Logo

พระสันตะปาปาฟรังซิสตรัสกับบรรดาฑูตประเทศต่างๆ : “สงครามนิวเคลียร์ไม่อาจใช้เป็นเครื่องมือเพื่อสันติภาพได้”

หมวด: vatican news
เขียนโดย คุณพ่อพงศ์เทพ ประมวลพร้อม
ฮิต: 344

• เป็นธรรมเนียมทุกปีเมื่อเริ่มปีใหม่ พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงพบปะกับบรรดาฑุตานุฑูตประจำกรุงวาติกัน ณ ห้องประชุม เรเกีย และทบทวนถึง
สถานการณ์ต่างๆ ในโลก

• ในสุนทรพจน์ที่เน้นเรื่องสิทธิมนุษยชน พระสันตะปาปาทรงเตือนเรื่องแรกคือ
มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิต และสิทธิที่จะมีสันติเป็นประการสืบเนื่องตามมา

ถัดมาพระสันตะปาปาทรงเตือนชาติต่างๆ ถึงความรับผิดชอบที่ต้องมีต่อโลกทั้งใบ

พระสันตะปาปาฟรังซิส
“ชายและหญิงแต่ละคนในโลกนี้ โดยเฉพาะผู้รับผิดชอบในการบริหารปกครอง ได้รับการเรียกร้องให้ปลูกฝังจิตวิญญาณแห่งการบริการ
 และร่วมเห็นอกเห็นใจเป็นหนึ่งเดียวกันกับนานาชาติ ในหนทางนี้ก็จะสามารถเป็นเครื่องหมายแห่งความหวังสำหรับโลกที่มีความทุกข์ทน”
.
• ปีนี้ยังเป็นโอกาสครบรอบ 100 ปี แห่งสงครามโลกครั้งที่ 1
พระสันตะปาปาฟรังซิสจึงตรัสว่ากฎแห่งความกลัวและการเข้ารุกราน ไม่สามารถช่วยให้เราได้มาซึ่งสันติภาพ
.
• พระสันตะปาปาทรงแสดงความคิดเห็นเรื่องต่างๆ ตามลำดับ ได้แก่ สงครามโลกครั้งที่สามดำเนินอยู่ในทุกวันนี้ ทรงตรัสถึงความขัดแย้งบางสถานการณ์
ทรงเรียกร้องให้มีการเสวนากันในประเทศอิรัก เยเมน และอัฟกานิสถาน พระองค์ทรงเรียกร้องทางสายกลางเพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์เลวร้ายระหว่าง
ประเทศอิสราเอลกับปาเลสไตน์ และยังทรงตรัสถึงความตรึงเครียดในประเทศเกาหลี

พระสันตะปาปาฟรังซิส
“ในยุคนี้ที่มักอวดอ้างถึงอำนาจของระเบิดปรมาณู ไม่อาจจะเป็นสาระได้อีกแล้วที่ยังคงยึดถือเอาสงครามว่าเป็นอุปกรณ์เหมาะสมจะมาใช้
 เพื่อชดเชยซ่อมแซมความยุติธรรมที่ถูกละเมิดอย่างรุนแรง”

• พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงเรียกร้องให้ทุกประเทศมีการเลิกสะสมอาวุธนิวเคลียร์ และมีสำนึกมากขึ้นในวิกฤตผู้อพยพลี้ภัย ความขัดแย้ง
ในประเทศซีเรีย การเบียดเบียนศาสนา และใส่ใจในสิ่งแวดล้อม

พระสันตะปาปาฟรังซิส
“จงต้อนรับผู้ลี้ภัย ปกป้อง ส่งเสริม และยกระดับ พ่อปรารถนาจะพูดเป็นพิเศษในตอนท้ายนี้ ซึ่งได้หยิบยกขึ้นมาก่อนแล้วสำหรับผู้ที่ต่อต้าน
แสงสว่างของคุณค่าอันหลายหลาก ประสบการณ์มากมาย ความสัมพันธ์ และความไว้เนื้อเชื่อใจ การยกระดับนี้จะเป็นไปแบบ
 “กระบวนการสองทาง” (two-way process)

*** two-way process : รัฐบาลพูดออกไป และ รับฟังประชาชนพูดกลับมา (ผู้แปล)

• สมมุติฐานของพระสันตะปาปา คือให้รัฐบาลทำงานไปด้วยกัน เพื่อรับมือกับความท้าทายในโลกปัจจุบัน

• สันตะสำนักมีความสัมพันธ์ทางการฑูตกับ 183 ประเทศ ประเทศล่าสุดคือ ประเทศเมียนมา ซึ่งได้มีเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษรลงนามร่วมกันในปีนี้เอ