การสิ้นพระชนม์ของพระเยซูเจ้าเป็นผลความรักของพระเป็นเจ้า
ที่มา : หนังสือแสงธรรมปริทัศน์ ความหมายของการสิ้นพระชนม์ของพระคริสตเจ้า โดย ฟรังซิสไกส์
ปฏิเสธความหมายของการสิ้นพระชนม์ที่ว่าเป็นเพราะพระยุติธรรมและพระพิโรธของพระเป็นเจ้า
เมื่อพระเยซูเจ้าได้รับทรมาน พระองค์ถูกตัดสินลงโทษจากสภาชาวยิวและปิลาตก็จริงแต่การตัดสินลงโทษนี้ไม่ได้แสดงว่าพระบิดาเจ้าได้ทรงพระพิโรธหรือตัดสินลงโทษพระองค์ทั้งงนี้เพราะพระบิดาและพระบุตรมีน้ำพระทัยเป็นหนึ่งเดียวกัน ดังที่นักบุญยอห์นกล่าวไว้ว่า “เรากับพระบิดาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน” (ยน .10,30) จึงเป็นไปไม่ได้ที่พระบิดาและพระบุตรเป็นศัตรูหรือต่อสู้กัน
ยิ่งกว่านั้นเป็นไปไม่ได้ที่พระบิดาทรงทอดพระเนตรพระบุตรที่มาบังเกิดเป็นมนุษย์ราวกับว่าเป็นคนบาป พระเป็นเจ้าเป็นองค์ความจริงจะมองพระบุตรเหมือนกับว่าเป็นคนบาปและลงโทษพระองค์เหมือนคนบาปนั้นก็เป็นการผิดต่อความจริง ไม่มีบิดาคนใดที่จะลงโทษลูกของตนที่ไม่ได้ทำความผิด มิฉะนั้นจะทำให้เกิดภาพพจน์ที่โหดร้ายสักเพียงไร การทรมานนี้ไม่ได้มาจากพระบิดาแต่มาจากมนุษย์ และเป็นผลของบาปมนุษย์ แต่การที่พระองค์ทรงทนรับทุกข์ทรมาน ดังกล่าวนี้ด้วยความรักและเสียสละ พระบิดาเจ้าทรงพอพระทัยในพระองค์มาก “ด้วยเหตุนี้พระบิดาจึงทรงรักเรา เพราะเราสละชีวิตของเราเพื่อจะรับชีวิตนั้นคืนมาอีก” (ยน.10,17)
คำสอนเกี่ยวกับการกอบกู้ของพระคริสตเจ้ามีความละเอียดอ่อนและจะมองเพียงแต่ในลักษณะเดียวไม่ได้ เป็นความจริงที่บาปก่อให้เกิดพระพิโรธ และที่พระเยซูเจ้าได้ทรงช่วยเราให้พ้นจากพระพิโรธโดยมอบพระองค์เองสำหรับเรา แต่ ความจริงข้อนี้ไม่หมายความว่าพระพิโรธของพระบิดา ได้ลงมาสู่พระคริสตเจ้าซึ่งได้รับโทษแทนเรา พระเยซูเจ้าทรงแทนมนุษย์เราในแง่ที่พระองค์ได้รักพระบิดาตลอดชีวิตของพระองค์จนถึงกับสละชีวิตเป็นบูชา สิ่งนี้แหละมนุษย์จะทำโดยลำพังตนเองไม่ได้ ในที่นี้พระเยซูเจ้าทรงทำแทนเราในสิ่งที่เราไม่สามารถทำได้ คือ รักพระเป็นเจ้าเช่นนี้ พระเยซูเจ้าจึงได้เปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างพระเป็นเจ้ากับมนุษย์ แต่ก่อนมนุษย์ซึ่งเป็นคนบาปเป็นศัตรูกับพระเป็นเจ้า แต่เวลานี้มนุษย์ที่บริสุทธิ์เป็นพระบุตรสุดที่รักของพระบิดา
คำสอนของนักบุญเปาโล : ความรักของพระเยซูเจ้าต่อมนุษย์
สำหรับนักบุญเปาโลแล้ว ความยิ่งใหญ่ของความรักของพระเยซูเจ้าไม่ยุติเพียงแต่ในขนาดของการบูชาคือการบูชาชีวิต แต่อยู่ในผู้ที่บูชาตนเองนั้นเป็นพระบุตร และในพระบุตรองค์นี้เองเรารับพระคุณของพระเป็นเจ้า เป็นความรักที่เกิ นความรู้ (อฟ. 3,19) คือเป็นความรักที่รู้ความลับทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นความรักที่ไม่มีใครแยกเราออกจากพระคริสตเจ้าได้ “แล้วใครจะให้เราทั้งหลายขาดจากความรักของพระคริสต์ได้เล่า จะเป็นความทุกข์ หรือความยากลำบาก หรือการเคี่ยวเข็ญ หรือการกันดารอาหาร หรือการเปลือยกาย หรือการถูกโพยภัย หรือถูกคมดาบ ตามที่เขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่าเพราะเห็นแก่พระองค์ข้าพระองค์จึงถูกประหารวันยังค่ำ และนับว่าเป็นแกะสำหรับนำไปฆ่า แต่ว่าในเหตุการณ์ ทั้งปวงเหล่านี้ เรามีชัยเหลือล้นโดยพระองค์ผู้ได้ทรงรักเราทั้งหลาย เพราะข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า แม้ความตายหรือชีวิต หรือบรรดาทูตสวรรค์หรือเทพเจ้า หรือสิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ หรือสิ่งที่จะมีในภายภาคหน้า หรือฤทธิ์เดชทั้งหลาย หรือซึ่งสูง ซึ่งลึก หรือสิ่งใดๆ อื่นที่ได้ทรงสร้างแล้วนั้นจะไม่สามารถกระทำให้เราทั้งหลายขาดจากความรักของพระเจ้า ซึ่งมีอยู่ในพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเราได้” (รม.8,35-39)
“ไม่มีผู้ใดมีความรักที่ยิ่งใหญ่กว่านี้คือ การที่ผู้หนึ่งผู้ใดสละชีวิตของตนเพื่อมิตรสหายของตน” (ยน.3,16)และความรักของพระคริสตเจ้าต่อมนุษย์ยังได้แสดงความรักที่พระบิดามีต่อมนุษย์ เพราะพระองค์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพระบิดา “พระเป็นเจ้าทรงรักโลก จนได้ทรงประทานพระบุตรองค์เดียวของพระองค์ เพื่อทุกคนที่วางใจในพระบุตรนั้นจะไม่พินาศ แต่มีชีวินิรันดร” (ยน. 3,16)การที่พระเยซูเจ้า “จะต้องถูกยกขึ้น” ไม่เป็นการตัดสินลงโทษของพระบิ ดา ตรงข้าม “พระเจ้าทรงให้พระบุตรเข้ามาในโลก มิใช่เพื่อพิพากษาลงโทษโลก แต่เพื่อช่วยกู้โลกให้รอดในพระบุตรนั้น” (ยน. 3,17)
การสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนไม่ได้แสดงการตัดสินลงโทษของพระเจ้า แต่เป็นดังของประทานที่ประเสริฐสุดของพระบิดา นักบุญยอห์นได้ชี้แจงเหตุผล 2 ประการที่อธิบายว่าทำไม การพลีชีวิตของพระเยซูเจ้าเป็นผลงานความรักของพระบิดา คือ
1) หลักเกณฑ์ที่ว่า ความรักมาจากพระเจ้า ความรักทั้งหมดที่พระเยซูได้แสดงในชีวิตและในการสิ้นพระชนม์ของพระองค์จึงต้องมีแหล่งที่มาจากพระบิดา
2) หลักเกณฑ์ที่ว่า พระบิดาและพระบุตรเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างแนบแน่น จนความคิดที่ว่ามีความขัดแย้งกันเกิดขึ้น ระหว่าง 2 พระบุคคลนี้ย่อมเป็นไปไม่ได้
ความรักและพระพิโรธของพระเจ้า
เราได้พิสูจน์ว่าตามความคิดของนักบุญเปาโลและนักบุญยอห์น งานกอบกู้ของพระคริสตเจ้า ซึ่งสำเร็จลงเมื่อพระองค์ได้สิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนนั้นมีแรงจูงใจในความรักของพระเจ้าอย่างเดียว คือความรักของพระบุตร และความรักของพระบิดาต่อมนุษย์ ไม้กางเขนของพระคริสตเจ้าไม่เป็นผลตามมาของพระพิโรธของพระเจ้าแต่อย่างใด
นักบุญเปาโลเองได้เขียนไว้ว่า”พระเยซูเจ้าได้ช่วยเราพ้นจากพระอาชญา”(ธก.1,10)
ในพระคัมภีร์มีบันทึกไว้ว่า เมื่อมนุษย์ได้ทำบาป เขามีท่าทีปฏิเสธพระเจ้า เป็นศัตรูต่อพระองค์ ประชากรอิสราเอลได้ละเมิดพันธสัญญาโดยไม่ถือคำสัญญาและละทิ้งพระเจ้า การแตกแยกดังกล่าวนี้ปรากฏให้เห็นโดยใช้สำนวนว่า เมื่อพระเจ้าทรงลงโทษมนุษย์ ภัยพิบัติต่างๆ ทั้งส่วนปัจเจกบุคคลและประชาชนส่วนรวมก็ได้ตีความหมายว่าเป็นผลของความผิดของพวกเขา “พระเป็นเจ้าจึงทรงปล่อยเขาให้ประพฤติอุลามกตามราคตัณหาในใจของเขา ให้เขากระทำสิ่งที่น่าอัปยศทางกายต่อกัน” (รม.1,24)
ดังนั้น พระพิโรธของพระเจ้าหมายถึง พระเจ้าซึ่งรับทราบการเป็นศัตรูของมนุษย์ และปล่อยให้มนุษย์ชิมผลการกระทำของเขา ไม่ใช่พระเจ้ารู้สึกถูกล่วงเกิน แล้วคิดจะแก้แค้น แต่หมายถึงความรักของพระเจ้าที่ไม่อยู่เฉย แต่พยายามทุกวิถีทางเพื่อให้มนุษย์กลับใจเข้าเป็นมิตรอีกครั้งหนึ่ง พระพิโรธของพระเจ้าก็เป็นอีกลักษณะหนึ่งของความรักของพระองค์ ซึ่งต้องการเอาชนะอุปสรรคที่มีอยู่ในใจของมนุษย์ที่มีท่าทีเป็นศัตรูของพ ระองค์ เนื่องด้วยพระเจ้าทรงเคารพอิสรภาพของมนุษย์ พระองค์ทรงปล่อยให้มนุษย์รู้ตัวเมื่อประสบผลตามมาของความผิดของตนดังที่พระเยซูเจ้า ทรงรู้สึกเศร้าพระทัยต่อหัวหน้าชาวยิวที่มีใจแข็งกระด้าง (เทียบ มก.3,5)
เนื่องด้วยพระพิโรธของพระเจ้าเป็นลักษณะหนึ่งของความรักของพระองค์ เราอาจจะเข้าใจได้ว่า พระพิโรธก็ยังมีความหมายในแผนการแห่งความรอดของพระเจ้า ไม่ใช่เพราะการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูเจ้ามีผลม าจากพระพิโรธของพระเจ้าดังที่เราอธิบายมาแล้ว แต่ในแง่ที่ว่า การสิ้นพระชนม์ของพระเยซูเจ้าแสดงพระเมตตากรุณาของพระเจ้าที่ยิ่งใหญ่กว่าพระพิโรธ แม้แต่ในพระธรรมเดิมก็มีความคิดที่ว่า พระพิโรธของพระเจ้าจะเปลี่ยนกลับกลายเป็นพระเมตตา คือ “เราได้ซ่อนหน้าของเราจากเจ้าด้วยความพิโรธอันท่วมท้นอยู่ครู่หนึ่ง แต่ด้วยความรักนิรันดร์ เรามีความสมเพชเจ้า พระเจ้าพระผู้ไถ่ตรัสดังนี้” (อสย.54,8)
ทำนองเดียวกัน นักบุญเปาโลเขียนไว้ว่า “พระคัมภีร์ได้บ่งว่า ทุกคนอยู่ในบาปเพื่อจะประทานตามพระสัญญาแก่คนทั้งปวงที่เชื่อ โดยอาศัยความเชื่อในพระเยซูคริสต์เป็นหลัก” (กท.3,22) มนุษย์ทุกคนต้องยอมรับว่าเป็นคนบาปเพราะอยู่ใต้อิทธิพลของบาป ด้วยเหตุนี้เขาจะได้รับความศักดิ์สิทธิ์จากพระเจ้าเปล่าๆ โดยอาศัยความเชื่อในองค์พระคริสต์ หรือว่าพระเจ้าได้ทรงลงอาชญาต่อมนุษย์ก็เพื่อที่จะประทานความรอดแก่เขานั่นเ อง “พระเจ้าทรงปล่อยให้คนทุกคนอยู่ในฐานะที่ไม่เชื่อฟัง เพื่อพระองค์จะได้ทรงพระกรุณาต่อเขาทุกคน” (รม.11,32)
ดังนั้น บทบาทของพระพิโรธก็คือ แสดงพระเมตตากรุณาของพระเจ้า น่าสังเกตอันดับของอาการเปิดเผยของท่าทีดังกล่าวนี้ในประวัติศาสตร์แห่งความรอดคือ ในอดีตพระเจ้าได้ทรงสำแดงพระพิโรธก็เพื่อจะสำแดงพระเมตตา แต่ในเวลานี้ ทางพระคริสตเจ้า พระองค์ก็ได้สำแดงความรักความเมตตากรุณาต่อมนุษย์คนบา ปซึ่งสมจะได้รับพระพิโรธ นี่ไม่ได้หมายความว่า ในสมัยก่อนพระเจ้าได้ทรงสำแดงพระพิโรธเพราะของมนุษย์อย่างเดียว เพราะพระเจ้ามุ่งที่จะช่วยมนุษย์ให้รอดทุกสมัย และพระพิโรธนั้นยังเป็นวิธีเพื่อนำมนุษย์ไปสู่ความเมตตากรุณาของพระเจ้าหรือพูดอีกนัยหนึ่ง สำนวน “พระพิโรธ” ในพระคัมภีร์ หมายถึงสิ่งที่มนุษย์สมจะได้รับเพราะบาปของเขา และช่วยให้เข้าใจคุณค่าของความเมตตากรุณาที่พระองค์ได้ทรงสำแดงในการช่วยมนุษย์ให้รอด