วัดแม่พระปฏิสนธินิรมล  คอนเซ็ปชัญ

167 ซ.มิตตคาม ถ.สามเสน
แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต
จ. กรุงเทพฯ  10300
--------------------------------------------------------------------------

02-243-2617, 02-243-0064

ตารางมิสซา

 02-668-7775

แผนที่การเดินทาง

รูปวัด   800x600   /   1024 x768

บาทหลวงยอแซฟสุวนารถ กวยมงคล


ประวัติของวัดและหมู่บ้านคอนเซ็ปชัญ ได้คัดลอกและรวบรวมมาจากหนังสือที่ระลึกงานฉลองวัดคอนเซ็ปชัญครบ 250 ปี

เมื่อปี ค.ศ. 1938  บุคคลสำคัญที่เป็นผู้วิ่งเต้นค้นคว้าหาหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของวัด มีพระยาสมุทรศักดารักษ์ (เจิม วิเศษรัตน์) พันโทพระประจักษ์ยุทธธน (มรกต วงศ์ภักดี) และหลวงสมานไมตรี (พิศ สมานไมตรีรักษ์) โดยได้รับความร่วมมือจากท่านศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธน (ยง เสถียรโกเศศ) ซึ่งขณะนั้นท่านรับราชการเป็นผู้เชี่ยวชาญอยู่ที่กรมศิลปากร และได้มอบหมายให้นายปรีดา ศรีชลาลัย เจ้าหน้าที่ในกองวรรณคดี กรมศิลปากร  เป็นผู้ชำระตรวจแก้ เรื่องในหลวงของวัดคอ นเซ็ปชัญ จึงมีให้อนุชนรุ่นหลังไว้ศึกษาบ้าง ดังนั้น
 
 วัดคอนเซ็ปชัญ สามเสน ในปัจจุบันนี้ เป็นวัดของคณะคริสตัง มีกำหนดเนื้อที่ คือ        ทิศตะวันออกจดถนนสามเสน ทิศตะวันตกจดลำน้ำเจ้าพระยา ทิศเหนือจดคลองบ้านญวณ สามเสน (เดี๋ยวนี้ส่วนหนึ่งถมเป็นถนนคอนกรีตแล้ว) ทิศใต้จดคลองวัดราชาธิวาส วัดคอนเซ็ปชัญ มีขึ้นในประเทศสยาม ได้ความ ว่า ครั้งสมเด็จพระนารายน์ มีชาวโปรตุเกสเข้ามาทำการค้าขายใน กรุงศรีอยุธยาเป็นจำนวนมาก นอกจากค้าขาย บางคนได้รับราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ครั้งนั้นมีศึกสงครามบ่อย ชาวโปรตุเกสที่รับราชการฝ่ายทหารได้ทำการรบ มีความชอบหลายครั้งหลายคราว เป็นเหตุให้สมเด็จพระนารายน์โปรดปรานมาก ในที่สุดถึงกับพระราชทานให้ชาวโปรตุเกสที่นิยมนับถือลัทธิคริสตัง ตั้งวัดบำเพ็ญลัทธิกรรมได้โดยสะดวกใจ เมื่อราว ปี ค.ศ. 1674
 
 
วัดคอนเซ็ปชัญหลังเก่า(วัดน้อย)สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยต้นๆ ของกรุงรัตนโกสินทร์แทนวัดหลังเก่าโบราณที่สร้างด้วยไม้
 
 
 บุคคลสำคัญที่ได้รับพระราชทานที่ดินสร้างวัดนั้นคือพระสังฆราชหลุยส์ ลาโน ในชั้นต้นพระสังฆราชหลุยส์ลาโน เริ่มสร้างวัด มีเพียงโบสถ์ไม้หลังหนึ่ง ขนานนามเป็นความหมายที่สำแดงออกจากความนับถือ พงศวดารรัชกาลที่ 1 ว่า พร ะบาทสมเด็จอันแน่วแน่ของท่านว่า “วัดแม่พระปฏิสนธิ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ได้โปรดหามลทินมิได้” ซึ่งเป็นพยานให้เห็นว่า พระสังฆราช หลุยส์ ลาโน มีน้ำใจเลื่อมใสในพระแม่มหามารีอาอย่างยิ่ง ทั้งเป็นผู้เชื่อมั่นในหลักความจริง ซึ่งพระสมัย (พระศาสนจักร) ได้ประกาศพระสัจธรรมนี้ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ.1854 ต่อหน้าพระสังฆราชกว่า 200 องค์ อย่างสง่าผ่าเผยว่า พระนางพรหมจารีณีทรงพ้นจากบาปกำเนิดตั้งแต่แรกปฏิสนธิ
 
สภาพของวัดน้อยก่อนการบูรณะ (ก่อน พ.ศ.2516)
          
           ...พระสังฆราชหลุยส์ ลาโน  มีบาทหลวงชางเดอบัว เดอ ฟาลังแดง เป็นผู้ช่วยอยู่องค์หนึ่ง ท่านบาทหลวงชางเดอบัว เดอ ฟาลังแดง เป็นผู้ที่คร่ำเคร่งในวัตรปฏิบัติ ถึงกับมีคำยกย่องของท่านบาทหลวงวาเช ว่าเป็นผู้มีจิตอาโปสโตโลแท้ (หมาย ความว่าเท่ากับเป็นสาวกเดิมของพระมหาเยซูเจ้า)

           เรื่องเกี่ยวกับวัดคอนเซ็ปชัญนี้ นับแต่พระสังฆราชหลุยส์ ลาโน ได้มาสร้างวัดเมื่อปี ค.ศ.1674 แล้ว ก็ไม่ปรากฏว่ามีการกล่าวถึงในที่ใดๆ เลย  จนกระทั่งถึงปี ค.ศ.1782 จึงได้มีการกล่าวในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 1 ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1ได้โปรดให้ชาวเขมร 500 คน  ที่หลบหนีลี้ภัยมาจากเขมร มาอยู่รวมกับชาวโปรตุเกสในหมู่บ้านนี้เท่านั้น และตังแต่นั้นมาก็มีการเรียกหมู่บ้านนี้ว่า บ้านเขมร
 
 
           ชาวบ้านเขมรสามเสนสำนักวัดคอนเซ็ปชัญนี้ ได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเฉพาะส่วนที่สำคัญที่ปรากฏเป็นหลักฐานคือ ครั้งรัชกาลที่ 1 มีพระราชประสงค์จะให้จัดซื้อปืนใหญ่จากต่างประเทศมาไว้ใช้ในราชการให้เพียงพอ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ชาวโปรตุเกสในหมู่บ้านวัดคอนเซ็ปชัญสามเสนนี้ จัดการสั่งซื้อเข้ามาเป็นจำนวนมาก แต่เพราะที่ปืนใหญ่ที่ซื้อมาใหม่นั้น ต่างจากปืนใหญ่เก่าที่มีอยู่ จึงหาผู้สันทัดยิงปืนใหญ่ชนิดนี้ให้แม่นยำได้ยาก พระบาทสมเ ด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงโปรดให้มีการทดลองยิงที่ปากอ่าวแม่น้ำเจ้าพระยา โดยใช้โอ่งขนาดใหญ่ลอยเป็นเป้า ไม่ปรากฏว่ามีใครยิงถูก
 
 
ต่อมามีเขมรผู้หนึ่ง ชื่อ “แก้ว” เคยได้รับการสั่งสอนในการยินปืน ชนิดนี้มาจากชาวโปรตุเกส ได้ทำการยิงถวายให้ทอดพระเนตร นายแก้วยิงครั้งแรกถูกโอ่ง เป้านั้นแตกกระจาย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ยังทรงแคลงพระรา ชหฤทัยว่า นายแก้วยิงถูกเป้าโดยบังเอิญหรือโดยแม่นยำกันแน่ จึงโปรดให้นายแก้วยิงอีกที นายแก้วก็ยิงถูกโอ่งเป้าอีกเป็นครั้งที่สอง ปรากฏชัดต่อพระเนตรว่านายแก้วเป็นผู้ยิงปืนแม่นจริง จึงทรงพระราชดำริตั้งกรมทหารฝรั่งแม่นปืนใหญ่ขึ้นกรมหนึ่ง และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายแก้วเป็นที่พระยาวิเศษสงคราม รามภักดี จางวางกรมทหารฝรั่งแม่นปืนใหญ่ และเป็นหัวหน้าดูแลชาวหมู่บ้านคอนเซ็ปชัญด้วย ครั้นเมื่อพระยาวิเศษสงครามรามภักดี (แก้ว)
 
               ถึงแก่อนิจกรรม ก็ทรงพระกรุณาชุบเลี้ยงบุตรหลานให้ได้รับราชการสืบต่อกันมาเป็นลำดับ และทุกวันนี้ก็ยังมีเชื้อสายสกุลพระยาวิเศษสงครามภักดี (แก้ว) ปรากฏอยู่ (คือ สกุล “วิเศษรัตน์” และ “วงศ์ภักดี” นามสกุลทั้งสองนี้ได้รับพระราชทานจาก
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6)
 
           กรมทหารฝรั่งแม่นปืนใหญ่นี้มีหน้าที่เก็บรักษาปืนใหญ่ ควบคุมปืนประจำป้อมและฝึกซ้อมการยิงเพื่อความชำนาญ ใ นเวลาเสด็จพระราชดำเนินทรงชลมารคเกี่ยวกับการพระราชทานกฐินหลวงเป็นต้น ก็มีหน้าที่ความปืนหัวเรือพระที่นั่ง ในเมื่อ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานดำเนินไปท้องถิ่น ก็มีหน้าที่เฝ้าพระบรมมหาราชวังโดยกวดขัน
 
 
 
           ถึงรัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าให้ตั้งกรมทหารฝรั่งแม่นปืนใหญ่ขึ้นอีกครั้ง ให้ชื่อว่า “กรมทหารฝรั่งแม่นปืนใหญ่หลัง” รับบรรจุคนที่อยู่บ้านญวนสามเสนเป็นพื้น ทรงพระกรุณาตั้งพระยาบันลือสิงหนาทเป็นจางวางส่วนกรมทหารฝรั่งแม่นปืนใหญ่กรมเก่าให้ชื่อว่า “กรมทหาฝรั่งแม่นปืนใหญ่หน้า” และโปรดให้พระยาวิเศษสงครามรามภักดี (แก้ว)เป็นจางวางอยู่ตามเดิม



 
           ในระหว่างรัชกาลที่ 3 นั้น ได้มีเหตุที่ไทยต้องรบกับญวนอยู่หลายปี พระยาวิเศษสงครามรามภักดี (แก้ว) ก็ได้ไปในราชการสงครามฉลองพระเดชาพระคุณจนสุดความสามารถ คราวนั้นปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า มีญวนคลององเจืองและญวนเมืองโจดก บรรดาที่นับถือศาสนาเดียวกับพระยาวิเศษสงครามรามภักดี (แก้ว) ขอสวามีภักดีเข้ามาอยู่ในประเทศสยาม พระบ าทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ถัดบ้านเขมรไปทางเหนือ และพระยาวิเศษสงครามรามภักดี (แก้ว) กราบบังคมทูลขอญวนเหล่านั้นให้มาอยู่กับเขมร ครั้งต่อมาพระยาวิเศษสงครามรามภักดี (แก้ว) ถึงแก่อนิจกรรมลง ก็ทรงพระกรุณาโปรดตั้งนายจันทร์ผู้น้องเป็นพระยาวิเศษสงครามแทนที่ ภายหลังผู้คนในบ้านเขมรเกิดทบทวีมากขึ้น ที่อยู่แออัดไม่เพียงพอกันแล้ว พระยาวิเศษสงครามรามภักดี (จันทร์) จึงกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานขยายเขตหมู่บ้านเขมรออกไปอีก ก็ได้ รับพระมหากรุณาธิคุณตามที่กราบบังคมทูลขอ เขตบ้านจึงขยายกว้างออก คือทิศเหนือวัดราชผาติการาม (วัดส้มเกลี้ยง) ทิศใต้จดวัดราชาธิวาส (วัดสมอราย) ทิศตะวันออกติดถนนสามเสน ทิศตะวันตกจดแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนพวกญวนก็ขยับจากที่เดิมไปตั้งเคหะสถานทางด้านเหนือ
 
                                                 ผู้สืบตำแหน่งจากพระยาวิเศษสงครามรามภักดี

                            
                            
 
และต่อมาก็ได้สร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่ง คือวัดนักบุญฟรังซิสเซเวียร์หลังปัจจุบันนี้ขึ้น ซึ่งได้ทำการเสกเมื่อ ปี ค.ศ.1867 วัดนี้คุณพ่อยิบาร์ตผู้มีหน้าที่ดูแลค่ายญวนได้เริ่มสร้างมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1853  แล้วแต่เพราะขาดเงินการก่อสร้างจึงต้องชงักหลายหน

 ในระหว่าง ค.ศ. 1828-1843 ท่านบาทหลวงฌอง บัปติสต์ ปัลเลอกัว ได้มาเป็นเจ้าอธิการวัดคอนเซ็ปชัญ ท่านได้พยายามทะน ุบำรุงวัดคอนเซ็ปชัญให้เจริญมากขึ้น โดยปกติท่านบาทหลวง ฌอง บัปติสต์ ชอบสะสมความรู้เกี่ยวภาษา ฝรั่งเศส อังกฤษ ลาติน และภาษาไทย เอาใจใส่ศึกษาสอบสวนจนได้ว่าเป็นผู้หนึ่งที่มีความรู้หลักแหลมใน 4 ภาษานี้ ได้เรียบเรียงพจนานุกรม 4 ภาษาขึ้นเล่มหนึ่ง เป็นหนังสือขนาดใหญ่และยังร้อยกรองเรื่องอื่นๆ เป็นหนังสือสำคัญไว้อีกหลายเรื่อง


         ในส่วนบำรุงวัด สมัย บาทหลวง ฌอง บัปติสต์  มีผู้ไปสวดมนต์ภาวนาที่วัดมา กขึ้น ท่านเห็นว่าวัดน้อยคับแคบไม่พอจำนวนผู้ไปสวดมนต์ จึงดำริสร้างวัดขึ้นใหม่อีก คือวัดใหญ่ที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ แต่ระระฆังคงใช้ของเก่าซึ่งมีอยู่แล้วที่มุมกำแพงวัดด้านใต้ ภายหลังได้สร้างกำแพงรอบวัดใหม่ เป็นที่สง่างามแก่วัดยิ่งขึ้น และอัญเชิญรูปพระแม่เจ้า (ที่นำมาจากเมืองเขมร) ประดิษฐานไว้ในวัดใหม่ด้วย) การสร้างวัดใหม่ สำเร็จเรียบร้อยใน ค.ศ.1938 พอดีที่ท่านได้เลื่อนสมณะศักดิ์ขึ้นเป็นพระสังฆราช กระทำพิธีอภิเษกพระสังฆราชตามลัทธินิยมในวัดที่สร้าง ใหม่นี้เอง
 
รูปสลัก พระรูปพระแม่เจ้า ( รัตน์ รัตนา...รวบรวม )
 
 วัดคอนเซ็ปชัญมีวัตถุอันล้ำค่าอยู่สิ่งหนึ่ง ที่ชาวบ้านต่างเคารพบูชาและหวงแหนอย่างที่สุด วัตถุนั้นคือ รูปสลักพระรูปพระแม่เจ้าพระนางมหามารีอา พระรูปสลักนี้มีขนาดสูงประมาณ 100 เมตร แกะสลักด้วยฝีมือประณีตบรรจง และลงรักปิดทองสวยงามหาที่ติมิได้ การได้มาซึ่งพระรูปสลักนี้ มีเรื่องปรากฏเป็นหลักฐาน อยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ว่า เมื่อ พ.ศ.2325 ซึ่งตรงกับ ค.ศ.1782 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่ได้สร้างกรุงเทพมหานคร ได้เกิดการจลาจลขึ้นในเมืองเขมร เวลานั้นพระยายมราช(แบน) ได้ตั้งตัวเป็นที่ฟ้าทละหะปกครองกัมพูชา ในขณะเดียวกันได้มีขุนนางเขมรบางนายได้คบคิดกับพวกแขกจามเมืองตะโบงคะมุม ยกกองทัพเรือจะไปกำจัดพระยายมราช(แบน)  พระยายมราช (แบน) เห็นว่าจะต่อต้านไม่ไหว จึงได้เกลี้ยกล่อมพวกเขมรที่นับถือศาสนาคริสตัง และอัญเชิญนักองเมน นักองอี นักองเภา
 
           ซึ่งเป็นพระขนิษฐาของสมเด็จพระนารายณ์ราชากษัตริย์เขมร และนักองเองราชบุตรของสมเด็จพระนารายณ์ราชา หลบเข้ามาเมืองไทย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ซึ่งได้ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ทะนุบำรุงเจ้านายของเขมรไว้เยี่ยงพระราชโอรสและราชธิดาของพระองค์ ส่วนชาวเขมรที่เข้ามาด้วย 500 คนนั้น ได้โปรดเกล้าฯให้ชาวเขมร 500 คนมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่วัดคอนเซ็ปชัญ ก็ด้วยทรงเห็นว่าในหมู่บ้านนี้มีชาวโปรตุเกสซึ่งเป็นคริสตัง อาศัยอยู่ก่อนแล้วและชาวเขมรเหล่านั้นก็เป็นคริสตังเช่นเดียวกัน จึงเห็นควรให้อยู่ด้วยกัน เพื่อจะได้ถือปฏิบัติทางศาสนกิจร่วมกันต่อไป
 
           ชาวเขมรที่อพยพมาคราวนั้น ได้อัญเชิญพระรูปสลักพระแม่เจ้าพระนางมารีอาดังกล่าวข้างต้นเข้ามาด้วย และได้ประดิษฐานพระรูปนั้นไว้ในวัดคอนเซ็ปชัญ เพื่อเป็นที่เคารพสักการะของคนในหมู่บ้านนั้น คือชาวโปรตุเกสซึ่งมาอยู่ก่อน และชา วเขมรที่ได้มาอยู่ในภายหลังนี้ด้วย ทั้งสองพวกต่างอยู่ด้วยกันอย่างสนิทสนมกลมเกลียวด้วยความผาสุขตลอดมา

           ต่อมาเหตุการณ์ในเมืองเขมรสงบราบคาบ ได้มีชาวเขมรที่อพยพหนีภัยเข้ามาพึ่งโพธิสม ภารบางหมู่เห็นว่าบ้านเมืองของตนสงบเรียบร้อยดีแล้ว จึงใคร่จะกลับไปยังภูมิลำเนาเดิม ณ เมืองเขมร ในที่สุดได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ อนุญาตให้ชาวเขมรที่ต้องการกลับ กล ับคืนสู่ภูมิลำเนาของตนได้ตามความประสงค์และในการกลับคืนบ้านเกิดเมืองนอนของชาวเขมรเหล่านั้น ก็ได้อัญเชิญพระรูปสลักพระแม่เจ้าลงเรือเพื่อนำกลับไปเมืองเขมรด้วย
 
“แม่พระตุ้งติ้ง” เพราะแต่เดิมแม่พระใส่ตุ้มหูห้อยตุ้งติ้งไว้ทั้งสองข้าง รูปแม่พระองค์นี้ทำด้วยไม้
 
 

          
           ในตอนนี้ได้มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า ขณะที่อัญเชิญพระรูปสลักพระแม่เจ้าไปนั้นได้เกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้น คือเรือ ที่อัญเชิญพระรูปพระแม่เจ้าไปนั้น เมื่อแจวออกไปไม่ไกลนัก เรือก็หยุดอยู่นิ่งกับที่ คนแจวพยายามแจวเท่าไรเรือก็ไม่ยอมเดินหน้า แม้จะเพิ่มคนแจวเข้าไปอีกเรือก็มิได้แล่นต่อไป เป็นเหตุให้เกิดความพิศวงมาก มีชาวเขมรบางคนสงสัยว่า อาจจะเป็นเพราะอำนาจปาฏิหาริย์ของพระรูปพระแม่เจ้า ที่มีพระประสงค์จะประทับอยู่ที่วัดคอนเซ็ปชัญก็อาจเป็นได้ จึงได้ทดลองแจวเรือกลับมาทางวัดคอนเซ็ปชัญ คราวนี้เรือก็ยอมแล่นกลับโดยง่ายดาย แต่ครั้นทดลองแจวเรือกลับไปทางเก่าอีก เรือก็ไม่ย อมขยับเขยื้อน ได้กระทำอยู่เช่นนี้หลายครั้งหลายหน ก็คงเป็นอยู่ในลักษณะเดิม ชาวเขมรที่จะกลับเมืองเขมรก็แน่ใจว่า พระแม่เจ้ามีพระประสงค์จะให้พระรูปสลักนี้ประทับอยู่ที่วัดคอนเซ็ปชัญ จึงได้อัญเชิญพระรูปกลับมาประดิษฐานไว้ ณ วัดคอนเซ็ปชัญ แล้วพวกเขาก็เดินทางกลับเมืองเขมรโดยสวัสดิภาพ และพระรูปสลักรูปพระแม่เจ้าพระนางมหามารีอาก็ได้ประดิษฐานอยู่ที่วัดคอนเซ็ปชัญตราบเท่าทุกวันนี้
 
 
                                    
                                                 แท่นเล็ไม้สัก                                             ตู้ศีล

           เกี่ยวกับพระรูปพระแม่เจ้านี้ ได้มีเรื่องเล่าต่อๆ มาว่า ตั้งแต่ได้ประดิษฐานอยู่ที่วัดคอนเซ็ปชัญนี้แล้ว ความเลื่อมใสศรัทธาในพระรูปนี้ไปแพร่หลายออกไป มีผู้นิยมนับถือมากขึ้น มีอยู่คราวหนึ่งคือเมื่อ ค.ศ. 1849 ได้เกิดอหิวาตกโรคระบาด ทำให้ชาวกรุงเทพฯ ล้มตายเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านวัดคอนเซ็ปชัญ จึงได้ตกลงประชุมพร้อมกันให้อัญเชิญพระรูปพระแม่เจ้าแห่ไปตามหมู่บ้านจนทั่ว พร้อมทั้งสวดอ้อนวอนขอพระมหากรุณาต่อพระผู้เป็นเจ้าได้โปรดบำบัดโรคร้ายนี้ ปรากฏว่าหลัง จากได้แห่พระรูปพระแม่เจ้าแล้ว รุ่งขึ้นโรคร้ายก็สงบ ผู้ที่กำลังทรมานด้วยโรคก็หายรอดชีวิตได้จำนวนมาก ทั้งนี้เข้าใจกันว่าเนื่องจากพระบารมีของพระแม่เจ้าคุ้มครอง และด้วยความเลื่อมใสศรัทธาอันแรงกล้าของชาวบ้านนั้นเอง ซึ่งเรื่องนี้ได้อยู่ในความทรงจำของชาววัดคอนเซ็ปชัญ และได้เล่าต่อกันมาจนทุกวันนี้
 
 อีกเรื่องหนึ่งเกิดขึ้นในสมัยที่พระสังฆราช ฌอง บัปติสต์ ปัลเลอกัว ปกครองวัดคอนเซ็ปชัญอยู่ ในครั้งนั้นได้เกิดเพลิงไหม้ ขึ้นที่หมู่บ้านด้านหลังวัดน้อย ไฟได้ลุกโหมและไหม้ลามจนถึงกำแพงหลังวัด (ได้รื้อออกหมดแล้ว) ขณะนั้นพระสังฆราชยวง ได้ไปคุกเข่าสวดอยู่ที่สะพานข้ามคลองข้างวัดน้อย ได้มีชายไทยคนแจวเรือจ้างผู้หนึ่งวิ่งมาดูไฟไหม้ ขณะที่กำลังชุลมุนอยู่นั้น ชายไทยคนแจวเรือก็ร้องออกมาด้วยความตื่นเต้นว่า “มีผู้หญิงยืนอยู่บนหลังคาโบสถ์ เอาผ้าเช็ด หน้าโบกไล่ไฟ” แต่เมื่อทุกคนที่ได้ยินมองขึ้นไปดูก็ไม่เห็นมีใครยืนอยู่บนหลังคาโบสถ์เลย แต่ในขณะเดียวกันนั้นไฟทีกำลังลุกโหมมาทางวัด ก็หยุดลุกลามอยู่แค่กำแพง และที่สุดไฟก็สงบ เมื่อไฟสงบลงแล้ว ต่างก็เฉลียวใจเรื่องคนแจวเรือจ้างบอก หลายคนคิดถึงรูปพระแม่เจ้าในวัด จึงพากันเข้าไปดูในวัด ต่างพากันอัศจรรย์ใจมากเมื่อได้เห็นเขม่าไฟเปื้อนที่พระบาทพระรูปของพระแม่เจ้า และเมื่อให้ชายคนแจวเรือจ้างเข้าไปดู ก็บอกว่าหญิงสาวที่เขาเห็นบนหลังคาโบสถ์นั้นคือหญิงสาวตามรูปนี้แหละ การประจักษ์อัศจรรย์ครั้งนี้เองเป็นเหตุให้ชายไทยแจวเรือจ้างผู้นั้นเกิดความศรัทธาอย่างแรงกล้า ถึงได้หันกลับมาถือศาสนาคาทอลิกด้วยความเชื่ออันแน่นแฟ้นในภายหลัง
 
           ภายหลังจากเหตุการณ์ไฟไหม้ได้ผ่านพ้นไปไม่ห่างกันมากนัก ได้มีเรื่องแปลกประหลาดเกี่ยวกับพระรูปพระแม่เจ้าเกิดขึ้นอีก คือวันหนึ่งมีคนจีนแจวเรือเร่ขายผ้าแจวเรือผ่านมาทางปลายสะพานลงท่าน้ำของวัด ได้มีหญิงสาวสวยคนหนึ่งเรียกให้คนจีนขายผ้าแวะเรือเข้าเทียบปลายสะพาน เมื่อเรือเทียบท่าแล้ว หญิงสาวผู้นั้นก็ลงบันไดท่าน้ำไปเลือกซื้อผ้าเนื้อดี พื้นเทาหม่น ดอกแดง จำนวน 3 พับ เมื่อตกลงราคากันแล้ว หญิงสาวนั้นก็บอกว่าประเดี๋ยวจะนำเงินค่าผ้ามาให้ ว่าแล้วหญ ิงสาวก็หอบผ้าที่ซื้อขึ้นจากท่าน้ำเดินเข้าไปในวัด ฝ่ายคนจีนขายผ้าจอดเรือรออยู่เห็นนานผิดปกติ ก็ขึ้นจากเรือเดินเข้าไปในวัด ก็เห็นผ้าของตนกองอยู่ที่แท่นบูชา และเห็นพระรูปพระแม่เจ้าประทับยืนอยู่บนพระแท่นด้วยอาการสงบ คนจีนขายผ้าคิดว่ารูปนั้นเป็นคนจริงๆ จึงได้ร้องทวงค่าผ้า เสียงของคนจีนขายผ้าได้ดังไปถึงพระคุณเจ้ายวงฯ ถึงบนตึกที่พัก พระคุณเจ้ายวงฯ จึงรีบลงมาสอบถามดู คนจีนขายผ้าก็เล่าเรื่องให้ฟัง พระคุณเจ้ายวงฯ จึงรีบไปดูที่พระแท่นก็เห็นผ้าใหม่ๆ กองอยู่ที่ พระบาทของพระรูปพระแม่เจ้า พระคุณเจ้ายวงฯ จึงได้ชำระค่าผ้าให้กับคนจีนขายผ้าไป แล้วเอาผ้านั้นมาเย็บเป็นม่านใหญ่กั้นไว้ตรงหน้าพระแท่นกลาง ในเรื่องนี้มีคำเล่าอีกทางหนึ่งว่า ที่กองผ้าริมพระบาทพระแม่เจ้านั้นมีเงินวางไว้ 80 บาทด้วย
 
 
        

  เรื่องแปลกอัศจรรย์ทั้ง 3 เรื่องที่เล่ามาแล้วนั้น ได้ทำให้มีผู้เลื่อมใสในพระรูปพระแม่เจ้าองค์นี้มาก ถึงกับมีผู้ร่วมใจกันบริจาคทรัพย์สร้างพวงลูกประคำด้วยทองคำแท้ 2 สาย สรวมข้อพระบาทพระรูปพระแม่เจ้า เพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งความจงรักภักดีอันสูงส่ง พวงประคำ 2 สายนี้ทางวัดได้เก็บรักษาไว้จนบัดนี้ และจะนำมาตบแต่งพระรูปเมื่อถึงวันฉลองเป็นประจำทุกปี


 



1.พระสังฆราช หลุยส์ ลาโน     ปี ค.ศ. 1674-1675
 
2. คุณพ่อ ชังเดอบัว  เดอ ฟาลังแดง  ปี ค.ศ. 1676-1686
 
3.คุณพ่อ เอเจียน มานีแอล  ปี ค.ศ. 1686-1688
 
4. พระสังฆราช บรีโกต์  ปี ค.ศ. 1750-1755
 
5. คุณพ่อ ยาโกเบ กอรร์   ปี ค.ศ. 1762-1767     ปี ค.ศ. 1769-1773
 
6. พระสังฆราช โอลิเวียร์ ซีม็อง เลอบ็อง  ปี ค.ศ. 1773-1779
 
7. พระสังฆราช อาร์โน อังตวน การ์โนลต์  ปี ค.ศ.1773-1779
 
8. พระสังฆราช ยอแซฟ  หลุยส์  กูเด  ปี ค.ศ.1773-1779
 
9. คุณพ่อ ลังเยอนัวส์  ปี ค.ศ. 1785-1789
 
10. พระสังฆราช เอสปริย์ มารี โยเซฟ ฟลอรังส์     ปี ค.ศ. 1793-1802
 
11. คุณพ่อยัง บัปติสต์ เรอเน ราโบ ปี ค.ศ. 1802 -1809
 
12. คุณพ่อ ดอมินิก เยเรมิอัส  ปี ค.ศ. 1809-1813  
 
13.คุณพ่อ รอดริเกส ปี ค.ศ. 1819-1823
 
14. คุณพ่อ กราซิอานุส เดอ  แซงต์ ซาเวียร์  ปี ค.ศ. 1823-1836
 
15. พระสังฆราช ยอห์น บัปติสต์ ปัลเลอกัว  ปี ค.ศ. 1836-1837
 
16. คุณพ่อยัง  ยอแซฟ สตานิสลาส โกลเดต์  ปี ค.ศ. 1837-1849
 
17.  คุณพ่อ สเตฟานุส ทินห์ ปี ค.ศ. 1849-1853 
 
18. คุณพ่อ ยัง มาแร็ง    ปี ค.ศ. 1854-1857
 
19.  คุณพ่อ มาร์แต็ง ยัง ปิแอร์     ปี ค.ศ. 1857-1886
 
20.คุณพ่อ อัลเฟรด มารี เทโอฟิล ร็องแดล    ปี ค.ศ. 1887-1888
 
21.คุณพ่อ เซบัสติแอง อิกนาส เยิง   ปี ค.ศ. 1888-1893
 
22.คุณพ่อ โยเซฟ อามับล์  ฟ็อก  ปี ค.ศ. 1893-1904 
 
23. คุณพ่อ เลออง กีญารด์   ปี ค.ศ. 1904-1914
 
24. คุณพ่อ เรมุนโด รัตน์   ปี ค.ศ. 1914-1918
 
25. คุณพ่อ ยอแซฟ บรัวซาต์ (วาระแรก)  ปี ค.ศ. 1918-1919
 
26. คุณพ่อ เออเยน เล็ตแชร์ ปี ค.ศ. 1919-1922
 
27. คุณพ่อ ยอแซฟ บรัวซาต์ (วาระที่สอง) ปี ค.ศ. 1923-1924
 
28.  คุณพ่อ กาบริแอล อัลฟองส์ ฮุย ปี ค.ศ. 1924-1928
 
29.  คุณพ่อ ยวง บัปติสตา ตาปี ปี ค.ศ. 1928
 
30.  คุณพ่อ อังเดร พลอย โรจนเสน ปี ค.ศ. 1928-1943
 
31. คุณพ่อ มาร์แชล จงสวัสดิ์ อารีอร่าม  ปี ค.ศ. 1943-1959
 
32. พระสังฆราช อาแลง วังกาแวร์ ปี ค.ศ. 1959-1965
 
33.  คุณพ่อ เปโตร ศวง  ศุระศรางค์  ปี ค.ศ. 1965-1973
 
34. คุณพ่อ ร็อค  วิศิษฎ์ หริพงศ ์  ปี ค.ศ.1973-1976
 
35. คุณพ่อ ยอแซฟ วิจิตร ลิขิตธรรม  ปี ค.ศ. 1976-1979
 
36.คุณพ่อ ยอแซฟ สมศักดิ์ ธิราศักดิ์  ปี ค.ศ. 1979-1985
 
37.คุณพ่อ ยอแซฟ อนันต์ เอี่ยมมโน ปี ค.ศ. 1985-1989 
 
38. คุณพ่อ ยวง วรวุฒิ กิจสกุล ปี ค.ศ.  1989-1994 ได้รับแต่งตั้งให้มาเป็นเจ้าอาวาสคุณพ่อได้พยายามปรับปรุงวิชาการแ ละการบริหารงานโรงเรียนให้ดีขึ้น  พร้อมทั้ง   ส่งเสริมกิจการคาทอลิกต่างๆของวัดให้เจริญก้าวหน้าอยู่เสมอ
 
39. คุณพ่อ ยอแซฟ ไพโรจน์ หอมจินดา ปี ค.ศ. 1994-1999
 
40. คุณพ่อ แอนโทนี บัณฑิตย์ ประจงกิจ   ปี ค.ศ. 1999-2004
 
41. คุณพ่อ ยอแซฟ กิตติศักดิ์ กาญจนธานินทร์  ปี ค.ศ. 2004-2009ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดนักบุญอันเดร บางภาษี และวัดนักบุญมัทธิว ทุ่งลูกนก
 
42. คุณพ่อ ยอแซฟ สุวนารถ กวยมงคล ปี ค.ศ. 2009-ปัจจุบันย้ายมาจากผู้ช่วยอธิการสามเณราลัย นักบุญยอแซฟ บ้านเณรเล็ก ยอแซฟ  ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน

คุณพ่อเอกรัตน์ หอมประทุม ( วันที่ 5 พฤษภาคม 2012 - ปัจจุบัน ) ช่วยงานอภิบาล

                                                                                             ข้อมูล / รูปภาพ ห้องเอกสาร อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

    updateข้อมูลล่าสุด วันที่  23 เมษายน 2012

    หน้าหลักอ่านทั้งหมดหน้ารวม