1318 ซ.วานิช 2 ถ.โยธา  แขวงตลาดน้อย
เขตสัมพันธวงศ์   จ. กรุงเทพฯ  10100
-------------------------------------------------------------

02-266-4849, 02-236-2727

ตารางมิสซา

02-266-4276

แผนที่การเดินทาง

รูปวัด   800x600   /   1024 x768

บาทหลวงยอห์น ไพฑูรย์ หอมจินดา

“วัดกาลหว่าร์” เป็นวัดเก่าแก่มีความเป็นมาจะเรียกได้ว่าพร้อมกับกรุงรัตนโกสินทร์เลยทีเดียว จากประวัติศาสตร์ ทำให้สามารถพูดได้อย่างเต็มปากว่า เป็นวัดคาทอลิกคู่กรุงรัตนโกสินทร์ก็ว่าได้

เพื่อความเข้าใจอย่างถูกต้อง  ต้องรู้จักที่มาของ “คาทอลิก” ในประเทศไทยเสียก่อน ชาวโปรตุเกสเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่อยุธยา ก่อนที่พระสงฆ์คณะมิสซังต่างประเทศจะมาถึงนานพอดู และพวกนักบวชคณะต่าง ๆ เช่น คณะดมีนีกัน และคณะอื่น ๆ จึงเข้ามาภายหลัง และแต่ละคณะก็จะมีการสร้างวัด และบ้านของตนเอง

ครั้นเมื่อทางสันตะสำนัก (กรุงโรม) ประกาศแต่งตั้งประมุขมิสซังสยาม อันได้แก่ คณะสงฆ์มิส ซังต่างประเทศ ซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศส จึงทำให้ชาวโปรตวัดแม่พระลูกประคำ กาลหว่าร์ุเกสแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งยอมรับอำนาจการปกครองของบรรดาประมุชมิสซังฯ ส่งบุตรหลานเข้าเรียน และช่วยเหลือกิจการของมิสซัง เช่น ที่บ้านเณรเล็กนักบุญยอแซฟ (บ้านเณรแห่งแรกในกรุงสยาม ที่อยุธยา) และ บ้านเณรใหญ่  อีกกลุ่มหนึ่ง ไม่ยอมรับอำนาจของประมุขมิสซัง และชาวฝรั่งเศส จะยอมรับเฉพาะพระสงฆ์ชาวโปรตุเกส
 
ปี ค.ศ.1767 ทหารพม่าบุกเข้ายึดกรุงศรีอยุธยา พวกพระสงฆ์โปรตุเกสยอมมอบตัวแก่ทหารพม่า ส่วนพระสังฆราช และพระสงฆ์ชาวฝรั่งเศสถูกจับเป็นเชลย วัดนักบุญยอแซฟถูกทำลาย ทรัพย์สมบัติถูกยึดไปมากมาย บรรดาคริสตังชาวโปรตุเกสและชาวญวณจำนวนหนึ่งที่รอดจากการถูกจับ หรือถูกฆ่า ได้พากันอพยพลงมายังบางกอก (กรุงเทพ) โดยล่องมาตามลำน้ำเจ้าพระยา

กลุ่มชาวโปรตุเกส ที่ไม่ยอมรับอำนาจของพระสังฆราชประมุขมิสซัง ได้นำเอาทรัพย์สมบัติไปด้วย และในบรรดาสมบัติดังกล่าวนั้น มีรูปปั้นมีค่ายิ่งสองรูป รูปแรก คือ รูปแม่พระลูกประคำ (คือรูปที่ใช้แห่ทุก ๆ ปี ในโอกาสฉลองวัดในปัจจุบันนี้) อีกรูปหนึ่ง คือ รูปพระศพของพระเยซูเจ้า (ซึ่งใช้แห่กันทุกปี ในวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ จนปัจจุบัน)

ปี ค.ศ.1786 พระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานที่ดินที่พวกเขาอา ศัยอยู่นั้น สำหรับสร้างวัด และในปี ค.ศ.1787 วัดก็สร้างเสร็จ เป็นวัดแบบเรียบง่าย สร้างด้วยไม้ ยกพื้นสูง เพราะที่ดินแปลง นี้เคยถูกน้ำท่วม มีห้องประชุมใหญ่สำหรับสัตบุรุษ และห้องซาคริสเตีย ด้านข้างมีบ้านพักพระสงฆ์ขนาดย่อม สำหรับเจ้าอาวาสที่จะมาพัก เพราะคริสตังเหล่านี้หวังว่า สักวันหนึ่งเขาจะมีพระสงฆ์ชาวโปรตุเกสมาปกครอง วัดนี้ ชื่อมีว่าวัดกาลหว่าร์ตามชื่อรูปพระตายหรือกาลหว่าร์ซึ่งพวกเขานำมาจากอยุธยา คริสตังชาวโปรตุเกสเหล่านี้ขอให้ พระอัครสังฆราชแห่งเมืองกัว ส่งพระสงฆ์โปรตุเกสมาปกครองพวกตน แต่ทางเมืองกัวไม่ยอมส่งโดยมีเหตุผลว่า พวกเขามีผู้ปกครองอยู่แล้ว คือพระสังฆราชชาวฝรั่งเศส ซึ่งพระสันตะปาปาทรงแต่งตั้ง ดังนั้น คริสตังโปรตุเกสจึง ค่อยๆ กลับใจยอมรับอำนาจการปกครองของมิชชันนารีฝรั่งเศสในที่สุด เพราะจนถึงเวลานั้นที่วัดกาลหว่าร์ยังไม่มี พระสงฆ์องค์ใดมาทำมิสซาโปรดศีลได้

ปี ค.ศ.1820 พระเจ้าอยู่หัวพระราชทานที่ดินเพื่อตั้งสถานกงสุลโปรตุเกส ต่อมาภายหลังสถานกงสุลนี้ ได้รับฐานะเป็นสถานทูต ท่า นกงสุลขอให้พระเจ้าอยู่หัวประกาศว่าที่ดินค่ายแม่พระลูกประคำ เป็นที่ดินพระราช ทานแก่ประเทศโปรตุเกส พระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 2) จึงทรงมีพระบรมราชโองการตอบว่าที่ดินผืนนี้มิได้ พระราชทานให้รัฐบาลโปรตุเกส แต่ให้คริสตังโปรตุเกสสร้างวัดได้ และดังนั้นที่ดินนี้จึงเป็นกรรมสิทธิ์ของมิสซัง โรมันคาทอลิก ไม่ว่าใคร ชาติใด ที่เป็นประมุขของมิสซัง พระสังฆราชฟลอรังส์ จึงเข้าปกครองวัดกาลหว่าร์และทำมิสซาอย่างสง่าเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1822 เพื่อเป็นการเทิดเกียรติแด่พระนางมารีอา

ชาวโปรตุเกสที่อาศัยอยู่บนที่ดินผืนนี้ค่อยๆ อพยพโยกย้ายไปทำมาหากินในที่ต่างๆ จึงมีจำนวนลดลง เรื่อยๆ และมีชาวจีนเข้ามาอยู่อาศัยแทน นานๆ ครั้งจึงจะมีส่งพระสงฆ์ไทยมาทำมิสซา และโปรดศีลให้ ปี ค.ศ. 1837 คุณพ่ออัลบรังด์ มาอยู่ที่วัดกาลหว่าร์ เพราะสะดวกสำหรับการติดต่อแพร่ธรรมในหมู่ชาวจีน ท่านได้สร้างห้องโถงใหญ่ ด้วยไม้ไผ่ มุงแฝก สำหรับใช้เป็นสถานที่แพร่ธรรมให้แก่คริสตังใหม่และคริสตังชาวจีน เนื่องจากวัดเก่าที่ชาวโปรตุเกสสร้างเมื่อปี ค.ศ.1887 นั้นผุพังไปเกือบหมดแล้ว พระสังฆราชกูรเ วอซี จึงสั่งให้รื้อ และสร้างใหม่ เป็นวัดครึ่งอิฐครึ่งไม้ ทำพิธีเสกในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ.1839 โดยพระคุณเจ้าปัลเลอกัว ซึ่งเป็น พระสังฆราชผู้ช่วย และตั้งชื่อวัดว่าวัดแม่พระลูกประคำ แต่ชาวจีนยังคงเรียกว่า วัดกาลหว่าร์ มาจนถึงปัจจุบันนี้
 
  ในสมัยคุณพ่อดือปองด์ เป็นเจ้าอาวาส (ค.ศ.1846-1864) ในปี ค.ศ.1858 เพื่อเป็นการลบ ล้างการทุรจาร วัดกาลหว่าร์ ซึ่งเกิดจากการมาจุดประทัดในวัด พระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานที่ดินอีกแปลงหนึ่งให้ ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1864 ได้เกิดเพลิงไหม้ที่วัดกาลหว่าร์ ทำลายบ้านพักพระสงฆ์ และหลักฐานทุกอย่างของวัดกาลหว่าร์รวมทั้งหลักฐานและบัญชีศีลศักดิ์สิทธ์ของวัดทุกวัดที่เปิดตั้งแต่สมัยคุณพ่ออัลบรังด์

ใน ปี ค.ศ. 1890 คุณพ่อแดซาลส์ เจ้าอาวาส ได้รื้อวัดกาลหว่าร์ซึ่งมี อายุ 50 กว่าปีแล้ว และทำการสร้างใหม่ ซึ่งก็คือหลังปัจจุบัน เสกศิลาฤกษ์ วันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ.1891 โดยพระสัง ฆราชเวย์ และเสกวัดใหม่ในปี ค.ศ.1897 ในสมัยคุณพ่อเปอตีต์ เป็นเจ้าอาวาส วัดหลังนี้ได้มีโอกาสใช้เป็น สถานที่สำหรับทำ พิธีอภิเษกคุณพ่อแปร์รอส เป็นพระสังฆราชเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ.1910 พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงแต่งตั้งผู้แทนมาร่วมพิธีด้วย
 
 ในสมัยคุณพ่อกิยูเป็นเจ้าอาวาสได้จัดฉลองครบรอบ 25 ปี ในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ.1922 จัดฉลองครบรอบ 50 ปี ในวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ.1947 ในสมัยคุณพ่อโอลลิเอร์ เป็นเจ้าอาวาส ในสมัยคุณพ่ออาแมสตอย เป็นเจ้าอาวาสได้ทำ การบูรณะซ่อมแซมวัด ทาสีทั้งภ ายนอกและภายในวัดให้ดูสวยงามและสง่าขึ้น และได้จัดฉลองครบรอบ 60 ปีของวัดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ.1957

คุณพ่อฮั่วเซี้ยง กิจบุญชู (อนาคตพระอัครสังฆราชแห่งกรุงเทพฯ และพระคาร์ดินัล) ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 13 ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1965 ถึงเดือนสิงหาคม ค.ศ.1965 นับเป็นเจ้าอาวาสซึ่งเป็นพระสงฆ์คนไทยองค์แรกของวัดกาลหว่าร์ และนับจากนั้นเป็นต้นมา เจ้าอาวาสทุกองค์ของวัดกาลหว่าร์ก็ได้ถูกมอบหมายให้ดับพระสงฆ์ไทย นับเป็นความภาคภูมิใจประการหนึ่งของวัดนี้
 
เหตุการณ์ที่น่าสนอีกประการหนึ่งเกิดขึ้นในสมัยที่คุณพ่อประวิทย์ พงษ์วิรัชไชย ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสในระหว่างปีค.ศ. 1983-1989 นั่นคือ คุณพ่อได้ทำการบูรณะซ่อมแซมและปรับปรุงสภาพของตัววัดซึ่งกำลังทรุดโทรมมาก ให้มีความสวยงามขึ้น โดยพยายามรักษารูปแบบตลอดจนลวดลายของเดิมไว้ให้มากที่สุด เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน ค.ศ.1987 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราช กุมารี ได้พระราชทานรางวัลประกาศนียบัตรอาคารอนุรักษ์ดีเด่นให้แก่คุณพ่อประวิทย์ พงษ์วิรัชไชย ซึ่งเข้ารับพระราชทานรางวัลในฐานะเจ้าอาวาส นับว่าเป็นความภูมิใจไม่เฉพาะของวัดและสัตบุรุษวัดกาลหว่าร์เท่านั้น แต่ยังเป็นความภูมิใจของพระศาสนจักรในประเทศไทยที่มีส่วนในการอนุรักษ์ศิลปะที่มีคุณค่าต่อประเทศเทศชาติด้วยในสมัยที่คุณพ่ออนันต์ เอี่ยมมโน ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสในปี ค.ศ.1989-1994 วัดกาลหว่าร์ก็กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยให้แก่สัตบุรุษใหม่ ซึ่งโครงการนี้พระคาร์ดินัลมีช ัย กิจบุญชู ได้ให้บริษัทสันติพิทักษ์เข้ามาช่วยเหลือในการดำเนินงานด้วย

  • ปี 1837- 1846  คุณพ่ออัลบรังด์ เจ้าอาวาส
  • ปี 1841 - 1846 คุณพ่ออัลบรังด์ เจ้าอาวาส มีผู้ช่วยเจ้าอาวาสคือ  คุณพ่อดือปองค์
  • ปี 1843- 1844  คุณพ่ออัลบรังด์ เจ้าอาวาส มีผู้ช่วยเจ้าอาวาสคือ  คุณพ่อวาซัล
  • ปี 1846  - 1864  คุณพ่อดือปองค์ เจ้าอาวาส มีผู้ช่วยเจ้าอาวาสคือ  คุณพ่อดานิแอล
  • ปี 1864 -1874 คุณพ่อดานิแอล เจ้าอาวาส  มีผู้ช่วยเจ้าอาสวาส คุณพ่อด๊อนต์ มาช่วยงานในปี  1869
  • ปี 1874 - 1878  คุณพ่อซาลาแด็ง เป็นเจ้าอาวาส  มีผู้ช่วยเจ้าอาสวาส คุณพ่อเยิง มาช่วยงานในปี 1874
  • ปี 1875 คุณพ่อกลอมเบต์ เป็นเจ้าอาวส
  • ปี 1878 คุณพ่อราบาร์แดล เจ้าอาวาส
  • ปี 1878 คุณพ่อฟ๊อก เจ้าอาวาส
  • ปี 1878- 1907  คุณพ่อแดซาลส์ เจ้าอาวาส
    มีผู้ช่วยเจ้าอาวาส
     คุณพ่อฟ็อก  ช่วยงานในปี 1879 - 1882
     คุณพ่อบาร์บิเอร์ ช่วยงานในปี  1880  - 1881
     คุณพ่อกิยู  ช่วยงานในปี 1885 - 1888
     คุณพ่อยวง เฮียง นิตตะโย   ช่วยงานในปี 1888 -  1904
     คุณพ่อเบเนดิกโต   ช่วยงานในปี 1894 -  1894
     คุณพ่อกีโยม กิ๊น ดาครู้ส    ช่วยงานในปี 1894 - 1900
     คุณพ่อริชารด์   ช่วยงานในปี 1897  - 1907
     คุณพ่อยอแซฟ ชิน   ช่วยงานในปี   1898  - 1902
     คุณพ่อมัทธิอัส บุญ  ช่วยงานในปี 1899 -  1936
     คุณพ่อฟูยาต์  ช่วยงานในปี   1903 -  1906
     คุณพ่อแบลลามี ช่วยงานในปี  1906 -  1910
  • ปี 1907 -  1910  คุณพ่อเปอตีต์ เป็นเจ้าอาวาส
     ผู้ช่วยเจ้าอาวาส คุณพ่อแปร์รัวย์ ปี 1908
                             คุณพ่อเอเตียน(แอสเตวัง) ปี 1907- 1910
  • ปี 1910- 1914 คุณพ่อฟูยาต์ เจ้าอาวาส
    ผู้ช่วยเจ้าอาวาส คุณพ่อดานิแอล  ช่วยงานในปี 1911 - 1917
                             คุณพ่อซมแลต์  ช่วยงานในปี   1912
  • ปี 1915 - 1937 คุณพ่อกิยู   เจ้าอาวาส
     ผู้ช่วยเจ้าอาวาส  คุณพ่อยออากิม 1920 - 1940
                             คุณพ่อชันลิแอร์  1927 - 1937
                             คุณพ่อซีริล (ศิรินทร์) 1933 - 1942
  • ปี1937- 1938 คุณพ่อชันลิแอร์ เจ้าอาวาส
    ผู้ช่วยเจ้าอาวาส คุณพ่อบอนิฟาส  ช่วยงานในปี 1938 - 1940
  • ปี 1938 - 1951 คุณพ่อโอลลิเอร์  เจ้าอาวาส
  • ปี 1941 - 1942   คุณพ่อยออากิม  เจ้าอาวาส
    ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
    คุณพ่ออังแซลม์(เสงี่ยม ร่วมสมุห์)  1941 - 1941
    คุณพ่อเอมิล  ปี 1941 -1941
    คุณพ่อกัสต็อง  ปี 1941 - 1941
    คุณพ่อคาบริแอล   ปี  1941 - 1941
    คุณพ่อจีง้วน
    คุณพ่อพิจิตร กฤษณา
    คุณพ่อบุญไทย สิงห์เสน่ห์ ปี 1943 - 1945
    คุณพ่อกิมฮั้ง แซ่เล้า  ปี  1943 -1947
    คุณพ่อสวัสดิ์ กฤษเจริญ ปี 1944 -1945
    คุณพ่อเทโอฟิล ยวง กิจบุญชู ปี 1945 - 1947
    คุณพ่อเดอซูซา ปี 1946 - 1948
    คุณพ่อเปแร็ง ปี 1947
    คุณพ่ออาแมสต็อย  ปี  1947 - 1951
    คุณพ่อบุญไทย สิงห์เสน่ห์  
    คุณพ่อเบรย์
    คุณพ่อดานิแอล(ธานี วงศ์พานิช)
  • ปี 1951 - 1958  คุณพ่ออาแมสต็อย เจ้าอาวาส
    ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
    คุณพ่อวิลเลียม ตัน ปี  1951 - 1951
    คุณพ่อลังเยร์  ปี  1952 - 1957
    คุณพ่อซัลดือเบแฮร์ ปี 1951 - 1957
    คุณพ่อถาวร กิจสกุล ปี  1953 - 1958
    คุณพ่อบัณฑิต ปรีชาวุฒิ ปี 1956 -  1957
    คุณพ่อมัลแซรต์ ปี   1957 -  1957
    คุณพ่อเสวียง ศุระศรางค์  ปี  1957 - 1960
  • ปี 1956 - 1958  คุณพ่อราแป็ง  เจ้าอาวาส
    ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
    คุณพ่อบัณฑิต ปรีชาวุฒิ ปี   1962 -1967
    คุณพ่อลาบอรี ปี   1958 - 1958
    คุณพ่อมัลแซรต์ ปี  1958 -  1958
    คุณพ่อแปร์เรย์ ปี 1959 -  1960
    คุณพ่อฮ้าช ปี 1961- 1962
    คุณพ่อแปร์เรย์   ปี  1961 -  1964
    คุณพ่อแก็งตารด์  ปี  1963 - 1963
    คุณพ่อบีโยต์   ปี  1964 - 1965
  • ปี  1965 - 1965 คุณพ่อฮั้วเซี้ยง(ฯพณฯ พระคาร์ดินัล)  ผู้ช่วยเจ้าอาวาส  คุณพ่อทัศไนย คมกฤส  ปี  1965 -  1968
  • ปี  1965 -  1973  คุณพ่อกิมฮั้ง แซ่เล้า  เจ้าอาวาส
    ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
    คุณพ่อแปร์เรย์ ปี 1967 - 1967
    คุณพ่อสนัด วิจิตรวงศ์  ปี  1968 -  1968
    คุณพ่ออดุล คูรัตน์ ปี   1968 - 1970
    คุณพ่อประวิทย์ พงษ์วิรัชไชย  ปี  1970 -  1970
    คุณพ่อวิจิตร ลิขิตธรรม ปี   1972 - 1973
  • ปี 1973 - 1973 คุณพ่อแปร์เรย์  เจ้าอาวาส
  • ปี 1973 - 1974 คุณพ่อวิลเลียม ตัน เจ้าอาวาส
  • ปี 1974 - 1979  คุณพ่อเสวียง ศุระศรางค์ เจ้าอาวาส
    ผู้ช่วยเจ้าอาวาส

    คุณพ่อสุเทพ พงษ์วิรัชไชย ปี 1975 - 1976
    คุณพ่อประสาน คูรัตนสุวรรณ  ปี 1976 -  1979
  • ปี  1979  - 1983  คุณพ่อบัณฑิต ปรีชาวุฒิ  เจ้าอาวาส
    ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
    คุณพ่อธวัช พันธุมจินดา ปี  1979 - 1981
    คุณพ่ออนันต์ เอี่ยมมโน ปี 1979 - 1979
    คุณพ่อไชโย กิจสกุล ปี 1981 - 1983
  • ปี  1983 - 1989 คุณพ่อประวิทย์ พงษ์วิรัชไชย  เจ้าอาวาส
    ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
    คุณพ่อสุทศ ประมวลพร้อม 1983 - 1985
    คุณพ่อธนันชัย กิจสมัคร 1985 - 1987
    คุณพ่อวิชัย บุญเผ่า  1987 -  1993
    คุณพ่อวิทยา คู่วิรัตน์   1987 -  1990
  • คุณพ่ออนันต์ เอี่ยมมโน(1989 –1994) ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัดกาลหว่าร์ก็กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยให้แก่สัตบุรุษใหม่   ซึ่ง โครงการนี้พระคาร์ดินัลมีชัย กิจบุญชู ได้ให้บริษัทสันติพิทักษ์เข้ามาช่วยเหลือในการดำเนินงานด้วย
    ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
    คุณพ่อประยุทธ ศรีเจริญ   ปี  1993 - 1994
  • ปี  1994  - 1995  คุณพ่ออดุลย์ คูรัตน์  เจ้าอาวาส
     ผู้ช่วยเจ้าอาวาส คุณพ่อศุภศิลป์ สุขศิลป์  ปี  1994 -  1995
  • คุณพ่อวุฒิเลิศ แห่ล้อม  (1995-2000 ) เป็นเจ้าอาวาส  และทำการบูรณะซ่อมแซมอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง    กระจกสีที่ถือว่ามีความสวยงามที่สุด แห่งหนึ่ง กระจกสีที่ถือว่ามีความสวยงามที่สุดแห่งหนึ่ง และในวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ 1997 มีการจัดฉลองครบรอบ 100 ปี ของวัดหลังปัจจุบันด้วย
    ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
    คุณพ่อปิยะชาติ มะกรครรภ์ ปี  1995 - 1996
    คุณพ่อจินตศักดิ์ ยุชัยสิทธิกุล ปี 1995 - 1997
    คุณพ่อทนุ เจษฎาพงศ์ภักดี ปี 1997 - 2001
  • คุณพ่อศุภกิจ เลิศจิตรเลขา (พฤษภาคม 2000  – 2004 ) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส
    ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
    คุณพ่อสุชาติ อุดมสิทธิพัฒนา  ปี 2001 -2005
  • คุณพ่อสุรสิทธิ์  ชุ่มศรีพันธุ์ ( 10 พฤษภาคม 2004 - 12 พฤษภาคม 2009 )ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส และย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสอาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก
    ผู้ช่วยเจ้าอาวาส
    คุณพ่อธนากร เลาหบุตร 2005 - 2006
    คุณพ่ออนุศักดิ์ กิจบำรุง   2006 -  ปัจจุบัน
  • คุณพ่อไพทูรย์ หอมจินดา ( 13 พฤษภาคม 2009 - ปัจจุบัน ) ย้ายจากวัดแม่พระประัจักษ์ หัวตะเข้ มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส องค์ปัจจุบัน 
    ผู้ช่วยเจ้าอาวาส คุณพ่ออนุศักดิ์ กิจบำรุง   2006 -  ปัจจุบัน

                                                                                             ข้อมูล / รูปภาพ : เว็บไซต์ห้องเอกสารอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

update ข้อมูลล่าสุด วันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 2010

หน้าหลักอ่านทั้งหมดหน้ารวม