• วิหารซากราดา ฟามิเลีย เป็นหนึ่งในสถานที่ที่เป็นสัญลักษณ์ของเมืองบาร์เซโลนาและศาสนาคาทอลิกแห่งทวีปยุโรป
• ประวัติของตัวโบสถ์อันโดดเด่นนี้น่าตื่นเต้นยิ่งนัก ตัวอาคารที่น่าประทับใจยังคงอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง และจะไม่เสร็จสมบูรณ์ก่อนปี ค.ศ.2026
รวมเวลา 154 ปีมาแล้ว นับตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง
• ในขณะที่ตัวโบสถ์ได้รับการสร้างไปส่วนใหญ่แล้ว แต่หอคอยแต่ละหอยังคงกำลังทำกันอยู่ แต่ละหอจะเป็นดั่งผู้นิพนธ์พระวรสารหรือบรรดาอัครสาวก
พร้อมกับสองหอที่ใหญ่พิเศษ
สำหรับพระมารดามารีย์ และพระเยซูเจ้า
• โจเซฟ มาเรีย ตาร์ราโกนา ผู้เขียนประวัติชีวิตของอันโตนีโอ เกาดิ เล่าว่า
ความคิดของสถาปนิกนั้น ต้องการนำเอา”ภาพวาดฉากหลังบนพระแท่น” (altarpieces) ออกมาไว้ด้านหน้าอาคาร นำเอาคริสตศาสนาออกไปยังถนน
โจเซฟ ตาร์ราโกนา (ผู้เขียนอัตชีวประวัติ อันโตนีโอ เกาดิ)
“ด้านหน้าอาคารของวิหารซากราดา ฟามิเลีย หันไปทางทิศตะวันออก ทิศใต้ และตะวันตก ก็จะมีข้อคำสอนสำคัญที่แสดงออก ด้วยบรรดารูปสลักและสื่อสารออกมา
เรื่องพระเยซูเจ้าปฐมวัย และเมื่อทรงเจริญวัยแล้ว อยู่ที่หอทางด้านตะวันออก ที่ดวงอาทิตย์ขึ้นฉายแสง
พระมหาทรมานและการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูเจ้า อยู่ทางทิศตะวันตก ที่ดวงอาทิย์ลาลับฟ้า
ส่วนงานสร้างโลกจักรวาลและการพิพากษาประมวลพร้อม อยู่ทางหอทิศใต้ อันเป็นที่ซึ่งดวงอาทิตย์ขึ้นอยู่ตำแหน่งสูงที่สุด ซึ่งทั้งแสงและดวงอาทิตย์หมายถึงพระคริสตเจ้า”
• โฮเซ มานูเอล อัลมูซาราคิดว่า เกาดิไม่เพียงเป็นสถาปนิกผู้อัจฉริยะเท่านั้นแต่เป็นรูปแบบของคาทอลิกเพราะเขาได้ดำเนินชีวิตอย่างสอดคล้องกับความเชื่อ
โฮเซ มานูเอล อัลมูซารา
(ประธานสมาคม เพื่อการแต่งตั้งอันโตนีโอ เกาดิ เป็นบุญราศี)
“เกาดิตั้งใจทำปฏิมากรรมเหล่านี้ และทำมันในรูปแบบคล้ายพระมารดามารีย์มอบถวายพระกุมาร และท่านบิดาอยู่ข้างหลังคอยพิทักษ์รักษา
มันเป็นรายละเอียดที่เป็นรูปธรรม เพื่อช่วยผู้คนมีประสบการณ์การเดินทางแห่งความเมตตาในลักษณะที่เป็นจริงและใกล้ชิด”
• ปฏิมากร ชาวญี่ปุ่น เอซึโระ โซโตโอะ มาเที่ยวเมืองบาร์เซโลนา ปลายทศวรรษ ’70 เขารู้สึกกระตือรื้อร้นในโครงการนี้ และได้ทำงานที่นี่เพื่อสืบต่องานของเกาดิ
เอซึโระ โซโตโอะ (ปฎิมากร)
“เหตุใดเราจึงผูกมัดตัวเรากับวิหารซากราดา ฟามิเลีย?
เราสร้างขึ้นมาทำไม?
เราไม่ได้แสวงหาความงามอันยโสของมนุษย์ ไม่ใช่
วิหารซากราดา ฟามิเลีย เป็นเครื่องมือ เพื่อช่วยก่อสร้างตัวเรา”
• ปี ค.ศ.2010 พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 ทรงอภิเษกตัววิหาร
พระองค์ทรงตะลึงว่าทำไมเกาดิจึงรวมเอาสถาปัตยกรรมเข้ากับเทววิทยาได้ในเวลาเดียวกัน
“มนุษย์ตั้งใจจะสร้างชีวิตของตน โดยที่มีหลังของร่างกายติดอยู่กับพระเจ้า”
• อย่างไรก็ดี วิหารซากราดา ฟามิเลีย ได้รับการอ้างอิงสำหรับงานสถาปัตยกรรม และเป็นสถานที่ก่อเกิดแรงบันดาลใจต่อผู้ที่มาเยี่ยมชมงานระดับมาสเตอร์พีสถึงปี
ละสี่ล้านห้าแสนคน