• ครั้งหน้าถ้าจะยื่นโทรศัพท์ไร้สายหรือแท็บเล็ตให้แก่เด็กๆ จะต้องฉุกคิดอีกครั้งหนึ่ง บรรดาผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกกำลังส่งเสียงเตือนถึงอันตรายที่กำลังคุกคามเด็กๆ
ทางอินเตอร์เน็ต และเรียกร้องขอให้ยักษ์ใหญ่กิจการอินเตอร์เน็ตตัดสินใจเด็ดขาดที่จะต้องปกป้องเด็กๆ จากเรื่องนี้
ไชลา ฮอลลินส์ (นักจิตวิทยาจากประเทศสหราชอาณาจักร)
“มีสิ่งที่เกิดขึ้นในอินเตอร์เน็ตซึ่งทำร้ายต่อเด็กๆ โดยตรง (มันสามารถทำร้ายวัยรุ่นหนุ่มสาวด้วย) ดังเช่นเด็กๆ ในโรงเรียน พวกเขาก็จะทำร้ายต่อกันและกัน :
ด้วยพฤติกรรม sexting*
ยังมีขบวนการแบล็คเมล์วีดีโอเพศสัมพันธ์ (sextortion)
การแก้เผ็ดกันด้วยสื่อลามก (revenge porn)
คำศัพท์และชื่อเหล่านี้ผู้คนอาจจะพบเจอกันอยู่แล้ว แต่ขอบข่ายกระจายเนื้อหาไปของมันกว้างใหญ่ไพศาลมาก”
* sexting : sex + texting มารวมกันแปลว่า การส่งข้อความที่มีเนื้อหาทางเพศ (sexual text messages) รวมทั้งภาพเซ็กซี่ ภาพโป๊ของบุคคลนั้น
(nude or naked photos) ไปยังบุคคลที่สนทนาด้วยทางโทรศัพท์หรือโซเชียลมีเดีย หรือการ "คุยหวิว" นั่นเอง
ตัวอย่างประโยคเช่น I received a sexting message last night.
<ฉันได้รับข้อความชวนคุยเรื่องสยิวเมื่อคืนนี้>
* sexting เป็นพฤติกรรมที่อันตรายมาก เพราะแม้จะเป็นการคุยกันสองคน แต่เทคโนโลยีสมัยนี้ คู่สนทนาเราจะเอาข้อความหรือภาพไปเผยแพร่ต่อ
เมื่อไหร่ก็ได้ ขนาดคุยธรรมดายังแคปหน้าจอ ภาษาอังกฤษเรียกว่า screen capture หรือ screenshot และนำไปนินทาต่อกันได้ นับประสาอะไรกับคุยหวิว ....กูเกิ้ล
เออร์นีย์ อัลเล็น (ประธานกลุ่ม We Protect Global Alliance)
“เราปรารถนาจะเห็นบรรดาบริษัทเหล่านี้เข้ามามีส่วนร่วมแก้ปัญหาเหล่านี้
ไม่ใช่เพียงแค่สร้างโปรแกรมใหม่ๆ เป็นครั้งคราว ไม่ใช่แค่ให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง...แต่เราต้องการทางออกที่เป็นรูปธรรม
...บารอนเนส ฮอลลินส์ อ้างว่า 25 เปอร์เซนต์ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเด็ก และพวกเขาก็ยังคงใช้ซอฟแวร์อันเดียวกัน
ขอบข่ายสัญญาณเดียวกัน อันมีขอบเขตเท่ากับพวกผู้ใหญ่ใช้กัน ซึ่งหมายถึงไม่มีขอบเขตจำกัด
ดังนั้นเราจึงมาลองคิดดูว่า ทำอย่างไรที่บริษัทเหล่านี้สามารถสร้างขอบข่ายที่มีสัดส่วนเหมาะสมให้เด็กได้ใช้บริการ”
• มหาวิทยาลัยเกรโกเรียน ของสันตะสำนักจัดให้มีการสัมนาเรื่องศักดิ์ศรีของเด็กในอินเตอร์เน็ต โดยมีผู้เข้าร่วมเป็นตัวแทนจาก
เฟสบุ๊ค กูเกิ้ล และไมโครซอฟท์ พวกเขาเสนอเครื่องมือที่เป็นไปได้จัดการกับกรณีเร่งด่วนทันที
อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าเพียงแค่ความตั้งใจแรงกล้าและสร้างสรรอุปกรณ์เพิ่มเติมยังไม่เพียงพอ
เออร์นีย์ อัลเล็น (ประธานกลุ่ม We Protect Global Alliance)
“พวกเขาทำสิ่งที่ดีมากจริงในพื้นที่เรื่องเหล่านี้ แต่เรากำลังอยู่ในสถานการณ์ที่จะก้าวย่างไปสู่ขั้นตอนพิเศษ เพราะว่าอินเตอร์เน็ต
ยังไม่สามารถรับอนุญาตให้เก็บรักษาสวรรค์ไว้สำหรับการล่วงละเมิดและเอาแต่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ต่อเด็กๆ ได้”
ไชลา ฮอลลินส์ (นักจิตวิทยาจากประเทศสหราชอาณาจักร)
“บรรดาบริษัทที่ผลิตวัตถุดิบ น่าจะออกแบบมาเพื่อเด็ก เด็กๆ จะได้ใช้งานได้...
หากคุณออกแบบตุ๊กตามาแล้วไม่ปลอดภัย คุณจะต้องถูกฟ้องร้องใช่ไหม?
หากคุณออกแบบสนามเด็กเล่นที่ไม่ปลอดภัย คุณต้องถูกฟ้องร้อง
อินเตอร์เน็ตเป็นสนามที่เด็กจะเข้าไป และมันไม่ปลอดภัย”
• ผลลัพท์ประการแรกของการสัมมนาคือ “ข้อประกาศแห่งกรุงโรม” (The Declaration of Rome) อันเป็นเอกสารส่งมอบแด่พระสันตะปาปา
ที่ลงนามโดยผู้แทนจากหลายๆ แห่ง มีจุดประสงค์ร่วมมือกันทั่วโลกที่จะยุติปัญหาเลวร้ายนี้ แต่เพียงสิ่งนี้อย่างเดียวไม่พอที่จะปกป้องสถานการณ์
ในปัจจุบัน และชีวิตในอนาคตของชีวิตน้อยๆ ในสังคมของเรา