• หนึ่งเดือนหลังจากที่พระสันตะปาปาฟรังซิสเสด็จเยือนกรุงไคโร บรรดาคริสตชนก็มีความหวังที่ได้รับจากพระองค์ ท่ามกลางการโจมตีพวกเขา
จากกลุ่มก่อการร้าย
• ผู้เชี่ยวชาญกรณีขัดแย้งในตะวันออกกลางผู้นี้เล่าว่า
คริสตชนผู้นับถือนิกายกอปติก 9 ล้านคน ในประเทศอียิปต์ รู้สึกขอบคุณพระสันตะปาปาที่ทรงเริ่มต้น แล้วทำให้การเสวนากับพี่น้องต่าง
ความเชื่อก้าวหน้าไปอย่างมาก
นี่รวมถึงเอกสารที่พระสันตะปาปาฟรังซิสและโป๊ปทาวาดรอส ที่ 2 ได้ทรงลงพระนามร่วมกัน ที่จะรับรองศีลล้างบาปในพระศาสนจักรของกันและกัน
และการรื้อฟื้นติดต่อสื่อสารกับ อัล-อัซห์ซาร์กับสำนักวาติกัน
ศาสตราจารย์ มูนีร์ ฟารัค (ผู้เชี่ยวชาญวิกฤตกรณีในตะวันออกกลาง)
“พระศาสนจักรออร์โธด็อกซ์กอปติกกำลังผ่านช่วงทุกข์ทรมาน และพวกเขาก็รอคอยการเสด็จเยือนของพระสันตะปาปาฟรังซิส อันเป็นความรู้สึกสำคัญที่
จะบอกชาวโลกว่าเราไม่ใช่ส่วนน้อย เรามีพระศาสนจักรสากลอยู่เคียงข้างเรา”
• ด้วยจำนวน 10 เปอร์เซนต์ของคริสตชนนิกายกอปติก ซึ่งหมายถึงคริสตชนชาวอียิปต์ที่มีอยู่ พวกเขาถูกมองว่าแตกต่างจากคนอื่น
อย่างไรก็ตามศาสตราจารย์ฟารัคเล่าว่า การโจมตีพวกเขาเมื่อเร็วๆ นี้ กลับเสริมสร้างความคิดให้แก่ชาวมุสลิมบางกลุ่มในประเทศ
เช่นเรื่องภราดรภาพของชาวมุสลิม หลายคนได้รับการบิดเบือนจากผลประโยชน์ทางการเมืองมาตั้งแต่ยังเด็ก และมองว่าคัมภีร์กุรอานไม่ใช่เพื่อสันติภาพ
และความรัก อันเขียนไว้ในภาคยุคเก่าที่เมืองเมกกะ แต่เพื่อการผลทางการเมืองอันเขียนไว้ในภาคที่สอง
ศาสตราจารย์ มูนีร์ ฟารัค (ผู้เชี่ยวชาญวิกฤตกรณีในตะวันออกกลาง)
“ในช่วง 40-50 ปี ที่ผ่านมา ไม่มีสักปีเดียวที่ไม่มีเรื่องราวขัดแย้งเกิดขึ้น อาจเป็นเรื่องความประพฤติส่วนตัวบุคคล ส่วนรวม
แต่ก็เป็นเรื่องแนวคิดทางเทววิทยาที่ไปเน้นยังจุดพูดยากหรือตรงภาคที่สองในคัมภีร์อัลกุรอ่านเสียส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นส่วนที่เขียนที่เมืองเมดินา
เมื่อศาสดาโมฮัมมัดเปลี่ยนจากผู้นำทางศาสนามาเป็นผู้นำทางการเมืองแล้ว”
• ความคิดรุนแรงทางการเมืองนี้ ส่งผลออกมาต่อด้านเศรษฐกิจ ซึ่ง 7 ปีที่ผ่านมาอ่อนแอลงอย่างมาก นี่เป็นเหตุให้พระสันตะปาปาทรงพบปะกับ
ประธานาธิบดี อัล-ไสสี ซึ่งสำคัญมากต่อชาวอียิปต์ทั้งปวง แต่โดยเฉพาะคริสตชนในประเทศอียิปต์ ซึ่งถูกโจมตีโดยพวกหัวรุนแรงทางความคิดเหล่านี้
ศาสตราจารย์ มูนีร์ ฟารัค (ผู้เชี่ยวชาญวิกฤตกรณีในตะวันออกกลาง)
“สิ่งที่สำคัญคือ ยิ่งพวกเขาโจมตีมากขึ้นเท่าใด ฆ่ามากขึ้นเท่าใด ความเชื่อของคริสตชนยิ่งเข้มแข็งมากขึ้นเท่านั้น
การให้อภัยเป็นสิ่งน่าพิศวง จากเหล่าเหยื่อที่ถูกกระทำและครอบครัวของเขา คริสตชนในประเทศอียิปต์ขอบพระคุณพระเจ้าที่ความเชื่อ
ของเขาตอนนี้เข้มแข็งมาก ตั้งแต่เด็กเล็กๆ เลย
การโจมตีครั้งล่าสุด มีเด็กหลายคนได้ทำให้เราได้ยินคำพูดประจักษ์พยานของพวกเขา และให้อภัยต่อคนที่มาโจมตีชุมชนของเขา”
• ท่านศาสตราจารย์กล่าวว่า การเมืองที่ถูกบิดเบือนและมุสลิมแนวคิดรุนแรงส่วนน้อย ปลูกฝังความเกลียดชังลงในใจของสมาชิกตั้งแต่อายุยังน้อย
คริสตชนกลับทำตรงกันข้ามได้เพาะปลูกเมล็ดพันธุ์แห่งความเชื่อ การให้อภัยในตัวเด็กๆ เพื่อความหวังและอนาคตที่ดีกว่า