุษในเขตบ้านสวนแดนในทีแรกมีประมาณ 5-7 ครอบครัว ซึ่งส่วนใหญ่ย้ายมาจากวัดอยุธยา บ้านแพน และเจ้าเจ็ดประมาณ 35 - 40 ปีที่ผ่านมา โดยเช่าที่คนย่านนั้นปลูกบ้านอยู่ ประกอบอาชีพหาปลา ค้าขาย และช่างไม้

  แต่ก่อนนั้นสัตบุรุษที่สามารถไปวัดได้ ก็ไปวัดบางเชือกหนังเป็นส่วนใหญ่ มีครอบครัว สุระศรางค์ ที่ไปวัดสามเสน แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถไปวัดได้ เนื่องจากเดินทางลำบาก ดังนั้น คุณพ่อลออ สังขรัตน์ ซึ่งขณะนั้นประจำอยู่ที่วัดบางเชือกหนังจึงเดินทางมาประกอบพิธีบูชามิสซาให้ที่บ้านคุณประกอบ สุระศรางค์ โดยมีคุณครูมนัส (เป็นครูโรงเรียนตรีมิตรวิทยา) เป็นคนขับเรือรับส่ง เ นื่องจากต้องเดินทางโดยทางน้ำ

 ในสมัยนั้นเด็กในหมู่บ้านมักต้องไปอยู่บ้านซิสเตอร์ที่วัดบางเชือกหนัง เพื่อเรียนคำสอนคำสอน และเรียนหนังสือไปด้วย โดยมีคุณพ่อ ลออและครูมนัสเป็นผู้สอน  หลังจากนั้นคุณพ่อลออก็มีโครงการสร้างวัดในเขตสวนแดนขึ้น แต่น่าเสียดายที่คุณพ่อถูกย้ายไปวัดปากลัด คุณพ่อถาวรซึ่งมาประจำแทนจึงเป็นผู้ดำเนินการต่อ

 จากวันนั้นถึงวันนี้ เด็กในหมู่บ้านได้รับการปลูกฝังอย่างใกล้ชิดให้รู้จักพระรู้จักวัด ถึงแม้จะไม่มีรถรับส่ง แต่เด็กในหมู่บ้านก็สามารถไปวัดเอง คนในหมู่บ้านก็ไปวัดกันมากขึ้น แต่สัตบุรุษส่วนใหญ่ก็ยังคงประกอบอาชีพค้าขาย จับปลา ช่างไม้เช่นเดิม ที่ก็ยังเช่าอยู่ บางส่วนกำลังถูกเวณคืนที่ต้องหาที่อยู่ใหม่

 ในปี ค.ศ. 1973  คุณพ่อกิมฮั้งได้ขออนุมัติจากทางอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ หาซื้อที่เพื่อสร้างวัด แต่เนื่องจากคุณพ่อได้ทราบว่ามีสัตบุรุษอีกกลุ่มหนึ่งอยู่ในถนนแถวสะพานผัก จึงซื้อที่ดินเป็นจุดกึ่งกลางระหว่างสองหมู่บ้าน และในปีนั้นก็ได้สร้างวัดในซอยเทพประวิทย์ตามที่คุณพ่อต้องการคือ เป็นศูนย์กลางระหว่างสองกลุ่มหมู่บ้าน โดยมีคุณพ่อกิมฮั้งมาประจำอยู่

 ในปีแรกที่สร้างวัด มีสัตบุรุษมาเพียง 2-3 ครอบครัวเท่านั้นที่มาวัด เด็กในหมู่บ้านส่วนใหญ่ยังไม่กระตือรือร้นในเรื่องนี้ ดังนั้นในปี ค.ศ.1981 คุณพ่อกิมฮั้งเห็นว่าเด็กในหมู่บ้านมีมากขึ้น จึงได้ขอเณรมาช่วยดูแลเรื่องคำสอนของเด็กในหมู่บ้าน แต่ก็ไม่เต็มที่เท่าไร เนื่องจากซิสเตอร์ก็มีภารกิจมากอยู่แล้ว  ดังนั้น เมื่อบราเดอร์มาสอนจึงทำให้เด็กใกล้ชิดพระมากขึ้น แต่มีปัญหาบ้าง ก็แต่สถานที่เรียน ซึ่งระยะทางระหว่างหมู่บ้านถึงวัดก็ไกลพอดู บราเดอร์จึงมาสอนที่บ้านของครอบครัวพิศพาน ซึ่งเป็นศูนย์กลางของหมู่บ้าน

 ในตอนนั้น เด็กในหมู่บ้านถึงแม้ได้เรียนคำสอนสม่ำเสมอ แต่ก็ไม่ได้รับการกระตุ้นจากครอบครัวให้ไปวัด เด็กจึงไม่ค่อยไปวัดเท่าไหร่ บราเดอร์จึงคิดเช่ารถกระบะของครอบครัว คชไกรเพื่อรับส่งเด็กไปวัดในวันอาทิตย์ แต่ด้วยน้ำใจดีของคุณอุดม คชไกร ก็ไม่ได้ คิดเงินแต่อย่างใด และได้รับ- ส่งเด็กไปวัดเรื่อยมา แต่เมื่อใดที่รถไม่ว่างหรือคุณอุดมไม่สามารถไปวัดได้ เด็กในหมู่บ้านก็ไม่ได้ไปด้วยเช่นกัน
 
คริสตชนกลุ่มหมู่บ้าน
ในสมัยก่อนที่ดินแถวตลิ่งชันมีลักษณะเป็นสวน สงบ ร่มรื่น การเดินทางส่วนมากต้องใช้เรือเป็นพาหนะ มีทางรถไฟผ่านแต่ไม่สะดวก ต้องเดินเป็นระยะทางไกลมาก การสร้างถนนในระยะแรกประมาณ 25 ปีก่อน เป็นถนนลูกรังแคบๆ พอให้รถแล่นได้ หลายปีต่อมาไ ด้ปรับปรุงเป็นถนนลาดยาง การเดินทางก็ยังไม่สะดวกเท่าที่ควร  เพราะรถยนต์มีน้อย ราวปี ค.ศ.1978 เริ่มมีโครงการสร้างถนนสายพุทธมณฑล-นครชัยศรี เค้าโครงความเจริญเริ่มปรากฏขึ้น ในระยะนั้นหมู่บ้านจัดสรรยังไม่เฟื่องฟู เจ้าของที่ดินเพียงแต่นำมาจัดสรรขายให้ผู้ซื้อสร้างบ้านเอง ในขณะที่ถนนสายพุทธมณฑล-นครชัยศรีอยู่ในระหว่างดำเนินการสร้างนั้น ได้มีการพัฒนาถนนที่มีอยู่เดิมในท้องที่เขตตลิ่งชันจากถนนลาดยางเป็นถนนคอนกรีต รวมทั้งสร้างถนนเพิ่ม เติมอีกหลายสายควบคู่กันไป เมื่อการสร้างถนนด ังกล่าวเสร็จเรียบร้อยประมาณปี ค.ศ. 1984 การคมนาคมสะดวกขึ้น หมู่บ้านจัดสรรในเขตนี้ก็เกิดขึ้นมากมาย ชุมชนขยายตัวรวดเร็วมาก ส่งผลให้ชุมชนใกล้เคียงแถวบางขุนนนท์เจริญขึ้นด้วย  เพราะเป็นทางผ่านจุดสำคัญของหมู่บ้านเช่นเดียวกัน

 คริสตชนกลุ่มหมู่บ้านเริ่มมาร่วมมิสซาที่วัดสวนผัก ราวปี ค.ศ. 1986  หรือประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา ในระยะแรกมีจำนวนไม่มากนัก เนื่องจากหมู่บ้านจัดสรรเจริญเติบโตแบบค่อยเป็นคอยไป ประกอบกับคริสตชนตามหมู่บ้านมักไปร่วมมิสซาตามวัดที่เคยไปอยู่แ ล้วมากกว่า ทั้งนี้อาจเป็นเพราะความเคยชินกับวัดเดิม หรือยังไม่รู้ว่ามีวัดนี้ก็เป็นไปได้ ต่อมาเมื่อรู้ว่ามีวัดอยู่ใกล้บ้านจากการบอกเล่าของผู้อื่น หรือเมื่อผ่านวัดเห็นป้าย “วัดคาทอลิก” ก็ลองมาสัมผัสบรรยากาศ ใหม่ๆ บ้าง จากการสังเกตการณ์โดยทั่วไปพอจะประมวลได้ว่า กลุ่มหมู่บ้านที่มาส่วนใหญ่คงจะชอบบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่มีลักษณะเฉพาะตัวของวัดนี้ที่ไม่เหมือนวัดอื่นๆ กล่าวคือ เป็นสถานที่เงียบสงบ คริสตชนดั้งเดิมมีความเป็นอยู่เรียบง่าย จริงใจต้อนรับสมาชิกใหม่ด้วยอัธยาศัยไมตรี มีบรรยากาศที่เป็นแบบ ครอบครัวคริสตชนอย่างแท้จริง ทำให้มีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นทุกปี คริสตชนกลุ่มใหม่นี้มาจากหลายวัดหลายจังหวัดด้วยกัน

ปี ค.ศ. 1916-1989 คุณพ่อยอห์น บัปติสต์ กิมฮั้ง แซ่เล้า คุณพ่อเป็นผู้เริ่มก่อสร้าง และเจ้าอาวาสวัดศีลมหาสนิทองค์แรก
ปี ค.ศ. 1988–1989คุณพ่อเปโตร ชัชวาล ศุภลักษณ์
ปี ค.ศ. 1989-1990คุณพ่อโยเซฟ ศุภศิลป์ สุขสุศิลป์
ปี ค.ศ. 1990-1996คุณพ่อเปโตร ชัชวาล ศุภลักษณ์
ปี ค.ศ. 1996-1999คุณพ่อยอห์น บัปติสต์ พงศ์เทพ ประมวลพร้อม
ปี ค.ศ. 1999-2004คุณพ่อฟรังซิสเซเวียร์ อนุรัตน์ ณ สงขลา
ปี ค.ศ. 2004-2009คุณพ่อยอแซฟ จินตศักดิ์ ยุชัยสิทธิกุล
ปี ค.ศ. 2009-2013คุณพ่อเปโตร สุรพันธ์ ดาวพิเศษ
ปี ค.ศ. 2013-คุณพ่อวิวัฒน์ แพร่สิริ
 

คุณพ่อกิมฮั้ง  แซ่เล้า
  ปี ค.ศ.1973 คุณพ่อกิมฮั้ง แซ่เล้า โดยความเห็นชอบของพระอัครสังฆราชยวง นิตโย ได้มาซื้อที่ดินที่สวนผัก ซึ่งเป็นจุดกึ่งกลางระหว่างกลุ่มคนญวนกับกลุ่มคนจีน โดยใช้ชื่อของนายเจริญ กอหะสุวรรณ  (สัตบุรุษวัดบางเชือกหนัง) เนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน 56 ตารางวา เป็นสถานที่สำหรับสร้างบ้านพักและวัด เมื่อสร้างเสร็จคุณพ่อกิมฮั้ง ได้ขอลาออกจากหน้าที่ เจ้าวัดกาลหว่าร์  เนื่องจากสุขภาพไม่ดี  และขอพักอยู่วัดนี้  คุณพ่อกิมฮั้ง จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคุณพ่อเจ้าวัดคนแรก โดยมีซิสเตอร์คณะพระหฤทัยฯ มาประจำเพื่อช่วยงานที่วัดด้วย ตั้งแต่นั้นมาสัตบุรุษทั้งสองกลุ่มก็มาร่วมมิสซาที่วัดสวนผักทุกอาทิตย์
ปี ค.ศ.1973โปรดศีลล้างบาปให้แก่เด็กคนแรก (สำหรับเด็กที่เกิดก่อนหน้านี้ จะอยู่ในบัญชีศีลล้างบาปที่วัดกาลหว่าร์ วัดบางสะแก และวัดบางเชือกหนัง)

ปี ค.ศ.1981สามเณรใหญ่จากบ้านเณรแสงธรรม 2 คน เริ่มมาช่วยงานคำสอนและมีเรื่อยมาจนถึงประมาณ ปี ค.ศ.1998 หลังจากนั้นจะมีเณรมาช่วยเป็นบางปี

ปี ค.ศ.1983ซื้อที่ดินด้านหลังอีก 6 ไร่ เพื่อเตรียมสร้างวัดใหม่

ปี ค.ศ.1985สัตบุรุษที่อยู่ตามบ้านจัดสรร และย้ายมาอยู่ใหม่ก็เริ่มเป็นสมาชิกของวัดสวนผัก ในปีนี้เอง คุณพ่อชัชวาล ศุภลักษณ์ ซึ่งขณะนั้นทำงานอยู่ที่โรงเรียนโยนออฟอาร์ค พาณิชยการ ด้มาช่วยถวายมิสซาวันอาทิตย์ เนื่องจากสุขภาพ ของคุณพ่อกิมฮั้งไม่ค่อยแข็งแรงนัก เพราะเป็นโรคหัวใจ

คุณพ่อเปโตร ชัชวาล ศุภลักษณ์  
ปี ค.ศ.1988 คุณพ่อเปโตร ชัชวาล ศุภลักษณ์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ดูแลวัดสวนผัก แทนคุณพ่อกิมฮั้ง จึงมาอยู่ประจำที่วัด คุณพ่อริเริ่มให้สัตบุรุษอดออมเงินเพื่อให้สมทบทุนในการสร้างวัดใหม่ในปีนี้เอง ได้ซื้อที่ดินเพิ่มทางด้านหน้าติดกับถนนสวนผัก จากนายไพฑูรย์ จริยะธนา เนื้อที่ 4 ไร่ เพื่อเตรียมสร้างโรงเรียนสำหรับเด็กในเขตนี้ต่อไป
 
คุณพ่อโยเซฟ ศุภศิลป์ สุขสุศิลป์
ปี ค.ศ.1989 คุณพ่อโยเซฟ ศุภศิลป์ สุขสุศิลป์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสแทนคุณพ่อชัชวาล ซึ่งย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดบางเชือกหนัง (ในช่วงต้นปีนี้เอง สุขภาพของคุณพ่อกิมฮั้ง ทรุดลงมาก และพระได้ยกคุณพ่อไปอยู่กับพระองค์ในวันที่ 2 กรกฎาคม) ต่อมาคุณพ่อศุภศิลป์ ตั้งสภาอภิบาลวัดขึ้น มีกรรมการ 12 คน เพื่อให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาและช่วยกิจการต่างๆ ของวัด รวมทั้งตั้งกลุ่มเยาวชนของวัดด้วย
 
คุณพ่อเปโตร ชัชวาล ศุภลักษณ์
 ปี ค.ศ.1990 คุณพ่อเปโตร ชัชวาล ศุภลักษณ์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส (ครั้งที่สอง) และให้ทำงานที่สภาเยาวชนคาทอลิกแห่งประเทศไทยด้วย คุณพ่อชัชวาล ร่วมกับสภาอภิบาลของวัดได้เรียนเชิญพระคาร์ดินัล มีชัย  กิจบุญชู มาถวายมิสซาเป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปีที่สร้างวัดนี้ เป็นโอกาสดีที่สัตบุรุษได้พบปะกับ พระคาร์ดินัลในบรรยากาศที่อบอุ่น และร้องขอพระคาร์ดินัลอยากจัดงานฉลองประจำปีเหมือนวัดอื่น หลังจากนั้นอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้ตั้งชื่อวัดนี้อย่างเป็นทางการว่า “วัดศีลมหาสนิท”มีความหมายเดียวกับชื่อเดิม “วัดพระสัตถา” แปลว่า “พระเยซูเจ้าประทับอยู่ในศีลมหาสนิท” เพื่อให้สัตบุรุษทุกคนมีความรัก ความศรัทธาและถวายเกียรติต่อพระเยซูเจ้าในศีลมหาสนิทและจัดงานฉลองวัดตรงกับวันฉลอง “พระคริสตกายา”

 ปี ค.ศ.1991 มีการขยายตัววัดซึ่งคับแคบ เพราะสัตบุรุษเริ่มมาวัดมากขึ้น ประกอบกับยังไม่เคยมีการเสกวัด และสัตบุรุษที่อื่นก็ยังไม่รู้จักวัดนี้ ดังนั้นคุณพ่อชัชวาลร่วมกับสภาอภิบาลได้มีมติให้จัดพิธีเสกและฉลองตามที่วัดมีชื่ออย่างเป็นทางการแล้ว จึงจัดงานฉลองวัดครั้งแรกในวันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน ค.ศ.1991เวลา 10.00 น. โดยพระคาร์ดินัล  มีชัย กิจบุญชู เป็นประธาน นับเป็นปีที่ 18 ของการสร้างวัดนี้

 ปี ค.ศ.1993 เดือนมิถุนายน เวลา 10.00 น. คุณพ่อชัชวาล ร่วมกับสภาอภิบาลจัดงานฉลองวัดครบ 20 ปี และฉลองการบวชเป็นพระสังฆราชครบ 20 ปี ของพระคาร์ดินัล มีชัย กิจบุญชู เนื่องจากวัดนี้สร้างขึ้นในปีที่พระคาร์ดินัล บวชเป็นพระสังฆราช (ปี ค.ศ.1973)
 
คุณพ่อยอห์น บัปติสต์ พงศ์เทพ ประมวลพร้อม
 ปี ค.ศ.1996 คุณพ่อยอห์น บัปติสต์ พงศ์เทพ ประมวลพร้อมได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส แทนคุณพ่อชัชวาล ซึ่งอยู่ครบวาระ 6 ปีที่วัดนี้ และย้ายไปเป็นหัวหน้าแผนกงานอภิบาลผู้เดินทะเล
 วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน ค.ศ.1998 เวลา 10.00 น. คุณพ่อพงศ์เทพร่วมกับสภาอภิบาล จัดงานฉลองวัดครบ 25 ปี และฉลองการบวชเป็นพระสังฆราชครบ 25 ปี ของพระคาร์ดินัลมีชัย กิจบุญชูโดยพระคาร์ดินัล เป็นประธาน โอกาสพิเศษนี้ได้จัดพิธีโปรดศีลกำลัง และศีลมหาสนิทอย่างสง่าแก่สัตบุรุษ

คุณพ่อฟรังซิสเซเวียร์ อนุรัตน์ ณ สงขลา


คุณพ่อยอแซฟ จินตศักดิ์ ยุชัยสิทธิกุล


คุณพ่อเปโตร สุรพันธ์ ดาวพิเศษ
ปี ค.ศ. 2009 คุณพ่อเปโตร สุรพันธ์ ดาวพิเศษ ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส
ปี ค.ศ. 2011 คุณพ่อเจ้าอาวาสร่วมกับสภาภิบาลฯ จัดพิธีเสกและวางศิลาฤกษ์วัดหลังใหม่ ในโอกาสวันฉลองวัดประจำปี

คุณพ่อยอห์น บัปติสตา วิวัฒน์ แพร่สิริ
ปี ค.ศ. 2013คุณพ่อยอห์น บัปติสตา วิวัฒน์ แพร่สิริได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ย้ายมาจากวัดนักบุญยอแซฟ องค์อุปถัมภ์ของกรรมกรสากล คุณพ่อได้ร่วมกับสภาภิบาลฯ จัดงานฉลองวัด ในวันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน ค.ศ. 2013 โดยพระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู เป็นประธาน

อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ โดยพระอัครสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช ได้ดำเนินการสร้างวัดหลังใหม่ ตามหนังสืออนุญาตก่อสร้างวัดจากกรุงเทพมหานคร ลงวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 2013 เริ่มลงมือก่อสร้างในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2013
 

พระสงฆ์ที่เคยมาทำงานระหว่างปี ขณะยังเป็นเณร (ฝึกงานอภิบาลฯ ระหว่างปี และปิดภาคเรียน)

ปี ค.ศ.1981คุณพ่อชัชวาล ศุภลักษณ์, คุณพ่อสันติ สุขสวัสดิ์ (สังฆมณฑลจันทบุรี), คุณพ่อสุวนารถ กวยมงคล
ปี ค.ศ.1982คุณพ่อชาญชัย ทิวไผ่งาม, คุณพ่อบุญเสริม เนื่องพลี, คุณพ่ออนุรัตน์ ณ สงขลา
ปี ค.ศ.1983คุณพ่อชัชวาล ศุภลักษณ์, บร. สถาพร มังกร
ปี ค.ศ.1984คุณพ่อสุข ศรจันทร์  (สังฆมณฑลนครราชสีมา)
ปี ค.ศ.1985คุณพ่อ นิรันดร์ ศิลามงคล, คุณพ่อศุภศิลป์ สุขสุศิลป์ คุณพ่อวิชชุกรณ์ เกตุภาพ
ปี ค.ศ.1986คุณพ่อสุนัย สุขชัย คุณพ่อสุทธิชัย บุญเผ่า
ปี ค.ศ.1987ไม่มีเณรมาทำงานระหว่างปี
ปี ค.ศ.1990คุณพ่ออุทิศ นามโยธา (อัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง)
ปี ค.ศ.1991 ไม่มีเณรมาทำงานระหว่างปี
ปี ค.ศ.1992
ปี ค.ศ.1993คุณพ่อถนอมศักดิ์ เลื่อนประไพ
ปี ค.ศ.1994คุณพ่ออนุชา ไชยเดช
ปี ค.ศ.1995คุณพ่อยุทธการ ยนปลัดยศ (สังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี) คุณพ่อมานพ ผงละเอียด (คณะรอยแผลศักดิ์สิทธิ์)
คุณพ่อพงศ์เทพปี ค.ศ.1996คุณพ่อโกวิท จันทรังษี (ส.ท่าแร่), คุณพ่ออดิศักดิ์  กิจบุญชู, คุณพ่อเอกชัย โสรัจจกิจ
ปี ค.ศ.1997ไม่มีเณรมาทำงานระหว่างปี
ปี ค.ศ.1998คุณพ่อประสิทธิ์ ตันเจริญ, คุณพ่อธนันต์ธง สุขสุทิพย์, คุณพ่อวรพจน์ วิสิฐนนทชัย,
คุณพ่ออนุรัตน์ปี ค.ศ.1999คุณพ่อธรรมรัตน์ เรือนงาม (ส.จันทบุรี),
ปี ค.ศ.2000บร. ( เจิ่ง, ท่าแร่), คุณพ่อ เกรียงชัย ตรีมรรคา
ปี ค.ศ.2001บร. สามเณรใหญ่ (อส.ท่าแร่), คุณพ่อพรชัย วิลาลัย
ปี ค.ศ.2002คุณพ่ออนุสรณ์ พงศ์สิริ, บร. วิทยา ศิริถนอมวงศ์
ปี ค.ศ.2003คุณพ่อเอกภพ ผลมูล, คุณพ่ออิทธิพล ศรีรัตนะ, คุณพ่อบุญชลัสม์ สุขสว่าง
คุณพ่อจินตศักดิ์ปี ค.ศ.2004บร. เทวฤทธิ์ สุขเกษม, คุณพ่อวิทยา เลิศทนงศักดิ์, คุณพ่อธนายุทธ ผลาผล
ปี ค.ศ.2005บร. ยุทธนา วิทยานุลักษณ์, คุณพ่อธนายุทธ ผลาผล(ซ้อมเพลงฉลองวัด)
ปี ค.ศ.2006คุณพ่อเลิศอัมพร พรมผาย, คุณพ่อบุญชรัสม์ สุขสว่าง(ซ้อมเพลงฉลองวัด)
ปี ค.ศ.2007คุณพ่อณาณารณพ มหัตถกุล, คุณพ่อบุญชรัสม์ สุขสว่าง(ช่วยงานคริสตมาส)
ปี ค.ศ.2008คุณพ่อสิทธิโชค แสวงกาญจน์
คุณพ่อสุรพันธ์ปี ค.ศ.2009บร. นฤนาท (ส.นครสวรรค์), บร. สมศักดิ์ (อส. กรุงเทพฯ)
ปี ค.ศ.2010คุณพ่อวัชรพล กู้ชาติ (ส.จันทบุรี)
ปี ค.ศ.2011คุณพ่อสะอาด ประทานสันติพงษ์ (คณะเบธาราม)
ปี ค.ศ.2012
คุณพ่อวิวัฒน์ปี ค.ศ. 2013บร. ชัยณรงค์ ฤทธิ์สารพิทักษ์(โจ) (ส.สุราษฏร์ธานี)
 

update ข้อมูล วันที่26 กุมภาพันธ์ 2014

หน้าหลักอ่านทั้งหมดหน้ารวม