1.มิสซาตอนเสกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์
ความหมาย :: เป็นวันที่ระลึกถึงการสถาปนาการศีลบวชเป็นพระสงฆ์ และการตั้งศีลมหาสนิทของพระเยซูเจ้า จึงจัดให้มีพิธีกรรมในบูชามิสซา 2 ตอน
2.มิสซาระลึกถึงงานเลี้ยงของพระเยซูเจ้า
พิธีกรรม :: มิสซาตอนเสกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ในช่วงเช้าที่อาสนวิหารอัสสัมชัญ และมิสซาระลึกถึงงานเลี้ยงของพระ
เยซูเจ้าในตอนค่ำ มีพิธีล้างเท้า และหลังมิสซาบูชาขอบพระคุณ เฝ้าศีลมหาสนิท
ขั้นตอน :: มิสซาช่วงเช้า รื้อฟื้นคำสัญญาแห่งการเป็นพระสงฆ์ พิธีเสกน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ ต่างๆในพิธีมิสซา และ
มิสซาตอนเย็นระลึกถึงงานเลี้ยงของพระเยซูเจ้า เริ่มพิธีกรรมภาควจนพิธีกรรม และล้างเท้าต่อด้วยภาคบูชาขอบ
พระคุณ จบด้วยการแห่ศีลไปเก็บไว้ในที่ๆจัดไว้
ความหมายของน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ : โดย แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ
น้ำมันคือเครื่องหมายของความชื่นชมยินดีและความงดงาม ของการทำให้ศักดิ์สิทธิ์ แต่น้ำมันศักดิ์สิทธิ์ยังเป็นขี้ผึ้ง (น้ำมันที่เรากำลังกล่าวถึง) ซึ่งบรรเทาความเจ็บปวดและเพิ่มกำลังให้นักมวยปล้ำ ทำให้พวกเขาหายเจ็บปวด จากเครื่องหมายต่าง ๆ นี้ ในทุกยุค บ่อยครั้ง มนุษย์ทั้งชายและหญิงใช้น้ำหอมและขี้ผึ้ง พระคัมภีร์ กล่าวถึงน้ำมันเป็นเครื่องหมายของความชื่นชมยินดีที่ทำให้ใบหน้าฉายแสงได้ (สดด. 104.15)
การเจิมด้วยน้ำมัน เป็นเครื่องหมายถึงการที่พระเจ้าเลือกสรรแต่งตั้งบุคคลให้มีบทบาทเป็นกษัตริย์ พระสงฆ์หรือประกาศก วัตถุและอาคารได้รับการเสกด้วยน้ำ ตัวอย่างที่ยิ่งใหญ่ของผู้ที่ได้รับเจิม คือ พระเมสสิยาห์หรือพระคริสต์เป็นตัวอย่าง สองคำ ในภาษาฮีบรูและภาษากรีก สำหรับพระเยซูคือ กษัตริย์ สมณะชั้นสูงและประกาศก ดังในบทเพลงสดุดีกล่าวว่า "พ ระองค์ทรงรักความชอบธรรม และทรงเกลียดความอธรรม ฉะนั้น พระเจ้าคือพระเจ้าของพระองค์ท่านได้ทรงเจิมพระองค์ท่านไว้ด้วยน้ำมันแห่งความยินดียิ่งกว่าพระสหายทั้งปวงของพระองค์ท่าน (สดด. 45.7)
พระศาสนจักรกล่าวถึงน้ำมัน 3 ชนิด ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นน้ำมันศักดิ์สิทธิ์
1) น้ำมันสำหรับผู้เตรียมเป็นคริสตชน ให้พลังแห่งพระจิตแก่ผู้ที่จะรับศีลล้างบาปและกลายเป็นนักสู้ของพระคริสตเจ้าในการต่อต้านความชั่ว
2) น้ำมันสำหรับเจิมคนไข้ คือเครื่องหมายแสดงภายนอก (สาร) ที่ใช้สำหรับศีลเจิมคนป่วย โดยเจิมคนป่วยเหมือนเป็นขี้ผึ้ง ที่หน้าผากและที่ฝ่ามือ เพื่อบรรเทาความเจ็บป่วยด้วยการประทับอยู่ของพระจิต
3) น้ำมันคริสมา คือ น้ำมันหอมที่ใช้สำหรับเจิมเพื่อทำให้ศักดิ์สิทธิ์ หลังจากรับศีลล้างบาป มีการเจิมน้ำมันที่ศีรษะของบุตรคนใหม่ของพระเจ้า ระหว่างพิธีศีลกำลัง มีการทำเครื่องหมายกางเขนที่หน้าผากระหว่างการบวชพระสังฆราช มีการเจิมน้ำมันที่ศีรษะของพระสังฆราชใหม่ เช่นเดียวกัน มีการเจิมน้ำมันที่มือของพระสงฆ์บวชใหม่ ระหว่างการอภิเษกวัดและพระแท่น มีการเจิมน้ำมันที่กางเขนและโต๊ะที่จะใช้เป็นพระแท่น ในโอกาสเ หล่านี้ การเจิมด้วยน้ำมันคริสมา หมายถึง กิจการของพระจิตเพื่อครอบครองสิ่งของตามพันธกิจหรือหน้าที่ของสิ่งนั้น ๆ
ระหว่างมิสซาเพื่อประกอบพิธีเสกน้ำมันในเช้าวันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์ พระสังฆราชจะเสกน้ำมันสำหรับผู้เตรียมเป็นคริสตชนและน้ำมันสำหรับเจิมคนไข้ ก่อนเสกน้ำมันคริสมา พระสงฆ์ที่ร่วมพิธีมิสซาจะกางมือออกระหว่างการเสกน้ำมันคริสมา จะเก็บน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ในโถเงินหรือโถทอง หรือขวดสำหรับวางบนพระแท่นที่มีฝารูปกางเขนเล็ก ๆ ปิดอยู่
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
พระคริสตเจ้า สงฆ์สูงสุด ทรงตั้งศีลมหาสนิท : โดยคุณพ่อวีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวิช
การตั้งศีลมหาสนิทให้เป็นพิธีระลึกถึงพันธสัญญาใหม่ เป็นทัศนะที่เราแลเห็นได้ชัดเจนที่สุดของพิธีกรรมในวันนี้ โดย เรียกร้องให้คริสตชนได้รำลึกถึงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สื่อความหมายของการช่วยให้รอดพ้น ในการรับประทาน อาหารค่ำมื้อสุดท้ายของพระเยซูคริสตเจ้า นอกนั้น พระศาสนจักรยั งเชิญชวนให้เราได้ทำการรำพึงถึงทรรศนะอีก 2 ประการ ของธรรมล้ำลึกที่เราทำการฉลองในวันนี้อีกด้วยคือ การตั้งศีลบวชเป็นพระสงฆ์และการให้บริการฉันท์พี่น้อง ในความรัก การเป็นพระสงฆ์และความรักได้รับการประสานเข้าไว้ด้วยกันในศีลมหาสนิทนี้
พระเยซูเจ้าทรงล้างเท้าอัครสาวกคือพฤติกรรมแสดงความรัก
การที่นักบุญยอห์นได้เล่าเหตุการณ์ในชั่วโมงสุดท้ายๆ แห่งชีวิตของพระเยซูเจ้ากับสานุศิษย์ของพระองค์ รวมทั้งได้ บันทึกและรวบร วมสุนทรพจน์ของพระองค์ในระหว่างการทานเลี้ยงมื้อสุดท้ายด้วย โดยที่ไม่ได้กล่าวถึงพฤติกรรมทางจารีตพิธีของปังและเหล้าองุ่น เช่น ผู้นิพนธ์พระวรสารท่านอื่นๆ แม้ว่าพฤติกรรมดังกล่าวจะเป็นข้อมูลที่ตายตัวและเก่าแก่ที่สุดของธรรมประเพณี ที่กลุ่มคริสตชนเดิมมีอยู่แล้ว ดัง ที่ปรากฎอยู่ในเอกสารฉบับแรกที่ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ คือ จดหมายของนักบุญเปาโลที่เขียนถึงชาวโ ครินทร์ แต่เราก็เชื่อว่านักบุญยอห์น คงมีเหตุผลในการทำเช่นนั้น
อย่างไรก็ตาม ท่านนักบุญยอห์นให้ความสนใจเป็นพิเศษกับพฤติกรรมของพระเยซูเจ้าที่ได้ล้ างเท้าอัครสาวก ทั้งได้กำชับให้พวกเขาทำเช่นเดียวกันด้วย และนี่เป็นเหมือนพินัยกรรมและแบบอย่างของพระองค์ ได้ให้กับบรรดาสานุศิษย์ของพระองค์ (ยน 13:1-5)
พระเยซูเจ้ามิได้สั่งให้พวกเขาประกอบจารีตพิธีนี้แบบซ้ำๆ ซากๆ อย่างเครื่องจักร แต่พระอง ค์ได้กำชับให้พวกเขาทำเหมือนที่พระองค์ได้ทำ (ยน 13:15) นั่นคือ ให้พวกเขาได้รู้จักให้บริกา รแก่กันและกันในทุกโอกาสและในทุกๆสถานที่ ทั้งนี้เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่าพระคริสต์ได้ทรงรักพวกเขา (มนุษย์ทุกคน)จนถึงที่สุด
ดังนั้น พฤติกรรมที่แสดงออกซึ่งความรักทุกๆพฤติกรรมจึงเป็น “ศีลศักดิ์สิทธิ์” อย่างหนึ่ง เพราะว่าเป็นพฤติกรรมของความเป็นจริงอันหนึ่งอันเดียวที่เรามนุษย์สามารถแลเห็นได้ นั่นก็คือความรักของพระบิดาเจ้าในพระคริสต์และความรักของบรรดาคริสตชนในพระคริสต์ด้วย
การที่พระเยซูเจ้าประทานพระองค์เองให้เป็นอาหารสำหรับมนุษย์ คือศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งความรัก
พิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ ซึ่งเป็นการระลึกถึงยัญบูชาของพระเยซูเจ้า คริสตชนสามารถจ ะมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพ ก็ต่อเมื่อจะเป็นการรำลึกถึงความเสียสละของเราแต่ละคนด้วย
การสถิตอยู่อย่างแท้จริงในปังและเหล้าองุ่นของพระผู้ได้สิ้นพระชนม์และได้กลับคืนชีพ น่า จะได้ขยายวงกว้างออกไปในบรรดาผู้เจริญชีวิตอยู่รอบๆ ตัวเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบรรดาผู้ที่น่าสงสารและผู้ที่กำลังต้องการความช่วยเหลือจากเรา
ใครก็ตามที่แยกชั้นวรรณะ ใครก็ตามที่ดูถูกเหยียดหยามผู้อื่น ใครก็ตามที่ทำให้สังคมแต กแยก บุคคลนั้นเป็นผู้ที่ไม่ยอมรับรู้พระกายของพระคริสตเจ้า บูชามิสซาที่บุคคลดังกล่าวร่วมถวายด้วยนั้น ไม่ใช่การรับอาหารของพระคริสตเจ้า แต่ว่าเป็นพิธีที่ว่างเปล่า เป็นพิธีที่ตัดสินลงโทษพวกเขาเอง
สังฆภาพที่เกิดจากศีลมหาสนิทคือพระคุณสำหรับเอกภาพ
ในสังคมของคริสตชน ความสัมพันธ์ที่มีต่อกันได้รับการปลูกฝังค่านิยมโดยการให้บริการ มิใช่โดยการใช้อำนาจ และพวกเขาจะพบการแ สดงออกดังกล่าว อย่างสมบูรณ์แบบก็ในเวลาที่พวกเขามาร่วมกันในพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ
พระสังฆราชและพระสงฆ์มีส่วนร่วมในภารกิจของพระคริสตเจ้า คนกลางแต่ผู้เดียว ท่านประกาศพระวาจาของพระเจ้าแก่ทุกคน ท่านปฏิ บัติหน้าที่อันศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการถวายบูชามิสซา และโดยการประกาศพระธรรมล้ำลึกขององค์พระเยซูเจ้า ท่านนำเอาคำภาวน าของสัตบุรุษมาร่วมกับบูชาของพระเยซูเจ้า และรื้อฟื้นโดยทำให้เป็นปัจจุบันซึ่งบูชาแต่เพียงบูชาเดียวของพันธสัญญาใหม่ กล่าวคือ บูชาข ององค์พระคริสตเจ้าซึ่งได้ทรงถวายพระองค์ท่านเองเป็นบูชาอันนิรมลแด่พระบิดาครั้งเดียวสำหรับตลอดไป ท่านปฏิบัติดังนี้ในทุกๆพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ จนกว่าจะถึงวันที่พระคริสตเจ้าจะเสด็จกลับมา