• วันที่ 20 พฤษภาคม พระสันตะปาปาทรงประกาศรายชื่อพระคาร์ดินัลใหม่ ท่ามกลางรายชื่อเหล่านั้นพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงแต่งตั้งพระอัยกาคาทอลิกนิกายคัลเดียน พระคุณเจ้าหลุยส์ ราฟาเอล ซาโก
• พระศาสนจักรประเทศอิรักเฉลิมฉลองการแต่งตั้งนี้ อันเป็นเครื่องหมายถึงความใกล้ชิดของพระสันตะปาปาฟรังซิสที่มีต่อคริสตชน ผู้ทุกข์ทรมานและยากลำบากนานาประการตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา
พระคาร์ดินัลหลุยส์ ราฟาเอล ซาโก
(พระอัยกาคาทอลิกนิกายคัลเดียน ประเทศอิรัก)
“การแต่งตั้งเช่นนี้หมายถึงการประทับอยู่ของพระสันตะปาปาในประเทศนี้ ที่ต้องทนทุกข์อย่างมากและประทับท่ามกลางคริสตชนชาวอิรักผู้ต้องทุกข์ทนอย่างมาก พระสันตะปาปาทรงแสดงความชิดใกล้กับประชาชนเหล่านั้น ความร่วมทุกข์ร่วมสุข พระองค์ตรัสกับพวกเขาว่าพวกเขาไม่ถูกหลงลืม พระองค์ทรงสร้างสะพานมายังพวกเขา”
• ในท่ามกลางการเศร้าเสียใจของชาวอิรัก จากสงครามและเหตุการณ์กองโจรประกาศกันเองให้การปกครองเป็นรัฐอิสลาม บาดแผลเหล่านี้ก็ได้รับการเยียวยาทีละเล็กทีละน้อย เป็นการสำคัญเท่าเทียมกันที่จะเร่งฟื้นฟูโครงสร้างอาคารขั้นพื้นฐานที่ถูกทำลายลง และก็ต้องฟื้นฟูการดำเนินชีวิตอาศัยอยู่ร่วมกันที่สูญหายไปกลับคืนมา
ข่าวเรื่องการแต่งตั้งพระอัยกาซาโกเป็นพระคาร์ดินัล นับเป็นของขวัญแก่คนทั้งประเทศ ไม่ใช่แต่คริสตชนเท่านั้น
พระคาร์ดินัลหลุยส์ ราฟาเอล ซาโก
(พระอัยกาคาทอลิกนิกายคัลเดียน ประเทศอิรัก)
“ชาวมุสลิมถือเอาข่าวนี้เป็นดุจของขวัญของชาวอิรัก เป็นเหมือนท่าทีที่ร่วมสนับสนุนประเทศอิรัก
มันหมายความว่าประเทศอิรัก ยังคงปรากฎอยู่ในพระศาสนจักรสากลในแบบที่ปัจจุบันยังมีประเทศอิรักรวมอยู่ด้วยนะ”
• เพราะเป็นดั่งความพยายามที่จะฟื้นฟูการดำเนินชีวิตร่วมกัน ใครก็สามารถพบเห็นพระอัยการ่วมทานอาหารในวันฉลองสิ้นสุดเทศกาลถือศีลอดรอมฎอนร่วมกับเพื่อนบ้านชาวมุสลิม
พระคาร์ดินัลหลุยส์ ราฟาเอล ซาโก
(พระอัยกาคาทอลิกนิกายคัลเดียน ประเทศอิรัก)
“พวกเขาพูดผิดแผกไปจากเดิม เมื่อพระศาสนจักรอิรักเชิญพวกเขามาทานอาหารเย็น พวกเขาจึงตระหนักได้ว่าพวกเราชื่นชมพวกเขาในการถือศีลอดในศาสนาของเขา เราให้ความเคารพแก่เขา และสิ่งนี้ก็ช่วยให้เราดำเนินชีวิตร่วมกันได้อย่างมาก”
• ถึงกระนั้นก็ยังมีก้าวต่อไป เช่นการแยกแยะทางศาสนา และคำจำกัดความจากทางบ้านเมือง หรือการให้คริสตชนชาวอิรักมีที่ทางในสังคม ไม่คิดว่าพวกเขาเป็นพลเมืองชั้นสอง
พระคาร์ดินัลหลุยส์ ราฟาเอล ซาโก
(พระอัยกาคาทอลิกนิกายคัลเดียน ประเทศอิรัก)
“อนาคตสำหรับคริสตชนจะดีขึ้น สันติภาพจะมาถึงเพราะว่าไม่มีสงครามใดจะดำรงอยู่ได้ตลอดไป ใช่ไหม?
เสรีภาพทางศาสนาจะมาถึง และประชาชนจะสามารถคิดได้อย่างอิสระเสรี และสามารถเลือกนับถือศาสนาได้ด้วยตัวตนเอง”
• พระอัยกาได้รับแต่งตั้งเป็นพระคาร์ดินัล สำหรับพระศาสนจักรที่มีขนาดเล็กลงแต่ไม่พ่ายแพ้ แม้ว่าจะมีจำนวนคริสตชนเพียงครึ่งเดียวของจำนวนเมื่อทศวรรษที่ผ่านมา
ใครผู้ซึ่งยังคงอาศัยอยู่ในประเทศอิรักก็ไม่ต้องการละทิ้งแผ่นดินซึ่งเป็นของพวกเขาตั้งแต่กาลเวลายุคสมัยอับราฮัมมาแล้ว