• ในปีนี้จะมีการฉลองอย่างเป็นทางการครั้งแรกของวันฉลอง “พระนางมารีย์มารดาแห่งพระศาสนจักร “ประกาศโดยสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ซึ่งฉายาของพระนางนามนี้สืบมาจากพระสังคายนาวาติกันที่ 2
มงซินญอร์ อาเธอร์ โรเช
(เลขาธิการสมณสภาเพื่อการนมัสการและกฎเกณฑ์ปฏิบัติศีลศักดิ์สิทธิ์)
“นับเป็นวันฉลองที่สำคัญ เพราะพระฉายาที่ว่า “พระมารดา มารดาแห่งพระศาสนจักร” ได้รับการประกาศโดยพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 ในตอนปิดพระสังคายนาวาติกันที่ 2 เพื่อเตือนมนุษย์ทุกคนว่า เรามีผู้เสนอวิงวอนที่ยิ่งใหญ่อยู่กับเรา จากทรรศนะทางเทววิทยาบ่งชี้ว่า พระมารดาเป็นภาพลักษณ์ที่พระศาสนจักรจะต้องไปให้ถึงความสมบูรณ์นั้น”
• เลขาธิการสมณสภาเพื่อการนมัสการและกฎเกณฑ์ปฏิบัติศีลศักดิ์สิทธิ์เล่าว่า พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงประกาศวันฉลองนี้เพื่อระลึกเป็นพิเศษ ถึงบทบาทความเป็นมารดา ไม่เพียงแต่องค์พระเยซูเจ้าเท่านั้นแต่มารดาแห่งพระศาสนจักรทั้งมวล
มงซินญอร์ อาเธอร์ โรเช
(เลขาธิการสมณสภาเพื่อการนมัสการและกฎเกณฑ์ปฏิบัติศีลศักดิ์สิทธิ์)
“นับเป็นการให้กำลังใจเพราะบ่งชัดว่า สตรีมีสำนึกเอาใจใส่ดูแลผู้อื่น สตรีผูกมัดตนเองกับสิ่งนี้ซึ่งพ่อคิดว่าในรูปแบบพิเศษ เป็นการใส่ใจดูแลที่ทุ่มเทกล้าหาญ ไม่ใช่เพียงแค่ฝ่ายกายของลูกๆ แต่เพื่อพัฒนาการฝ่ายจิตวิญญาณลูกๆ ของเธอ เพื่อจะเข้าเป็นส่วนหนึ่งในพระศาสนจักร ในพระวรกายของพระเยซูเจ้าซึ่งเป็นบทบาทสำคัญในครอบครัว”
• พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงประกาศกำหนดนี้ เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2018 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 160 ปี ที่แม่พระประจักษ์มาที่เมืองลูร์ด และเพราะการสมโภชพระจิตเจ้าจะเคลื่อนวันไปทุกปี แม้จะไปตกในวันฉลองพิธีกรรมวันอื่น วันฉลองแม่พระนี้ก็จะยังคงฉลองในวันที่กำหนดเป็นลำดับแรก”
มงซินญอร์ อาเธอร์ โรเช
(เลขาธิการสมณสภาเพื่อการนมัสการและกฎเกณฑ์ปฏิบัติศีลศักดิ์สิทธิ์)
“เราจะฉลองวันดังกล่าวนี้ในวันจันทร์หลังสมโภชพระจิตเจ้าทันที เพื่อพระศาสนจักรจะจดจำได้ถึงความสำคัญที่พระนางมารีย์เป็นผู้ช่วยเหลือเราให้รู้จักสวดภาวนาเช่นไร และยังสวดภาวนาเพื่อพวกเราด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเสด็จมาขององค์พระจิตเจ้า”
• เพื่อความสะดวก วันฉลองนี้ได้บันทึกไว้ในปฏิทินพิธีกรรมตั้งแต่ปีที่แล้ว พร้อมมีคำภาวนาเฉพาะในพิธีมิสซาฉลอง เป็นการรำลึกอยู่เสมอถึงธรรมชาติแห่งความเป็นแม่ของพระนางมารีย์ที่มีต่อพระศาสนจักร แต่บัดนี้ที่แตกต่างออกไปก็คือจะไม่สามารถละเลย ไม่ฉลองไม่ได้