ความเป็นมาเกี่ยวกับคริสตชน

 

ที่มา : หนังสือท่านคือศิลา

 

ตั้งแต่ได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งประมุขสูงสุดของพระศา สนจักร สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 แสดงพระองค์เป็นผู้อภิบาลที่มั่นคงและแน่วแน่ ทรงให้ความสนใจต่อเนื่องในภารกิจที่สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 1 แสดงเจตนารมณ์ไว้ ก่อนจะสิ้นพระชนม์ในฤดูร้อน ปี ค.ศ.1978 พระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ทรงแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ระดับบริหารให้ดำรงตำแหน่งตามที่พระสันตะปาปาพระองค์ก่อนได้ทรงกำหนดไว้ รวมทั้งพระคาร์ดินัล ยัง วีโยต์ (Cardinal Jean Villot) เลขาธิการรัฐชาวฝรั่งเศสซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนี้ตั้งแต่สมัยของ พระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 ในปี ค.ศ.1969 พระคุณเจ้าวีโยต์ถึงแก่มรณภาพในเดือนมีนาคม ค.ศ.1979 โดยพระคาร์ดินัลอากอสติโน คาซาโรลิ (Cardinal Agostino Casaroli) เป็นผู้มารับผิดชอบงานต่อ

ในเรื่องความร้อนรนต่องานการสร้างเอกภาพแก่ศาสนิกชน พระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 เช่นเดียวกับพระประมุของค์ก่อนหน้าพระองค์ ทรงแสดงพระองค์เด่นชัดว่า พระศาสนจักรแห่งกรุงโรมไม่ปรา รถานจะผ่อนปรนการปฏิบัติตามหลักคำสอนศาสนา เพื่อเป็นการประนีประนอมให้กับข้อปฏิบัติที่สำคัญเพื่อให้สอดคล้องกลมกลืนกัน เมื่อพระศาสนจักรแสดงเจตนารมณ์ที่จะสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน พระองค์ทรงเรียกร้องว่า ก่อนที่จะมีความปรองดองเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างแท้จริง ศาสนิกชนควรร่วมกันแก้ปัญหาความแตกต่างขั้นพื้นฐานของข้อคำสอนและการปฏิบัติตามจารีตพิธีเสียก่อน

อีกตัวอย่างแสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติการตัดสินใจแน่วแน่ของพระองค์ คือ ทรงพบปะส่วนพระองค์ กับพระอัครสังฆราช มาร์เซล เลอเฟเวรอะ (Archbishop Marcel Lefebvre) ที่ไม่เห็นด้วยและได้นำการเคลื่อนไหวต่อต้านการเปลี่ยนแปลงจารีตพิธีมิสซาและการเปลี่ยนแปลงในเรื่องอื่นๆ ของพระ ศาสนจักร ซึ่งสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 รับรองและประกาศใช้ แม้พระองค์จะทรงฟังด้วยความเข้าใจความรู้สึกอย่างถ่องแท้ของพระอัครสังฆราชเลอเฟเวรอะ ผู้มีความเชื่อศรัทธาในอนุรักษ์นิยม สมเด็จพระสันตะปาปาทรงสรุปการเจรจาโดยยื่นคำขาดแก่พระคุณเจ้าเลอเฟเบรฟให้เลือกตัดสินใจระหว่างการยอมรับอำนาจของพระ สันตะปาปาหรือมิฉะนั้นก็ให้พระคุณเจ้าลาออกจากการเป็นสมาชิกพระศาสนจักร

โดยไม่หวั่นเกรงว่าจะไม่ได้รับความนิยมจากสาธารณชน สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ทรงดำเนินการอย่างเด็ดขาดจริงจังเกี่ยวกับข้อกำหนดพระศาสนจักรที่ยังคงมีความเห็นขัดแย้งเช่นในเรื่องการครองชีวิตโสดของพระสงฆ์, เครื่องแบบของนักบวช และการลาออกจากการเป็นพระสงฆ์ ขณะที่กำลังเขี ยนบทความในประเด็นนี้ พระองค์ไม่ทรงอนุญาตให้พระสงฆ์สึกแม้แต่องค์เดียว และไม่สบายใจที่จะเตือนพระสงฆ์เหล่านั้นว่าเขาได้สัญญาผูกมัดตนเองกับพระเจ้า จึงควรแสดงความเป็นผู้ใหญ่ เมื่อใดที่รู้สึกอ่อนแอ ให้คิดดีๆ พระองค์ทรงสนับสนุนกฎระเบียบวินัยสามเณราลัยของพระศาสนจักร

พระสมณสาสน์ฉบับแรกในหัวข้อ “พระผู้ไถ่มนุษยชาติ” (Redeemer of Man) ออกในเ ดือนมีนาคม ค.ศ.1979 ได้รับการตีความหมายจากคนจำนวนมากว่าเนื้อหาเป็นแนวทางให้คาดเดาได้ว่า สมัยปกครองของพระองค์จะออกมาในรูปแบบใด พระสมณสาสน์เรียกร้องพระศาสนจักรให้เพิ่มบทบาทการแสวงหาสิทธิมนุษยชนสากล ทั้งยังทรงเตือนการให้ความสำคัญต่อวิทยาการสมัยใหม่มากเกินควร, อันตรายของวัตถุนิยมต่อความเจริญก้าวหน้าด้านจิตวิญญาณ, ทรงปฏิเสธการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่เห็นคุณค่าและไม่ระมัดระวัง เพื่ออุตสาหกรรมและการทหาร รวมถึงการทำลายธรรมชาติสิ่งแวดล้อมของมนุษย์