Logo

คุณคือกลิ่นหอมของพระคริสตเจ้า (Pope to Timor-Leste clergy, religious and catechists: 'You are the fragrance of Christ')

หมวด: vatican news
เขียนโดย Nuphan Thasmalee
ฮิต: 313

 

 

คุณคือกลิ่นหอมของพระคริสตเจ้า (Pope to Timor-Leste clergy, religious and catechists: 'You are the fragrance of Christ')

     เมื่อวันอังคารที่ 10 กันยายน 2024 พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงปราศรัยกับบรรดาพระสงฆ์ นักบวช และครูคำสอน ที่อาสนวิหารพระนางมารีย์ปฏิสนธินิรมล ในกรุงดิลี ประเทศติมอร์-เลสเต ทรงเรียกร้องให้พวกเขาอนุรักษ์ และเผยแพร่กลิ่นหอมของพระวรสารไปทั่วประเทศ
เพราะประเทศติมอร์-เลสเต “อยู่สุดปลายแผ่นดิน” ของโลก จึงเป็น “ศูนย์กลางของการประกาศพระวรสาร” โดยมุ่งเน้นไปยังบุคคลที่อยู่ชายขอบของสังคม

 

 

ที่สุดปลายแผ่นดินโลกที่ศูนย์กลางของพระวรสาร (At the ends of the earth, at the center of the Gospel)

     “เรารู้ว่าในหัวใจของพระเยซูเจ้ามี ‘พื้นที่ชายขอบ’ เป็นศูนย์กลาง” ตามคำกล่าวของพระสังฆราชนอร์แบร์โต โด อามารัล แห่งมาเลียนา (Bishop Norberto do Amaral of Maliana) ประธานสภาบิชอปแห่งติมอร์ พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงตรัสถึงงานและความท้าทายของพวกเขา ดังที่ตัวแทนของพระสงฆ์ ซิสเตอร์ และครูคำสอน อย่างละ 1 ท่าน ได้แบ่งปันให้กับพระองค์ฟังก่อนหน้านี้ ซึ่งเปรียบได้กับเรื่องราวของมารีย์แห่งเบธานี ที่ได้เจิมพระบาทของพระเยซูเจ้าด้วยน้ำหอมราคาแพง ตามพระวรสารของนักบุญยอห์น

     เรื่องราวเหล่านี้บอกกับเราว่า “กลิ่นหอมของพระเยซูเจ้าและพระวรสารของพระองค์” เป็น “ของประทานที่เราต้องรักษาไว้ และมีกระแสเรียกให้ประกาศต่อไป” ขอให้พระสงฆ์ นักบวช และครูคำสอนชาวติมอร์ กลับคืนสู่แก่นแท้ของความเชื่อ โดยตระหนักว่าพวกเขา คือ "กลิ่นหอมของพระเยซูเจ้า" ในติมอร์-เลสเต โดยใช้คำอุปมาของไม้จันทน์ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในภูมิภาคนี้เป็นจำนวนมาก “ดังเช่นการกระทำของมารีย์แห่งเบธานี … เราก็ต้องหล่อเลี้ยงความรักที่พระเจ้าทรงเจิมเราไว้เช่นกัน เพื่อความรักนั้นจะได้ไม่จืดจางและสูญเสียกลิ่นหอมไป”

 

 

รักษากลิ่นหอมของพระวรสารและวัฒนธรรมที่บริสุทธิ์ (Preserving the fragrance of the Gospel and purifying culture)

     พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงเตือนพวกเขาด้วยว่า กลิ่นหอมนี้ไม่ใช่ทำไปเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว แต่ “สำหรับการเจิมพระบาทของพระเยซูเจ้า การประกาศพระวรสาร และการรับใช้ผู้ยากจน” และเรียกร้องให้พวกเขาระมัดระวังต่อ “การมีชีวิตจิตแบบเย็นเฉย” ซึ่งมักเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา
การเติบโตอย่างต่อเนื่องในความรู้เกี่ยวกับคำสอนและความเชื่อของคริสตชน

     จึงมีความจำเป็นเพื่อช่วย “ชำระล้างธรรมเนียมปฏิบัติที่เก่าแก่ และบางสิ่งบางอย่างที่ผิดกับข้อความเชื่อของคริสตชน (Superstition)” ในทางกลับกัน ขอให้พวกเขาเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมที่ “สวยงาม” บางประการ เช่น ความเชื่อเรื่องการกลับคืนชีพ และความเคารพต่อดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับ “แต่ละวัฒนธรรมและกลุ่มสังคมต้องการการชำระล้างและการเติบโต” (EG 69)”

 

 

 

การประกาศพระวรสาร (Spreading the Gospel)

     ขอให้พระสงฆ์และเจ้าหน้าที่ของพระศาสนจักรในติมอร์-เลสเต “เผยแพร่กลิ่นหอม” ของพระวรสารด้วยความกระตือรือร้นและกล้าหาญ และเปิดรับจิตวิญญาณแห่งมิชชันนารีที่มีพลัง ดังมารีย์แห่งเบธานีที่ทุบขวดน้ำมันหอมเพื่อเจิมพระบาทของพระเยซูเจ้า และเป็น “พระศาสนจักรที่กำลังเคลื่อนไหว” (Church on the move) ตามที่ซิสเตอร์โรซา (Sr. Rosa) กล่าวถึงในการแบ่งปันของเธอ “การประกาศพระวรสารจะเกิดขึ้นเมื่อเรามีความกล้าที่จะ 'หัก' ขวดที่บรรจุน้ำหอม ทำลาย 'เปลือก' "ที่มักจะปกปิดตัวของเราเองไว้

     ดังนั้น จึงมีความจำเป็นสำหรับ “แรงผลักดันครั้งใหม่” สู่การประกาศพระวรสารในประเทศ “ที่มีรากฐานมาจากประวัติศาสตร์ของคริสตชนอย่างยาวนาน” เพื่อว่ากลิ่นหอมของพระวรสารจะส่งเสริมการคืนดี สันติภาพ ความเห็นอกเห็นใจ และความยุติธรรม หลังจากที่ได้ทนทุกข์ทรมานจากสงครามมานานหลายปี

 

 

ฟื้นฟูแรงผลักดันในการประกาศพระวรสารอีกครั้งเพื่อต่อสู้กับความรุนแรงและความยากจน (A renewed evangelizing "impetus” to combat violence and poverty)

     กลิ่นหอมของพระวรสารนี้ คือกลิ่นหอมของความเห็นอกเห็นใจ “ซึ่งจะช่วยให้คนยากจนกลับมายืนได้อีกครั้ง” และจะต้องแพร่กระจายเพื่อต่อสู้กับความเจ็บป่วยทางสังคม ที่ส่งผลกระทบต่อสังคมติมอร์-เลสเต เช่น ความรุนแรง โรคพิษสุราเรื้อรัง และการไม่ให้เกียรติบรรดาสตรี “พระวรสารของพระเยซูเจ้ามีพลังในการสร้างสรรสังคมใหม่” ด้วยเหตุนี้ ติมอร์-เลสเตจึงต้องการพระสงฆ์ นักบวช และครูคำสอนที่ "มีความกระตือรือร้น เตรียมพร้อม และสร้างสรรค์"

 

 

พระสงฆ์จะต้องเป็นเครื่องหมายแห่งพระเมตตาของพระเจ้า (Priests must be a sign of God’s mercy)

     พระสงฆ์ควรมีความสุภาพ อ่อนน้อมถ่อมตน และไม่ใช้ประโยชน์จากบทบาทหน้าที่ของตนเองเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวหรือศักดิ์ศรีทางสังคม แต่ “ควรเป็นผู้อวยพรและให้กำลังใจผู้อื่น เป็นศาสนบริการแห่งความเมตตากรุณา และเป็นเครื่องหมายแห่งพระเมตตาของพระเจ้าเสมอ”
ดังคำพูดของคุณพ่อซานโช (Fr. Sancho) ที่แบ่งปันประสบการณ์ให้กับเราฟังว่า “พระเจ้าทรงทราบวิธีดูแลผู้ที่พระองค์ทรงเรียก และส่งไปปฏิบัติภารกิจของพระองค์”