Logo

ไม่มีใครสามารถเอ่ยพระนามของพระเจ้าเพื่อสร้างความเกลียดชังได้ (Pope to Afghan delegation: 'No one can invoke God’s name to foment hate')

หมวด: vatican news
เขียนโดย Nuphan Thasmalee
ฮิต: 253

 

ไม่มีใครสามารถเอ่ยพระนามของพระเจ้าเพื่อสร้างความเกลียดชังได้ (Pope to Afghan delegation: 'No one can invoke God’s name to foment hate')

     เมื่อวันพุธที่ 8 สิงหาคม 2024 พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงพบปะกับคณะผู้แทนจากสมาคมชุมชนอัฟกันในอิตาลี (Afghan Community Associationin in Italy) ทรงตรัสว่า ศาสนาจะต้องไม่ถูกใช้เพื่อปลุกปั่นความเกลียดชังและความรุนแรง แต่ควรส่งเสริมภราดรภาพในหมู่ประชาชนแทน สมาคมนี้เป็นเครือข่ายของชายและหญิงชาวอัฟกานิสถานที่อาศัยอยู่ในอิตาลี ซึ่งมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการบูรณาการผู้ลี้ภัยชาวอัฟกานิสถานในอิตาลี และในการส่งเสริมการเสวนาและการเคารพสิทธิมนุษยชนของกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหมด

 

สถานการณ์โศกนาฏกรรมในอัฟกานิสถาน (The "tragic" situation in Afghanistan)

     พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงเปิดการปราศรัย โดยนึกถึงเหตุการณ์โศกนาฏกรรมที่อัฟกานิสถานต้องเผชิญในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งเกิดจากความไม่มั่นคง การสงคราม ความแตกแยกภายใน และการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานอย่างเป็นระบบ ซึ่งทำให้หลายคนต้องลี้ภัย พระองค์ทรงประณามว่า ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ที่เป็นเอกลักษณ์ของสังคมอัฟกานิสถานนั้น

     “บางครั้งก็ถูกใช้เป็นเหตุผลของการเลือกปฏิบัติและการกีดกัน หากไม่ใช่การประหัตประหารโดยสิ้นเชิง” “คุณได้ผ่านช่วงเวลาอันน่าเศร้าพร้อมกับสงครามมาอย่างมากมาย”
สถานการณ์วิกฤติบริเวณชายแดนติดกับปากีสถาน ที่ชาวอัฟกันจำนวนมากได้เข้าไปหลบภัย และชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์ปาสตุน (Pashtun) ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนใหญ่ในอัฟกานิสถาน ต้องอดทนต่อการละเมิดและการเลือกปฏิบัติเช่นกัน

 

ศาสนาควรช่วยลดความแตกต่าง (Religion should help mitigate differences)

     พระสันตะปาปาฟรังซิส ตั้งข้อสังเกตในบริบทที่ยากลำบากนี้ว่า ศาสนาควรช่วยลดความแตกต่าง และสร้างพื้นที่ที่ทุกคนได้รับสิทธิในการเป็นพลเมืองโดยสมบูรณ์ โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ ในทางกลับกัน “มันถูกบงการ” และใช้เป็นเครื่องมือแห่งความเกลียดชังเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเผชิญหน้าซึ่งนำไปสู่ความรุนแรง 

     ดังนั้น พระองค์จึงสนับสนุนให้สมาชิกของเครือข่ายอัฟกานิสถานดำเนิน "ความพยายามอันสูงส่ง ในการส่งเสริมความเป็นหนึ่งเดียวกันทางศาสนา" โดยมุ่งมั่น "เอาชนะความเข้าใจผิดระหว่างศาสนาต่าง ๆ เพื่อสร้างหนทางแห่งการเจรจาที่ไว้ใจได้และสันติภาพ

 

ส่งเสริมภราดรภาพของมนุษย์ไม่ใช่ความเกลียดชังและความรุนแรง (Promoting human fraternity, not hatred and violence)

     ในเรื่องนี้ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ได้กล่าวถึงเอกสารว่าด้วยภราดรภาพมนุษย์เพื่อสันติภาพโลกและการใช้ชีวิตร่วมกัน (Document on Human Fraternity for World Peace and Living Together) ซึ่งลงนามในอาบูดาบี เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2019 กับแกรนด์อิมานแห่งอัล-อัซฮาร์ (Grand Iman of Al-Azhar) เอกสารประวัติศาสตร์ดังกล่าวระบุว่า
“ศาสนาต่าง ๆ จะต้องไม่ปลุกปั่นให้เกิดสงคราม

     ทัศนคติที่แสดงความเกลียดชัง ความเกลียดชัง และลัทธิหัวรุนแรง และจะต้องไม่ยุยงให้เกิดความรุนแรง หรือการนองเลือด” ซึ่งกล่าวว่าเป็น “ผลที่ตามมาของการเบี่ยงเบนไปจากคำสอนทางศาสนา” และ “การกระทำการเมืองของศาสนาต่าง ๆ” คำวอนขอของพวกเขา ยังนำไปใช้กับความแตกต่างทางชาติพันธุ์-ภาษา-วัฒนธรรมซึ่งสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขได้ โดยการนำ "วัฒนธรรมแห่งการเสวนามาเป็นแนวทาง" มีความร่วมมือระหว่างกันและกันเป็นจรรยาบรรณ มีความเข้าใจซึ่งกันและกันเป็นวิธีการและมาตรฐาน”

     พระสันตะปาปาฟรังซิสได้แสดง "ความหวังอันแรงกล้า" ว่า "มาตรฐานเหล่านี้จะกลายเป็นมรดกร่วมกัน และมีอิทธิพลต่อความคิดและพฤติกรรมของผู้คน" หากนำมาใช้ในปากีสถาน มาตรฐานเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนปาสตุนที่นั่นด้วย “ข้าพเจ้าได้เห็นแล้วว่า ในประเทศในแอฟริกาบางประเทศที่มีศาสนาสำคัญสองศาสนา - อิสลามและคาทอลิก - ในวันคริสต์มาส มุสลิมไปต้อนรับชาวคริสต์ นำลูกแกะ

     และสิ่งอื่น ๆ มาให้ และสำหรับเทศกาลฉลองวันอีด (the Feast of Sacrifice) บรรดาคริสตชนก็ไปหาชาวมุสลิม และนำสิ่งของไปมอบให้กับพวกเขาด้วยเช่นกัน นี่คือภราดรภาพที่แท้จริงและนี่คือความสวยงาม

 

สร้างสังคมที่ไม่มีใครถูกเลือกปฏิบัติ (Building a society where no one is discriminated)

     พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงสรุปสุดท้าย โดยวิงวอนขอพระเจ้าให้ “ช่วยเหลือผู้นำรัฐบาลและประชาชน ในการสร้างสังคมที่ทุกคนได้รับสิทธิเป็นพลเมืองโดยสมบูรณ์ และมีสิทธิเท่าเทียมกัน ที่ทุกคนสามารถดำเนินชีวิตตามขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมของตนเองได้ โดยไม่มีการใช้อำนาจหรือการเลือกปฏิบัติในทางที่ผิด”