• เคลาดิโอ และ โรแบร์โต ฟรานชิ เป็นชั่วคนที่สี่แล้วของตระกูลช่างทองที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงโรม
ครั้งแรกที่ก่อตั้งร้านทอง ย้อนไปเมื่อ ปี ค.ศ.1886 ครอบครัวของเขาไม่มีความคิดเลยว่าวันเวลาผ่านไป
พวกเขาจะได้รับมอบหมายให้ทำพระธำมรงค์สำหรับพระสันตะปาปา
• นอกจากเป็นเป็นช่างทองแล้ว เคลาดิโอยังเป็นนักประวัติศาสตร์
ระหว่างนิทรรศการของเขาที่ตั้งแสดง นายจารีตของพระสันตะปาปาก็ค้นพบพรสวรรค์ของเคลาดิโอที่นั่นเอง
เคลาดิโอ ฟรานชิ (ช่างทองและนักประวัติศาสตร์ศิลปะ)
“นายจารีตของพระสันตะปาปามาสะดุดในความเป็นตัวตนของผม
นักประวัติศาสตร์ศิลปะ ช่างทอง และตัวแทนจากประวัติศาสตร์ของครอบครัวผม
เขาติดต่อกับผมให้มาทำงานโดยตรงในโครงการฟื้นฟูงานศิลป์ ที่ในอดีตถือว่าเป็นงานที่มีเกียรติอย่างสูง”
• นายจารีตพระสันตะปาปาสั่งทำ ”แหวนชาวประมง” (Fisherman's ring)
เป็นงานที่มีรูปนักบุญเปโตรจับปลาอยู่บนฝั่งแม่น้ำ ในสองสัปดาห์ เคลาดิโอก็ทำเสร็จซึ่งเป็นแหวนที่บ่งว่าเป็นของผู้นำของพระศาสนจักร
เคลาดิโอ ฟรานชิ (ช่างทองและนักประวัติศาสตร์ศิลปะ)
““แหวนชาวประมง” เป็นสิ่งที่มีความสำคัญ แสดงถึงองค์ประกอบหลักของเครื่องหมายแห่งผู้เป็นประมุขสูงสุดในพระศาสนจักร
ในอดีตแหวนเป็นองค์ประกอบที่ใช้ทำหน้าที่สะดวกที่สุด เพราะจะใช้ประทับตราด้วยครั่งบนเอกสารของพระศาสนจักร
ด้วยเหตุนี้สิ่งแรกที่พระคาร์ดินัลคาร์เมอร์แลงโกทำก็คือ ทำลายแหวนของพระสันตะปาปาที่สวรรคต เพื่อป้องกันมิให้
มีการทำเอกสารปลอมของพระสันตะปาปา”
(Cardinal Camerlengo ....พระคาร์ดินัลรักษาการณ์ดูแลการเลือกตั้งขณะที่ตำแหน่งพระสันตะปาปาว่างลง....ผู้แปล)
• พี่น้องชาวอิตาเลียนทั้งสองส่งมอบถวายแหวนแด่พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตาม
เมื่อพระองค์ทรงลาจากพระสมณสมัย แหวนของพระองค์ไม่ถูกทำลายแต่กลับได้รับการทำเครื่องหมายกางเขนกากบาท
เป็นตำหนิและตั้งแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์วาติกัน
• พร้อมกับการสืบตำแหน่งของพระสันตะปาปาฟรังซิส ก็มีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ รวมทั้งวัสดุที่ใช้ทำแหวน พระองค์ทรงต้อง
การให้ใช้เงินแทนทองคำ
เคลาดิโอมิได้เป็นผู้ทำแหวนวงใหม่นี้ เพราะพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงมอบหมายการทำแหวนให้ เอ็นริโค มานฟรินี
ซึ่งเป็นผู้ทำแหวนถวายให้แด่พระสันตะปาปาเปาโล ที่ 6
• เคลาดิโอเล่าว่าการที่ทรงเลือกเช่นนี้ เกี่ยวข้องกับนัยยะที่ซ่อนความหมายอยู่มากกว่าเรื่องการลดความหรูหราสิ้นเปลือง
เคลาดิโอ ฟรานชิ (ช่างทองและนักประวัติศาสตร์ศิลปะ)
“การเลือกตั้งพระสันตะปาปาฟรังซิส นำมาไปสู่การตีความหมายเพียงแง่มุมเดียว
ผมสามารถพูดได้ว่ามันเป็นมากกว่าความจริงที่บรรดาสื่อมวลชนจับต้องได้ เพราะการลดวัสดุจากทองคำ เป็นความตั้งพระทัยมาก
กว่าเพียงแค่ภาพลักษณ์เรื่องความยากจน ภาพลักษณ์เพียงแค่แหวนเงินไม่อาจสื่อถึงเรื่องนี้ได้ครบถ้วน แต่เป็นความจริงว่า
“แหวนชาวประมง” ซึ่งพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงสวมนั้นทำจากเงินไม่ใช่ทองคำ และไม่ได้แปลว่าค่าของพระธำมรงค์จะลดลง
เพราะคุณค่าของงานฝีมือยังคงต้องรักษาการสร้างสรรความหมายของสัญลักษณ์แหวนนี้”
• พระสันตะปาปาฟรังซิสเป็นประสันตะปาปาเพียงพระองค์เดียวที่ทรงสวมแหวนซึ่งพระสันตะปาปาพระองค์ก่อนๆ ไม่ทรงใช้
ยิ่งกว่านั้นทรงสวมเป็นโอกาสๆ ที่ต้องสวม โอกาสปกติพระองค์มักจะทรงสวมแหวนพระอัครสังฆราชแห่งบัวโนสไอเรส
• ตลอดประวัติศาสตร์พระศาสนจักร วัตถุสวมใส่เพื่อความหมายทางพิธีกรรม เช่นแหวน ไม้กางเขน หรือปัลลิอุม
ทำหน้าที่สื่อความหมายคุณค่าของคริสตชนและข่าวสารของพระศาสนจักร
• แม้ว่าความต้องการช่างทองและศิลปินมาทำงานในสำนักวาติกันยังไม่อาจหยุดลงได้ พี่น้องอิตาเลี่ยนทั้งสองจึงเป็นเครื่องชี้
ให้เห็นว่ายังคงมีผู้คนที่หลงใหลรักในรายละเอียดต่างๆ ที่ศิลปินในอดีตเช่น มิชาลันเจโล แบร์นินี และราฟาเอล ครั้งหนึ่งก็รักในสิ่งเหล่านี้