พระสันตะปาปาทรงวอนขอจากเมืองวิลลาวิเซนเซา :
“ประเทศโคลัมเบียจงปลดปล่อยตัวเองกลับเข้าคืนดี”
• การหันหน้าให้อภัยเข้าหากันในชาติ (The Encounter for National Reconciliation) นับเป็นช่วงเวลาที่ทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมกันมากที่สุด
ในการเสด็จเยือนประเทศโคลัมเบียของพระสันตะปาปาฟรังซิส
• หลังจากการอ่านบทสดุดีที่ 85 อย่างมีศิลปะ เนื้อหาพูดถึงสันติและความยุติธรรม ผู้คนราว 6,000 คน ก็ตั้งใจฟังประจักษ์พยาน
จากทั้งผู้ตกเป็นเหยื่อจากความขัดแย้ง ในประเทศโคลัมเบีย และทั้งจากผู้กระทำรุนแรง
• นางมิรา ศิษยาภิบาลผู้เล่า ได้รับการปรบมือเป็นเกียรติ หลังจากได้เล่าเรื่องราวน่าหดหู่ เธอให้อภัยและยังดูแลคนที่ฆ่าพ่อของเธอ
เมื่อฆาตกรแก่เฒ่าและถูกทอดทิ้ง
• หลายปีผ่านไป ลูกสาวคนหนึ่งของเธอหายตัวไป และเธอพบศพหลังจากนั้น 7 ปีต่อมา
ยังไม่จบ ในปี ค.ศ.2005 กลุ่มก่อการร้ายกองกำลังผสมฆ่าลูกชายคนเล็กของเธอ
ศิษยาภิบาล มิรา การ์เซีย
“3 วัน หลังจากที่ดิฉันฝังศพเขาแล้ว ดิฉันก็ช่วยทำแผลให้กับชายหนุ่มและวางเขาไว้บนเตียงเดียวกับที่ ฮอร์เก อนิบาล ลูกชายของดิฉันเคยนอน
เมื่อเขาหายจากแผลและกำลังจะจากไป เขาเห็นรูปลูกชายของดิฉัน และเริ่มเล่าว่าลูกชายดิฉันเป็นหนึ่งในหมู่คนที่เขาได้สังหาร และทรมานเขาอย่างไรก่อนลงมือฆ่า
.
ดิฉันขอบพระคุณพระเจ้าและด้วยความช่วยเหลือของพระมารดามารีย์
พระนางได้ให้พละกำลังเข้มแข็งแก่ดิฉัน ให้รับใช้ชายคนนั้นโดยไม่ได้ทำร้ายเขาตอบ ท่ามกลางความเจ็บปวดที่ไม่ได้แสดงออกมา”
.
• นางมิราได้ถวายสิ่งมีค่าที่สุดที่เธอเก็บไว้ แด่พระรูปพระคริสตเจ้าแห่งโบฮายา คือเสื้อที่ลูกสาวที่เคยให้เป็นของขวัญแก่ลูกชาย ซึ่งถูกฆ่าตาย
อีกไม่กี่ปีให้หลัง เป็นการกระทำที่ก่อความรู้สึกต่อพระสันตะปาปาฟรังซิส พระองค์ทรงตรัสว่า
.
พระสันตะปาปาฟรังซิส
“เป็นไม้กางเขนของพระคริสตเจ้าแห่งโบฮายา ที่ประทานความเข้มแข็งให้เราสามารถอภัยและรัก และช่วยให้เธอมองเห็น ผ่านทางเสื้อของลูกสาว
ซานดรา เปาลา ที่มอบแก่ลูกชาย ฮอร์เก อนิบาล เห็นไม่เพียงแต่ความทรงจำเรื่องความตาย แต่เห็นความหวังแห่งสันติภาพ ซึ่งจะชนะอย่างแจ้งชัดแน่นอน
ในประเทศโคลัมเบีย ขอบใจ ขอบใจ “
.
• พระคริสตเจ้าแห่งโบฮายา ที่พระสันตะปาปาฟรังซิสตรัสถึงคือ
รูปไม้กางเขนที่แตกหัก เหลือแต่พระวรกายและพระเศียรเนื่องจากการทิ้งระเบิด
นำมาเป็นเป็นเครื่องหมายในการหันหน้าเข้าคืนดีกันครั้งนี้
• รูปไม้กางเขนนี้ รำลึกถึงการสังหารหมู่ ในปี ค.ศ.2002
และเป็นสัญลักษณ์วิกฤตความขัดแย้งในประเทศโคลัมเบีย
เขตวัดที่พระสันตะปาปาเสด็จนี้ถูกโจมตีด้วยการทิ้งระเบิด ทำให้ผู้คนตายไปหลายร้อยคน ซึ่งเข้าหลบภัยหนีจากการรบกันของฝ่ายกองกำลังผสมและกลุ่ม FARC
• ระหว่างสุนทรพจน์พระสันตะปาปาตรัสว่า ความเมตตาและความยุติธรรมไปด้วยกันได้
และผู้มาพูดอีกสามท่านต่อจากศิษยาภิบาล มิรา คือ
อดีตสมาชิกกลุ่มก่อการร้าย FARC มาเป็นตัวแทน ซึ่งเป็นแบบอย่างของการสามารถเริ่มต้นใหม่ในการมีสันติภาพ
พระสันตะปาปาฟรังซิส
“เราต้องตัดโซ่ข้อนี้ลง ซึ่งมีแต่กักขังเราให้หนีไปไหนไม่ได้
ซึ่งจะมีทางเป็นได้ก็ด้วยการให้อภัย และสร้างการกลับมาคืนดีเข้าหากัน
ประเทศโคลัมเบีย จงเปิดใจของลูกเหมือนเป็นคนของพระเจ้าและให้ตัวตนเองได้กลับคืนดีเข้าหากัน”
• ในตอนท้าย พระสันตะปาปาและมวลสัตบุรุษที่ชุมนุมอยู่ที่นั่น ร่วมใจภาวนาเพื่อสันติภาพ และพระสันตะปาปาเสด็จไปยัง 'ไม้กางเขนแห่งการกลับคืนดีกัน'
ในชาติซึ่งที่นี่ เป็นอนุสรณ์รำลึกถึงเหยื่อผู้ได้รับความตายและผลกระทบจากความรุนแรงหลายทศวรรษที่ผ่านมา