มีข้อผิดพลาด
  • JLIB_DATABASE_ERROR_FUNCTION_FAILED
HOT NEWS
ขอเชิญร่วมฉลองวัดพระแม่สกลสงเคราะห์ บางบ: ขอเชิญร่วมฉลองวัดพระแม่สกลสงเคราะห์ บางบัวทองประจำปี และพิธีโปรดศีลกำลัง เขต 3 ขอเชิญร่วมอบรม "พระคัมภีร์กับจิตวิทยาการ: แผนกพระคัมภีร์ ฝ่ายงานอภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ขอเชิญร่วมอบรม "พระคัมภีร์กับจิตวิทยาการดำเนินชีวิต"วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม 2024 เวลา 08.30-15.45 น. ณ ศูนย์ฝึกอบรมงานอภิบาล "บ้านผู้หว่าน" สามพราน นครปฐมแจ้งชื่อเข้ารับการอบรมได้ที่ bit.ly/bible4may2024 หรือสแกน QR CODE สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม อ.มนต์สิงห์ โทร. 0836980122 หรือ ID Line : thaibible อำลา และต้อนรับ เจ้าอาวาส ณ วัดดอนบอสโก: วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน 2024 พิธีบูชาขอบพระคุณ เวลา 09.30 น. โอกาสสัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา (ฉลองพระชุมพาบาลที่ดี) อำลาอดีตเจ้าอาวาส คุณพ่อ ยอแซฟ มานะชัย ธาราชัย, SDB. และต้อนรับเจ้าอาวาสองค์ใหม่ คุณพ่อ ยอห์น ลัสซันดริน, SDB. ณ วัดนักบุญยอห์น บอสโก กรุงเทพฯ ภาพเพิ่มเติมเพจfacebookบันทึก : ฉลองวัด... รณรงค์ให้คริสตชนร่วมสวดภาวนาเพื่อสันติภา: ประกาศ สภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทยที่ สสท. 040/2024เรื่อง รณรงค์ให้คริสตชนร่วมสวดภาวนาเพื่อสันติภาพ จากสถานการณ์ที่มีการสู้รบระหว่างอิสราเอลและกลุ่มติดอาวุธฮามาส ที่ยืดเยื้อมาถึงครึ่งปีแล้ว ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 35,000 คน และด้วยสถานการณ์ล่าสุดที่มีการโจมตีตอบโต้กัน ระหว่างอิสราเอล และอิหร่าน ซึ่งกำลังจะทวี ความรุนแรงมาก นับว่า เป็นสถานการณ์ที่มีความเปราะบาง ที่มีแนวโน้มที่อาจจะยิ่งทวีความตึงเครียดในตะวันออกกลางขึ้นเป็นทวีคูณ นอกจากนั้นยังมีความรุนแรงจากภาวการณ์สู้รบที่เกิดขึ้นหลายแห่งทั่วโลก ที่อาจนำไปสู่ความรุนแรงที่ซ้ำเติมและขยายวงออกไปมากขึ้น ก่อให้เกิดการทำลายชีวิต ละเมิดต่อคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ จนไม่อาจควบคุมได้ สงครามโลกเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้เอื้อม ศึกษาดูงานและทัศนศึกษาศาสนาพุทธและศาสนาอ: วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน 2024 คุณพ่อสมเกียรติ บุญอนันตบุตร อาจารย์ผู้สอนวิชาศาสนสัมพันธ์ นำนักศึกษาชั้นปี 2 ไปศึกษาดูงานและทัศนศึกษาศาสนาพุทธและศาสนาอิสลาม โดยพานักศึกษาไปศาสนสถานดังนี้1. วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (วัดเล่งเน่ยยี่ 2) บางบัวทอง โดยมีหลวงจีน ดร.ภาณุวัฒน์ เลิศประเสริฐพันธ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ ให้การต้อนรับและแบ่งปันให้ความรู้เรื่อง พระพุทธศาสนามหายาน (จีนนิกาย) ศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาและการปฏิบัติเพื่อเข้าสู่ธรรม ตามแนวทางพุทธศาสนานิกายมหายาน 2.มัสยิดท่าอิฐ นนทบุรี โดยมีท่านอิหม่าม มูญาฮิด ลาตีฟี และทีมคณะกรรมการมัสยิดท่าอิฐให้การต้อนรับ อีกทั้งนักศึกษาได้รับฟังการแบ่งปันให้ความรู้จาก ผศ.ดร.ชิษณุพงศ์ ฐิตะลักขณะ เป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับศาสนาอิสลาม หลักธรรมคำสอน และข้อปฏิบัติในเรื่องต่างๆ และพาเยี่ยมชมภายในศาสนสถานและชุมชนที่อยู่ใกล้เคียง

พระสังฆราชปิแอร์ ลังแบรต์ เดอ ลา ม็อตต์ ผู้มีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งมิสซังสยาม

     พระสังฆราชปิแอร์ ลังแบรต์ เดอ ลา ม็อตต์ เป็นหนึ่งในบรรดาผู้แทนพระสันตะปาปารุ่นแรก และได้ร่วมกับพระสังฆราชฟรังซัวส์ ปัลลือ ก่อตั้งบ้านเณรคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส พระคุณเจ้าลังแบรต์เป็นมิสชันนารีองค์แรกของคณะมิสซังต่างประเทศที่เดินทางมาแพร่ธรรมในดินแดนตะวันออกไกล

     ท่านเกิดเมื่อวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 1624 ที่ลาวัวซิแยร์ (กัลวาดอซ) และเป็นเพื่อนกับพระสังฆราชฟรังซัวส์ ปัลลือ ซึ่งขอร้องให้ท่านไปกรุงโรมเพื่อขอให้มีการแต่งตั้งผู้แทนพระสันตะปาปา พระคุณเจ้าลังแบรต์เป็นผู้โน้มน้าวให้เลขาธิการสมณกระทรวงเผยแพร่ความเชื่อ เข้าใจถึงความจำเป็นที่จะต้องแต่งตั้งผู้แทนพระสันตะปาปาเพื่อส่งมายังเอเชีย

     ท่านลังแบรต์ได้รับแต่งตั้งเป็นพระสังฆราชเกียรตินามแห่งเบริธ วันที่ 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1658 และวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1659 ได้รับแต่งตั้งเป็นประมุขมิสซังโคชินจีน และผู้ดูแลมณฑลเชเกียง โฟเกียง กวางตุ้ง กวางสี และเกาะไหหนำ ในประเทศจีน ท่านได้รับอภิเษกเป็นพระสังฆราชวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 1660 ที่กรุงปารีส โดยพระอัครสังฆราชแห่งเมืองตูรส์

     ท่านลังแบรต์เดินทางออกจากกรุงปารีสพร้อมกับมิสชันนารีอีกสององค์วันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 1660 ออกจากท่าเรือเมืองมาร์เซยวันที่ 27 พฤศจิกายนปีเดียวกัน เดินทางผ่านเกาะมอลตา เกาะไซปรัส และเมืองอเล็กซานเดรีย ข้ามประเทศซีเรีย อิรัก และเปอร์เซียพร้อมกับกองคาราวาน ข้ามอ่าวเปอร์เซียและทะเลโอมานทางเรือ เพื่อหลีกเลี่ยงพวกโปรตุเกสที่อยู่ตามชายฝั่งของอินเดีย จึงต้องเดินทางทางบกโดยใช้เกวียนเทียมวัวจนมาถึงชายฝั่งโคโรมันเดล จากนั้นได้เช่าเรือข้ามอ่าวเบงกอลและขึ้นฝั่งที่เมืองมะริด วันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1662 มาถึงวัดที่เมืองตะนาวศรีซึ่งคุณพ่อการ์โดโซเป็นเจ้าอาวาสอยู่ วัดแห่งนี้อยู่ห่างจากเมืองมะริด 50 กิโลเมตร

     ท่านเดินทางมาถึงกรุงศรีอยุธยาเมืองหลวงของราชอาณาจักรสยามวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 1662 รวมระยะเวลาหลังจากออกจากกรุงปารีส 2 ปี 2 เดือน กับอีก 2-3 วัน ในเวลานั้นมิสซังโคชินจีนซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางของท่าน กำลังประสบกับการเบียดเบียนอย่างหนัก ดังนั้น ท่านจึงตัดสินใจพักอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาก่อนเพื่อรอให้สถานการณ์ดีขึ้นจึงจะเดินทางต่อไป ในตอนแรกท่านพักอยู่กับนักพรตชาวโปรตุเกส หลังจากนั้นได้ย้ายไปอยู่ในค่ายของชาวญวน

     เพราะได้รับแต่งตั้งเป็นประมุขมิสซังโคชินจีน ท่านจึงรับเป็นธุระเรื่องแพร่ธรรมให้กับชาวโคชินจีนซึ่งเป็นพวกแรกที่ท่านพบเมื่อเดินทางมาถึงสยาม ขณะเดียวกันตามคำสั่งของกรุงโรม ท่านคอยสังเกตสภาพของมิสซังต่างๆ และเห็นคริสตังในสยามมีสภาพน่าเศร้าใจ มิสชันนารีที่เป็นนักพรตไม่มีความกระตือรือร้นในการเผยแพร่ความเชื่อ และทำสิ่งต้องห้ามสำหรับนักบวชโดยเฉพาะเรื่องการค้า ท่านลังแบรต์จึงเขียนจดหมายลงวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1662, ลงวันที่ 6 มีนาคม และลงวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1663 เพื่อรายงานให้สมเด็จพระสันตะปาปาและสมณกระทรวงเผยแพร่ความเชื่อทราบ ท่านจึงกลายเป็นที่เกลียดชัง และถูกแก้แค้นจากพวกโปรตุเกส ทั้งฆราวาสและนักบวช ซึ่งถือว่าการที่ท่านมาอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา และได้รับอำนาจทางศาสนาจากสมเด็จพระสันตะปาปานั้น เป็นการขัดแย้งกับสิทธิ์ต่างๆ ของพระมหากษัตริย์โปรตุเกส ดังนั้น ท่านจึงถูกปองร้าย ท่านลังแบรต์ได้ทำรายงานไปถวายสมเด็จพระสันตะปาปา กล่าวถึงสภาพจิตใจคนเขาเหล่านั้น วันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1663 ท่านได้ส่งจดหมายลาออกจากตำแหน่งประมุขมิสซังต่อสมเด็จพระสันตะปาปา

     การที่ท่านปัลลือเดินทางมาถึงสยาม ค.ศ. 1664 และท่านลังแบรต์มีเวลาใคร่ครวญถึงสภาพการณ์ต่างๆ ทำให้ท่านเปลี่ยนความตั้งใจ ตามข้อตกลงกับท่านปัลลือ ท่านลังแบรต์ได้แต่งหนังสือภาษาลาตินชื่อ “มอนิตา” (คำเตือนถึงบรรดามิสชันนารี) กรุงโรมได้จัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้หลายครั้ง วันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 1665 ท่านลังแบรต์ได้รับมอบอำนาจปกครองทางศาสนาในมิสซังจำปาและเขมร

     สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระราชทานที่ดินแปลงใหญ่ที่อยู่ในค่ายโคชินจีนแก่ท่านลังแบรต์ ท่านจึงเริ่มสร้างบ้านพักอย่างเรียบง่าย และสร้างวัดน้อยถวายแด่นักบุญยอแซฟ พร้อมทั้งสร้างอาคารเพื่อใช้เป็นบ้านเณร ซึ่งจะสามารถรับคนหนุ่มที่มาจากประเทศจีน ตังเกี๋ย และโคชินจีน เพื่อเตรียมตัวบวชเป็นพระสงฆ์ การบวชเป็นพระสงฆ์ครั้งแรกมีขึ้น ค.ศ. 1668 เป็นชาวตังเกี๋ยทั้งสององค์

     ในปีต่อมาท่านลังแบรต์เดินทางไปตังเกี๋ยซึ่งอยู่ในความปกครองของท่านปัลลือ และท่านปัลลือยังไม่สามารถไปที่นั่นได้ ท่านลังแบรต์ได้บวชพระสงฆ์พื้นเมือง 7 องค์ และตั้งคณะนักบวชหญิงคณะหนึ่งชื่อ “คณะรักไม้กางเขน” ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่ออบรมหญิงสาว เอาใจใส่ดูแลคนเจ็บ สอนคำสอนแก่สตรีและโปรดศีลล้างบาปให้เด็กๆ

ท่านลังแบรต์กลับมาที่สยาม ค.ศ. 1670 ต่อมา ค.ศ. 1671 ท่านไปโคชินจีนอีก และกลับมา ค.ศ. 1672

     ความเป็นอยู่ของท่านในสยามเป็นไปอย่างยากลำบากตั้งแต่แรก เพราะความเป็นศัตรูของพวกพ่อค้าโปรตุเกส และนักพรตบางคน ที่กล่าวหาว่าท่านเป็นพระสังฆราชปลอม และไม่ใช่ผู้แทนพระสันตะปาปา จึงไม่นบนอบเชื่อฟังท่าน และยังกล่าวหาว่าท่านสอนข้อความเชื่อทางศาสนาที่ไม่ถูกต้อง

     วันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1669 สมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 9 ทรงสถาปนามิสซังสยาม และมอบให้คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสเป็นผู้ปกครองตามกฤษฎีกา ค.ศ. 1665

     วันที่ 13 กันยายน ค.ศ. 1669 สมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 9 โดยพระสมณสาส์น Speculatores ประกาศว่านักพรตทั้งหลายที่อยู่ในสยาม ต้องนบนอบเชื่อฟังบรรดาประมุขมิสซัง

     วันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1671 สมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 10 โดยพระสมณสาส์น Coelestibus ประกาศลงโทษ ห้ามถือทฤษฎีทางเทวศาสตร์ซึ่งคุณพ่อฟราโกโซเป็นผู้สนับสนุนในท่ามกลางพวกโปรตุเกส และยังมีพระสมณสาส์นอีก 2 ฉบับ ลงวันที่ 22 และวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 1673 ยืนยันอำนาจของประมุขมิสซัง

     วันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 1675 พระเจ้าแผ่นดินสยามทรงต้อนรับประมุขมิสซังทั้งสามซึ่งอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาในเวลานั้นอย่างสง่า คือพระสังฆราชฟรังซัวส์ ปัลลือ พระสังฆราชปิแอร์ ลังแบรต์ เดอ ลา ม็ออต์ และพระสังฆราชหลุยส์ ลาโน ซึ่งเพิ่งได้รับแต่งตั้งเป็นประมุขมิสซังสยาม แต่ยังไม่ได้รับอภิเษก ค.ศ. 1676 พระสังฆราชลังแบรต์กลับไปโคชินจีน และตามประวัติศาสตร์คาทอลิกถือว่า การที่ท่านไปอยู่ท่ามกลางคริสตังชาวโคชินจีน ถือเป็นช่วงเวลาที่มิสซังโคชินจีนมีความร่มเย็นที่สุด

     ท่านลังแบรต์กลับมาที่สยามอีก และไม่นานได้ล้มป่วย ท่านมรณภาพที่กรุงศรีอยุธยา วันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1679 ศพของท่านถูกฝังไว้ในวัดนักบุญยอแซฟ อยุธยา ส่วนกรุงโรมซึ่งยังไม่ทราบว่าท่านมรณภาพไปแล้ว ได้แต่งตั้งท่านเป็นผู้ดูแลทั่วไปของมิสซังสยาม มิสซังโคชินจีน และมิสซังตังเกี๋ย ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1680

 

ที่มาของข้อมูล :

ว. ลาร์เก, ชีวประวัติบรรดามิสชันนารีคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส MEP 1662-1967, เล่ม 2 L-W หลักฐาน เล่ม VI, หน้า 143/1-143/4

Catholic.or.th All rights reserved.

Select style: Red Brown