ค้นหาข้อมูล :

วันพุธที่จะถึงนี้ (25 กุมภาพันธ์) เทศกาลมหาพรตก็จะเริ่มต้นอย่างเป็นทางการ ปีนี้ มหาพรตมาแบบพอดีๆ ไม่รวดเร็วเกินไปแบบปีที่แล้วซึ่งเริ่มวันตรุษจีนและไปสมโภชปาสกากันในวันที่ 23 มีนาคม 2008
 

หลายคนคงอยากรู้ก่อนว่า ปี 2009 สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์และวันอาทิตย์ปาสกาตรงกับวันอะไร และตรงกับช่วงสงกรานต์หรือเปล่า ... คำตอบคืออยู่แถวๆนั้นเลย ปีนี้ วันอาทิตย์ใบลานตรงกับวันที่ 5 เมษายน วันพฤหัสศักดิ์สิทธิ์ตรงกับวันที่ 9 เมษายน วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ตรงกับวันที่ 10 เมษายน วันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ตรงกับวันที่ 11 เมษายน และวันอาทิตย์สมโภชปาสกาตรงกับวันที่ 12 เมษายน (ส่วนวันจันทร์ที่ 13 เมษายน มหาสงกรานต์ ก็ขอเชิญมาแห่แม่พระกันซะดีๆ)
 

พูดถึงมหาพรต สิ่งหนึ่งที่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติของเทศกาลนี้ก็คือ “สารมหาพรตจากพระสันตะปาปา” ปีนี้ พร ะสันตะปาปาเบเนดิกต์ทรงเน้นที่การพลีกรรมอดอาหาร เพื่อทำตามน้ำพระทัยของพระเจ้าและเอาชนะความเห็นแก่ตัว พระองค์ทรงขอให้คริสตังทำความเข้าใจกับการอดอาหารในเทศกาลมหาพรตให้ถูกต้อง เพราะนี่ไม่ใช่แฟชั่นทางโลกที่อดเพื่อให้ร่างกายดูผอมเพรียวหุ่นดี แต่เราอดเพื่อทำตามพระประสงค์ของพระบิดาที่อยากให้เราเอาชนะความเห็นแก่ตัวและดื้อต่อพระองค์ (ธรรมเนียมโบราณ การอดอาหารคือการบำบัดรักษาโรค เพื่อช่วยเหลือคนที่ไม่ยอมทำตามน้ำพระทัยของพระเจ้า)
 
 
นอกจากสารมหาพรต อีกสิ่งที่อยู่คู่เทศกาลมหาพรตก็คือ “วันพุธรับเถ้า” ซึ่งเป็นเครื่องหมายของการเป็นทุกข์ถึงบาปและการกลับใจ ทั้งนี้ เพื่อเตรียมตัวไปเฉลิมฉลองปาสกาซึ่งเป็นสุดยอดวันฉลองในรอบปีของพระศาสนจักร (สุดยอดเพราะนี่คือวันที่พระเยซูทรงเอาชนะความตาย)
 

หลายคนคงอยากรู้ว่า การรับเถ้า เริ่มต้นมาตั้งแต่ตอนไหน ผมลองไปค้นข้อมูลมา ปรากฏว่า มีมาตั้งแต่สมัยพันธสัญญาเดิม แต่ถ้าจ ะถามว่า “คาทอลิกนำการรับเถ้าเข้ามาเป็นพิธีกรรมของพระศาสนจักรตั้งแต่เมื่อไหร่” ข้อมูลที่หาได้บอกว่า ตั้งแต่ศตวรรษที่ 10 ในแถบลุ่มแม่น้ำไรน์ ประเทศเยอรมนี แต่ก็เป็นเพียงกิจศรัทธาส่วนบุคคลเท่านั้น พอในศตวรรษที่ 12 ธรรมเนียมนี้ได้เข้ามาที่กรุงโรม จนศตวรรษที่ 13 จึงถูกบรรจุไว้ในหนังสือพิธีกรรมของพระศาสนจักรตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา (ขอบคุณข้อมูลจาก คุณพ่อทัศไนย์ คมกฤส)

ก่อนจบบทความ ทิ้งท้ายกันด้วยตารางวันพุธรับเถ้าและวันอาทิตย์ปาสกาจนถึงค.ศ.2019 กันหน่อย เผื่อว่าอีก 10 ปีต่อจากนี้ หลาย คนจะได้แบ่งเวลาถูกเพื่อมาร่วมพิธีของพระศาสนจักร (แถมวันตรุษจีนกับเทศกาลสงกรานต์ให้ด้วย เผื่อจะได้ไปดูว่า พุธรับเถ้าตรงกับตรุษจีนหรือไม่)

 ค.ศ.                วันพุธรับเถ้า        อาทิตย์สมโภชปาสกา           วันตรุษจีน                 เทศกาลสงกรานต์

 ค.ศ.2009        25 กุมภาพันธ์            12 เมษายน                                26 มกราคม                   ปาสกามาพร้อมสงกรานต์
 ค.ศ.2010        17 กุมภาพันธ์              4 เมษายน                               14 กุมภาพันธ์                  ปาสกาไม่ตรงสงกรานต์
 ค.ศ.2011          9 มีนาคม                 24 เมษายน                                 3 กุมภาพันธ์                 ปาสกาไม่ตรงสงกรานต์
 ค.ศ.2012        22 กุมภาพันธ์              8 เมษายน                               23 มกราคม                     ปาสกาไม่ตรงสงกรานต์
 ค.ศ.2013        13 กุมภาพันธ์            31 มีนาคม                                10 กุมภาพันธ์                 ปาสกาไม่ตรงสงกรานต์
 ค.ศ.2014          5 มีนาคม               20 เมษายน                                31 มกราคม                     ปาสกาไม่ตรงสงกรานต์
 ค.ศ.2015        18 กุมภาพันธ์              5 เมษายน                                19 กุมภาพันธ์                 ปาสกาไม่ตรงสงกรานต์
 ค.ศ.2016        10 กุมภาพันธ์            27 มีนาคม                                  8 กุมภาพันธ์                  ปาสกาไม่ตรงสงกรานต์
 ค.ศ.2017          1 มีนาคม               16 เมษายน                                28 มกราคม                    ปาสกามาพร้อมสงกรานต์
 ค.ศ.2018        14  กุมภาพันธ์            1 เมษายน                                  16 กุมภาพันธ์                ปาสกาไม่ตรงสงกรานต์
 ค.ศ.2019          6 มีนาคม               21 เมษายน                                  5 กุมภาพันธ์                 ปาสกาไม่ตรงสงกรานต์
 

... ดูจบแล้ว จะได้ข้อสรุปว่า ค.ศ.2013 การแห่แม่พระในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ วัดฟาติมาต้องเพิ่มการรับเถ้าเข้าไปด้วย (เคยเกิดขึ้น มาแล้ว) ส่วนตรุษจีนจะตรงกับวันพุธรับเถ้าอีกหรือไม่ คำตอบก็คือ 10 ปีต่อจากนี้ไม่ตรงกันแน่นอน ส่วน ค.ศ.2018 วันพุธรับเถ้าจะตรงกับวันวาเลนไทน์ (14 ก.พ.) แต่ที่ฮาสุดคือ “วันตรุษจีนปีหน้า (ค.ศ.2010) ตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์หรือวันวาเลนไทน์” นั่นเอง
 
AVE  MARIA