หมายเหตุที่น่ารู้ สถานที่ทำการประชุมพระสังคายนาวาติกัน ครั้งที่ 2 ได้กระทำกันภายในพระวิหารมหานักบุญเปโตร ที่กรุงวาติกันนั่นเอง
องค์ประชุมมีใครบ้าง ? มี :
สมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ที่ 23
สมเด็จพระสันตะปาปา ปอล ที่ 6
พระบิดร (Patres) พระสังฆราช และพระสงฆ์ผู้ใหญ่ 3,058 ท่าน
ซึ่งมาจากประเทศต่าง ๆ 145 ประเทศ
มีปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญ 453 ท่าน
นอกนั้นมีผู้ที่ได้รับเชิญมาร่วมฟัง 58 ท่าน เป็นฆราวาสชายและหญิง ยังมีผู้สังเกตการณ์ที่ไม่ใช่คาทอลิกอีก 101 ท่าน
การดำเนินการประชุมของพระสังคายนา
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การประชุมที่เรียกว่า ทั่วไป (Sessiones generales) การประชุมนี้มีทั้งหมด 168 ครั้งในทั้ง 4 สมัย กับมีการประชุมที่เรียกว่า การประชุมสาธารณะ (เปิดโอกาสให้คนอื่นเข้ามาร่วมพิธีด้วย) การประชุมสาธารณะนี้ มี 10 ครั้ง
การประชุมพระสังคายนา มี 4 สมัย คือ :
สมัยที่ 1 แต่วันที่ 11 ตุลาคม ถึง 8 ธันวาคม ปี 1962
สมัยที่ 2 แต่วันที่ 29 กันยายน ถึง 4 ธันวาคม ปี 1963
สมัยที่ 3 แต่วันที่ 14 กันยายน ถึง21 พฤศจิกายน ปี 1964
สมัยที่ 4 แต่วันที่ 14 กันยายนถึง 8 ธันวาคม ปี 1965
การประชุมสาธารณะ มี 10 ครั้งด้วยกัน คือ :
-11ตุลาคม1962-14กันยายน1965
- 26 พฤศจิกายน1963- 28 ตุลาคม 1965
- 4 ธันวาคม 1963- 18 พฤศจิกายน 1965
- 14 กันยายน 1964- 7 ธันวาคม 1965
- 21 พฤศจิกายน 1964- 8 ธันวาคม 1965
ลำดับเอกสารพระสังคายนาวาติกัน ครั้งที่ 2
ไม่ใช่ตามลำดับเวลา Chronologicum แต่ตามลำดับเหตุผล (logicum) มากกว่า เราเรียงลำดับตามนี้ :
-ธรรมนูญด้านพระธรรมว่าด้วยพระศาสนจักร ‘Lumen gentium’
-ธรรมนูญด้านพระธรรมว่าด้วยพระวิวรณ์ (การไขแสดงของพระเป็นเจ้า ‘Dei Verbum’)
-ธรรมนูญว่าด้วยพิธีกรรม (Sacrosanctum concilium)
-ธรรมนูญด้านการแพร่ธรรม ว่าด้วยพระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ ‘Gaudium et Spes’
-สังฆาณัติ ว่าด้วยหน้าที่ทางธรรมทูตของพระสังฆราช ‘Christus Dominus’
-สังฆาณัติว่าด้วยบริการและชีวิตของพระสงฆ์ ‘Presbyterorum Ordinis’
-สังฆาณัติว่าด้วยการอบรมพระสงฆ์ ‘Optatam totius Eeclesiae renovationem’
-สังฆาณัติว่าด้วยการปฏิรูปและการฟื้นฟูชีวิตนักบวช ‘Perfectae caritatis’
-สังฆาณัติว่าด้วยการแพร่ธรรมของฆราวาส ‘Apostolicam actuositatem’
-สังฆาณัติว่าด้วยภารกิจแพร่ธรรมของพระศาสนจักร ‘Ad gentes divinitus’
-สังฆาณัติว่าด้วยการพยายามนำศาสนจักรอื่นมาสู่เอกภาพ (Oecumenismus)
‘Unitatis redintegratio’
-สังฆาณัติว่าด้วยพระศาสนจักรคาทอลิกฝ่ายตะวันออก (Orientalium Ecclesiarum)
-สังฆาณัติว่าด้วยสื่อมวลชน ‘Inter mirifica’
-คำแถลงว่าด้วยอิสระทางศาสนา ‘Dignitatis humanae’
-คำแถลงว่าด้วยการติดต่อของพระศาสนจักรกับศาสนาต่าง ๆ ที่มิใช่คริสตศาสนา
‘Nostra aetate’
-คำแถลงว่าด้วยการอบรมอย่างคริสตชน ‘gravissimum educationis momentum’
-การแจ้งข่าว ของพระสังคายนา
หมายเหตุ : เอกสารแห่งพระสังคายนาวาติกัน ครั้งที่ 2 มีทั้งหมด 17 ฉบับ (หรือกระทง) คือ ธรรมนูญ (Constitutio) 4 ฉบับ, สังฆาณัติ (decretum) 9 ฉบับ, คำแถลง (declarationes) 3 ฉบับ กับการแจ้งข่าว (Messages) 1 ฉบับ รวมเป็น 17 ฉบับ