ค้นหาข้อมูล :

มิสซังสยามในอดีต

โดยคุณพ่อเปาโล สุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์

H.E. SMITH ในหนังสือ “ Historical and Cultural Dictionary of Thailand” กล่าวไว้ว่า ชื่อ “สยาม” (Siam) ถูกใช้ครั้งแรกโดย Sir James Lancaster ในปี 1592 อาจารย์ รงค์สยามนันท์ อาจารย์ประวัติศาสตร์แห่งจุฬาล งกรณ์มหาวิทยาลัยก็ได้ยืนยันเช่นเดียวกันความจริง ชื่อ “สยาม” ต้องถูกใช้มาก่อนหน้านี้อย่างแน่นอน จากการตรวจสอบเอกสารและการศึกษาประวัติศาสตร์พระศาสนจักรในประเทศไทย เราจะพบว่า นักบุญ ฟรังซิส เซเวียร์ ได้เอ่ยถึง และใช้ชื่อ “สยาม” ในจดหมายของท่านที่ส่งมาให้เพื่อนของท่านที่ Malacca ถึง 4 ฉบับ ในปี 1552. นอกจากนี้ อาจารย์ บุญยก ตามไท ได้ให้ข้อสังเกตที่น่าสนใจในวารสาร ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 5 ฉบับที่ 9 ไว้ดังนี้

“ มีเกร็ดประวิติศาสตร์บันทึกโดยฝรั่งว่า เมื่อ พ.ศ. 2087 (1544) Antonio de Paiva ชาวโปรตุเกส ได้เดินทางเข้ามากรุงศรีอยุธยา ในแผ่นดินสมเด็จพระชัยราชาธิราช และมีโอกาสได้เข้าเฝ้าและสนทนาเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนากับพระองค์ จนเลื่อมใส และพระองค์ทรงประกอบพิธี Baptise ได้รับพระราชทินนามเป็นภาษาโปรตุเกสว่า Dom Joao ซึ่งนับเป็นเหตุการณ์พิเศษอย่างยิ่ง”

เท่าที่ผมพยายามค้นหาเอกสารที่บันทึกโดยฝรั่งตามที่อาจารย์บุญยก ตามไท ได้กล่าวไว้นี้ก็ได้พบเอกสารที่รวบรวมอยู่ในหนังสือ Documenta Indica I และ II  และถูกนำมาอ้างอิงโดย Jose Maria RECONDO s.j. และ G.SCHURHAMMER, s.j. พระสงฆ์นักประวัติศาสตร์คณะเยซูอิต ชาวสเปน และเยอรมัน ตามลำดับ. เอกสารเหล่านี้ได้เอ่ยถึง ชื่อ “สยาม” ไว้อย่างชัดเจน ดังนั้นชื่อประเทส “สยาม” ต้องถูกใช้มาแล้วตั้งแต่ปี 1544 ผมยังเชื่อว่าคำว่า “สยาม” ต้องถูกใ ช้มาก่อนหน้านี้ด้วย Simon de La Loubere ฑูตพิเศษของกษัตริย์ฝรั่งเศสปี 1687 และ 1688 ได้ให้ข้อสังเกตที่น่าสนใจมากไว้ดังนี้ว่า ชื่อสยามไม่ได้เป็นที่รู้จักของชาวสยามเป็นคำ ๆ หนึ่งที่พวกโปรตุเกสใน Indies ใช้ เป็นการยากที่จะสืบพบต้นกำเนิดของคำ ๆ นี้. เราอาจกล่าวได้ว่า ชื่อ “สยาม” ถูกใช้มาตั้งแต่พวกโปรตุเกสได้เข้ามาถึงหมู่เกาะ Indies ในปี 1511

ชาวยุโรปได้เรียกแผ่นดินของเราว่า “สยาม” เป็นชื่อประเทศใน ศต. ที่ 17 และในการติดต่อกับชาวยุโรปสมัยนั้น พวกเราก็ได้ใช้ชื่อสยามเช่นเดียวกัน แม้ว่าเราจะไม่ได้เรียกประเทศของเราว่า “สยาม” ก็ตาม เพราะว่าสมัยก่อนคนไทยเราเรียกประเทศของตนตามชื่อนครหลวง เช่น กรุงสุโขทัย

กรุงศรีอยุธยา หรือมิฉะนั้นก็จะเรียกว่า “สยาม” ซึ่งเราก็นิยมใช้กันมาจนถึงตอนนี้

ชื่อ “สยาม” กลายมาเป็นชื่อทางการของประเทศในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ใช้คำว่า “สยาม” แทนคำว่า “เมืองไทย” ในการแก้ไขสนธิสัญญา Bowring ของวันที่ 5 เม.ย. 1856 และชื่อ “สยาม” ก็ถูกเรียกใช้เรื่อยมาตั้งแต่ตอนนั้น จนมาถึงวันที่ 24 มิ.ย. 1939 เมื่อประเทศของเราเปลี่ยนการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Monarchy) มาเป็นระบอบประชาธิปไตย (แบบไทย ๆ ) และจอมพล ป. พิบูลสงคราม เปลี่ยนชื่อประเทศจากคำว่ า “สยาม” มาใช้คำว่า “ประเทศไทย” ในรัฐธรรมนูญ “ประเทศไทย” จึงเป็นชื่อทางการของประเทศตั้งแต่นั้นมา คำภาษาอังกฤษจึงใช้คำว่า “Thailand” การเปลี่ยนนี้นับว่าเหมาะสม เพราะตรงกับการปฏิบัติจริงของประชาชน ที่เรียกประเทศของตนเสมอมาว่า “เมืองไทย”