Logo

สมณะกรรมาธิการแห่งสันตะสำนักเพื่อคุ้มครองเด็ก/ผู้เยาว์ (PCPM)

หมวด: vatican news
เขียนโดย วิษณุ ธัญญอนันต์
ฮิต: 408

สมณะกรรมาธิการแห่งสันตะสำนักเพื่อคุ้มครองเด็ก/ผู้เยาว์ (PCPM) แถลงการณ์ (Statement)

 

สมณะกรรมาธิการแห่งสันตะสำนักเพื่อคุ้มครองเด็ก/ผู้เยาว์

(PCPM)

แถลงการณ์ (Statement)

*****

 

นครรัฐวาติกัน วันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 2016:  คณะสมณะกรรมาธิการแห่งสันตะสำนักเพื่อคุ้มครองเด็ก/ผู้เยาว์ (PCPM) ทำงานกันตลอดปีและได้มาประชุมพร้อมหน้ากันที่กรุงโรมในวันที่ 5 ถึงวันที่ 11 กันยายน ประมาณ 1 สัปดาห์เพื่อประชุมกลุ่ม [การแนะนำ  การเยียวยาและการเอาใจใส่  การศึกษา  การอบรม  เทวศาสตร์และชีวิตฝ่ายจิต  กฎหมายพระศาสนจักรและกฎหมายบ้านเมือง] และเพื่อเตรียมการประชุมสมัชชาใหญ่ด้วย

 

การประชุมของกลุ่มผู้ทำงานมุ่งเป้าและปรับโครงการให้ทันกับเหตุการณ์รวมถึงร่างคู่มือคำแนะนำปกป้องและการคุ้มครองเด็ก/ผู้เยาว์ รวมถึงผู้ใหญ่ผู้ที่ตกอยู่ในภาวะเสี่ยง (เช่นผู้พิการต่างๆ) ซึ่งในไม่ช้านี้คณะกรรมาธิการของเราจะนำเสนอให้สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงพิจารณา เพื่อการลงมติและขับเคลื่อนภาคปฏิบัติ

การศึกษาและกุญแจดอกสำคัญ

ความสำคัญของการประชุมสมัชชาใหญ่ได้แก่การรายงานของสมาชิกเกี่ยวกับความคืบหน้าและโครงการการศึกษาที่กำลังดำเนินการอยู่ทั้งในระดับท้องถิ่นและในระดับสากล สอดคล้องกับนโยบายแห่งสันตะสำนัก (วาติกัน)

 

ความคิดริเริ่มเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งแห่งความพยายามของคณะผู้ทำงานเพื่อรับใช้สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสโดยการใช้ความเชี่ยวชาญของตนเองช่วยพระศาสนาจักรท้องถิ่นและผู้นำทางศาสนา  สมาชิกของคณะกรรมาธิการนี้ได้รับคำเชิญให้ไปพูดแบ่งปันและมีส่วนร่วมในการประชุมและสัมมนาเชิงวิชาการต่างๆในทั้ง 5 ทวีป

เช่นไปประชุมและร่วมสัมมนาเชิงวิชาการในอัครสังฆมณฑลเมลเบิร์นประเทศออสเตรเลีย การปฐมนิเทศพระสงฆ์ธรรมทูตใหม่ที่แอฟริกาใต้ (SACBC)  สัมมนาเชิงวิชาการที่อัครสังฆมณฑลมะนิลาประเทศฟีลิปปินส์ [CBCP]  การปราศรัยสำหรับนักบวชแห่งอัครสังฆมณฑลโบโกต้าในประเทศโคลัมเบีย  สัมมนาเชิงวิชาการกับคณะนักบวชต่างๆ  กับคณาจารย์และผู้อบรมบ้านเณรใหญ่  กับผู้นำในการประกาศข่าวดี กับ สมาคมผู้ประสานงานระดับชาติเพื่อคุ้มครองสภาพแวดล้อมและเหยื่อต่างๆ แห่งสหรัฐอเมริกา (United States National Safe Environment and Victims Assistance Coordinators) สัมมนาเชิงวิชาการที่ประเทศฟีจิ  ในประเทศนิวซีแลนด์มีการปราศรัยและสัมมนาเชิงวิชาการเป็นระบบขั้นตอนทั้งครบ  กับบรรดาพระสังฆราชและผู้นำศาสนา  ที่ประเทศกานามีการประชุมกับบรรดาเลขาธิการสมาพันธ์พระสังฆราชแห่งแอฟริกาและที่มาดากัสการ์แถบแอฟริการตะวันออก [AMECEA] ที่อาร์เจนตีนามีการประชุมอภิปรายกับบรรดาสามเณรและนักบวชแห่งสังฆมณฑลโมโรนและบัวโนสไอเรส ที่ซันโตโดมิงโกมีการประชุมกับผู้ให้การอบรม 50 คนจาก 13 ประเทศที่เป็นสมาชิกของสภาพระสังฆราชแห่งลาตินอเมริกา – Latin American Bishops Conferences (CELAM) มีการประชุมกับบรรดาพระสังฆราชและนักกฎหมายของสาธารรัฐสะโลวาเกียและเช็ก  ส่วนในอิตาลีนั้นมีการจัดสัมมนาสำหรับบรรดาอธิการของสหพันธ์คณะเบเนดิกตินและมีส่วนร่วมในการประชุมเกี่ยวกับการปกป้องคุ้มครองเด็ก/ผู้เยาว์ของประเทศต่างๆที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก (Anglophone Safeguarding Conference)

สำหรับบริบทของนครรัฐวาติกันนั้นสมาชิกของคณะสมณะกรรมาธิการได้รับการเชิญให้ไปปราศรัยที่สถาบันทางการฑูต (Pontifical Ecclesiastical Academy) และสมณกระทรวงเพื่อชีวิตผู้รับเจิมถวายตัว

สัปดาห์หน้านี้สมาชิกของเราได้รับคำเชิญให้ไปปราศรัยในการอบรมพระสังฆราชใหม่ที่จัดโดยสมณกระทรวงเพื่อการประกาศข่าวดีสู่ปวงชน  การประชุมของสมณกระทรวงเพื่อชีวิตนักบวช  และการอบรมพระสังฆราชใหม่ที่จัดโดยสมณกระทรวงเพื่อพระสังฆราช

โครงการให้การศึกษาอื่นๆที่วางแผนไว้ในเดือนถัดไปรวมถึงสัมมนาเชิงวิชาการในประเทศเม็กซิโก เอกวาดอร์ และในการประชุมของบรรดาพระสังฆราชแห่งโคลัมเบีย  คณะกรรมาธิการยังได้รับการขอร้องให้ไปปราศรัยในการประชุมของบรรดาอธิการนักบวชชายในสหรัฐ และจัดสัมมนาสำหรับสหพันธ์สภาพระสังฆราชแห่งภาคพื้นเอเชียด้วย [FABC]

 

วันอธิษฐานภาวนา

เด็ก/ผู้เยาว์คนหนึ่งที่เคยถูกล่วงละเมิดเพศจากสมณะเสนอมายังคณะสมณะกรรมาธิการขอให้ช่วยจัดวันอธิษฐานภาวนาเพื่อผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการล่วงละเมิด คณะกรรมาธิการนี้เชื่อว่าการอธิษฐานภาวนาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเยียวยาสำหรับผู้ที่เคยตกเป็นเหยื่อและสำหรับชุมชนของผู้ที่มีความเชื่อ  การสวดภาวนาแบบสาธารณะยังเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความตระหนักความห่วงใยเกี่ยวกับประเด็นนี้ในพระศาสนจักรด้วย

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงขอร้องให้สภาพระสังฆราชเลือกวันที่เหมาะสมเพื่ออธิษฐานภาวนาสำหรับผู้ที่ยังมีชีวิต ผู้ที่เคยตกเป็นเหยื่อแห่งการล่วงละเมิดในฐานะที่เป็นความคิดเริ่มต้นสำหรับวันอธิษฐานภาวนาสากล

คณะสมณะกรรมาธิการรู้สึกมีความยินดีที่ได้ทราบว่าสภาพระสังฆราชหลายแห่งได้เริ่มที่จะปฏิบัติตามข้อเสนอนี้แล้ว

 

เราได้รับทราบมาว่าที่ประเทศออสเตรเลียพระศาสจักรทั่วประเทศตั้งวันที่ 11 กันยายน เป็นวันอธิษฐานภาวนาทั่วทั้งประเทศซึ่งตรงกับวันคุ้มครองผู้เยาว์แห่งชาติ

บรรดาพระสังฆราชแห่งฟีลิปปินส์เริ่มมีการอภิปรายกันแล้วว่าจะทำอะไรกันบ้างเพื่อทำให้วันอธิษฐานภาวนาสากลเกิดผลดีที่สุดและคงจะประกาศวันดังกล่าวในไม่ช้านี้

สำหรับสภาพระสังฆราชแอฟริกาใต้ [SACBC] รับข้อเสนอดังกล่าวโดยอุทิศ 3 วันให้กับการณ์นี้โดยเริ่มจากวันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม ถึงวันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม ซึ่งเป็นสัปดาห์ที่สองแห่งเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระกุมาร  วันศุกร์จะเป็นวันจำศีล จะมีพิธีโปรดบาปรวมวันเสาร์ และในวันอาทิตย์จะมีแถลงการณ์จากสภาพระสังฆราชในทุกวัด

คณะสมณะกรรมาธิการได้เตรียมเอกสารคู่มือต่างๆสำหรับวันอธิษฐานภาวนาสากลดังกล่าวและยินดีที่จะส่งไปให้หากมีการขอร้องมา

 

สมณลิขิตแบบพระอัตตาณัติ  “ดุจดังมารดาผู้น่ารัก” As a Loving Mother

พวกเราได้มีการอภิปรายกันเกี่ยวกับกฤษฎีกาของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส “ดุจดังมารดาผู้น่ารัก” (Motu Proprio - As a Loving Mother) ความรับผิดชอบที่ต้องจัดการกับการล่วงละเมิดเพศเด็ก/ผู้เยาว์โดยสมณะ อันเป็นความห่วงใยใหญ่หลวงสำหรับคณะกรรมาธิการตั้งแต่ต้น ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015 คณะกรรมาธิการได้เสนอเรื่องราวเกี่ยวกับความรับผิดชอบของพระสังฆราชต่อสมเด็จพระสันตะปาปา  ในสมณะลิขิต “ดุจดังมารดาผู้น่ารัก” สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสมองเกินกว่าความรับผิดชอบของบรรดาพระสังฆราชโดยรวมเอาผู้นำศาสนาเข้าไปด้วย ซึ่งคณะสมณะกรรมาธิการเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง

 

คณะสมณะกรรมาธิการจะออกเว็บไซต์ในไม่ช้านี้

การที่เราอยู่ในโลกดิจิตอลนั้นต้องถือว่าเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะเอื้อต่อความพยายามของคณะสมณะกรรมาธิการในความร่วมมือกับพระศาสนจักรท้องถิ่นเพื่อเผยแพร่ความสำคัญของการปกป้องคุ้มครองเด็ก/ผู้เยาว์และผู้ที่เสียงกับการที่จะได้รับอันตราย (เช่นคนพิการ)  ในเดือนถัดไปเราจะเริ่มเปิดเว็บไซต์  หวังว่าสิ่งนี้จะเป็นแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับพระศาสนจักรและประชาชนผู้มีน้ำใจดีทุกคนเพื่อความดีส่วนรวมของเราซึ่งจะทำให้พระศาสนจักรและสังคมของเราเป็นบ้านที่มีความปลอดภัยสำหรับทุกคน

 

คณะสมณะกรรมาธิการเพื่อปกป้อง/คุ้มครองผู้เยาว์แห่งสันตะสำนักได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2014  เนื่อหาสำคัญในสมณลิขิตของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสระบุเป็นพิเศษว่า “หน้าที่พิเศษของคณะกรรมาธิการคือการเสนอมาตรการที่เหมาะสมเพื่อคุ้มครองป้องกันเด็ก/ผู้เยาว์และผู้ที่เสียงที่จะตกอยู่ในอันตรายมายังข้าพเจ้า (คาร์ดินัลฌ็อน โอลัลลีย์) เพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบในพระศาสนจักรในที่ต่างๆ ผนึกความพยายามของพวกเขากับสมณกระทรวงแห่งพระสัจจธรรม เพื่อปกป้องคุ้มครองเด็ก/ผู้เยาว์และผู้ที่เสี่ยงต่อการที่จะตกอยู่ในอันตรายทุกคน”

 

 

(ขอขอบคุณวิทยุวาติกัน – วิษณุ ธัญญอนันต์ เก็บเรื่องนี้มาฝาก)