Logo

บทเทศน์สอนวันอาทิตย์อาทิตย์ที่ 24 เทศกาลธรรมดา

หมวด: บทเทศน์สอน วันอาทิตย์ โดยคุณพ่อชัยยะ กิจสวัสดิ์
เขียนโดย คุณพ่อชัยยะ กิจสวัสดิ์
ฮิต: 967

พระวรสารวันนี้ประกอบด้วย 3 เรื่องคือ เรื่องแกะที่พลัดหลง เรื่องเงินเหรียญที่หายไป และเรื่องลูกล้างผลาญ

เฉพาะเรื่องลูกล้างผลาญมีตัวละครที่สำคัญ 3 คนด้วยกันคือ บิดา ลูกคนโต และลูกคนเล็ก

     ลูกคนเล็กนั้นเป็นวัยรุ่นที่ไม่ค่อยอดทน เบื่อง่าย แปรปรวน เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา และพร้อมที่จะทดลองสิ่งใหม่ๆ  เขาจึงรวบรวมทุกสิ่งที่มีแล้วเดินทางไปประเทศห่างไกล แล้วที่นั่นเขาก็ประพฤติตนเสเพล ผลาญทรัพย์สินมรดกตามสิทธิที่เขาได้รับมาจนหมดสิ้น เขาคือตัวแทนของคนบาปทุกคน เพราะเมื่อเราทำบาป เราก็ผลาญสิทธิที่ได้รับจากพระเจ้าจนหมดสิ้น

     สิ่งที่บาปหยิบยื่นให้แก่ลูกคนเล็กและแก่เราทุกคน เริ่มแรกดูเหมือนจะเป็นความสุข เป็นความพึงพอใจและความตื่นเต้น แต่สุดท้ายแล้วสิ่งที่ลูกคนเล็กและเราได้รับเหมือนกันก็คือความน่าสมเพช ความเศร้าหมอง ความไม่พอใจ ความซึมเศร้า และการสูญเสียศักดิ์ศรีที่เป็นของเราในฐานะบุตรของพระเจ้าจนหมดสิ้น

     ข่าวดีก็คือว่า ไม่ว่าเราจะจมลึกอยู่ในบาปมากเพียงใดก็ตาม เรายังมีเสียงเรียกภายในเชิญชวนเราให้กลับมาบ้านของบิดา อันเป็นสถานที่ที่เราจะได้พบกับเสรีภาพและความสุขใจอย่างแท้จริง และนี่คือเหตุผลที่ทำให้เรามารับศีลอภัยบาป

     ตัวละครที่สองก็คือบิดาที่รักลูกและยอมให้ลูกทำในสิ่งที่ต้องการ เราเคยมองภาพพระเจ้าว่าเป็นผู้ที่เข้มงวด น่ากลัว และคอยลงโทษเมื่อเราออกนอกลู่นอกทางเหมือนที่เราได้ฟังในบทอ่านที่หนึ่ง จนโมเสสต้องคอยร้องขอให้พระองค์ใจเย็นลง แต่นี่ไม่ใช่ภาพของพระเจ้าที่พระเยซูเจ้าบอกเราในพระวรสารวันนี้ เพราะพระเจ้าเป็นบิดาที่ทรงรักและอ่อนโยนต่อบุตรทุกคนของพระองค์ และพร้อมจะให้อภัยไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม

     ตัวละครสุดท้ายก็คือลูกคนโต ก่อนอื่นต้องยอมรับว่าเขาเป็นคนที่เข้มแข็ง มั่นคง ทำงานหนัก มีวินัยและความสุขุม รักเกียรติของตนเอง ไม่ปล่อยตัวเหลวไหล นับว่าเขาเป็นสุภาพบุรุษที่สมบูรณ์แบบทีเดียว แต่เขาก็ยังเป็นผู้ที่เราเรียกว่ามี “ศีลธรรมอยู่ในระดับกลาง” คือมีทั้งคุณธรรมและความชั่วร้ายอยู่รวมกัน 

     และเพราะพวกที่มี “ศีลธรรมอยู่ในระดับกลาง” ยังพอมีคุณธรรมอยู่บ้าง คนพวกนี้จึงหยิ่งจองหอง คิดว่าตนเองดีกว่าคนอื่น ไม่ยอมรับผู้ที่มีมาตรฐานด้อยกว่าตน ขาดความเห็นอกเห็นใจ และไม่ยอมให้อภัยผู้อื่น

     ลูกคนโตแสดงความชั่วร้ายนี้ออกมาเมื่อเขาไม่ยอมต้อนรับน้องชายผู้หลงผิดทั้งๆ ที่บิดาพยายามอธิบายและอ้อนวอนแล้วก็ตาม เขาคิดว่านี่คือความยุติธรรม แต่สำหรับพระเจ้า นี่ไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากการเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางและการไม่ยอมให้อภัยผู้อื่นนั่นเอง

     ทุกวันนี้เราก็มีคนแบบลูกคนโตอยู่ท่ามกลางเรามากทีเดียว อย่างเช่นกรณีของ Karla Faye Tucker ซึ่งถูกตัดสินประหารชีวิตข้อหาฆาตกรรมในรัฐเทกซัส ระหว่างรอวันประหารในคุก เธอกลับใจล้างบาปเป็นคริสตชน ครั้นถึงวันประหารคือวันที่ 3 ก.พ. 1998 มีคนสองกลุ่มอออยู่หน้าเรือนจำ กลุ่มหนึ่งซึ่งรวมถึงสำนักวาติกันด้วยไม่ต้องการให้ประหารและสวดภาวนาให้กับเธอ อีกกลุ่มหนึ่งโห่ร้องขอให้ประหาร

กลุ่มที่สวดภาวนาเรียกร้องความรักและความเมตตา ส่วนกลุ่มที่โห่ร้องขอให้ประหารเรียกร้องความยุติธรรม

พระวรสารวันนี้เตือนใจเราว่า สำหรับพระเจ้า ความรักและความเมตตานั้นต้องมาก่อนความยุติธรรมแบบไม่ลืมหูลืมตา !

     เราต้องแยกแยะความแตกต่างระหว่างผู้ที่เคร่งครัดในศาสนากับผู้ที่เป็นคริสตชน สำหรับผู้ที่เคร่งครัดในศาสนานั้น พวกเขาจะพิถีพิถันในการปฏิบัติตามข้อบังคับและหลักศีลธรรมของศาสนาทุกข้อ คุณธรรมอันดับแรกของพวกเขาก็คือการมีวินัยในตนเอง ตรงกันข้าม คริสตชนคือผู้ที่เชื่อและดำเนินชีวิตตามแบบอย่างและคำสั่งสอนของพระเยซูเจ้า คุณธรรมอันดับแรกของเราคริสตชนก็คือความรักและความเมตตาสงสาร

     ข้อคิดอีกประการหนึ่งก็คือ การยอมรับว่าตนเองผิดพลาด เป็นคนบาป เป็นลูกล้างผลาญ หาได้ทำให้เรากลายเป็นคนที่รู้สึกด้อยค่าหรือกลายเป็นคนที่เกลียดตัวเองตามที่มีบางคนกล่าวหาแต่ประการใดไม่

     ตัวอย่างเช่นนักบุญเปาโลในบทอ่านที่สองวันนี้ ท่านยอมรับว่า ท่านเป็นคนแรกในบรรดาคนบาป (1 ทธ 1:15) เพราะท่านเคยเบียดเบียนพระศาสนจักรมาก่อน แต่การสำนึกผิดเช่นนี้หาได้ทำให้ท่านรู้สึกตกต่ำแต่ประการใดไม่ ตรงกันข้าม กลับทำให้ท่านรู้สึกกตัญญู ขอบคุณและสรรเสริญพระเจ้า พร้อมกับทุ่มเทชีวิตรับใช้พระองค์ ท่านกล่าว่า “ข้าพเจ้าขอบพระคุณพระคริสตเยซูองค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา ผู้ประทานพละกำลังแก่ข้าพเจ้า และทรงเรียกให้มารับใช้” (1ทธ 1:12)

     เบื้องหลังความคิดของนักบุญเปาโลก็คือ ท่านมองว่าสิ่งดีต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับชีวิตของท่าน มิได้เกิดจากความสำเร็จของท่านเอง แต่เป็นพระหรรษทานของพระเจ้าที่ทำงานในตัวท่าน ซึ่งตรงกันข้ามกับคนที่ไม่ยอมรับว่าตนเองเป็นคนบาป คนพวกนี้จะมองว่าสิ่งดีต่างๆ ในชีวิตเป็นผลพวงมาจากความดีและความศักดิ์สิทธิ์ของตนเอง ไม่ต่างไปจากลูกคนโตหรือพวกฟาริสีเลย

     ที่สำคัญ สำหรับนักบุญเปาโล การยอมรับว่าตนเป็นคนบาป เป็นเพียงเหรียญด้านเดียว อีกด้านหนึ่งของเหรียญคือความรักและความเมตตาของพระเจ้า ท่านกล่าวว่า “ข้าพเจ้าเคยพูดดูหมิ่นพระเจ้า เบียดเบียนและกระทำทารุณ แต่ข้าพเจ้าก็ได้รับพระเมตตากรุณาจากพระองค์” (1 ทธ 1:13)

     ยูดาสทรยศพระเยซูเจ้า เมื่อสำนึกผิด เขาไม่ระลึกถึงพระเมตตาของพระเจ้าจึงทำให้เขาสิ้นหวังและฆ่าตัวตาย ส่วนเปโตรปฏิเสธพระเยซูเจ้า แต่เมื่อสำนึกผิด ท่านระลึกถึงพระเมตตาอันไม่มีขอบเขตของพระเจ้า ท่านกลับใจและกลายเป็นนักบุญ

     เพราะฉะนั้น การตระหนักว่าเราเป็นคนบาป ต้องมาพร้อมกับการตระหนักว่าพระเจ้าทรงเปี่ยมล้นด้วยพระเมตตาอย่างไม่มีขอบเขตด้วย

     วันนี้ พระเยซูเจ้าทรงเชิญชวนเราให้สำนึกผิดเช่นเดียวกับนักบุญเปาโลและลูกคนเล็ก พร้อมกับสำนึกถึงความรักและความเมตตาของพระเจ้าดังเช่นบิดาผู้ใจดีในพระวรสารวันนี้ และในเวลาเดียวกันก็ทรงเตือนเราทุกคน อย่าได้เป็นเช่นเดียวกับลูกคนโตในท่ามกลางโลกใบนี้ที่เต็มไปด้วยลูกชายและลูกสาวล้างผลาญ

 

พระวรสารวันนี้ประกอบด้วย 3 เรื่องคือ เรื่องแกะที่พลัดหลง เรื่องเงินเหรียญที่หายไป และเรื่องลูกล้างผลาญ

เฉพาะเรื่องลูกล้างผลาญมีตัวละครที่สำคัญ 3 คนด้วยกันคือ บิดา ลูกคนโต และลูกคนเล็ก

ลูกคนเล็กนั้นเป็นวัยรุ่นที่ไม่ค่อยอดทน เบื่อง่าย แปรปรวน เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา และพร้อมที่จะทดลองสิ่งใหม่ๆ  เขาจึงรวบรวมทุกสิ่งที่มีแล้วเดินทางไปประเทศห่างไกล แล้วที่นั่นเขาก็ประพฤติตนเสเพล ผลาญทรัพย์สินมรดกตามสิทธิที่เขาได้รับมาจนหมดสิ้น เขาคือตัวแทนของคนบาปทุกคน เพราะเมื่อเราทำบาป เราก็ผลาญสิทธิที่ได้รับจากพระเจ้าจนหมดสิ้น

สิ่งที่บาปหยิบยื่นให้แก่ลูกคนเล็กและแก่เราทุกคน เริ่มแรกดูเหมือนจะเป็นความสุข เป็นความพึงพอใจและความตื่นเต้น แต่สุดท้ายแล้วสิ่งที่ลูกคนเล็กและเราได้รับเหมือนกันก็คือความน่าสมเพช ความเศร้าหมอง ความไม่พอใจ ความซึมเศร้า และการสูญเสียศักดิ์ศรีที่เป็นของเราในฐานะบุตรของพระเจ้าจนหมดสิ้น

ข่าวดีก็คือว่า ไม่ว่าเราจะจมลึกอยู่ในบาปมากเพียงใดก็ตาม เรายังมีเสียงเรียกภายในเชิญชวนเราให้กลับมาบ้านของบิดา อันเป็นสถานที่ที่เราจะได้พบกับเสรีภาพและความสุขใจอย่างแท้จริง และนี่คือเหตุผลที่ทำให้เรามารับศีลอภัยบาป

ตัวละครที่สองก็คือบิดาที่รักลูกและยอมให้ลูกทำในสิ่งที่ต้องการ เราเคยมองภาพพระเจ้าว่าเป็นผู้ที่เข้มงวด น่ากลัว และคอยลงโทษเมื่อเราออกนอกลู่นอกทางเหมือนที่เราได้ฟังในบทอ่านที่หนึ่ง จนโมเสสต้องคอยร้องขอให้พระองค์ใจเย็นลง แต่นี่ไม่ใช่ภาพของพระเจ้าที่พระเยซูเจ้าบอกเราในพระวรสารวันนี้ เพราะพระเจ้าเป็นบิดาที่ทรงรักและอ่อนโยนต่อบุตรทุกคนของพระองค์ และพร้อมจะให้อภัยไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม

ตัวละครสุดท้ายก็คือลูกคนโต ก่อนอื่นต้องยอมรับว่าเขาเป็นคนที่เข้มแข็ง มั่นคง ทำงานหนัก มีวินัยและความสุขุม รักเกียรติของตนเอง ไม่ปล่อยตัวเหลวไหล นับว่าเขาเป็นสุภาพบุรุษที่สมบูรณ์แบบทีเดียว แต่เขาก็ยังเป็นผู้ที่เราเรียกว่ามี “ศีลธรรมอยู่ในระดับกลาง” คือมีทั้งคุณธรรมและความชั่วร้ายอยู่รวมกัน

และเพราะพวกที่มี “ศีลธรรมอยู่ในระดับกลาง” ยังพอมีคุณธรรมอยู่บ้าง คนพวกนี้จึงหยิ่งจองหอง คิดว่าตนเองดีกว่าคนอื่น ไม่ยอมรับผู้ที่มีมาตรฐานด้อยกว่าตน ขาดความเห็นอกเห็นใจ และไม่ยอมให้อภัยผู้อื่น

ลูกคนโตแสดงความชั่วร้ายนี้ออกมาเมื่อเขาไม่ยอมต้อนรับน้องชายผู้หลงผิดทั้งๆ ที่บิดาพยายามอธิบายและอ้อนวอนแล้วก็ตาม เขาคิดว่านี่คือความยุติธรรม แต่สำหรับพระเจ้า นี่ไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากการเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางและการไม่ยอมให้อภัยผู้อื่นนั่นเอง

ทุกวันนี้เราก็มีคนแบบลูกคนโตอยู่ท่ามกลางเรามากทีเดียว อย่างเช่นกรณีของ Karla Faye Tucker ซึ่งถูกตัดสินประหารชีวิตข้อหาฆาตกรรมในรัฐเทกซัส ระหว่างรอวันประหารในคุก เธอกลับใจล้างบาปเป็นคริสตชน ครั้นถึงวันประหารคือวันที่ 3 ก.พ. 1998 มีคนสองกลุ่มอออยู่หน้าเรือนจำ กลุ่มหนึ่งซึ่งรวมถึงสำนักวาติกันด้วยไม่ต้องการให้ประหารและสวดภาวนาให้กับเธอ อีกกลุ่มหนึ่งโห่ร้องขอให้ประหาร

กลุ่มที่สวดภาวนาเรียกร้องความรักและความเมตตา ส่วนกลุ่มที่โห่ร้องขอให้ประหารเรียกร้องความยุติธรรม

พระวรสารวันนี้เตือนใจเราว่า สำหรับพระเจ้า ความรักและความเมตตานั้นต้องมาก่อนความยุติธรรมแบบไม่ลืมหูลืมตา !

เราต้องแยกแยะความแตกต่างระหว่างผู้ที่เคร่งครัดในศาสนากับผู้ที่เป็นคริสตชน สำหรับผู้ที่เคร่งครัดในศาสนานั้น พวกเขาจะพิถีพิถันในการปฏิบัติตามข้อบังคับและหลักศีลธรรมของศาสนาทุกข้อ คุณธรรมอันดับแรกของพวกเขาก็คือการมีวินัยในตนเอง ตรงกันข้าม คริสตชนคือผู้ที่เชื่อและดำเนินชีวิตตามแบบอย่างและคำสั่งสอนของพระเยซูเจ้า คุณธรรมอันดับแรกของเราคริสตชนก็คือความรักและความเมตตาสงสาร

ข้อคิดอีกประการหนึ่งก็คือ การยอมรับว่าตนเองผิดพลาด เป็นคนบาป เป็นลูกล้างผลาญ หาได้ทำให้เรากลายเป็นคนที่รู้สึกด้อยค่าหรือกลายเป็นคนที่เกลียดตัวเองตามที่มีบางคนกล่าวหาแต่ประการใดไม่

ตัวอย่างเช่นนักบุญเปาโลในบทอ่านที่สองวันนี้ ท่านยอมรับว่า ท่านเป็นคนแรกในบรรดาคนบาป​ (1 ทธ 1:15) เพราะท่านเคยเบียดเบียนพระศาสนจักรมาก่อน แต่การสำนึกผิดเช่นนี้หาได้ทำให้ท่านรู้สึกตกต่ำแต่ประการใดไม่ ตรงกันข้าม กลับทำให้ท่านรู้สึกกตัญญู ขอบคุณและสรรเสริญพระเจ้า พร้อมกับทุ่มเทชีวิตรับใช้พระองค์ ท่านกล่าว่า “ข้าพเจ้าขอบพระคุณพระคริสตเยซูองค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา ผู้ประทานพละกำลังแก่ข้าพเจ้า และทรงเรียกให้มารับใช้ (1ทธ 1:12)

เบื้องหลังความคิดของนักบุญเปาโลก็คือ ท่านมองว่าสิ่งดีต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับชีวิตของท่าน มิได้เกิดจากความสำเร็จของท่านเอง แต่เป็นพระหรรษทานของพระเจ้าที่ทำงานในตัวท่าน ซึ่งตรงกันข้ามกับคนที่ไม่ยอมรับว่าตนเองเป็นคนบาป คนพวกนี้จะมองว่าสิ่งดีต่างๆ ในชีวิตเป็นผลพวงมาจากความดีและความศักดิ์สิทธิ์ของตนเอง ไม่ต่างไปจากลูกคนโตหรือพวกฟาริสีเลย

ที่สำคัญ สำหรับนักบุญเปาโล การยอมรับว่าตนเป็นคนบาป เป็นเพียงเหรียญด้านเดียว อีกด้านหนึ่งของเหรียญคือความรักและความเมตตาของพระเจ้า ท่านกล่าวว่า ข้าพเจ้าเคยพูดดูหมิ่นพระเจ้า เบียดเบียนและกระทำทารุณ แต่ข้าพเจ้าก็ได้รับพระเมตตากรุณาจากพระองค์ (1 ทธ 1:13

ยูดาสทรยศพระเยซูเจ้า เมื่อสำนึกผิด เขาไม่ระลึกถึงพระเมตตาของพระเจ้าจึงทำให้เขาสิ้นหวังและฆ่าตัวตาย ส่วนเปโตรปฏิเสธพระเยซูเจ้า แต่เมื่อสำนึกผิด ท่านระลึกถึงพระเมตตาอันไม่มีขอบเขตของพระเจ้า ท่านกลับใจและกลายเป็นนักบุญ

เพราะฉะนั้น การตระหนักว่าเราเป็นคนบาป ต้องมาพร้อมกับการตระหนักว่าพระเจ้าทรงเปี่ยมล้นด้วยพระเมตตาอย่างไม่มีขอบเขตด้วย

วันนี้ พระเยซูเจ้าทรงเชิญชวนเราให้สำนึกผิดเช่นเดียวกับนักบุญเปาโลและลูกคนเล็ก พร้อมกับสำนึกถึงความรักและความเมตตาของพระเจ้าดังเช่นบิดาผู้ใจดีในพระวรสารวันนี้ และในเวลาเดียวกันก็ทรงเตือนเราทุกคน อย่าได้เป็นเช่นเดียวกับลูกคนโตในท่ามกลางโลกใบนี้ที่เต็มไปด้วยลูกชายและลูกสาวล้างผลาญ