มีข้อผิดพลาด
  • JLIB_DATABASE_ERROR_FUNCTION_FAILED
HOT NEWS
เทิดเกียรติแม่พระฟาติมาเดือนเมษายน: วันเสาร์ที่ 13 เมษายน 2024 พิธีบูชาขอบพระคุณ เวลา 19.00 น. โอกาสเทิดเกียรติแม่พระฟาติมา โดย คุณพ่อ ยอแซฟ วิชา หิรัญญการ ณ วัดแม่พระฟาติมา ดินแดง ภาพเพิ่มเติมเพจfacebookบันทึก : ฉลองวัด... กิจกรรมรวมพลนักเรียนคำสอนเขต1: วันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2024 นักเรียนคำสอนภาคฤดูร้อน ร่วมกิจกรรมรวมพลนักเรียนคำสอนเขต1 ที่วัดอัครเทวดาราฟาแอล ปากน้ำ ได้รดน้ำขอพรผู้สูงอายุ โอกาสวันสงกรานต์ และ เรียนรู้พิธีกรรมในภาคปฏิบัติ ขอคำภาวนาจากพี่น้อง เพื่อความเชื่อลูกหลานของเราจะได้เข้มแข็งมั่นคง และเตรียมตัวรับศีลศักดิ์สิทธิ์อย่างดี ขอเชิญร่วมฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดแม่พ: ขอเชิญร่วมฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดแม่พระรับสาร บ้านดงขี้นาค-โนนมาลี  จ.ร้อยเอ็ด วันเสาร์ที่ 20 เมษายน 2024 พิธีบูชาขอบพระคุณ เวลา 10.00 น. โดย พระสังฆราชสเตเฟน บุญเลิศ พรหมเสนา เป็นประธานในพิธี ขอเชิญร่วมโมทนาคุณพระเจ้า โอกาสพิธีบวชพร:   ขอร่วมโมทนาคุณพระเจ้า สำหรับการรับศีลบวชเป็นพระสงฆ์ของ สังฆานุกร ฟรังซิสโก เชาวน์ ประทุมปี ในวันเสาร์ที่ 18 พฤษภาคม 2024 เวลา 10.00 น. ณ อาสนวิหารแม่พระประจักษ์ที่เมืองลูรด์ นครราชสีมา โดย พระสังฆราช ยอแซฟ ชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ ประมุขสังฆมณฑลนครราชสีมา ประกาศสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งปร: ประกาศสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย เรื่อง ขอความอนุเคราะห์ช่วยเหลือผู้หนีภัยจากการสู้รบที่ประเทศเมียนมาที่รุนแรงมากขึ้น

พระสังฆราชฟรังซัวส์ ปัลลือ ผู้มีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งมิสซังสยาม

พระสังฆราชฟรังซัวส์ ปัลลือ เป็นผู้ก่อตั้งหลักของคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส (M.E.P.)

     ท่านเกิดในเขตวัดแซงต์ซาตูรแนง เมืองตูรส์ รับศีลล้างบาปวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1626 ตระกูลของท่านเป็นตระกูลตุลาการเก่าแก่ เอเตียน ปัลลือ บิดาของท่าน เป็นที่ปรึกษาและทนายความของข้าหลวงเมืองตูรส์และนายกเทศมนตรี

ท่านปัลลือได้รับแต่งตั้งเป็นพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ประจำวัดแซงต์มาร์แตงตั้งแต่บวชได้ไม่นาน ท่านเป็นผู้เปี่ยมด้วยความเมตตากรุณาและความรัก เมื่อเดินทางมากรุงปารีส ท่านผูกมิตรกับเยาวชนจำนวนหนึ่งทั้งนักบวชและฆราวาสซึ่งรวมตัวกันเป็นสมาคม และก่อตั้งขึ้นภายใต้ความคุ้มครองของพระนางพรหมจารี

     ที่กรุงปารีส ท่านได้รู้จักคุณพ่ออล็กซานเดอร์ เดอ โรดส์ พระสงฆ์คณะเยสุอิต ซึ่งเป็นมิชชันนารีแห่งตังเกี๋ย และโคจินจีน คุณพ่อเดอ โรดส์ เดินทางมายุโรปเพื่อทูลขอให้สมเด็จพระสันตะปาปาทรงแต่งตั้งพระสังฆราชเข้าไปเผยแพร่พระวรสารในตังเกี๋ย และโคจินจีน ความคิดนี้ไม่ใช่ความคิดใหม่ เพราะกรุงโรมเคยศึกษาเรื่องนี้มาแล้ว และปรารถนาจะทำให้เป็นจริงตามที่คุณพ่อเดอ โรดส์ เสนอ

     หลังจากได้ปรึกษาหารือกันเป็นเวลานาน พระคุณเจ้าบาญี พระสมณทูตของสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 10 ประจำประเทศฝรั่งเศส ได้เลือกคุณพ่อปัลลือเป็นพระสังฆราชตามที่คุณพ่อเดอโรดส์ปรารถนา

พระมหากษัตริย์แห่งโปรตุเกสถือว่าการแต่งตั้งนี้ขัดกับสิทธิพิเศษของโปรตุเกส วันที่ 13 เมษายน ค.ศ. 1655 ที่ประชุมสภาสงฆ์แห่งฝรั่งเศสได้มอบหมายให้พระสังฆราชโกโด พระสังฆราชแห่งวองซ์ เขียนจดหมายไปทูลสมเด็จพระสันตะปาปา แต่ไม่ได้รับคำตอบ

     ค.ศ. 1657 ด้วยความช่วยเหลือของเพื่อนบางคน เช่น วินเซนต์ เดอ มัวร์, คุณพ่อปิแอร์ ลังแบรต์ เดอ ลาม็อตและโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากความช่วยเหลือของดัชเชสแห่งอัยกียอง คุณพ่อปัลลือจึงได้รับแต่งตั้งเป็นพระสังฆราชแห่งตะวันออกไกล

    ในการประชุมวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1658 สมณกระทรวงเผยแพร่ความเชื่อเสนอให้แต่งตั้งคุณพ่อปัลลือและคุณพ่อลังแบรต์เป็นผู้แทนพระสันตะปาปาประจำมิสซังจีนและประเทศเพื่อนบ้าน สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 7 ทรงรับรองการเลือกนี้และทรงออกพระสมณสารลงวันที่ 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1658 แต่งตั้งคุณพ่อปัลลือเป็นพระสังฆราชเกียรตินามแห่งเฮลิโอโปลิส พร้อมทั้งเตือนท่านอย่างหนักแน่นให้พยายามฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ที่จะตามมา คุณพ่อปัลลือได้รับอภิเษกเป็นพระสังฆราชที่กรุงโรมวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1658 ที่มหาวิหารนักบุญเปโตร โดยสมณมนตรีสมณกระทรวงเผยแพร่ความเชื่อ

     ต่อมาด้วยเอกสาร Super Cathedram ลงวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1659 สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 7 ทรงแต่งตั้งท่านปัลลือเป็นประมุขมิสซังตังเกี๋ย และผู้ปกครองมณฑลยูนนาน, กุยเจา, ฮูกวง, เสฉวน และกวางสีของประเทศจีน และลาว

     นี่คือจุดเริ่มต้นของการก่อตั้งคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส (M.E.P.) มีบุคคลหลายคนที่สนับสนุนการก่อตั้งนี้ เช่น คุณพ่ออเล็กซานเดอร์ เดอ โรดส์, พระสังฆราชแบร์นารด์แห่งนักบุญเทเรซา พระสังฆราชแห่งบาบิโรน และคณะศีลมหาสนิท

     ท่านปัลลือเดินทางออกจากกรุงปารีสวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1661 และลงเรือที่เมืองมาร์เซยวันที่ 2 มกราคม ค.ศ. 1662 ท่านเดินทางผ่านเปอร์เซีย ทะเลโอมาน เมืองสุหรัต ข้ามประเทศอินเดีย ลงเรือที่มาสุลีปาตัม เพื่อมายังเมืองมะริด และมาถึงกรุงศรีอยุธยาเมืองหลวงของราชอาณาจักรสยามวันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 1664

ท่านปัลลือได้พบกับท่านลังแบรต์ที่กรุงศรีอยุธยา และได้ตัดสินใจร่วมกับท่านลังแบรต์จัดประชุมสมัชชาในเดือนมกราคม ค.ศ. 1664 รวมทั้งก่อตั้งคณะนักบวชคณะหนึ่ง

     ท่านปัลลือต้องเดินทางไปกรุงโรมเพื่อรายงานสถานการณ์ของคริสตศาสนาในเอเชียอาคเนย์ และขอการรับรองเรื่องหนังสือ “คำสั่งสอนสำหรับมิสชันนารี” รวมทั้งขอการรับรอง “คณะผู้รักไม้กางเขน” นอกจากนี้ ยังต้องเสนอปัญหาเรื่องการค้าขายของนักบวช และขอสถาปนาสยามเป็นเขตเทียบมิสซังเพื่อให้เป็นศูนย์กลางของมิสซังต่างๆ ในเอเชีย สุดท้ายเพื่อหามิสชันนารีมาช่วยงานมิสซังในส่วนนี้ของเอเชีย

ท่านปัลลือเดินทางออกจากกรุงศรีอยุธยาวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 1665 โดยมีเมอซิเออร์เดอ ชาเมอซ็อง ติดตามไปด้วย และมาถึงกรุงโรมวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 1667 ใช้เวลาเดินทาง 2 ปี 3 เดือน ตามเส้นทางเดียวกับที่เดินทางมา เมื่อท่านมาถึงกรุงโรม เป็นเวลาเดียวกับที่สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 7 สิ้นพระชนม์ ท่านต้องรออีก 2 ปี จึงได้รับคำตอบสำหรับปัญหาต่างๆ ที่นำมาเสนอ ในโอกาสนี้ท่านได้เดินทางไปฝรั่งเศสเพื่อกราบทูลเสนอพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ให้ก่อตั้งสถาบันฝรั่งเศสในตะวันออกไกล

     ค.ศ. 1668 ท่านกลับมาที่กรุงโรมเพื่อขอการรับรองคณะนักบวชซึ่งตั้งขึ้นที่กรุงศรีอยุธยา โครงการนี้ไม่ได้รับความเห็นชอบจากผู้บริหารคณะ M.E.P. เพราะเห็นว่าเป็นโครงการที่ไม่สามารถเป็นจริงได้ ค.ศ. 1669 มีประกาศสมณกฤษฎีกาที่สำคัญดังนี้

1. วันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1669 สยามได้รับการสถาปนาเป็นมิสซัง

2. ห้ามนักบวชและสมณะทำการค้า

3. นักบวชที่ทำงานอยู่ในดินแดนที่อยู่ในอำนาจปกครองของประมุขมิสซัง ต้องเคารพเชื่อฟังประมุขมิสซัง

4. ขยายเวลาการอนุญาตให้ชายหนุ่มที่ขอบวชเป็นพระสงฆ์ และยังไม่เข้าใจภาษาลาติน ออกไปอีก 7 ปี แต่พวกเขาต้องสามารถอ่านภาษาลาตินได้

5. รับรองหนังสือ “คำสั่งสอนสำหรับมิสชันนารี” ที่จัดทำขึ้นในโอกาสประชุมสมัชชาที่กรุงศรีอยุธยา สมณกระทรวงเผยแพร่ความเชื่อเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้

6. “คณะผู้รักไม้กางเขน” ไม่ได้รับอนุมัติจากสันตะสำนัก และคำปฏิญาณที่มิสชันนารีประกาศถูกยกเลิกไป

     เมื่อมาถึงกรุงศรีอยุธยา ค.ศ. 1673 ท่านปัลลือและท่านลังแบรต์ได้รับอำนาจให้แต่งตั้งผู้สืบตำแหน่งแทนพระคุณเจ้าโกโตลังดี ประมุขมิสซังนานกิงที่มรณภาพในอินเดียเมื่อ ค.ศ. 1662 มิสซังสยามเพิ่งถูกรวมเข้ากับเขตปกครองของมิสซังจีน แต่กำลังเตรียมขอให้แยกมิสซังนี้ออกเป็นสองเขตอย่างเอกเทศเพราะอยู่ไกลกันเกินไป ดังนั้น จำเป็นต้องเลือกผู้นำพระศาสนจักรแห่งสยามโดยเฉพาะ พระสังฆราชทั้งสองได้เลือกคุณพ่อลาโนเป็นพระสังฆราชเกียรตินามแห่งเมแตลโลโปลิส ประมุขมิสซังสยาม คุณพ่อลาโนได้รับการอภิเษกวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1674 และวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 1673 ท่านปัลลือ ท่านลังแบรต์ และท่านลาโน ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพื่อถวายจดหมายของสมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 9 และพระเจ้าหลุยส์ที่ 14

     กลาง ค.ศ. 1674 ท่านปัลลือเดินทางไปประเทศจีน แต่พายุทำให้ท่านไปติดที่ชายฝั่งมะนิลา ท่านถูกพวกสเปนจับตัวและถูกส่งตัวไปยุโรปโดยผ่านเม็กซิโก รัฐบาลของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ขอให้กรุงแมดริดปล่อยตัวท่าน ซึ่งสเปนได้อนุมัติเรื่องนี้ทันที สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 11 ทรงส่งจดหมายไปขอบคุณพระมหากษัตริย์แห่งสเปน ท่านปัลลือเดินทางออกจากกรุงแมดริด ค.ศ. 1677 เพื่อไปยังกรุงโรม

     ด้วยคำร้องขอของท่านปัลลือ วันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1678 สมเด็จพระสันตะปาปาทรงกำหนดให้นักบุญยอแซฟเป็นองค์อุปถัมภ์ของมิสซังต่างๆ ของคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส

     เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1679 ท่านปัลลือพ้นจากหน้าที่ประมุขมิสซังตังเกี๋ย และวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1680 ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ปกครองทั่วไปของมิสซังต่างๆ ในประเทศจีน และเป็นผู้ปกครองพิเศษในมณฑลเกียงสี, กวางตุ้ง, เฉเกียง, กวางสี, เสฉวน, ฮูกวง, กุยเจา, ยูนนาน, หมู่เกาะฟอร์โมซา และไหหนาน วันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1680 ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นประมุขมิสซังโฟเกียน

     ค.ศ. 1680 ท่านปัลลือกลับมาที่กรุงปารีสอีกครั้ง และได้รับอำนาจและการรับรองการทำงานจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ท่านเดินทางกลับมามิสซังสยาม ค.ศ. 1681 โดยนำเงินมาช่วยเหลือบรรดามิชชันนารีสยามด้วย

จากสยามท่านเดินทางต่อไปยังประเทศจีน ค.ศ. 1683 แต่ถูกองครักษ์ของพระเจ้าหมิง จับขณะกำลังเดินทางอยู่ในทะเล ท่านต้องเป็นนักโทษอยู่ที่เกาะฟอร์โมซาเวลาหลายเดือน ที่สุดวันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 1684 ท่านได้เดินทางมาถึงประเทศจีน และพำนักอยู่ที่เมืองจางจูในมณฑลโฟเกี้ยนพร้อมกับมิชชันนารีองค์หนึ่ง ท่านส่งจดหมายถึงนักบวชและมิชชันนารีทุกองค์เพื่อแจ้งเรื่องการเดินทางมาประเทศจีน และอำนาจปกครองของท่าน

     ท่านปัลลือมรณภาพวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1684 ที่โมยาง เมืองฟูนิง แคว้นโฟเกี้ยน ประเทศจีน ศพของท่านถูกฝังอยู่ในหมู่บ้านคริสตังชื่อ “แซงต์มงตาญ” จนถึง ค.ศ. 1912
เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1912 คุณพ่อเกโนได้รับอนุญาตจากสามเณราลัยคณะมิสซังต่างประเทศ และพระสังฆราชอากีร์เร ประมุขมิสซังโฟเกี้ยน นำศพของท่านปัลลือมาฝังที่บ้านนาซาแรธ ที่เกาะฮ่องกง

 

ที่มาของข้อมูล :

Memorial de la Societe des Missions-Etrangeres, Paris, 1916, pp. 485-495

Catholic.or.th All rights reserved.

Select style: Red Brown