Logo

บทสัมภาษณ์พระสันตะปาปาตรัสถึง ฮิตเลอร์

หมวด: vatican news
เขียนโดย POPE REPORT
ฮิต: 814

พระสันตะปาปาพูดว่า "ฮิตเลอร์ไม่ได้ขโมยอำนาจใคร แต่เป็นประชาชนที่เลือกเขา และก็เป็นเขานี่แหละที่ทำลายประชาชน"

แต่หากเราพิจารณาคำถามและคำตอบแบบเต็มๆ ความหมายเปลี่ยนไปเลยนะครับ ฮิตเลอร์เป็นแค่ตัวอย่างที่พระสันตะปาปายกขึ้นมา แต่ความหมายทั้งประโยค

หมายถึง "ในภาวะวิกฤติ เรามักขาดการตัดสินใจอย่างรอบคอบ" ต่างหาก ไปดูคำถามและคำตอบกันเลย

นักข่าว: "ทั้งยุโรปและอเมริกา ต่างตกอยู่ในผลสะท้อนของวิกฤติที่ไม่มีวันจบสิ้น ทั้งความไม่เสมอภาคที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การขาดผู้นำที่เข้มแข็งที่จะมอบแนวทาง

ต่อกลุ่มการเมืองต่างๆ เพื่อสะท้อนถึงความไม่สบายใจของพลเมือง บางคนเรียกภาวะแบบนี้ว่าการต่อต้านระบบหรือต่อต้านประชาธิปไตย นี่คือการแสวงหาผลประโยชน์

อย่างเต็มที่บนความกลัวจากอนาคตที่ไม่แน่นอน เพื่อจะสร้างเนื้อหาของการรังเกียจคนต่างชาติและเกลียดชังชาวต่างชาติ กรณีของทรัมพ์นี่เลื่องลือมาก

แต่มันก็มีกรณีแบบนี้อีกในออสเตรียและสวิตเซอร์แลนด์ พระองค์กังวลต่อกระแสแบบนี้ไหมครับ"

พระสันตะปาปา: "นี่คือสิ่งที่เราเรียกว่า 'ประชานิยม' มันคือศัพท์ที่คลุมเครือ เพราะในลาตินอเมริกา ประชานิยมมีความหมายถึงขบวนการประชาชน

พวกเขาบริหารจัดการตัวเองได้ เมื่อพ่อเริ่มได้ยินคำว่าประชานิยมในยุโรป พ่อไม่ค่อยรู้ว่ามันหมายถึงอะไร กระทั่งพ่อตระหนักได้ว่ามันมีความหมายที่แตกต่างออกไป(จากที่เคยได้ยิน)

"ในความคิดของพ่อ ตัวอย่างชัดเจนสุดของประชานิยมในยุโรปคือเยอรมนีในค.ศ.1933 หลังจากวิกฤติปี 1930 เยอรมนีจำเป็นต้องสร้างตัวเองขึ้นมาใหม่ พวกเขาต้องการผู้นำ

ต้องการใครสักคนที่สามารถฟื้นฟูบุคลิกของชาติ และมันมีคนหนุ่มคนหนึ่งที่ชื่อ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ซึ่งพูดว่า 'ผมสามารถทำได้' คนเยอรมันลงคะแนนเลือกชายคนนี้

ฮิตเลอร์ไม่ได้ขโมยอำนาจใคร แต่เป็นประชาชนที่เลือกเขา และก็เป็นเขานี่แหละที่ทำลายประชาชน นี่คือความเสี่ยง ในช่วงเวลาวิกฤติ เรามักขาดความสามารถในการตัดสินใจ

"กรณีของเยอรมนีในปี 1933 คือตัวอย่างที่เด่นชัด ผู้คนกำลังจมอยู่กับวิกฤติ พวกเขากำลังแสวงหาอัตลักษณ์ของชาติ จนกระทั่งมีผู้นำที่เปี่ยมด้วยพรสวรรค์เดินเข้ามา

และสัญญาว่าจะนำอัตลักษณ์กลับมาอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ผู้นำคนนั้นมอบอัตลักษณ์ที่บิดเบือนให้กับประชาชนและพวกเราก็รู้ดีว่าหลังจากนั้นมันเกิดอะไรขึ้นบ้าง

ว่าแต่ เราควรควบคุมจุดผ่านแดนหรือไม่ ... ใช่ ทุกประเทศมีสิทธิทำแบบนั้นเพื่อดูว่าใครเข้าออกประเทศของตนบ้าง ยิ่งประเทศที่เสี่ยงกับการก่อการร้ายยิ่งมีสิทธิอย่างยิ่งในการควบคุมคนเข้าออก"

สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิส ทรงให้สัมภาษณ์พิเศษแก่ผู้สื่อข่าวของ "เอล ปาอิส" หนังสือพิมพ์จากสเปนในหลากหลายหัวข้อ Pope Report จึงขอนำมาเสนอเป็นเรื่องๆ ไป

เพื่อให้ทุกท่านได้ติดตามแบบใกล้ชิดนะครับ (นำเสนอเหมือนบทสัมภาษณ์พระสันตะปาปากิตติคุณ เบเนดิกต์ ที่ 16)