• ผ้าห่อพระศพเมืองตุรินเป็นผ้าที่มีอายุเก่าแก่นับศตวรรษ ที่เชื่อกันว่าเป็นผ้าที่ใช้ห่อพระศพของพระเยซูเจ้าขณะนำไปฝังยังพระคูหา ตามตำนานเชื่อว่าผ้าผืนนี้มีรอยประทับพระวรกายของพระเยซูเจ้า
• หลังจากการศึกษาและปั้นรูปปั้นตามร่างที่ปรากฎบนผืนผ้า ปฏิมากร นายแซร์จิโอ โรแดลลา ได้นำเอาผ้ามาห่อรูปปั้นนี้เพื่อดูว่าจะทาบกันสนิทพอดีเหมือนวิธีการห่อศพคนได้หรือไม่
• นายอิวาน มาร์สุระ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ของพระสันตะปาปากล่าวว่า รูปปั้นจำนวนหลายๆ รูป เป็นสมมุติฐานว่าน่าจะเป็นบุรุษที่มาจากรอยบนผ้าห่อศพนั้น ต่างก็มีความเป็นศิลปะมากกว่าที่จะมีความเป็นวิทยาศาสตร์
• ตามที่นายอิวานกล่าว รูปปั้นใหม่นี้สนับสนุนการศึกษาที่มีมานานนับศตวรรษ และจะทำให้เราเข้าใจว่าผ้าห่อพระศพนี้เป็นของปลอมหรือเป็นพระธาตุแท้จริง
นายอิวาน มาร์สุระ (ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ของพระสันตะปาปา)
“ผมสามารถพูดได้ว่าเป็นครั้งแรกที่ทุกอย่างเข้ากันได้อย่างลงตัว ระหว่างผ้าห่อพระศพเมืองตุรินและรูปปั้นนี้”
• โครงร่างของรูปปั้นนี้ยังสามารถช่วยให้นักประวัติศาสตร์มีข้อมูลใหม่ เกี่ยวกับบุรุษจากผ้าห่อศพเมืองตุรินนี้
นายอิวาน มาร์สุระ (ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ของพระสันตะปาปา)
“บุรุษที่ปั้นออกมาจากผ้ามีลักษณะอัมพฤกษ์ครึ่งซีก รูปตะปูไม่ได้อยู่ตรงข้อมือตรงเส้นชีพจรแต่อยู่บนฝ่ามือ”
• รูปปั้นนี้ทำขึ้นหลังจากมีการศึกษาสรีระจากผ้าแล้วสองปี
นายโรแดลลาต้องทำลายรูปปั้นทิ้งถึงสามครั้งและทำขึ้นใหม่อีก
นี่จึงมั่นใจได้ว่าเป็นรูปที่มีความใกล้เคียงกับบุรุษในภาพห่อศพมากที่สุด
• นายแซร์จิโอทำส่วนหัวกระโหลกครั้งแรกเป็นโลหะก่อน และปรับโครงสร้างให้เหมือนภาพบนผ้าด้วยเครื่องออกแบบคอมพิวเตอร์
• เขาใช้แม้กระทั่งฟิล์มถ่ายภาพเนกาทีฟของผืนผ้า ตารางสูตรทางคณิตศาสตร์ และกระดาษโปร่งใส เพื่อให้ได้ความเที่ยงตรงของรอยแผลและความเจ็บปวดที่บุรุษผู้นี้ได้รับ
• พวกเขาหวังจะทำรูปปั้นแบบนี้ซ้ำอีกหลายๆ ตัว ด้วยวัสดุแตกต่างกัน 4 ชนิด จากปูนปลาสเตอร์ หินอ่อน สัมฤทธิ์ และไม้ เพื่อจัดบริการแก่วัดต่างๆ ทั่วโลกที่ต้องการ
• นิทรรศการได้ออกแสดงทั่วกรุงโรมเมื่อเร็วๆ นี้ และนายแซร์จิโอมีแผนที่จะนำไปแสดงทั่วโลกพร้อมกับภาพถ่ายต้นฉบับผืนผ้าหอพระศพเมืองตุริน และยังมีพระธาตุจากไม้กางเขนของพระคริสตเจ้า รอยประทับพระโลหิต มงกุฎหนาม และเศษผืนผ้าห่อศพนี้ พร้อมด้วยสิ่งประดิษฐ์อื่นที่ขึ้นประกอบการแสดงนิทรรศการพร้อมเพรียง