ที่มา จาก เว็บหอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ  
                               โดย ...บาทหลวงสุรชัย  ชุ่มศรีพันธุ์

มิสซังสยามในอดีต

H.E. SMITH ในหนังสือ “ Historical and Cultural Dictionary of Thailand” กล่าวไว้ว่า ชื่อ “สยาม” (Siam) ถูกใช้ครั้งแรกโดย Sir James Lancaster ในปี 1592 อาจารย์ รงค์สยามนันท์ อาจารย์ประวัติศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็ได้ยืนยันเช่นเดียวกันความจริง ชื่อ “สยาม” ต้องถูกใช้มาก่อนหน้านี้อย่างแน่นอน จากการตรวจสอบเอกสารและการศึกษาประวัติศาสตร์พระศาสนจักรในประเทศไทย เราจะพบว่า นักบุญ ฟรังซิส เซเวียร์ ได้เอ่ยถึง และใช้ชื่อ “สยาม” ในจดหมายของท่านที่ส่งมาให้เพื่อนของท่านที่ Malacca ถึง 4 ฉบับ ในปี 1552. นอกจากนี้ อาจารย์ บุญยก ตามไ ท ได้ให้ข้อสังเกตที่น่าสนใจในวารสาร ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 5 ฉบับที่ 9 ไว้ดังนี้

“ มีเกร็ดประวิติศาสตร์บันทึกโดยฝรั่งว่า เมื่อ พ.ศ. 2087 (1544) Antonio de Paiva ชาวโปรตุเกส ได้เดินทางเข้ามากรุงศรีอยุธยา ในแผ่นดินสมเด็จพระชัยราชาธิราช และมีโอกาสได้เข้าเฝ้าและสนทนาเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนากับพระองค์ จนเลื่อมใส และพระองค์ทรงประกอบพิธี Baptise ได้รับพระราชทินนามเป็นภาษาโ ปรตุเกสว่า Dom Joao ซึ่งนับเป็นเหตุการณ์พิเศษอย่างยิ่ง”

เท่าที่ผมพยายามค้นหาเอกสารที่บันทึกโดยฝรั่งตามที่อาจารย์บุญยก ตามไท ได้กล่าวไว้นี้ก็ได้พบเอกสารที่รวบรวมอยู่ในหนังสือ Documenta Indica I และ II และถูกนำมาอ้างอิงโดย Jose Maria RECONDO s.j. และ G.SCHURHAMMER, s.j. พระสงฆ์นักประวัติศาสตร์คณะเยซูอิต ชาวสเปน และเยอรมัน ตามลำดับ. เอกสารเหล่านี้ไ ด้เอ่ยถึง ชื่อ “สยาม” ไว้อย่างชัดเจน ดังนั้นชื่อประเทส “สยาม” ต้องถูกใช้มาแล้วตั้งแต่ปี 1544 ผมยังเชื่อว่าคำว่า “สยาม” ต้องถูกใช้มาก่อนหน้านี้ด้วย Simon de La Loubere ฑูตพิเศษของกษัตริย์ฝรั่งเศสปี 1687 และ 1688 ได้ให้ข้อสังเกตที่น่าสนใจมากไว้ดังนี้ว่า ชื่อสยามไม่ได้เป็นที่รู้จักของชาวสยามเป็นคำ ๆ หนึ่งที่พวกโปรตุเกสใน Indies ใช้ เป็นการยากที่จะสืบพบต้นกำเนิดของคำ ๆ นี้. เราอาจกล่าวได้ว่า ชื่อ “สยาม” ถูกใช้มาตั้งแต่พวกโปรตุเกสได้เข้ามาถึงหมู่เกาะ Indies ในปี 1511

ชาวยุโรปได้เรียกแผ่นดินของเราว่า “สยาม” เป็นชื่อประเทศใน ศต. ที่ 17 และในการติดต่อกับชาวยุโรปสมัยนั้น พวกเราก็ได้ใช้ชื่อสยามเช่นเดียวกัน แม้ว่าเราจะไม่ได้เรียกประเทศของเราว่า “สยาม” ก็ตาม เพราะว่าสมัยก่อนคนไทยเราเรียกประเทศของตนตามชื่อนครหลวง เช่น กรุงสุโขทัย

กรุงศรีอยุธยา หรือมิฉะนั้นก็จะเรียกว่า “สยาม” ซึ่งเราก็นิยมใช้กันมาจนถึงตอนนี้

ชื่อ “สยาม” กลายมาเป็นชื่อทางการของประเทศในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ใช้คำว่า “สยาม” แทนคำว่า “เมืองไทย” ในการแก้ไขสนธิสัญญา Bowring ของวันที่ 5 เม.ย. 1856 และชื่อ “สยาม” ก็ถู กเรียกใช้เรื่อยมาตั้งแต่ตอนนั้น จนมาถึงวันที่ 24 มิ.ย. 1939 เมื่อประเทศของเราเปลี่ยนการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Monarchy) มาเป็นระบอบประชาธิปไตย (แบบไทย ๆ ) และจอมพล ป. พิบูลสงคราม เปลี่ยนชื่อประเทศจากคำว่า “สยาม” มาใช้คำว่า “ประเทศไทย” ในรัฐธรรมนูญ “ประเทศไทย” จึงเป็นชื่อทางการของประเทศตั้งแต่นั้นมา คำภาษาอังกฤษจึงใช้คำว่า “Thailand” การเปลี่ยนนี้นับว่าเหมาะสม เพราะตรงกับการปฏิบัติจริงของประชาชน ที่เรียกประเทศของตนเสมอมาว่า “เมืองไทย”

ส่วนความหมายของคำว่า “สยาม” นั้นยังคงเป็นเครื่องหมายคำถามอยู่ว่าคำนี้หมายความว่าอะไร แต่ไม่ได้หมายความว่าคำถามนี้ไม่มีคำตอบ ปัญหามาอยู่ตรงที่ว่ามีคำตอบมากเกินไป มีความเห็นที่แตกต่างกันอยู่และยังไม่เป็นที่ลงเอย ผมจะยกมาเป็นตัวอย่างดังนี้ คำว่า “สยาม” หมายถึง

ผิวคล้ำ  ผิวดำ ยังหมายความถึง ทองคำ ได้ด้วย ดังนั้นหากนำเอาคำนี้มาใช้กับประชาชน ก็น่าจะหมายความว่า คน ผิวคล้ำ ผิวดำ แต่หากนำมาใช้กับประเทศหรือแผ่นดิน ก็น่าจะหมายความถึง แผ่นดินทองคำ มากกว่าแผ่นดินคล้ำแน่ ๆ และโดยที่ลักษณะรูปร่างของแผ่นดินไทยเป็นแหลม แหลมทองที่เรารู้จักกัน ก็อาจจะทำให้คิดได้ว่าสยาม อาจใช้เรียกแทน แหลมทองก็ได้ บางท่านให้ความเห็นว่า คำว่า “สยาม” เป็นคำในภาษาเขมร หมายถึง สีน้ำตาล บางท่านถือว่าเป็นคำภาษาบาลี แปลว่า ดำ บางท่านเชื่อว่าเป็นคำภาษาพม่า แปลว่า อิสระ เมื่อเราพิจารณาความเห็นเหล่านี้และสืบประวัติศาสตร์ไทยด ูแล้ว จะพบว่าเขมร, ภาษาบาลี, พม่า ต่างก็มีความสัมพันธ์กับเราไม่น้อยเลย ความเป็นไปได้จึงมีอยู่ในทุกความเห็น ทางที่ดีที่สุดก็คือ เราจะไม่ตัดสินอะไรลงไปในสิ่งที่เรายังรู้ไม่แน่ชัด

เหตุผลที่ผมกล่าวถึงคำว่า “สยาม” ในบทความนี้ ก็เพราะว่าพระศาสนจักรในแผ่นดินไทยของเราเป็นที่รู้จักกันในหมู่ชาวตะวันตก และในหมู่คริสตชนในประเทศเราเอง โดยใช้คำว่า “มิสซังสยาม”

 

- - - - - -  หน้า  1 - - - - - -

ปรับปรุงข้อมูลเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2010