Logo

บทเทศน์ที่ 1 ของสมเด็จพระสันตะปาปาโอกาสยูบีลีของพระสงฆ์

หมวด: vatican news
เขียนโดย พระสังฆราช วีระ อาภรณ์รัตน์
ฮิต: 387


บทเทศน์ที่ 1 ของสมเด็จพระสันตะปาปา
โอกาสยูบีลีของพระสงฆ์ วันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 2016
เมตตาธรรม
................................

ให้เราสวดให้กัน

เมตตาธรรม มีมิติด้านสตรี คือ ความรักแบบแม่ ต่อหน้าลูกเพิ่งให้กำเนิด โอบอุ้ม ยังอ่อนแอ ยังต้องการการเลี้ยงดูให้มีชีวิต และเติบโต

- ความรักแบบพ่อ ซื่อสัตย์ คอยสนับสนุน ให้อภัยบาป รอลูกกลับ

- ความเมตตา เป็นผลของพระสัญญา แบบของพระเจ้าต่อเรามนุษย์ ทำให้เราต้องตอบแทน เคารพ

พระเยซูเจ้าสอน “ผู้มีใจเมตตาย่อมเป็นสุข เขาจะได้รับพระเมตตา” (มธ 5:7) “ท่านใช้ทะนานใดตวงให้เขา พระเจ้าจะทรงใช้ทะนานนั้นตวงให้ท่าน” (มธ 7:2)

จากระยะไกล มาสู่งานฉลอง

บิดาผู้มีใจเมตตา (ลก 15:11-31)

บุตรชายตกในนรกแห่งความเห็นแก่ตัว ทำอย่างที่ตนต้องการ ถึงแม้ว่าเป็นอิสระ กลับพบว่าตนเป็นทาส สังเกตว่าหมูกินอาหารก็อิจฉา จนทำให้คิดถึงบ้าน คิดถึงบ้าน เป็นคำสำคัญ คิดถึงอาหารที่บ้าน บ้านพ่อ รับประทานอาหารด้วยกัน คิดถึงบ้านเป็นความรู้สึกมีพลัง คิดถึงความเมตตา ความผูกพันที่บ้าน ทำให้คิดถึงสิ่งดีๆ เมื่อก่อน หมู่บ้านที่เราจากมา ทำให้หวังจะกลับบ้าน ความคิดถึงบ้านของหนุ่มคนนี้ พระวรสารเล่าว่า “ฉันจะกลับไปหาพ่อ” เขารู้สึกเวทนาตนเอง เราแต่ละคนสามารถค้นหา หรือ ละทิ้งสิ่งที่ทำให้ตนน่าสงสาร เราแต่ละคนมีความลับที่น่าสงสารภายใน... จึงจำเป็นต้องวอนขอพระหรรษทานที่จะหาให้พบ

บัดนี้ อย่าสงสารตนเอง อย่าบรรยายความน่าสงสารฐานะของตน ปล่อยมันผ่านไป ให้บิดากอด พบว่าเราสกปรก แต่ต้องแต่งตัวสำหรับงานฉลอง ทำไมบิดาไม่พูดว่า “ไปอาบน้ำก่อน แล้วค่อยกลับมา” ไม่เลย แม้สกปรกก็ให้แต่งตัวสำหรับงานฉลอง นำแหวนมาสวมนิ้ว นำรองเท้ามาใส่ให้ อยู่ท่ามกลางแขกในงาน มีอะไรที่เหมือนๆ กันที่เกิดขึ้นกับเรา เราสารภาพบาปก่อนมิสซา เราก็พบว่าเราแต่งตัวใหม่ทันที อยู่ท่ามกลางงานฉลอง อยู่ในฐานะมีศักดิ์ศรีที่น่าอับอาย

ศักดิ์ศรีที่น่าอับอาย

ศักดิ์ศรีที่น่าอับอาย คือ ลูกล้างผลาญ และเป็นที่โปรดปราน หากเราหยุดคิดพิจารณาช้าๆ ถึงหัวใจ 2 ขั้วนี้ ศักดิ์ศรี และ ความอับอาย ไม่ละทั้งสอง เราจะเข้าใจหัวใจบิดา กังวล คอยเฝ้าดูว่าเมื่อไรลูกจะกลับ เรามโนภาพได้ว่า เมตตาธรรม คือ ออกไป ตามหา เราคนบาป ยอมลำบาก สละตนเอง ชำระเราให้สะอาด ให้มีชีวิตใหม่ โลหิตของพระเยซูเจ้าให้อภัยบาป นำเมตตาธรรมให้ชีวิตเรา โดยพระองค์ยอมตาย เพื่อไถ่บาปเรา

ในเวลาภาวนา จากฐานะที่น่าอับอายไปสู่ศักดิ์ศรี และจากศักดิ์ศรีไปสู่ฐานะน่าอับอาย ทั้งสองไปด้วยกัน ให้เราวอนขอพระหรรษทานแห่งเมตตาธรรม ดังที่เราได้รับมาตลอดชีวิต ดูนักบุญเปโตร พระเยซูเจ้าทรงอบรมให้ก้าวหน้า แต่ก็ยังอ่อนแอ พระเจ้าก็ทรงมอบหน้าที่ให้เป็นผู้นำพระศาสนจักร...
ส่วนเกินของเมตตาธรรม

ส่วนเกินของเมตตาธรรมของพระเจ้า คือ เมื่อรับแล้วก็ต้องรู้จักเผยแผ่สื่อสารให้คนอื่น มีตัวอย่างในพระวรสาร เช่น คนอัมพาตที่เพื่อนพาขึ้นไปบนหลังคา และหย่อนเขาลงมาหาพระเยซูเจ้าซึ่งกำลังเทศน์สอนประชาชน (มก 2:1-12)

คนโรคเรื้อน ที่ละทิ้งเพื่อน 9 คน และกลับมาขอบคุณพระเจ้าด้วยเสียงดัง และคุกเข่าต่อหน้าพระเยซูเจ้า (ลก 17:11-19)

บาร์ธิเมอัส ชายตาบอด พยายามร้องเสียงดังเพื่อมาหาพระเยซูเจ้า (มก 10:46-52)

หญิงที่ตกโลหิต แม้อาย แต่ก็กล้ามาใกล้ๆ พระเยซูเจ้า แตะชายเสื้อของพระองค์ (ลก 8:43-48)

เป็นตัวอย่างที่พวกเขาได้รับพระเมตตา พวกเขาเป็นชาวบ้านธรรมดา เป็นคนบาป ผู้ป่วย ผู้ถูกปีศาจสิง กล้ามาหาพระเยซูเจ้า จากที่ระยะห่างไกลมาสู่งานฉลอง

ให้เราภาวนาเพลงแห่งเมตตาธรรม เพลงสดุดีที่ 51 ของกษัตริย์ดาวิด ที่เราภาวนาทุกเช้าวันศุกร์ หัวใจที่เป็นทุกข์และสุภาพ ภาวนาเหมือนลูกล้างผลาญ “ขอพระองค์ประทานความชื่นชมที่ทรงช่วยให้รอดพ้นคืนให้ข้าพเจ้า” (สดด 51:12)