สำหรับพ่อเป็นเหมือนการกลับเข้าบ้านเณรอีกครั้งหนึ่ง
• ท่านเป็นพระคาร์ดินัลคนแรกของชาวลาว ประเทศที่คริสตชนไม่มีอิสรภาพเต็มที่ในการถือความเชื่อ
ท่านจึงเป็นพระคาร์ดินัลของคริสตชนที่เป็นกลุ่มชนส่วนน้อยของประเทศ น้อยกว่า 1 เปอร์เซนต์ของประชากรชาติ จำนวน 7 ล้านคน
• ชีวิตของพระคาร์ดินัลหลิ่ง สามารถสะท้อนประวัติศาสตร์ชาติลาวได้ในตัวเอง ประเทศมีสงครามกลางเมือง ตั้งแต่ ค.ศ.1963 จนถึง 1975
ความขัดแย้งเกิดขึ้นในสมัยปกครองของพวกคอมมูนิสต์ ท่านได้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์ ค.ศ.1972 ในค่ายผู้ลี้ภัย
ต่อมาพวกคอมมูนิสต์จำคุกท่านนาน 3 ปี ตั้งแต่ ค.ศ.1984 ถึง 1987 ด้วยข้อหา การประกาศพระนามพระเยซูเจ้า
จนทุกวันนี้ซึ่งนานกว่า 30 ปีแล้ว ท่านสามารถเล่าเรื่องเหล่านี้ด้วยรอยยิ้มบนริมฝีปาก พระคาร์ดินัล หลุยส์-มารีย์ หลิ่ง
(พระสังฆราชผู้ช่วยแห่งปากเซ สปป.ลาว)
“เป็นสิ่งดีสำหรับพ่อ เหมือนได้กลับเข้าไปอยู่ในบ้านเณรอีกครั้งหนึ่ง คุณจะพบว่ามันเป็นการอบรมสำหรับพ่อ
เพราะเรายอมรับต่อสภาพแวดล้อม เมื่อคุณยอมรับคุณก็สบายดี ไม่มีปัญหา ไม่มีวิกฤต”
• แม้จะมีการพิสูจน์ให้เห็นว่ามีอิสรภาพเรื่องศาสนาในประเทศลาว แต่ก็ยังมีการควบคุมอย่างมากจากรัฐบาล
ในการปฎิบัติศาสนกิจในที่สาธารณะ และกิจการงานของมิสชันนารี
พระคาร์ดินัล หลุยส์-มารีย์ หลิ่ง
(พระสังฆราชผู้ช่วยแห่งปากเซ สปป.ลาว)
“ก็คงจะค่อยเป็นค่อยไป คุณก็คงต้องได้รับการพิสูจน์ว่าคุณสัตย์ซื่อต่อพระเจ้าหรือไม่ ดังนั้นเราต้องคอยดู
ดังนั้นเราก็จะไปทีละก้าว เราจะเดินต่อไป”
• พระคาร์ดินัลมีสัตบุรุษน้อยมาก
มีคาทอลิกเพียง 11,000 คน ในสังฆมณฑลของท่าน
ผู้ร่วมงานของท่านมี พระสงฆ์ 7 องค์ นักบวชชาย 9 คน นักบวชหญิง 16 คน
รายละเอียดนี้ได้เรียนให้พระสันตะปาปาทรงทราบ ระหว่างเวลาเข้าเฝ้า “อัดลีมีนา” จากพระสังฆราชประเทศกัมพูชาและลาว
เมื่อเดือนมกราคมต้นปี พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงสะเทือนใจ จากเรื่องราวประวัติศาสตร์ของพระคาร์ดินัลใหม่นี้
ผู้ซึ่งไม่เคยถูกทอดทิ้งจากองค์พระผู้เป็นเจ้าขณะถูกจองจำ