ค้นหาข้อมูล :

                     เทศกาลฉลองพระเยซูดำ ที่ประเทศฟิลิปปินส์ 2009
                   (Black Nazarene Procession Philippine 2009)
                                            
ที่มาโดย คุณณัฐวุฒิ ฉลองขวัญ



งานในวันที่ 9 มกราคม 2552  เทศการร่วมขบวนแห่พระเยซูดำ(Black Nazarene Procession) เป็นเทศกาลที่เก่าแก่และเป็นข่าวโด่งดังทั่วโลกโดยจัดที่สนามกีฬาตรงข้ามสวนสาธารณะ Rizal Park ทุกปี ซึ่งปีนี้เป็นปีที่ 402 แล้ว  เทศกาลหนึ่งสำหรับชาวคาทอลิกซึ่งมีความเชื่อและมีจิตศรัทธาที่ไม่ควรพลาดครั้งหนึ่งในชีวิต คือเทศการร่วมขบวนแห่พระเยซูดำ(Black Nazarene Procession) ค ำว่านาซารีน(Nazarene)น่าจะมาจากนิกายนาซารีน ซึ่งถ้าผมไม่ผิดนิกายนาซารีนก็น่าจะมาจากพระเยซูชาวนาซาแล็ต(Jesus of Nazareth)ซึ่งมาจากทางอเมริกาซึ่งส่วนใหญ่นับถือนิกายโปรแตสแตนท์ รูปแกะสลักพระเยซูดำแบกกางเขนถูกนำเข้ามาในประเทศฟิลิปปินส์ในครั้งแรกโดยคณะนักบวชออกัสตินหรือนักบุญเอากุสติโน (ซึ่งเป็นนักบุญองค์อุปถัมป์ของบิดาผู้เขียนเอง)


คณะนักบวชออกัสตินได้นำรูปแกะสลักพระเยซูดำซึ่งทำด้วยไม้สีดำโดยการขนส่งทางเรือจากประเทศแม็กซิโกและมาถึงประเทศฟิลิปปิ นส์ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ.1606 ตรงกับ พ.ศ.2149 ถ้าเทียบกับประเทศไทยเราก็น่าจะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย  เนื่องจากกรุงศรีอยุธยาสูญเสียเอกราชแก่พม่า 2 ครั้ง ครั้งแรกใน พ.ศ. 2112 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกู้เอกราชคืนมาได้ใน พ.ศ. 2127 และเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2310ต่อจากนั้น 7 เดือนสมเด็จพระเจ้าตากสินได้ทรงกอบกู้กรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 และทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวง

พระเยซูดำได้ย้ายที่ประดิษฐานมาเรื่อยตามยุคสมัยจนสถานที่ปัจจุบันคือที่โบสถ์คาทอลิกชื่อเคียโป(Quiapo Church) ในเมืองเกียโป(Quiapo) ซึ่งเป็นเมืองเก่าของกรุงมะนิลาที่มีสภาพเศรษฐกิจไม่ดีนักและชาวบ้านยังดำรงชีพด้วยการทำหัตกรรมพื้นบ้าน  ทุก ๆ วันค่ำวันศุกร์ชาวคาทอลิกนับพันจะมาจุดเทียนในการสวดภาวนาวิวอนหน้ารูปแกะสลักพระเยซูดำ แต่นั่นยังไม่เท่ากับเทศกาลที่น่าทึ่งและเต็มเปี่ยมไปด้วยพลังศรัทธาของชาวคาทอลิกทั้งฟิลิปปินส์และทั่วโลกหลั่งไหลมาในเทศการแห่พระเยซูดำตามที่ผมได้เรียนรับใช้ท่านผู้อ่า นไปว่า 2 สิ่งเท่านั้นในโลกที่จะทำให้ผู้คนออกมาเดินทางบนท้องถนนอย่างมืดฟ้ามั่วดิน คือ 1. ศาสนา 2.การเมือง มีเพียงประเทศไทยเท่านั้นที่ยังมีอีกสิ่งหนึ่ง  นั่นคือพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่จะสามารถทำให้ประสกนิกรมากมายออกสู่ท้องถนนเพื่อชื่นชมพระบารมีของพระองค์ท่าน

ชาวฟิลิปปินส์ที่นับถือศาสนาคาทอลิกผู้มีจิตศรัทธาหลายพันคนร่วมพิธีมิซาก่อนวันเฉลิมฉลองในขบวนแห่พระรูปพระเยซูดำ(Black Nazarene) ซึ่งมีการฉลองทุกปีในวันที่ 9 ม.ค. ประชาชนล้นหลามไปทั่วเมืองเกียโป(Quiapo)ในกรุงมะนิลาประเทศฟิลิปปินส์ และจะมีพิธีเฝ้าศีลมหาสนิทตลอดคืน(เป็นการสวด)


 
พระรูปพระเยซูดำที่ประดิษฐานภายในโบสถ์เมืองเกียโป ซึ่งเข้ามาและผ่านการเฉลิมฉลองมาเป็นปีที่ 402 ทุกปีจะมีคนมาร่วมพิธีฉลอ งเป็นจำนวนไม่ต่ำกว่าแสนคน เนื่องจากชาวฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่ยังประกอบอาชีพส่วนตัวแบบเล็ก ๆ น้อย ๆ และส่วนใหญ่คนรวยกระจุก คนจนกระจาย ผู้คนมีจิตศรัธทาในศาสนาอย่างเป็นชีวิตจิตใจ


 
โบสถ์เกียโป(Quiapo) อังกฤษสำเนียงภาษาฟิลิปินส์แปลกครับ Quiapo น่าจะอ่าน คุยอาโปแต่กับอ่านเกียโป คือ ตัว Q จะออกเสียงเป็น ก.ไก่ ครับสงสัยจะมาจากสำเนียงสเปน โบสถ์เกียโปเก่าแก่พอ ๆ กับพระเยซูดำครับ



 
ด้านซ้ายมือของโบสถ์เกียโปจะพบรูปปั้นพระหัตถ์ของพระเยซู ซึ่งชาวคริสต์เรียกว่ารอยแผลศักดิ์สิทธิ์แห่งพระเยซูเจ้า (The Sacred Stigmata of Our Lord Jesus Christ) ซึ่งครั้งหนึ่งนักบุญโทมัธ ศิษย์ของพระเยซูได้กล่าวต่อหน้าสาวกของพระเยซูว่า "ข้าจะไม่เชื่อว่าพระเยซูจะพื้นคืนชีพจนกว่าจะได้เอานิ้วแยงรอยแผลที่พระหัตถ์" พระเยซูจึงปรากฎตัวต่อหน้านักบุญโทมัธและยื่นพระหัตถ์ให้นักบุญโทมัธ


 
ใช้สนามฟุตบอลตรงข้ามรีซัลพาร์คเป็นสถานที่ทำมิซาในช่วงเช้า ผู้คนเริ่มทยอยมาบางคนใช้วิธีการกางเต้นท์ตั้งแต่กลางคืนเพื่อจะได้ชื่นชมและได้พื้นที่ ๆ สามารถเห็นและสัมผัสพระเยซูดำ(Black Nazarene) สักครั้งหนึ่งในชีวิต คนออกมามืดฟ้ามัวดิน ใช้เจ้าหน้าที่ตำรวจและอาสาสมัครในการรักษาความปลอดภัยไม่ต่ำกว่า 2,000 คนทุกปี
 
อย่างที่เคยเรียนท่านผู้อ่านว่า การที่จะให้คนเป็นแสนคนออกมาทำกิจกรรมอะไรร่วมกันบางอย่างนั้นหากไม่ใช่กิจกรรมทางศาสนา การเ มือง ก็มีเพียงในหลวงของชาวไทยเท่านั้นที่เป็นศูนย์รวมของคนไทยทั้งชาติ และประชากรเรือนแสนออกมาเพื่อชื่นชมพระบารมี


 
คริสตสานิกชนชาวมะนิลา ต่างสร้างรูปเหมือนพระเยซูดำเข้าร่วมขบวนแห่กันอย่างคึกคักและให้ความสำคัญกับเทศกาลนี้อย่างมาก ทุกค น ทุกชุมชน หมู่บ้านต่างมาด้วยความศรัทธา ผู้คนมากันมากมายจริง ๆ ทำให้เห็นถึงความเชื่อในพระเจ้าของชาวฟิลิปปินส์
 
ชาวบ้านย่านต่าง ๆ ได้ตกแต่งและจัดทำรูปพระเยซูดำของแต่ละเขตมาเพื่อร่วมขบวนแห่พระเยซูดำโดยแบ่งเป็นย่าน ๆ ดูได้จากเสื้อที่จัดทำมาและสกีนด้านหลังถึงถิ่นที่มา ทุกคนจะใส่เสื้อสีเดียวกับเสื้อคลุมของพระเยซูที่ถูกกลุ่มทหารโรมันถอดเพื่อนำพระเยซูไปตรึงกางเขน


 
หน่วยพยาบาลเตรียมพร้อมสำหรับคนที่เป็นลม หรือเพื่อรองรับเหตการณ์ที่จะเป็นอุบัติเหตุต่าง ๆ ซึ่งหากท่านใดได้อ่านข่าวจะพบว่าเทศกาลดังกล่าวมีข่าวเหยียบกันเสียชีวิตทุกปี แต่ผมกลับไม่กลัวเหยียบกันแต่กลัวการก่อการร้ายมากกว่า


 
สื่อมวลชนฟิลิปปินส์และทั่วโลกให้ความสนใจเทศกาลสำคัญนี้อย่างมากสถานีโทรทัศน์แทบทุกช่องของฟิลิปปินส์ สถานีวิทยุรายงานสดไปทั่วประเทศ ตามที่สอบถามเพื่อนชาวฟิลิปปินส์บอกว่าเนื่องจากรองประเทศนาธิบดีเป็นคนรุ่นใหม่จึงนำสื่อมวลชนมาถ่ายทอดสร้างชื่อเสียงให้กับเทศกาล Black Nazarene ไปทั่วโลก


 
เทศกาลนี้เป็นที่สนใจของประชาชนทุกหมู่เหล่า ขนาดมีถ่ายทอดสด รายงานสดจากสถานที่ และถ่ายทอดทางวิทยุ ขนาดนั่ง Taxi ยังเปิดฟังและรู้ความเคลื่อนไหวของขบวนแห่ตลอดว่าถึงไหนแล้ว(ขบวนแห่เดินทางได้ช้ามากเพราะผู้คนเยอะ)

 

พิธีมิซาเริ่มแล้วผู้คนเรือนหมื่นร่วมพิธีมิซา องค์ประธานในพิธีน่าจะเป็นบิชอฟแห่งมะนิลา เทียบเท่าพระสังฆราชอัครสังคมณฑลของบ้านเรา
 

พิธีมิซาเริ่ม เป็นสหบูชามิซาที่มีคนร่วมมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เทียบเท่ากับพระสันตปาปาทำมิซาที่กรุงวาติกัน กรุงโรมเลยก็ว่าได้ พิ ธีมิซามีการรับศีลตามปกติใช้คุณพ่อ(บาทหลวง) ทำมิซาและแจกศีลไม่ต่ำกว่า 20 องค์ ชาวฟิลิปปินส์นี่ศรัทธาจริง ๆ ในรูปขบวนแห่จะเริ่มหลังมิซาเสร็จสิ้น


 
ภายหลังมิซาเสร็จสิ้น ขบวนแห่ก็เริ่มแห่ไปตามจุดต่าง ๆ รอบเมือง ขบวนเดินทางได้ช้ามากเพราะคนเยอะ และแต่ละคนมุ่งเข้าไปให้ถึง พระรูป Black Nazarene เพื่อนำผ้าไปสัมผัสกับพระรูป ต้องมีคณะกรรมการโบสถ์(หากเป็นที่เมืองไทยเรียกสภาวัด) คอยป้องกันไม่ให้คนใดคนหนึ่งห้อยโหนกางเขนนานเกินไป


 
ผู้คนแน่นไปหมดในย่ายริซัลปาร์ก เต็มไปทุกถนนหนทางจนต้องปิดถนนทุกคนมีจิตใจเดียวกันเมื่อมีคนจำนวนมาก ๆ ย่อมต้องมี 2 สิ่ง คื อ นักการเมืองหาเสียง กับ ธุรกิจหากิน ซึ่งก็ไม่เว้นแม้แต่งานแห่พระเยซูดำ ที่เห็นตึกสูง ๆ นั้นคือมินิลาโฮเตลโรงแรมชื่อดังและเก่าแก่ของกรุงมะนิลา
 

ผู้คนจำนวนแสนเริ่มออกมาร่วมขบวนแห่ และพยายามที่จะเบียดเสียดเข้าไปเพื่อให้ได้สัมผัสพระรูปพระเยซูดำ โดยการใช้ผ้าไปสัมผัสพ ระรูปโดยเชื่อกันว่าเป็นสิริมงคล ศรัทธาจริงต้องถอดรองเท้าด้วย ดังนั้นจะเห็นผู้ร่วมขบวนแบบใกล้ชิดจะเป็นหนุ่ม ๆ ส่วนสาว ๆ กับแม่บ้านก็เชียร์อยู่ข้าง ๆทาง

 

ลูกเล็กเด็กแดงก็มาร่วมงาน ชาวคาทอลิกส่วนใหญ่จะปลูกฝังให้เด็กมีความเชื่อทางศาสนาเชื่อในพระเจ้า เรียนคำสอน(หลักศาสนา) หัด ร้องเพลงขับถวายพระเจ้าตั้งแต่เด็ก ๆ ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่พ่อแม่มักจะพาลูกเด็กเล็กแดงไปร่วมเทศกาลสำคัญดังกล่าว มองอีกแง่หนึ่งก็อาจจะอันตรายแต่อย่างว่าการเมืองอย่าง ศาสนาอย่าง เค้าว่าต้องละไว้แบบว่าเข้าเส้นเลือด


 
เป็นเรื่องปกติสำหรับเทศกาลแห่พระเยซูดำที่จะเห็นคนเป็นลม ขนาดหนุ่ม ๆ ยังแย่ เนื่องจากทุกคนมุ่งมันที่จะเข้าสัมผัสพระรูปพระเยซูดำ เมื่อคนเบียดเสียดกันอ๊อกซิเจนก็น้อย โอกาสเป็นลมก็ค่อนข้างสูง จะสังเกตได้ว่าทุกคนถอดรองเท้าเหลือแต่เท้าเปล่าเข้าร่วมงาน ลอยขูดขีดที่เกิดจากเชื่อกที่ใช้ลากพระรูป หรือเล็บมือของคนข้างเคียงเป็นเรื่องปกติ


 
วันรุ่งขึ้นหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ TV รายการวิทยุ ยังคงมีข่าวเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ ในรูปเป็นหนังสือพิมพ์ Manila Bulletin หนังสือพิมพ์เก่าแก่ 108 ปี เป็นหนังสือพิมพ์ชื่อดังของฟิลิปปินส์


 

ขบวนแห่เริ่มตั้งแต่เช้าตรู่และแห่กันข้ามวันข้ามคืน อย่างกับฉลองสงกานต์บ้านเรายังไงยังงั้น หากไม่อยากร่วมขบวนจนเย็นก็ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวให้เที่ยวชมในมะนิลาอีกมากมาก เช่น ริซัล พาร์ค,มะนิลาเบย์,อินทรามูรอส,หรือวังมะพร้าว(ติดตามอ่านได้ใน Group เที่ยวโลกเพื่อพัฒนาไทย) ติดตามเรื่องบทความทางคาทอลิกได้ที่ www.nuttavt.bloggang.com