พระประสงค์สากล ความเอื้ออาทรต่อเพื่อนมนุษย์: เพื่อผู้สูงอายุ ผู้ที่อยู่ตามชายขอบสังคม และผู้ที่ไม่มีผู้ใดสนใจเอาใจใส่ แม้ในสังคมเมืองของโลกจะได้มีโอกาสได้รับความเอื้ออาทร
ความเอื้ออาทรเป็นอะไรที่มากไปกว่าสหภาพแรงงานอันขึ้นชื่อของประเทศโปแลนด์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่แห่งโลกคอมมิวนิสต์ในปี ค.ศ. 1980 นี่คือส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญมากแห่งคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร
ความเอื้ออาทร ชี้ให้เราเห็นว่าวิญญาณมนุษย์ทุกดวงพระเจ้าทรงสร้างขึ้นและได้รับการไถ่กู้โดยพระเยซูคริสต์ เพราะฉะนั้นประชาชนทุกคนจึงมีความเท่าเทียมกันต่อพระพักตร์พะเจ้าและสมควรที่จะต้องได้รับความเคารพ
เมื่อเริ่มเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 พระสันตะปาปาปีโอที่ 12 ทรงลิขิตไว้ว่า “ความผิดร่วมสมัยคือการไม่สนใจใยดีต่อกฎแห่งความเอื้ออาทรและความรักที่ถูกกำหนดโดยต้นกำเนิดและโดยความเท่าเทียมกันของมนุษย์ กฎนี้ได้รับการประทับตรารับรองจากการบูชาแห่งการไถ่กู้ซึ่งพระเยซูคริสต์ทรงประทานให้แก่เราบนพระแท่นแห่งไม้กางเขน”
นักบุญยอห์น ปอลที่ 2 สันตะปาปาทรงลิขิตว่า ความเอื้ออาทรเป็น “ความตั้งใจแน่วแน่ที่จะอุทิศตนเองเพื่อความดีส่วนรวม นั่นคือ เพื่อความดีของทุกคนและแต่ละคน เพราะว่าเราล้วนต้องรับผิดชอบต่อทุกคน”
เมื่อไม่นานมานี้สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงลิขิตไว้ว่า ความเอื้ออาทรเป็นคำตอบสำหรับ “บาดแผลในยุคของเรา” เมื่อไปปราศรัยที่องค์การสหประชาชาติ พระองค์ทรงอ้างภาษิตชาวอาร์เจนติน่าดังนี้ “คนที่เป็นพี่เป็นน้องกันควรที่จะยืนเคียงข้างกัน เพราะนี่คือกฎข้อแรก หากท่านทะเลาะวิวาทระหว่างกัน ท่านจะถูกลอบกัดจากผู้ที่อยู่ข้างนอก” ข้างนอกคือใครล่ะที่จ้องจะกัดกินท่าน? นั่นคือเจ้าปิศาจไง เพราะฉะนั้นในการแสดงความเอื้ออาทรต่อประชากรทุกหนทุกแห่งเราต้องปวารณาตนในการสวดภาวนาและการกระทำเพื่อความดีส่วนรวม เพื่อที่ทุกคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ไม่มีใครให้ความสนใจหรือถูกทอดทิ้งจะได้รู้ว่าตนมิได้อยู่ตามลำพัง
ไตร่ตรอง
เมื่อฉันเหลียวมองเพื่อนบ้าน วัด ชุมชน ประเทศ และโลก พวกที่สังคมไม่ให้ความสนใจและต้องอยู่โดดเดียวตามลำพัง มีผู้ใดบ้าง?
รำพึงพระคัมภีร์
1 ปต. 5: 8-11: จงมีสติสัมปชัญญะและเฝ้าระวัง ศัตรูของท่านคือมารกำลังเดินวนเวียนรอบๆจ้องจะกัดกินท่าน
พระประสงค์ในการประกาศข่าวดี
สามเณรและนวกะ: เพื่อสามเณรและชายหุนุ่มหญิงสาวผู้เตรียมตัวเป็นผู้ถวายตัวจะได้มีนวกจารย์ซึ่งดำเนินชีวิตด้วยความร่าเริงแห่งพระวรสารและอบรมผู้ฝึกหัดอย่างเฉลียวฉลาดเพื่อพันธกิจของพวกเขาในอนาคต
ในการติดตามพระคริสตเจ้าเราถูกเรียกร้องให้ต้องเป็นธรรมทูต พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงลิขิตไว้ว่า “หากผู้ที่ล้างบาปแล้วทุกคนถูกเรียกร้องให้เป็นประจักษ์พยานต่อพระเยซูคริสตเจ้าด้วยการประกาศความเชื่อที่ตนได้รับดุจของขวัญ ประเด็นนี้ต้องมีความเป็นพิเศษยิ่งขึ้นไปอีกสำหรับผู้ถวายตัว เนื่องจากการเจริญชีพทั้งครบของพระเยซูคริสต์มีคุณสมบัติเป็นธรรมทูต เช่นเดียวกัน ทุกคนที่ติดตามพระองค์ต้องมีคุณสมบัติแห่งการเป็นธรรมทูตด้วย” (สาสน์แห่งวันธรรมฑูตสากล ค.ศ. 2015)
พระองค์ตรัสต่อไปว่า “การทำพันธกิจเป็นสิ่งโปรดปรานสำหรับพระเยซูคริสต์ เมื่อเราสวดภาวนาต่อหน้าพระเยซูผู้ถูกตรึงบนไม้กางเขน เราจะเห็นความรักอันล้นพ้นของพระองค์ ในขณะเดียวกันเราก็ตระหนักว่าความรักนั้นหลั่งไหลมาจากพระหฤทัยที่ถูกทิ่มแทงของพระเยซูที่แผ่ขยายความรักดังกล่าวไปยังประชากรของพระองค์ทุกคน”
ผู้ที่มีประสบการณ์กับความรักอันล้ำลึกแห่งพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า
และอุทิศตนเองทั้งครบแก่การรับใช้พระเจ้าในฐานะสงฆ์และนักบวชชายหญิง ผู้ถวายตัวเหล่านี้ถูกเรียกร้องให้มีส่วนร่วมในการทำพันธกิจซึ่งเป็นสิ่งโปรดปราณของพระเยซู พวกเขาไม่สามารถที่จะเก็บเอาข่าวดีแห่งความรักของพระเจ้าไว้กับตนเองเพียงลำพัง แต่พวกเขาต้องเตรียมตัว ต้องมีประสบการณ์กับความรักของพระเจ้าเสียก่อน ต้องให้ความรักนั้นงอกงามขึ้น เพื่อจะได้รู้ว่าต้องแบ่งความรักนั้นไปสูผู้อื่นด้วยวิธีที่ดีที่สุดเช่นใด
สามเณรและผู้เริ่มชีวิตผู้ถวายตัวในสถาบันนักบวชต้องการนวกจารย์ผู้ซึ่งจะคอยปกป้องประกายไฟซึ่งคอยดลใจให้พวกเขารับใช้พระเจ้า พวกเขาจำเป็นต้องมีนวกจารย์ที่ร่าเริงและเฉลียวฉลาดที่คอยเผ้าเปลี่ยนประกายไฟให้ลุกเป็นเพลิงในทำนองที่ว่ามันไม่เป็นเพลิงเร็วเกินไปจนเผาไหม้ แต่จะต้องค่อยเผาด้วยแสงสว่างที่สม่ำเสมอและให้ความอบอุ่น (ซึ่งได้แก่ดวงพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าซึ่งเป็น “เตาไฟแห่งความรัก”
เราขอร่วมใจกับพระสันตะปาปาฟรังซิสในการสวดภาวนาเพื่อให้สังฆมณฑลและชุมชนคริสตชนส่งชายหนุ่มหญิงสาวที่ดีไปรับการอบรมเพื่อเป็นพระสงฆ์ ซิสเตอร์ และบราเดอร์ต่อไปในอนาคต
ไตร่ตรอง
ฉันสามารถช่วยการศึกษาและการอบรมพระสงฆ์ ซิสเตอร์? และบราเดอร์ในอนาคตได้อย่างไรบ้าง?
รำพึงพระคัมภีร์
กจ. 18: 24-28: ปริสชิลลาและอาควีลา พาอาปอลโลไปที่บ้านแล้วอธิบายให้เขาทราบถึงวิถีของพระเจ้าอย่างละเอียด