ค้นหาข้อมูล :

โดยคุณพ่อเปาโล สุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์

ส่วนความหมายของคำว่า “สยาม” นั้นยังคงเป็นเครื่องหมายคำถามอยู่ว่าคำนี้หมายความว่าอะไร แต่ไม่ได้หมายความว่าคำถามนี้ไม่มีคำตอบ ปัญหามาอยู่ตรงที่ว่ามีคำตอบมากเกินไป มีความเห็นที่แตกต่างกันอยู่และยังไม่เป็นที่ลงเอย ผมจะยกมาเป็นตัวอย่างดังนี้ คำว่า “สยาม” หมายถึง

ผิวคล้ำ  ผิวดำ ยังหมายความถึง ทองคำ ได้ด้วย ดังนั้นหากนำเอาคำนี้มาใช้กับประชาชน ก็น่าจะหมายความว่า คนผิว คล้ำ ผิวดำ แต่หากนำมาใช้กับประเทศหรือแผ่นดิน ก็น่าจะหมายความถึง แผ่นดินทองคำ มากกว่าแผ่นดินคล้ำแน่ ๆ และโดยที่ลักษณะรูปร่างของแผ่นดินไทยเป็นแหลม แหลมทองที่เรารู้จักกัน ก็อาจจะทำให้คิดได้ว่าสยาม อาจใช้เรียกแทน แหลมทองก็ได้ บางท่านให้ความเห็นว่า คำว่า “สยาม” เป็นคำในภาษาเขมร หมายถึง สีน้ำตาล บางท่านถือว่าเป็นคำภาษาบาลี แปลว่า ดำ บางท่านเชื่อว่าเป็นคำภาษาพม่า แปลว่า อิสระ เมื่อเราพิจารณาความเห็นเหล่านี้และสืบประวัติศาสตร์ไทยดูแล้ว จะพบว่าเขมร, ภาษา บาลี, พม่า ต่างก็มีความสัมพันธ์กับเราไม่น้อยเลย ความเป็นไปได้จึงมีอยู่ในทุกความเห็น ทางที่ดีที่สุดก็คือ เราจะไม่ตัดสินอะไรลงไปในสิ่งที่เรายังรู้ไม่แน่ชัด

เหตุผลที่ผมกล่าวถึงคำว่า “สยาม” ในบทความนี้ ก็เพราะว่าพระศาสนจักรในแผ่นดินไทยของเราเป็นที่รู้จักกันในหมู่ชาวตะวันตก และในหมู่คริสตชนในประเทศเราเอง โดยใช้คำว่า “มิสซังสยาม”

บทความนี้แม้จะไม่ได้มีจุดมุ่งหมายที่จะเขียนบรรยายถึงประวัติศาสตร์พระศาสนจักรในประเทศสยามแต่บางครั้งก็มีความจำเป็นที่จะต้องสอดแทรกประวัติบางตอนเข้ามาเล็กน้อย เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจอะไรชัดเจนขึ้น อันที่จริงยังมีคำอีกหลายคำที่น่าจะเข้าใจ ผมขออนุญาตเก็บเอาไว้ก่อนเพราะมิฉะนั้นจะทำให้ยาวเกินไปจนไม่มีใครอยากอ่านแต่ก็อดไม่ได้ ที่จะยกตัวอย่างมาให้ผู้อ่านตรวจสอบตัวเอง ดูว่ารู้จักคำเ หล่านี้ ที่มีบทบาทอยู่ในพระศาสนจักรของเรามากน้อยเพียงใด เช่น ความหมายและบทบาทของ Padroado (หรือ Patronage ในภาษาอังกฤษ) , Propaganda Fide เป็นต้น. มิชชันนารีของ Padroado และมิชชันนารีของ Propaganda Fide ต่างก็เข้ามาในแผ่นดินสยาม และก็เกิดควาาขัดแย้งกันเองในเรื่องที่เกี่ยวกับอำนาจในดินแดนส่วนนี้

หันมาพูดถึงคำว่า “มิสซังสยาม” บ้าง หากเปิดดูหนังสือประวัติพระศาสนจักรสากลและพระศาสนจักรในประเทศไทย จัดพิมพ์โดย สำนักงานสารสาส์นในปี 1967 หรือ พ.ศ. 2510 หน้า 196 จะพบว่าผู้เขียนได้ให้ข้อสังเกตว่า คำว่า “มิสซัง” เป็นคำภาษาโปรตุเกส.

ในความเห็นส่วนตัวของผมเอง ผมเชื่อว่า คำนี้น่าจะมาจากอิทธิพลของภาษาฝรั่งเศสมากกว่า เพราะเหตุว่า แม้ว่าพวกโปรตุเกสจะเข้ามาถึงแผ่นดินสยามเป็น พวกแรก แต่ก็มีบทบาทอยู่ในประวัติพระศาสนจักรในสยามน้อยกว่าพวกฝรั่งเศส พวกมิชชันนารีโปรตุเกสเข้ามาถึงอยุธยาในปี 1567 เพื่ออภิบาลชาวโปรตุเกสที่ตั้งหลักแหล่งที่อยุธยา จนถึงปี 1783 เราไม่พบพวกมิชชันนารีโปรตุเกสในสยามอีกเลยอีกทั้งในช่วงระยะเวลาระหว่างปี 1567 ถึง 1783 นั้น มิชชันนารีชาวโปรตุเกสก็มิได้มีอยู่ในสยามอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นคณะ Dominican, Franciscan, หรือ Jesuit ก็ตาม. เหตุผลอีกประการหนึ่งก็คือ “มิสซัง (Mission) “ หมายถึงขอ บเขตปกครองของสังฆราชที่ปกครองในนามของพระสันตะปาปาหรือที่เรียกกันในภาษาลาตินว่า Vicarius Apostolicus, ภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Apostolic Vicar การปกครองในลักษณะเช่นนี้ถูกเรียกว่า Vicariatus หรือ Vicariate บางท่านได้พยายามแปลเป็นภาษาไทยโดยใช้คำว่า “เทียบสังฆมณฑล” ซึ่งก็เป็นการแปลเพื่อให้เข้าใจเพียงว่า ขอบเขตนั้น ๆ ยังไม่ใช่สังฆมณฑลเท่านั้น จะเรียกว่าเป็นการแปลคงไม่ถูก น่าจะเรียกว่าเป็นการให้ความหมายมากกว่า อันที่จริง Vicariate หรือ Mission และ สังฆมณฑล (Diocese) เป็น 2 สถาบันที่มีลักษณะแตกต่างกัน บางสังฆมณฑลอาจถูกแต่งตั้งขึ้นโดยไม่ได้เป็น Mission มาก่อนก็ได้ อย่างไรก็ตามใน Commentary ของกฎหมายพระศาสนจักรภาษาอิตาเลียนได้บอกไว้ว่า Vicariate มีความคล้ายคลึงกับสังฆมณฑล เอาเป็นว่าในขณะที่เรายังไม่มีคำอื่นที่ดีกว่าคำว่า “เทียบสังฆมณฑล” เพื่อใช้แทนคำว่า Vicariate หรือ Mission เราก็ใช้คำนี้กันไปก่อน ประเทศสยามได้รับการยกขึ้นเป็นประเทสมิสซังอย่างเป็นทางกา รโดย พระสันตะปาปา Clement IX โดยเอกสารทางการของพระศาสนจักร ชื่อ Cum Sicut ของวันที่ 4 มิ.ยง 1669 และ Speculatores ของวันที่ 13 ก.ย. 1669 พระสังฆราช Pallu และ Lambert de La Motte เป็นผู้เสนอเรื่องต่อ Rome หลังจากรับการยกขึ้นเป็นมิสซังแล้วจึงเรียกดินแดนสยามนี้ว่า มิสซังสยาม อย่างเป็นทางการ

มิสซังสยามถูกปกครองโดย Apostolic Vicar คนแรกคือ พระสังฆราช Laneau. ดังนั้นการที่สยามถูกยกขึ้นเป็น “มิสซัง” จริง ๆ นั้น เกิดมาจากการวิ่งเต้นของพวกมิชชันนารีชาวฝรั่งเศส และก็เป็นบรรดามิชชันนารีคณะ M.E.P. นี้เองที่ได้ทำงานอยู่ในมิสซังสยามอย่างต่อเนื่อง (เกือบตลอด) มาจนถึงปัจจุบันนี้ เป็นพระสงฆ์คณะนี้เองที่ได้ก่อตั้งบ้านเณรขึ้น พระสงฆ์พื้นเมืองก็ได้เกิดขึ้นภายใต้การอบรมสั่งสอนของพวกพระสงฆ์คณะ M.E.P. ชาวฝรั่งเศส แน่นอนที่สุดอิทธิพลด้านภ าษาฝรั่งเศสย่อมต้องเข้ามามีบทบาทอยู่ในชีวิตประจำวัน แม้ในปัจจุบันนี้อิทธิพลนี้ก็ยังคงมีอยู่ เช่น บรรดาพระสงฆ์ที่ได้รับการอบรมจากคณะสงฆ์ M.E.P. ได้เรียนรู้ภาษาฝรั่งเศส บรรดาพระสงฆ์มักจะเรียกสำนักมิสซังว่าโปรกือร์(Procure) ซึ่งมาจากภาษาฝรั่งเศส เป็นต้น นอกจากนี้คำว่า Mission (มิสซีออง) ในภาษาฝรั่งเศสก็ไม่ยากแก่การเพี้ยนมาเป็นคำว่า “มิสซัง” ผมได้สอบถามเพื่อน ๆ ที่พูดภาษาโปรตุเกสเกี่ยวกับการออกเสียงคำว่า “Missaon” ได้ความว่า คำนี้ออกเสียงว่า “มิสซาว” โดยเน้นเสียงพยางค์สุดท้าย เมื่อเทียบดูการออกเสียงคำนี้ระหว่างภาษาโปรตุเกสและภาษาฝรั่งเศสแล้ว ก็ได้ผลใกล้เคียงกัน ภาษาฝรั่งเศสก็เน้นเสียงพยางค์หลังเช่นเดียวกันแต่เมื่อคำนึงดูอิทธิพลของพวกฝรั่งเศสแล้ว คำว่า “มิสซัง” ที่เราใช้กันอยู่นี้ก็น่าที่จะมาจากภาษาฝรั่งเศสมากกว่าภาษาโปรตุเกส