จังหวัดนครปฐม
ในจังหวัดนี้ในเวลานั้นมีวัด 3 แห่ง แห่งหนึ่งคือวัดนักบุญเปโตร นครชัยศรี ในปี ค.ศ. 1941มีอายุ ได้ 100 ปี มีคริสตังเกือบ 2,000 คน มีโรงเรียน 2 หลัง แห่งที่ 2 คือ วัดหนองหินเพิ่งสร้างได้ไม่นาน มี คริสตัง 300 คน โรงเรียน 1 หลัง ขึ้นไปทางนครชัยศรีเป็นวัดแห่งที่ 3 คือ วัดนักบุญอันเดร บางภาษี ตั้งอ ยู่บนฝั่งแม่น้ำนครชัยศรีไปทางเหนือ เพิ่งสร้างวัดหลังใหม่ในปี ค.ศ. 1930 ใช้เป็นทั้งวัดและโรงเรียน มี คริสตังไม่มาก ไม่มีพระสงฆ์ประจำ
ที่นครชัยศรี พวกเลือดไทยไม่สามารถก่อเรื่องใหญ่โตได้ เพราะในหมู่พวกคริสตังมีนักเลงโตบางคน เป็นคนแปลกหน้าสำหรับคุณพ่อเจ้าอาวาส นอกจากกิตติศัพท์ของพวกเขาในเรื่องเกี่ยวกับพวกหัวขโมย คนเหล่านี้เป็นพวกคริสตังเลวที่รวมตัวกันเพื่อป้องกันวัดของพวกเขา และเมื่อพวกเลือดไทยโผล่เข้ามาเพื่อ ทำลาย ปล้นสะดม พวกคนอื่นๆ ที่อยู่ที่นั่นซึ่งเฝ้าคอยระวังเหตุการณ์อยู่ก็ถือกระบองสั้น มีดอีโต้ เพื่อไม่ต้อ งถูกเรียกว่าใช้อาวุธปืน (ไม่มีคำสั่ง) พว กเลือดไทยคิดว่าไม่ควรเสี่ยงอันตรายและกลับไปยังที่ว่าการอำเภอ สามพรานโดยปราศจากรายชื่อผู้ชนะ
ที่หนองหิน ตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. 1941พระสังฆราชแปร์รอสขอร้องให้พระสงฆ์ซาเลเซียนช่วย ดูแล เพราะวัดนี้อยู่ในเขตติดต่อกับมิสซังซาเลเซียน (ราชบุรี) ได้มีพระสงฆ์ซาเลเซียนองค์หนึ่งประจำอยู่ที่ นั่น ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐมเคารพสัญชาติอิตาเลียนของพระสงฆ์ ปล่อยให้อยู่อย่างสงบ
ส่วนพวกคริสตัง ผู้ว่าราชการจังหวัดขอร้องนายอำเภอให้ใช้อิทธิพลทุกอย่างเพื่อทำให้พวกคริสตัง ละทิ้งศาสนาในเขตวัดเหล่านี้
ครูคนหนึ่งสอนอยู่ที่โรงเรียนวัดบางภาษีชื่อ นายประเวท ภารนันต์เล่าเรื่องว่าพวกคริสตังถูกเรียก ไปประชุมเพื่อทำพิธีละทิ้งศาสนาอย่างไร รายงานของเขามีดังต่อไปนี้
เอกสารหมายเลข 25
ซึ่งเขาเล่าโดยสรุป
นายอำเภอบางเลนมาพบผมที่บ้าน ที่บางภาษี เพื่อขอร้องผมให้ทิ้งศาสนา และทำให้พวกคริสตังละ ทิ้งศาสนาตาม โดยเฉพาะรองผู้ว่าราชจังหวัดกล่าวว่า "ผมไม่มีปัญหาอะไรกับพวกคาทอลิก แต่ผมได้รับ คำสั่งอย่างเป็นทางการให้ทำให้พวกท่านละทิ้งศาสนาให้ได้" พิธีกรรมอย่างหนึ่งถูกจัดเตรียมไว้ที่จังหวัด นครปฐมในวันมาฆะบูชา"
2-3 วันก่อนวันที่กำหนด นายอำเภอกลับมาพบผมที่บางภาษี และขอทราบผลผมตอบเขาว่า ล้มเหลวทั้งเพ ในที่สุด นายอำเภอให้ผมสัญญาว่าผมจะแนะนำกับพวกคริสตังเวลา 9 โมงเช้า ตามวันที่ กำหนด ด้านหน้าโบสถ์หลังใหญ่ พวกเราไปที่นั่นและพวกเราได้เผชิญหน้ากับพวกคริสตังจากบางเลน คริสตังบางคนจากหนองหิน และโดยเฉพาะคริสตังกลุ่มใหญ่จากนครชัยศรี
ในทันทีทันใด พวกเจ้าหน้าที่ที่แสนน่ารักได้ล่วงหน้ามาก่อน แต่ละคนได้แจกดอกไม้แก่พวกเราคนล ะหนึ่งช่อและเทียน พวกเขาบอกว่า "พวกเราจะพาพวกท่านเข้าไปภายในโบสถ์ มีผู้ว่าราชการจังหวัดที่จะ ปราศรัยกับพวกท่านด้วยตนเอง พวกเราจะบอกพวกท่านว่า ต่อไปพวกท่านจะต้องทำอะไร ให้นั่งลง ให้ลุก ขึ้น ให้คุกเข่า ฯลฯ ไม่ต้องกลัวอะไรทั้งสิ้น"
เมื่อเข้าไปภายใน พวกเราเห็นอะไร! พระพุทธรูปองค์ใหญ่ตั้งอยู่ มีดอกไม้ประดับ จุดเทียนสว่าง ไสว ด้าน หน้าพระพุทธรูป ท่านสมภารของนครปฐมนั่งอยู่ในที่นั่งของท่าน ห้อมล้อมด้วยพระภิกษุจำนวน หนึ่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดนั่งอยู่กลางพระอุโบสถ
เมื่อทุกคนได้เข้ามาแล้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดเริ่มปราศรัยว่า พวกท่านเป็นคนไทย พวกท่านต้อง ปฏิบัติตามศาสนาของคนไทยคือศาสนาพุทธ แล้วเขาด่าแช่งพวกคาทอลิก ด่าศาสนาคาทอลิกด้วยคำพูด ที่แสนหยาบคาย สำ หรับเรื่องนี้ข้าพเจ้าไม่เขียนรายงานไว้ ณ ที่นี้ หลังจากนั้นเขาเชิญพวกเราให้คุกเข่า คลานเข้าไปถึงหน้าพระพุทธรูปตามประเพณีไทย ให้กราบไหว้นมัสการถวายพุ่มดอกไม้และจุดเทียนเป็น การสักการะ
พวกคริสตังเหล่านี้ได้คุกเข่า เมื่อเห็นเช่นนั้น พวกเราคริสตังจากบางภาษีรู้สึกขนลุก!พวกเขาอยาก ทำให้พวกเราละทิ้งศาสนาจริงหรือ? พวกเราจะทำอย่างไรดี? ผมพูดกับพวกเขาว่า “ให้พวกท่านทำตาม ผม” และพวกเราลุก ขึ้นยืน ขณะที่คนอื่นคลานเข้าไปหาพระพุทธรูปและกราบต่อหน้า
เมื่อพวกเขาได้ปฏิเสธความเชื่อของพวกเขาอย่างสิ้นเชิงผู้ว่าราชการจังหวัดและพวกเจ้าหน้าที่เชิญ ชวนพวกเราให้ทำตามพวกเขา พวกเราปฏิเสธเด็ดขาด พวกเขาจึงด่าพวกเราเหมือนห่าฝนที่กระหน่ำใส่ พวกเรา พวกเราออกมาจากห้องประชุม ทุกคนชื่นชม
ทันทีที่ออกมาข้างนอก พวกตำรวจและฝูงชนตะโดนด่าและข่มขู่พวกเราเสียงเอ็ดอึงเมื่อเห็นเช่นนั้น พวกเรา รีบมองหารถของพวกเราและออกรถไปเพื่อไปหลบภัยที่หนองหิน
ข้าพเจ้าถูกบังคับให้ลาออกจากการเป็นครู ส่วนนายอำเภอบางเลนหน้าแตกไปตามระเบียบเพราะ ทำงานล้มเหลว
ข้าพเจ้าตกอยู่ในสภาพเรือไม่มีหางเสือ
จังหวัดอยุธยา
โดยผลของคำสั่งที่ให้เรียกตัวพวกพระสงฆ์ฝรั่งเศสทุกองค์โดยรัฐบาล ลงวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1941 คุณพ่อบรัวซาต์เจ้าอาวาสวัดบ้านปลายนาและเป็นหัวหน้าในเขตอยุธยา ต้องเดินทางเข้ากรุงเทพฯ คุณพ่อเอากุสติโนผู้ช่วยเจ้าอาวาสของท่าน ซึ่งผลัดกันกับคุณพ่อบรัวซาต์ดูแลวัดเจ้าเจ็ดและวัดบ้านหน้า โคก ได้หลบภัยเข้ากรุ งเทพฯ อย่างรีบด่วน ไม่ขึ้นไปที่บ้านปลายนาในระหว่างเดือนมีนาคม ส่วนคุณพ่อมา ร์แซลออกจากวัดอยุธยาชั่วคราว
ในทันที ก็เริ่มการเบียดเบียนพวกคริสตังพวกคนหนุ่มสาวและพวกเด็กๆ ด้วยการบีบบังคับ ขู่เข็ญ พวกเราสังเกตในขณะนั้นว่าในจำนวนพวกคริสตัง นายอำเภอได้พยายามชักจูงคริสตังเลวให้ละทิ้งศาสนา คนพวกนี้มีชื่อเสียงเป็นพวกหัวขโมย กล้าหาญกว่าคริสตังคนอื่นๆและพวกเขาเป็นผู้นำการเคลื่อนไหวต่อ ต้านพวกเลือดไทยเพื่อป้องกั นวัด พวกเขามีไม้กระบองหรือมีดดาบเป็นอาวุธประจำกาย ทำให้พวกเลือด ไทยต้องใคร่ครวญก่อนจะทำอะไร
ที่วัดเจ้าเจ็ด นายอำเภอตั้งความหวังไว้มาก เพราะในกลุ่มคริสตังมีคนหนึ่งร่ำรวยมากเป็นเจ้าของ โรงสีขนาดใหญ่ เป็นคนมีหน้ามีตาเป็นที่รู้จักดีทั้งในหมู่บ้านและไกลไปจนถึงลำคลองต่างๆ และเขามีเมีย น้อยหนึ่งคนหรือมากกว่าในหมู่บ้านนี้ แต่ชายคนนี้ไม่ค่อยจะสนใจปฏิบัติศาสนกิจ เขาไม่มาวัดนอกจากวัน ฉลองวัด พวกคริสตังเสียใจท ี่เขาไม่ปฏิบัติหน้าที่ทางศาสนา เพราะเขาเป็นคนมีอิทธิพลและเป็นที่นิยมชม ชอบในแถบนั้น
นายอำเภอหมายตาให้เขาละทิ้งศาสนาเป็นคนแรกเป็นคนนำร่องชักจูงชาวบ้านให้ละทิ้งศาสนาด้วย ในวันนัดหมายตามที่นายอำเภอกำหนดพิธีประกาศละทิ้งศาสนา และหลังจากปราศรัยเตรียมแล้ว นาย อำเภอเข้ามายืนต่อหน้ากลุ่มคริสตัง และขอให้เขากล่าวหยาบคายต่อศาสนาคาทอลิก ในเวลานั้นท่ามกลาง ความเงียบแห่งความตาย ชาย คนนั้นหันหน้าอย่างช้าๆ ไปทางพวกคริสตัง มองดูพวกเขาซึ่งกำลังกระวน กระวาย พวกผู้หญิงกำลังสวดสายประคำ ต่อมาเขาหันมาทางนายอำเภอพร้อมกับยิ้มและพูดเสียงดังและ หนักแน่นว่า “จริงอยู่ ผมไม่ได้ประพฤติตนเป็นคาทอลิกที่ดี ทั้งไม่ได้เป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี ผมขอสารภาพ อย่างไม่ละอายต่อหน้าทุกคนผมเป็นคริสตัง ผมยังคงเป็นคริสตัง และจะขอตายอย่างคริสตัง ไม่มีประโยชน์ อะไรที่พยายามทำให้ผมเปลี่ยนศาสนา” (ดู รายงานประจำปี กรุงเทพฯ ปี ค.ศ. 1941-1947) เสียงร้องด้วย ความยินดีของพวกคริสตังที่มาประชุมว่า “พวกเราเป็นคริสตัง พวกเราจะตายเป็นคริสตัง!” ข่าวนี้ของเจ้า เจ็ดรู้กันไปทั่วในวัดอื่นๆ และในเขตนี้มีคนละทิ้งศาสนาน้อยมาก