The best bookmaker bet365

Best bookmaker bet365 register

                                     

ฉลองครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูเจ้า 31 ธันวาคม 2017

วันฉลองครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูเจ้า

31 ธันวาคม 2017

บทอ่าน บสร 3:3-7, 14-17   ;   คส 3:12-21   ;   ลก 2:22-40

เครื่องหมายแห่งการต่อต้าน

            พระวรสารนักบุญลูกาให้รายละเอียดเกี่ยวกับวัยเด็กของพระเยซูเจ้า  ความไม่แน่ใจคำสัญญา  ความสนใจและความยินดีซึ่งการแจ้งข่าวและการบังเกิดของพระเยซูเจ้าได้ทำให้เกิดขึ้น  มีการร้อยเรียงทำให้ระลึกถึงเรื่องราวจากพันธสัญญาเดิม

            บัดนี้  ข้าแต่พระอาจารย์เจ้า

            นักบุญลูกายืนยันข้อเท็จจริงว่าครอบครัวของพระเยซูเจ้าเป็นประชากรศาสนาและความหวังของชาวยิว  ข้อความที่เราได้ฟังวันนี้เป็นเรื่องการถวายพระกุมารในพระวิหาร  นักบุญลูกาพูดถึง การชำระตนให้บริสุทธิ์ (วรรคที่ 23) “มีเขียนไว้ในธรรมบัญญัติของพระเจ้าว่า  จะต้องถวายบุตรชายคนแรกแด่พระเจ้า”  ตามข้อกำหนดของโมเสส (ลนต 12:8)  ซึ่งมีผลต่อพระนางมารีย์ในฐานะสตรี  อันที่จริง แม่ต้องถวายเครื่องบูชา  ตามหนังสือเลวีนิติ “ถ้านางไม่สามารถจัดหาลูกแกะได้  นางจะต้องนำนกเขาหรือนกพิราบหนุ่มสองตัวมาถวาย” (12:8 และ 5:7 ด้วย)  นี่เป็นสิ่งที่พระนางมารีย์ทำ (ลก 2:24)  เป็นสิ่งที่สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 เรียกว่า “ของถวายของคนจน” (พระศาสนจักร ย่อหน้า 57)  นี่เป็นสถานการณ์ครอบครัวของพระเยซูเจ้าดังที่ผู้เขียนพระวรสารได้ให้รายละเอียด

            ในพระวิหารที่กรุงเยรูซาเล็ม “ชายผู้หนึ่งชื่อสิเมโอน” (วรรคที่ 25)  ตระหนักว่า  พระเยซูเจ้าเป็นพระคริสต์  พระผู้ไถ่  ความหวังของอิสราเอลกำลังสำเร็จสมบูรณ์  สิเมโอนมิได้เป็นสมาชิกเด่นๆ ของประชาชนหรือสมณะประจำพระวิหาร  ท่านได้เปล่งเสียงถวายพระพรแด่พระเจ้าว่า “ข้าแต่องค์พระผู้เป็นเจ้า  บัดนี้ พระองค์ทรงปล่อยผู้รับใช้ของพระองค์ไปเป็นสุข” (วรรคที่ 29)  แต่สิเมโอนเป็นชาวยิวที่สุภาพ  ได้กล่าวทำนายกับพระมารดาด้วย  นี่เป็นคำทำนายสุดท้ายในพระวิหารกรุงเยรูซาเล็ม  เกี่ยวกับพระเยซูเจ้าและเกี่ยวกับพระนางมารีย์  พระเยซูเจ้าเป็นเหตุให้คนจำนวนมากในอิสราเอลต้องล้มลง  หรือบางคนจะลุกขึ้น  คำพยานถึงพระผู้ไถ่ (พระเมสสิยาห์) นี้ เป็นเครื่องหมายแห่งการต่อต้าน  เพื่อความในใจของคนจำนวนมากจะถูกเปิดเผย (วรรคที่ 35)

            ประโยคสั้นๆ ก็หมายถึงพระนางมารีย์ด้วย  ที่ว่า ส่วนท่านดาบจะแทงทะลุจิตใจของท่าน “ความคิดเรื่องพระผู้ไถ่จะทางจิตใจของพระนาง” (วรรคที่ 35)  พระนางมารีย์เป็นชาวอิสราเอล  ความเชื่อเป็นกระบวนการ  และบางครั้งก็เจ็บปวด  ความทุกข์ในชีวิตของพระมารดาของพระเจ้า  จะเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ร่วมมีส่วนในงานของพระผู้ไถ่

            ทรงเจริญในพระปรีชาญาณและพระหรรษทาน

            อีกคนหนึ่ง คือ อันนา  นักบุญลูกาเรียกเธอว่า “ประกาศกหญิง” (วรรคที่ 36) ก็ปรากฏออกมา  เธอนำเสนอความหวังของกลุ่มชาวยิวผู้ศรัทธา  เป็นคนจนของพระเจ้า  ในพระวรสารมิได้บอกว่าสิเมโอนมีอายุเท่าใด  แต่ตามธรรมประเพณีถือว่าท่านอยู่ในช่วงสุดท้ายของชีวิต  ส่วน อันนา กลับตรงข้าม  ในพระคัมภีร์บอกว่า “นางชรามากแล้ว”  นางขอบคุณพระเจ้าและกล่าวถึงพระกุมาร “ให้ทุกคนที่กำลังรอคอยการไถ่กู้กรุงเยรูซาเล็มฟัง” (วรรคที่ 38)

            ข้อความเหล่านี้กล่าวถึงความหวังและความทุกข์  อย่างไรก็ดี  นักบุญโยเซฟและพระมารดาก็ยังรักพระกุมาร  คอยปกป้อง  คุ้มครอง “พระกุมารทรงเจริญวัยแข็งแรงขึ้น  ทรงพระปรีชาญาณอย่างสมบูรณ์  และพระหรรษทานของพระเจ้าสถิตอยู่กับพระองค์” (วรรคที่ 39-40)  พระกุมารตอบสนองความรักนี้ในชีวิตครอบครัว  ซึ่งมีคำสอนจากบทอ่านแรกหนังสือบุตรสิรา  ข้อความจากนักบุญเปาโลก็เกี่ยวกับความสัมพันธ์ในครอบครัว  แม้คำสอนนี้เป็นทัศนคติของยุคนั้น  สิ่งสำคัญเป็นรากฐานที่นักบุญเปาโลมอบให้ทุกคนที่มีความผูกมัดในพระคริสตเจ้า  ซึ่งเราทุกคนรวมเป็นกายเดียวกัน (คส 3:15)

พระสังฆราช  วีระ  อาภรณ์รัตน์  แปล

จาก  Sharing the Word Through the Liturgical Year

 โดย Gustavo Gutierrez, หน้า 30-32.

สมโภชพระคริสตสมภพ 24 ธันวาคม 2017

สมโภชพระคริสตสมภพ

มิสซาเที่ยงคืน  24 ธันวาคม 2017

บทอ่าน อสย 9:1-6   ;   ทต 3:4-7   ;   ลก 2:1-14

ความยินดีสำหรับทุกคน

            คริสต์มาสเป็นการฉลองที่เปี่ยมด้วยความยินดีและความหวัง  อย่างไรก็ดี  เราต้องยอมรับว่าสังคมทุกวันนี้  ไม่มีทั้งสองสิ่งง่ายๆ เสมอไป  คนยากจนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  เราจึงไม่สามารถประกาศข่าวการบังเกิดของพระเยซูเจ้าด้วยความยินดี  เพราะหลายคนยังประสบความยากลำบาก  ยังหาทางแก้ไขไม่ได้  ยังท้อใจ  ไม่มีกำลังเผชิญสถานการณ์นี้

            กลิ่นที่คอกสัตว์

            การประทับอยู่ของพระเยซูเจ้าในประวัติศาสตร์ของเรา  เป็นการเรียกถาวรให้หันกลับมาสู่แหล่งกำเนิดความเชื่อของเรา  พระเยซูเจ้าทรงบังเกิดที่เบ็ธเลเฮม  มีบรรดาผู้เลี้ยงแกะและสัตว์ล้อมรอบพระองค์  แม่พระและนักบุญโยเซฟมาที่คอกสัตว์เพราะไม่มีที่ในห้องพักแรมเลย  บุตรพระเจ้าทรงเข้ามาในประวัติศาสตร์  สภาพยากจน  พระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์

            “ครั้งนั้นพระจักรพรรดิออกัสตัสทรงออกพระราชกฤษฎีกาให้มีการสำรวจสำมะโนประชากรทั่วจักรวรรดิโรมัน  การสำรวจสำมะโนประชากรครั้งแรกนี้มีขึ้นเมื่อคีรีนีอัสเป็นผู้ว่าราชการแคว้นซีเรีย” (ลก 2:1-2)  ข้อความในพระวรสารบอกข่าวสำคัญแบบเรียบง่าย คือ พระเยซูเจ้าทรงประสูติในสถานที่และเวลาที่ได้กำหนด  ในสมัยพระจักรพรรดิออกัสตัส  ผู้ว่าราชการคีรีนีอัส  และกษัตริย์เฮโรด  ผู้ทรยศประชาชนของตน  พระเยซูเจ้าทรงบังเกิดตอนนั้น  ไม่มีความสำคัญในสายตาของผู้หยิ่งจองหองและผู้มีอำนาจชอบดูถูก  และในสายตาของพวกเขาถือว่าการเมืองมีสันติสุข

            ระหว่างช่วงเวลาคริสต์มาส  ชาวบ้านมักกล่าวว่า พระเยซูเจ้าทรงบังเกิดในทุกครอบครัวและในหัวใจของเราคริสตชน  แต่การบังเกิดเหล่านี้ต้องไม่ผ่านข้อเท็จจริงแรกที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า “พระเยซูเจ้าทรงบังเกิดจากพระนางมารีย์ท่ามกลางประชาชนที่ถูกกดขี่ในสมัยนั้น  โดยจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในสมัยนั้น  ถ้าเราลืมเรื่องนี้ไป  การเสด็จมาของพระเยซูเจ้าในโลกก็กลายเป็นนามธรรม  สำหรับเราคริสตชน  คริสต์มาสเผยแสดงถึงพระเจ้าเสด็จมาในประวัติศาสตร์มนุษย์  เป็นคริสต์มาสแห่งความต่ำต้อยและการรับใช้ท่ามกลางอำนาจการกดขี่และมีอำนาจเหนือโลก  คริสต์มาสเป็นการเข้ามาในโลกด้วยกลิ่นคอกสัตว์

            พระเจ้าทรงถูกเผยแสดงในพระเยซูคริสตเจ้า  ในพระองค์ “พระหรรษทานของพระเจ้าปรากฏขึ้นเพื่อช่วยมนุษย์ทุกคนให้รอดพ้น” (ทต 2:11)  เราจึงต้องเรียนรู้ที่จะเชื่อจุดเริ่มสถานการณ์ทางประวัติศาสตร์ปัจจุบันของเรา  ในท่ามกลางการเสื่อมลงอย่างต่อเนื่องของสภาพชีวิตของคนจนและประชาชนผู้ถูกลืม  ไม่มีงานทำ  และขาดโอกาสหลายๆ อย่าง  การโกหกและการจัดการของผู้มีอำนาจต่อสถานที่มีควันปกคลุมอภิสิทธิ์ต่างๆ ที่อยุติธรรมของพวกเขา  ตั้งแต่คริสต์มาสครั้งแรกเป็นต้นมา  เราไม่สามารถแยกความเชื่อคริสตชนออกจากประวัติศาสตร์มนุษย์

            เสียงร้องไห้คร่ำครวญของนางราเคล

            สิ่งที่เราทราบในความหมายคริสต์มาส  รวมการระลึกถึง  ซึ่งหลายคนละเลยหรือเข้าใจผิด คือ วันฉลองทารกผู้วิมล  การบังเกิดของเด็กคนหนึ่งในตำบลเล็กๆ ได้ทำให้ผู้ทรยศไม่สบายใจ  กลิ่นคอกสัตว์ลอยไปถึงวังกษัตริย์เฮโรด  จนพระกุมารต้องหนีการถูกฆาตกรรม  เหมือนโมเสสผู้ช่วยกอบกู้ประชาชน  ความตั้งใจของเฮโรดไปไม่ถึงอียิปต์  เฮโรดกลัวทารกที่บังเกิดใหม่  จึงสั่งประหารทารกบริสุทธิ์หลายคน  ชีวิตของพระกุมารทำให้ทารกหลายคนเสียชีวิตแบบอยุติธรรม  ความยินดีของพระกุมารทำให้หลายครอบครัวต้องเศร้าโศกเสียใจ

            เรายังคงได้ยินเสียงร่ำไห้คร่ำครวญของนางราเคลอาลัยถึงบรรดาลูกๆ (มธ 2:18)  ในทุกวันนี้  เป็นเสียงร้องบรรดามารดาของลูกร้อยๆ คนที่กำลังสิ้นใจในบรรดาเด็กทุกๆ พันคน  ที่ลูกๆ ถูกลักพาตัว  มารดาที่พร่ำบ่นที่เห็นลูกเติบโตขึ้นแต่ไม่มีอาหารพอเพียงและเจ็บป่วย

            การบังเกิดของพระบุตรเป็นหัวใจของข่าวดีที่ทำให้เราทุกคนเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน  เป็นพิเศษกับบรรดาผู้ถูกทอดทิ้งและถูกกดขี่เหมือนกรณีของพระเยซูเจ้า  การเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของหลายคนที่เป็นพยานประกาศความหวัง  ซึ่งอาจดูเหมือนไม่สำคัญต่อเราในแง่ประวัติศาสตร์  เหมือนการบังเกิดของพระกุมารที่เราฉลองวันคริสต์มาส  แต่ความหวังนี้เป็นเมล็ดพันธุ์แห่งชีวิต  และดังนั้นข่าวดีนี้ “จะทำให้ประชาชนทุกคนยินดีอย่างยิ่ง” (ลก 2:10)

พระสังฆราช  วีระ  อาภรณ์รัตน์  แปล

จาก  Sharing the Word Through the Liturgical Year

 โดย Gustavo Gutierrez, หน้า 23-24.

อาทิตย์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า 10 ธันวาคม 2017

อาทิตย์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า

10 ธันวาคม 2017

ยอห์นผู้ทำพิธีล้าง
บทอ่าน             อสย 40: 1-5,9-11   ;   2  ปต  3: 8-14   ;    มก 1: 1-8
ข่าวดีนี้เริ่มด้วยการส่งบางคนไปเตรียมทาง
การกลับใจ

          ในมาระโก  ยอห์นผู้ทำพิธีล้าง  ปรากฏออกมาทันที  เป็นทูตผู้ส่งสาร   ยอห์นประกาศเตรียมสิ่งที่พระเยซูเจ้าจะประกาศ  ยอห์นทำพิธีล้าง  ในถิ่นทุรกันดาร  ถือว่าเป็นเครื่องหมายแห่งชีวิต   และขอให้ประชาชนกลับใจ  (ข้อ 4) กล่าวคือ  เปลี่ยนแปลงสิ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้  ทำทางเดินให้ตรง  แสวงหาความยุติธรรม  และเตรียมพบปะกับพระเยซูเจ้าผู้เสด็จมาในท่ามกลางสิ่งที่ดูไม่สำคัญในโลก  ยอห์นเปิดเผยความรัก  และการประทับอยู่ของพระเยซูเจ้า  ทำให้พันธสัญญาเดิมสมบูรณ์  การเปิดเผยนี้สมบูรณ์อาศัยพระเยซูเจ้า

พระเยซูเสด็จมา เพราะ ทรงรักประชากรของพระองค์  และทรงฟังความทุกข์ร้อน  และเสียงร้องของประชาชน  พระเจ้ามิได้เสด็จมาโดยบังเอิญ  แต่เสด็จมาเพราะรัก   การพบปะด้วยความยินดี  เป็นสิ่งที่เราคริสตชนคาดหวังตั้งแต่เริ่มมีความเชื่อ  พวกเขาต้องเลิกนับถือเทพเจ้าอื่น  (โดยไว้วางใจพระเจ้าเท่านั้น)  หันมาหาพระเจ้าผู้ทรงชีวิต  ผู้เสด็จมาพบปะประชากรของพระองค์  เราจึงต้องกลับใจจริงๆ  เพราะพระจิตเจ้าจะประทานชีวิต  ความรักของพระบิดา  และของพระบุตร  พิธีล้างด้วยน้ำจึงเตรียมเราให้รับศีลล้างในพระจิตเจ้า  (ข้อ 8)

ยอห์นแต่งกายด้วยผ้าขนอูฐ  กินตั้กแตน  และน้ำผึ้งป่า    ประชาชนเตรียมไปพบกับพระเยซูเจ้า  ไม่ใช่ที่พระวิหาร  แต่ในถิ่นทุรกันดาร  ณ ดินแดนพระสัญญา  และรับพิธีล้างในแม่น้ำจอร์แดน

การพูดถึงหัวใจ

พระเจ้าตรัสว่า  “จงปลอบโยนประชากรของเราเถิด”  อสย  40:1  ในหนังสือประกาศกอิสยาห์  การปลอบโยน  หมายถึงการปลดปล่อยให้เป็นอิสระ  นี่เป็นสิ่งที่ยอห์นผู้ทำพิธีล้างได้เริ่มทำ   ยอห์นพูดกับชาวเยรูซาเล็ม  “ให้ประทับใจ”  (อสย. 40:1)  ให้เปลี่ยนความประพฤติส่วนตัว  จงถมหุบเขาทุกแห่งให้เต็ม  จงปรับภูเขาและเนินเขาทุกแห่งให้เรียบ  (ข้อ 4) นี่มิใช่สิ่งผิวเผิน  พร้อมด้วยการเสด็จของพระเยซูเจ้าเข้ามาในประวัติศาสตร์  และในชีวิตของเรา  ทัศนียภาพทั้งหมด  (Panorama) จะแตกต่างกับการเตรียมรับเสด็จอาณาจักรของพระเจ้า

ยอห์นผู้ทำพิธีล้าง  เป็นพยานแห่งความสุภาพ  ยอห์นมิได้ขัดขวางหนทางของพระเยซูเจ้า  แต่ได้ชี้ให้เห็นด้วย  ยอห์นได้ให้แนวทางแก่บรรดาศิษย์ของพระเยซูเจ้า  สำหรับเราผู้ต้องเป็นพยานถึงพระองค์ ถึงพระองค์  มิใช่ตัวเราเอง  ชุมชนคริสตชนซึ่งประกาศ  และยืนยันตนเอง    โดยการดำเนินชีวิตสนิทสัมพันธ์และการเข้าใจ  และด้วยการรับใช้  โดยไม่แสวงหาอภิสิทธิใดๆ  ภายในชุมชนคริสตชน  เราจะช่วยให้ผู้อื่นรู้จักความรักของพระเจ้า

เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า  เป็นช่วงเวลาเตรียมพบปะกับพระเยซูเจ้า  พระองค์จะทำให้พระสัญญาสำเร็จ  และทรงเชิญเราให้เปลี่ยนชีวิต  ด้วยการยอมรับพระองค์  ในบรรดาผู้ต่ำต้อยและผู้ถูกทอดทิ้ง ( 2  ปต 3 : 9 -10)

 

พระสังฆราช  วีระ  อาภรณ์รัตน์  แปล
จาก  Sharing   the  Word
โดย Gustavo Gutierrez  หน้า 8-10.

 

อาทิตย์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า 24 ธันวาคม 2017

อาทิตย์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า

24 ธันวาคม 2017

บทอ่าน 2 ซมอ 7:1-5, 8-11, 16   ;   รม 16:25-27   ;   ลก  1:26-38

พระนางมารีย์

            บทอ่านพระวรสารวันนี้เน้นบทบาทของพระนางมารีย์  ผู้มอบตนเองต่อหน้าพระเจ้า  ในเงื่อนไขเปรียบเทียบว่าเป็นผู้รับใช้ต่ำต้อยของพระเจ้า  เชื่อพระเจ้าสุดใจ

            จงยินดีเถิด

            ในกาลิลี  หญิงสาวผู้หนึ่งตั้งใจฟังทูตสวรรค์  กล่าวกับเธอว่า “จงยินดีเถิด” (ลก 1:28)  ความยินดีเป็นลักษณะประการหนึ่งของพระสัญญา  พระนางมารีย์ได้รับพระหรรษทาน  นี่จึงเป็นความหมายของคำว่า “ผู้ที่พระเจ้าโปรดปราน” (วรรคที่ 28)  พระเจ้าทรงอยู่เคียงข้างและทุกสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความรักที่ให้เปล่าและอิสระของพระเจ้า  ความเชื่อก็เป็นของขวัญซึ่งทำให้เริ่มสนทนา  พระเจ้าทรงวางใจพระนางมารีย์  และพระนางก็วางใจในพระเจ้า  ผู้ทรงทำให้พระนางเป็นแบบอย่างแห่งความเชื่อแก่เรา  ไม่ต้องกลัวอะไร การยอมมอบตนเป็นการตอบรับการเรียกนั้น  พระเจ้าทรงมองมาที่พระนางมารีย์  และทรงถามถึงความเชื่อของเธอ  ขอบคุณแม่พระที่ตอบรับอย่างสุภาพและใจอิสระ  สตรีสาวชาวยิวผู้นี้จึงมีส่วนร่วมในงานของพระเจ้า

            สิ่งที่ทูตสวรรค์ได้ประกาศว่าเป็นงานของพระจิตเจ้า (วรรคที่ 35) และความเชื่อของแม่พระ  คำกล่าวแรกคือ “ข้าพเจ้าเป็นผู้รับใช้ของพระเจ้า  ขอให้เป็นไปกับข้าพเจ้าตามวาจาของท่านเถิด” (วรรคที่ 38)  คำว่า “ผู้รับใช้” หมายความว่า เป็นของพระเจ้า  พระเจ้าทรงส่งใคร  ผู้นั้นก็เป็นผู้รับใช้ของพระเจ้า  เป็นผู้รับใช้ หมายถึง พร้อมเสมอ  ยอมรับพระประสงค์ของพระเจ้า  คำของพระเจ้าเป็นของขวัญที่มนุษย์ต้องยอมรับด้วยเสรีภาพ

            การสนทนา

            ความวางใจและความสุภาพของแม่พระมิได้ขัดขวางการเริ่มต้นการสนทนากับทูตสวรรค์  พระนางมิได้แค่ฟังและยอมรับคำประกาศนั้น  ความเชื่อของแม่พระเป็นกิจการอิสระ  และเพราะเหตุนี้พระนางจึงถามและปรารถนาที่จะรู้ว่าสิ่งที่ทูตสวรรค์ได้บอกนั้นจะเป็นไปได้อย่างไร  พระจิตเจ้าและพระอานุภาพของพระเจ้าช่วยสนับสนุนการมีส่วนร่วมแบบกระตือรือร้นของพระนาง  ที่รู้ว่าพระนางอยู่ในพระหัตถ์ของพระเจ้า  การตอบรับของพระนางช่วยให้พระผู้ไถ่เสด็จมาหาเรา  เป็นประวัติศาสตร์แห่งความรอด

            การรับสภาพมนุษย์ของพระเยซูเจ้าเกิดขึ้นจากพระอานุภาพของพระจิตเจ้า  และความสุภาพของพระนางมารีย์  พระบุตรของพระนางจึงมีบทบาทในประวัติศาสตร์ “เขาจะปกครองวงศ์ตระกูลของยาโคบตลอดไป  และพระอาณาจักรของเขาจะไม่มีสิ้นสุดเลย” (วรรคที่ 33)  ประกาศกนาธันได้ประกาศเรื่องนี้เกี่ยวกับกษัตริย์ดาวิดว่า “ราชวงศ์และอาณาจักรของท่านจะมั่นคงอยู่ต่อหน้าเราตลอดไป  อำนาจปกครองของท่านจะตั้งมั่นอยู่ตลอดไป” (2 ซมอ 7:16)  ดังนั้น พระนางมารีย์เป็นยิ่งกว่าของขวัญส่วนตัว  แต่เป็นของขวัญของมนุษยชาติ  กล่าวคือ เป็นของขวัญที่มอบให้บุคคลหนึ่งเพื่อประโยชน์ของชุมชน  นี่เป็นธรรมล้ำลึก “ที่เก็บเป็นความลับตลอดเวลานานมาแล้ว” (รม 16:25)

พระสังฆราช  วีระ  อาภรณ์รัตน์  แปล

จาก  Sharing the Word Through the Liturgical Year

 โดย Gustavo Gutierrez, หน้า 16-18.

อาทิตย์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า 3 ธันวาคม 2017

อาทิตย์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า

3 ธันวาคม 2017

บทอ่าน อสย 63:16-17, 19, 64:2-7   ;   1 คร 1:3-9   ;   มก  13:33-37

                   การทำสิ่งที่ถูกต้องด้วยความยินดี

            ให้เราเริ่มการเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า  พระวรสารนักบุญมาระโกกระตุ้นเราให้สนใจเครื่องหมายแห่งกาลเวลา  สนใจประวัติศาสตร์

            การพบปะในเวลาที่ไม่รู้

            นักบุญมาระโกเตือนเราตอนเริ่มพระวรสารว่า “เวลาที่กำหนดไว้มาถึงแล้ว” (1:15)  ท่านพูดถึง Kairos (ไครอส) ภาษากรีกแปลว่า เวลาแห่งพระพร  เวลาที่ดี  มิได้กำหนดวันเจาะจง  เมื่อไรสิ่งสำคัญจะเกิดขึ้น  ที่นี่อีก  นักบุญมาระโกใช้คำว่า Kairos เพื่อบอกเราว่าเราต้องตื่นเฝ้า  และรู้จักพิจารณาดูโอกาสที่พระเจ้าทรงเลือกมาพบปะกับเรา “เพราะท่านทั้งหลายไม่รู้ว่าวันเวลานั้นจะมาถึงเมื่อไร” (13:33)

            แต่บนพื้นฐานสิ่งที่เราถูกล่อลวงให้พิจารณาตามสามัญสำนึก  เราอาจค้านว่า  เราไม่ควรฉลองคริสต์มาสในวันเดียวกันของปีมิใช่หรือ  ในวันอาทิตย์แรกของการเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า  พระวรสารนักบุญมาระโกช่วยเราให้เลิกคิดตามลำดับเวลา  วันที่ 25 ธันวาคม มาถึงแล้วก็ผ่านไป  โดยที่เราไม่ได้พบปะกับพระเยซูเจ้าในชีวิตปัจจุบันของเราและในประวัติศาสตร์  เพราะมีการโฆษณาสิ่งที่ไร้ประโยชน์มากมาย  วันฉลองคริสต์มาสของเราจึงไม่เป็นดังสิ่งที่นักบุญเปาโลสอนว่า “ไม่มีที่ติในวันที่พระเยซูคริสต์  องค์พระผู้เป็นเจ้าของเราเสด็จมา” (1 คร 3:8)  วันฉลองคริสต์มาสมาถึงและผ่านไปโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงชีวิต  ไม่มี “พยานถึงพระคริสตเจ้า” (ข้อ 6) ช่วยเราให้เข้มแข็งขึ้น

            จงปลุกความหวัง

            เพื่อให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น  เราต้องตื่นเฝ้า  ตามที่นักบุญมาระโกกล่าวซ้ำแล้วซ้ำอีก “จงตื่นเฝ้า... อย่าหลับใหลในชีวิตคริสตชน”  คิดว่าเราได้รับแล้วครั้งเดียวก็พอตลอดไป  ในพิธีกรรมของเรามีการตื่นเฝ้า  ปัสกาเป็นต้น  พร้อมกับมีความหมายทางเทววิทยาลึกซึ้ง  เหมือนคนเฝ้าประตู  คอยตื่นเฝ้าไว้ (ข้อ 34)  เราต้องใส่ใจสิ่งที่พระเยซูเจ้าต้องการเผยแสดงในเหตุการณ์ต่างๆ  ในบางประเทศ  เราเห็นสถานการณ์แย่ลงๆ ในชีวิตประจำวันของคนจน  ความแตกต่างทางเศรษฐกิจและสังคมทวีมากขึ้น  ทั้งเรื่องใหม่  และเรื่องเดิม  มีการประกาศเรื่องเดิมๆ ประชาสัมพันธ์ฝ่ายเดียว  และหลอกชาวบ้าน  ก่อนที่สาเหตุแท้ของสถานการณ์ อยุติธรรมและความตายจะปรากฏ

            หลายครั้งเรารู้สึกว่าประชาชนไม่มีความหวัง  การเตรียมรับพระเยซูเจ้าจึงมีความหมายว่าเราปฏิเสธที่จะยอมรับสถานการณ์นั้น  จงตื่นเฝ้า  จึงรวมถึงการอุทิศตนทำอะไรบางอย่าง  มีความหวังไม่ใช่ภาพหลอกๆ สำหรับคนจน  ในการต้อนรับเสด็จพระคริสตเจ้า  เรามั่นใจว่า “พระเจ้าผู้ซื่อสัตย์มั่นคงในการรักษาคำสัญญา” (1 คร 1:9)  เวลาสำหรับการพบปะนี้เป็นแผนการของพระเจ้า  แต่ก็เป็นงานของเราด้วย  มิใช่แบบโชคชะตาตามลำดับเวลา  เพราะดังที่เราได้ฟังในบทอ่านแรก  พระเจ้า “เสด็จมาพบผู้ที่ยินดีปฏิบัติความยุติธรรม  และระลึกถึงพระองค์โดยเดินตามหนทางของพระองค์” (อสย 64:5)

            ที่จริง  เราต้องปฏิบัติความยุติธรรมด้วยความยินดีและความหวัง  มิใช่ด้วยความขมขื่นและความท้อใจ  ดังนั้นพระเจ้าจะเสด็จมาพบเรา  และเราจะฉลองวันพระคริสตสมภพอย่างมีความหมายในชีวิตและในประวัติศาสตร์ของประชาชน (ชาวไทย) 

พระสังฆราช  วีระ  อาภรณ์รัตน์  แปล

จาก  Sharing the Word Through the Liturgical Year

 โดย Gustavo Gutierrez, หน้า 4-5.

ปฏิทินเดือนเมษายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

1 อัฐวารปัสกา

2 อัฐวารปัสกา วันศุกร์ต้นเดือน

3 อาทิตย์ที่ 2 เทศกาลปัสกา ฉลองพระเมตตา

4 สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวาจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์

5 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา

6 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา วันจักรี

7 ระลึกถึง น.ยหอ์น บัปติสต์ เดอลาซาล พระสงฆ์

8 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา

9 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลปัสกา

10 อาทิตย์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

11 น.สตานิเลาส์ พระสังฆราชและมรณสักขี

12  สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

13 ระลึกถึง น.มาร์ตินที่ 1 พระสันตะปาปาและมรณสักขี (วันสงกรานต์ )

14 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

15 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

16 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา

17 อาทิตย์ที่ 4 เทศกาลปัสกา ( วันภาวนาเพื่อกระแสเรียก วันรณรงค์เพื่อกลุ่มชาติพันธุ์ )

18 สัปดาห์ท ี่ 4 เทศกาลปัสกา

19 สัปดาห์ท ี่ 4 เทศกาลปัสกา

20 สัปดาห์ท ี่ 4 เทศกาลปัสกา

21 น.อันเซลม์ พระสังฆราชและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

22 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา

23น.ยอร์จ มรณสักขี

24 อาทิตย์ที่ 5 เทศกาลปัสกา

25 ฉลองน.มาระโฏ ผู้นิพนธ์พระวรสาร

26 สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลปัสกา

27 สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลปัสกา

28 น.เปโตร ชาเนล พระสงฆ์และมรณสักขี น.หลุยส์มารี กรีญอง เดอ มงฟอร์ต พระสงฆ์

29 ระลึกถึง น.กาธารีนาแห่งซีเอนา พรหมจารีและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

30 น.ปีโอ ที่ 5 พระสันตะปาปา

 

ปฏิทินเดือนพฤษภาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

 

 

1 อาทิตย์ที่ 6 เทศกาลปัสกา ( วันแรงงานแห่งชาติ )

2  ระลึกถึงน.อาทานาส พระสังฆราชและนักปราชญ์

3 ฉลองน.ฟิลิป และ น.ยากอบ อัครสาวก

4 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา

5 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา ( วันฉัตรมงคล )

6 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา ( วันศุกร์ต้นเดือน )

7 สัปดาห์ที่ 6 เทศกาลปัสกา

8 สมโภชพระเยซูเจ้าเสด็จขึ้นสวรรค์

9 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา

10 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา

11 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลปัสกา

12น.เนเรโอ อาคิลเลโอ และ เพื่อนมรณสักขี น.ปันกราส มรณสักขี

13 พระนางมารีย์พรหมจารีแห่งฟาติมา

14 ฉลอง น.มัทธีอัส อัครสาวก

15 สมโภชพระจิตเจ้า

16 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลธรรมดา

17 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลธรรมดา

18 น.ยอห์นที่ 1 พระสันตะปาปาและมรณสักขี

19 สัปดาห์ที่ 7 เทศกาลธรรมดา

20 น.เบอร์นาดิน แห่งซีเอนา พระสงฆ์ ( วันวิสาขบูชา )

21 น. คริสโตเฟอร์ มักอัลลาเนส และเพื่อนมรณสักขี 

22 สมโภชพระตรีเอกภาพ

23 สัปดาห์ที่ 8 เทศกาลธรรมดา

24 สัปดาห์ที่ 8 เทศกาลธรรมดา

25 น.เกรโกรี่ที่ 7 พระสันตะปาปา น.เบดา พระสงฆ์และนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร น.มารีย์ มักดาเลนา เด ปัสซี พรหมจารี

26 ระลึกถึง น.ฟิลิป เนรี พระสงฆ์

27 น.ออกัสติน แห่งแคนเตอร์เบอรี พระสังฆราช

28 สัปดาห์ที่ 8 เทศกาลธรรมดา

29 สมโ๓ชพระวรกายและพระโลหิตพระคริสตเจ้า

30 สัปดาห์ที่ 9 เทศกาลธรรมดา 

31 ฉลองพระนางมารีย์เสด็จเยี่ยมเยียน ( วันงดสูบบุหรี่โลก )

 

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนมิถุนายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

1 ระลึกถึงน.ยุสติน มรณสักขี

2 น.มาร์แชลลิน และ น.เปโตร มรณสักขี

3 สมโภชพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า ( วันศุกร์ต้นเดือน )

4 ระลึกถึงดวงหทัยของพระแม่มารีย์

5 อาทิตย์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา ( วันสิ่งแวดล้อมโลก )

6  น.นอร์เบิร์ต พระสังฆราช

7 สัปดาห์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา

8 สัปดาห์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา

9 น.เอเฟรม สังฆานุกรและ นักปราชญ์

10 สัปดาห์ที่ 10 เทศกาลธรรมดา

11 ระลึกถึง น.บาร์นาบัส อัครสาวก

12 อาทิตย์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

13 ระลึกถึง น.อันตนแห่งปาดัว พระสงฆ์และนักปราชญ์

14 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

15 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

16  สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

17 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

18 สัปดาห์ที่ 11 เทศกาลธรรมดา

19 อาทิตย์ที่ 12 เทศกาลธรรมดา

20 สัปดาห์ที่ 12 เทศกาล

21 ระลึกถึงน.หลุยส์ คอนซากา นักบวช

22 น.เปาลิน แห่งโนลา พระสังฆราช น.ยอห์น พิชเชอร์ และ โทมัส โมร์ มรณสักขี

23 สัปดาห์ที่ 12 เทศกาลธรรมดา

24 สมโภช น.ยอห์น แบปติสต์ บังเกิด

25 สัปดาห์ที่ 12 เทศกาลธรรมดา 

26 อาทิตย์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา ( วันต่อต้านยาเสพติด )

27 น.ซีริล แห่งอเล็กซันเดรีย พระสังฆราชและนักปราชญ์พระศาสนจักร

28 ระลึกถึง น.อีเรเนโอ พระสังฆราชและมรณสักขึ

29 สัปดาห์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา ( วันสมโภช น.เปโตร และ เปาโล อัครสาวก ) เลื่อนไปสมโภช วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม  

30 น.ปฐมมรณสักขี แห่งพระศาสนจักรกรุงโรม

 

 

 

ปฏิทินเดือนกรกฎาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

1 สัปดาห์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา ( วันศุกร์ต้นเดือน )

2 สัปดาห์ที่ 13 เทศกาลธรรมดา

3 สมโภชน.เปโตร และ เปาโล อัครสาวก

4 น.เอลีซาเบธ ราชินีแห่งโปรตุเกส

5 น.อันตน มารีย์ ซักกาเรีย พระสงฆ์

6 น.มารีย์กอแรตตี พรหมจารี และ มรณสักขี

7 สัปดาห์ที่ 14 เทศกาลธรรมดา

8 สัปดาห์ที่ 14 เทศกาลธรรมดา

9 น.ออกัสติน เซา รง และเพื่อนมรณสักขีชาวจีน

10 อาทิตย์ที่ 15 เทศกาลธรรมดา

11 ระลึก น.เบเนดิกต์ เจ้าอธิการ ( วันประชากรโลก )

12 สัปดาห์ที่ 156 เทศกาลธรรมดา

13 น.เฮนรี่

14 น.คามิลโล เด เลลลิส พระสงฆ์

15 ระลึกถึง น.บอนาแวนตูรา พระสังฆราชและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

16 พระนางมารีย์พรหมจารีแห่งภูเขาคาร์แมล

17  อาทิตย์ที่ 16 เทศกาลธรรมดา

18 สัปดาห์ที่ 16 เทศกาลธรรมดา

19 สัปดาห์ที่ 16 เทศกาลธรรมดา

20 น.อโพลินาริส พระสังฆราช และ มรณสักขี ( วันเข้าพรรษา )

21 น.ลอเรนซ์ แห่งบรินดิซี พระสงฆ์และ นักปราชญ์

22 ระลึกถึง น.มารีย์ ชาวมักดาลา

23 น.บรียิต นักบวช 

24 อาทิตย์ที่ 17 เทศกาลธรรมดา

25 ฉลอง น.ยากอบ อัครสาวก

26 ระลึกถึง น.โยอากิม และ อันนา ( บิดามารดาของพระนางมารีย์พรหมจารี )

27 สัปดาห์ที่  17 เทศกาลธรรมดา

28 สัปดาห์ที่  17 เทศกาลธรรมดา

29 ระลึกถึง น.มาร์ธา

30 น.เปโตร คริโลโลโก พระสังฆราชและนักปราชญ์

31 อาทิตย์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา

ปฏิทินกิจกรรมเดือนสิงหาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

1 ระลึกถึง น.อัลฟองโซ มารีย์ เด ลิกวอรี พระสฆังชราช และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

2 น.เอวเซบิโอ แห่งแวร์แชลลี พระสังฆราช น.เปโตร ยูเลียน ไรม์ต พระสงฆ์

3 สัปดาห์ที่ 18 เทศกาลธรรมดา

4 ระลึกถึง น.ยอห์น มารีย์ เวียนเนย์ พระสงฆ์

5 วันถวายพระวิหารแม่พระแห่งหิมะ ( วันศุกร์ต้นเดือน )

6 ฉลพงพระเยซูเจ้าทรงประจักษ์พระวรกาย ต่อหน้าอัครสาวก

7 อาทิตย์ที่ 19 เทศกาลธรรมดา ( วันสื่อมวลชนสากล )

8 ระลึกถึง น.โดมินิก พระสงฆ์

9 น.เทเรซา เบเนติกตาแห่งไม้กางเขน พรหมจารีและมรณสักขี

10 ฉลองน.ลอเรนซ์ สังฆานุกรและ มรณสักขี

11 ระลึกถึง น.กลารา พรหมจารี

12 น.ฌาน ฟรังซังส์ เดอ ซังตาล นักบวช

13 น.ปอนซีอาโน พระสันตะปาปาป และ น.ฮิปโปลิต พระสงฆ์ และ มรณสักขี 

14 อาทิตย์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา

15 สัปดาห์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา ( สมโภชพระนางมารีย์รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ เลื่อนไปสมโภชวันที่ 21 สิงหาคม )

16 น.สเตเฟนแห่งประเทศ ฮังการี

17 สัปดาห์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา

18 สัปดาห์ที่ 20 เทศกาลธรรมดา

19 น.ยอห์น เอิ๊ด พระสงฆ์

20 ระลึกถึง น.เบอร์นาร์ต เจ้าอธิการและ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

21 สมโภชพระนางมารีย์รับเกียติเข้าสู่สวรรค์ ทั้งกายและวิญญาณ

22 ระลึกถึง พระนามารีย์ราชินีแห่งสากลโลก

23 น.โรซา ชาวลีมา พรหมจารี

24 ฉลอง น.บาร์โธโลมิว

25 น.หลุยส์ กษัตริย์แห่งฝรั่งเศส น.โยเซฟ กาลาซานส์ พระสงฆ์

26 สัปดาห์ที่ 21 เทศกาลธรรมดา 

27 ระลึกถึง น.โมนิกา

28 อาทิตย์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

29 ระลึกถึงน.ยอห์น แบปติสต์ ถูกตัดศีรษะ

30 สัปดหา์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

31 สัปดหา์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนกันยายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

1 สัปดหา์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา

2 สัปดาห์ที่ 22 เทศกาลธรรมดา ( วันศุกร์ต้นเดือน )

3 ระลึก น.เกรโกรี พระสันตะปาปา และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

4 อาทิตย์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

5 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

6 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

7 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

8 ฉลองแม่พระบังเกิด

9 น.เปโตร คลาแวร์ พระสงฆ์

10 สัปดาห์ที่ 23 เทศกาลธรรมดา

11 อาทิตย์ที่ 24 เทศกาลธรรมดา

12 พระนามศักดิ์สิทธิ์ของพระนางมารีย์พรหมจารี

13 ระลึกถึง น.ยอห์น ครีโซสตม พระสังฆราชและ นักปราชญ์

14 ฉลองเทิดทูนไม้กางเขน

15 ระลึกถึงแม่่พระมหาทุกข์

16 ระลึกถึงน.คอร์เนเลียส พระสันตะปาปาและ น.ซีเปรียน พระสังฆราชและมรณสักขี

17น.โรเบิร์ต แบลลาร์มีโน พระสังฆราชและนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร 

18 อาทิตย์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา

19 น.ยานูอารีโอ พระสังฆราชและมรณสักขี

20 ระลึกถึง น.อันดรูว์ กิม เตก็อน พระสงฆ์ เปาโล จง ฮาซัง และเพื่อนมรณสักขีขาวเกาหลี ( วันเยาวชนแห่งชาติ )

21 ฉลอง น.มัทธิว อัครสาวกและ ผู้นิพนธ์พระวรสาร

22 สัปดาห์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา

23 ระลึกถึง น.ปีโอแห่งปีเอเตรลชีนา พระสงฆ์

24 สัปดาห์ที่ 25 เทศกาลธรรมดา

25 อาทิตย์ที่ 26 เทศกาลธรรมดา

26 น.คอสมา และ น.ดาเมียน มรณสักขี

27 ระลึกถึง น.วินเซนเดอปอล พระสงฆ์

28 น.แวนเชสเลาส์ มรณสักขี น.ลอเรนซ์ รุยส์ และเพื่อนมรณสักขี

29 ฉลองอัครทูตสวรรค์ มีคาแอล คาเบรียล และ ราฟาแอล 

30 ระลึกถึง น.เยโรม พระสงฆ์และนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

 

 

ปฏิทินเดือนตุลาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

 

 

1 ฉลองน.เทเรซาแห่งพระกุมารเยซู พรหมจารี และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

2 อาทิตย์ที่ 27 เทศกาลธรรมดา

3 สัปดาห์ที่ 27 เทศกาลธรรมดา

4 ระลึกถึง น.ฟรังซิส แห่งอัสซีซี

5 ระลึกถึง น.โฟสตีนา โควัลสกา

6 น.บรูโน พระสงฆ์

7 ระลึกถึง แม่พระลูกประคำ (วันศุกร์ต้นเดือน )

8 สัปดาห์ที่ 27 เทศกาลธรรมดา 

9 อาทิตย์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

10 สัปดาห์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

11 น.ยอห์นที่ 23 พระสันตะปาปา

12 สัปดาห์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

13 สัปดาห์ที่ 28 เทศกาลธรรมดา

14 น.กัลลิสตัส ที่ 1 พระสันตะปาปา และ มรณสักขี

15 ระลึกถึง น.เทเรซาแห่งอาวีลา พรหมจารี และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

16 อาทิตย์ที่ 29 เทศกาลธรรมดา ( วันแพร่ธรรมสากล วันออกพรรษา )

17 ระลึกถึง น.อิกญาซีโอ ชาวอันติโอก พระสังฆราช และ มรณสักขี

18 ฉลอง น.ลูกา ผู้นิพนธ์พระวรสาร

19 น.เปาโลแห่งไม้กางเขน พระสงฆ น.ยอห์น แห่ง เบรเบิฟ น.อิสอัค โยเกอ พระสงฆ์และ เพื่อนมรณสักขี

20 สัปดาห์ที่ 29 เทศกาลธรรมดา

21 สัปดาห์ที่ 29 เทศกาลธรรมดา

22 น.ยอห์น ปอลที่ 2 พระสันตะปาปา

23 อาทิตย์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา ( วันปิยมหาราช )

24 น.อันตน มารีย์ คลาเรต์ พระสังฆราช

25 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

26 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

27 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

28 ฉลองน.ซีโมน และ น.ยูดาห์ อัครสาวก

29 สัปดาห์ที่ 30 เทศกาลธรรมดา

30 อาทิตย์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา

31 สัปดาห์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา

 

 

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนพฤศจิกายน ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

1 สัปดาห์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา

2วันภาวนาอุทิศแด่ผู้ล่วงลับ

3 น.มาร์ติน เด ปอเรส นักบวช

4 ระลึกถึง น.ชาร์ส์ โบโรเมโอ พระสังฆราช ( วันศุกร์ต้นเดือน )

5 สัปดาห์ที่ 31 เทศกาลธรรมดา 

6 สมโภชนักบุญทั้งหลาย

7 สัปดาห์ที่ 32 เทศกาลธรรมดา 

8สัปดาห์ที่ 32 เทศกาลธรรมดา 

9 ฉลองวันครบรอบการถวายพระวิหารลาเตรัน

10 ระลึกถึงน.เลโอ พระสันตะปาปา และ นักปราชญืแห่งพระศาสนจักร

11 ระลึกถึง น.มาร์ติน แห่งตูร์ พระสังฆราช 

12 ระลึกถึง น.โยซาฟัต พระสังฆราชและมรณสักขี

13 อาทิตย์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา ( วันสิทธิมนุษยชน )

14 สัปดาห์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา

15 น.อัลเบิร์ต ผู้ยิ่งใหญ่ พระสังฆราช และ นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

16 น.มาร์กาเร็ต แห่งสก็อตแลนด์ น.เยอร์ทรู๊ด พรหมจารี 

17 ระลึกถึง น.เอลิซาเบธ แห่งฮังการี นักบวช

18 วันครบรอบการถวายพระวิหาร นักบุญเปโตร และ เปาโล อัครสาวก

19 สัปดาห์ที่ 33 เทศกาลธรรมดา

20 สมโภชพระเยซูเจ้ากษัตริย์แห่งสากลจักรวาล ( วันกระแสเรียก )

21 ระลึกถึง น.เอลิซาเบธ แห่งฮังการี นักบวช

22 ระลึกถึงน.เซซีลีอา พรหมจารีและมรณสักขี

23 น.เคลเมนต์ ที่ 1 พระสันตะปาปา และ มรณสักขี น.โคลัมบัน เจ้าอธิการ

24 ระลึกถึง น.อันดรูว์ ดุง-ลัก พระสงฆ์และเพื่อนมรณสักขี

25 น.กาทารีนา แห่ง อเล็กซานเดรีย พรหมจารีและมรณสักขี

26 สัปดาห์ที่ 34 เทศกาลธรรมดา

27 อาทิตย์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( เริ่มต้นปีพิธีกรรม ปี  A )

28 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

29  สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

30 ฉลอง น.อันดรูว์ อัครสาวก

 

 

 

 

ปฏิทินเดือนธันวาคม ปี 2016

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

 

 

 

1  สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( วันรณรงค์โรคเอดส์ )

2  สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( วันศุกร์ต้นเดือน )

3 ฉลองน.ฟรังซิสเซเวียร์ พระสงฆ์ องค์อุปถัมภ์มิสซัง

4 อาทิตย์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จ ( พระคัมภีร์ )

5 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ ( วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว )

6 น.นิโคลัส พระสังฆราช

7 ระลึกถึง น.อัมโบรส พระสังฆราชและนักปราชญ์

8 สมโภชพระนางมารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล

9 น.ฮวน ดีเอโก

10 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ( วันรัฐธรรมนูญ )

11 อาทิตย์ที่ 3 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

12 พระนางมารีย์พรหมจารี แห่งกวาดาลูเป

13 ระลึกถึง น.ลูเซีย พรหมจารี และ มรณสักขี

14 ระลึกถึง น.ยอห์นแห่งไม้กางเขน นักปราชญ์แห่งพระศาสนจักร

15 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

16 ระลึกถึง บุญราศีทั้งเจ็ดแห่งสองคอน ( วันครูคำสอนไทย )

17 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลเตรียมรับเสด็จ

18 อาทิตย์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

19 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

20 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ

21 น.เ)ตร คานีซีอัส พระสงฆ์และนักปราชญ์แห่ง

22 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จ

23 น.ยอห์น แห่งเกตี้ พระสงฆ์

24 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จฯ 

25 สมโภชพระคริสตสมภพ

26 ฉลองน.สเทเฟน ปฐมมรณสักขี

27 ฉลอง น.ยอห์น อัครสาวก ผู้นิพนธ์พระวรสาร

28 ฉลองนักบุญทารกผู้วิมล

29 น.โทมัส เบ็กเก็ต พระสังฆราช และมรณสักขี

30 ฉลองครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูเจ้า

31 น.ซิลเวสเตอร์ที่ 1 พระสันตะปาปา ( วันเริ่มต้นเทศกาลปีใหม่ )

 

ปฏิทินเดือนมกราคม ปี 2017

Mon

Tue

Wed

Thu

Fri

Sat

Sun

1 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลธรรมดา

2 ฉลองการถวายพระกุมารในพระวิหาร ( เสกและแห่เทียน )

3 น.บลาซีโอ พระสังฆราชและมรณสักขี น.อันสการ์ พระสังฆราช

4 สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลธรรมดา

5 ระลึกถึง น.อากาทา พรหมจารีและมรณสักขี ( วันศุกร์ต้นเดือน )

6 ระลึกถึง น.เปาโล มีกิ พระสงฆ์และเพือนมรณสักขี 

7 อาทิตย์ที่ 5 เทศกาลธรรมดา

8 น.เยโรม เอมีลานี พระสงฆ์ น.โยเซผิน บาคีตา พรหมจารี

9 สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลธรรมดา

10 วันพุธรับเถ้า ( เริ่มเทศกาลมหาพรต ถือศีลอดอาหาร และ อดเนื้อ )

11 แม่พระประจักษ์ที่เมืองลูร์ด ( วันผู้ป่วยโลก )

12 หลังวันพุธรับเถ้า

13 หลังวันพุธรับเถ้า

14 อาทิตย์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

15 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

16 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

17 นักบุญเจ็ดองค์ผู้ตั้งคณะผู้รับใช้พระแม่มารีย์

18 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

19 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

20 สัปดาห์ที่ 1 เทศกาลมหาพรต

21 อาทิตย์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

22 ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตร อัครสาวก ( วันมาฆบูชา )

23 ระลึกถึง น.โปลีการ์ป พระสังฆราชและมรณสักขี

24 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

25 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

26 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

27 สัปดหา์ที่ 2 เทศกาลมหาพรต

28 อาทิตย์ที่ 3 เทศกาลมหาพรต

29 สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลมหาพรต

 

 

 

 

 

 

 

Template Design © Templates Joomla | GavickPro. All rights reserved.

Select style: Red Brown

Joomla! Debug Console

Session

Profile Information

การใช้งาน หน่วยความจำ

Database Queries