หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

 แปลข่าวสาร โดย  AVE MARIA / เรียงเรียบ โดย...แผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

โป๊ปย้ำในสมณกฤษฏีกา "ต้องสร้างความปรองดองในพระศาสนจักร"  /08 กรกฎาคม 2007

--------------------------------------------------------------------------------
  ช่วงทดลอง - มอนซินญอร์ อิกนาโช่ บาร์เรียโร่ คารัมบูล่า กำลังประกอบมิ สซาลาตินในโบสถ์ ซาน จูเซ็ปเป้ ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี


หลังจากที่ปล่อยให้รอคอยมานาน "สมณกฤษฏีกามิสซาลาติน" ก็ถูกประกาศสู่สาธ ารณชนอย่างเป็นทางการแล้ว โดยงานนี้ "อิล ปาปา" สมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 ประมุขสูงสุดแห่งพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก ทรงอนุญาตให้บาทหลวงสามารถถวายมิสซาตามแบบจารีตดั้งเดิมได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตจากพระสังฆราชคาท อลิกผู้ปกครองท้องถิ่น พร้อมกันนี้ พระองค์ยังกล่าวย้ำในอรรถอธิบายของสมณกฤษฏีกาด้วยว่า หนึ่งในสาเหตุที่อนุญาตให้มีมิสซาลาตินก็เพราะ ต้องการให้เกิดความปรองดองและเป็นหนึ่งเดียวกันในพระศาสนจักรคาทอลิก
 
ในที่สุด การรอคอย "สมณกฤษฏีกามิสซาลาติน" ที่ดำเนินมาอย่างยาวนาน ก็ถึงคราวสิ้นสุดลง เมื่อสันตะสำนักจัดการประกาศสมณกฤษฏีกาดังกล่าว เมื่อเวลา 12.00 น. ของวันที่ 7 กรกฏาคม ค.ศ.2007 (7/7/7) ตามเวลาวาติกัน ซึ่งตรงกับเวลา 17.00 น. ตามเวลาประเทศไทย โดยเนื้อหา 4 หน้าภายในสมณกฤษฏีกานี้ ว่าด้วยการ อนุญาตให้บาทหลวงสามารถถวายมิสซาตามบทประจำมิสซา 1962 รวมทั้ง บาทหลวงทุกองค์ "ต้องเต็มใจยอมรับคำขอจากสัตบุรุษ" ในกรณีที่พวกเขาเ หล่านั้น ต้องการให้พิธีมิสซาเป็นไปตามจารีตดั้งเดิม (บาทหลวงหันหลังให้สัตบุรุษและใช้ภาษาลาตินเป็นสื่อกลางในมิสซา) และถ้าหากบาทหลวงองค์ใด ปฏิเสธคำขอร้องจากสัตบุรุษ (เนื่องจาก บาทหลวงไม่รู้ภาษาลาติน) สัตบุรุษ กลุ่มนั้นมีหน้าที่ต้องแจ้งเรื่องดังกล่าวให้พระสังฆราชคาทอลิกที่ปกครองท้องถิ่นรับทราบ ในกรณีที่พระสังฆราชท้องถิ่น ไม่สามารถประกอบมิสซาภาษาลาตินได้ (เนื่องจาก ไม่รู้ภาษาลาติน) พระสังฆราชองค์นั้น มีหน้าที่ต้องร้อง ขอความช่วยเหลือจาก "สมณกรรมาธิการ เอกเกลซีอา เดอี" (Pontifical Commission Ecclesia Dei) ซึ่งมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบในการจัดหาผู้อภิบาลสำหรับประกอบพิธีมิสซาภาษาลาติน ต่อไป
 
สำหรับสมณกฤษฏีกามิสซาลาติน ที่ออกโดย สมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 จะมีผลบังคับใช้แทนสมณกฤษฏีกามิสซาลาตินฉบับที่ สมเด็จพระสันตะปาปา จอห์น ปอล ที่ 2 เคยประกาศใช้ในวันที่ 2 กรกฏาคม ค.ศ.1988 โดยสมณกฤษฏีกาที่พระสัน ตะบิดรผู้ล่วงลับทรงประกาศนั้น พระองค์อนุญาตให้มีการถวายมิสซาลาติน แต่ต้องได้รับอนุญาตจากพระสังฆราชท้องถิ่น รวมถึงต้องประกอบพิธีตามกฏที่วางไว้อย่างเคร่งครัด แต่ทว่าสำหรับ สมณกฤษฏีกาที่ พระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 ทรงประกาศนี้ ไ ด้ให้สิทธิเสรีกับบาทหลวงทุกองค์ โดยสมณกฤษฏีกามิสซาลาตินฉบับล่าสุด จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการพร้อมกั นทั่วโลกในวันที่ 14 กันยายน ค.ศ.2007 (ตอนนี้ อยู่ในช่วงให้ทุกสังฆมณฑลทั่วโลก เตรียมตัวและเตรียมความพร้อม)
 
ในส่วนของอรรถอธิบายที่แนบมากับสมณกฤษฏีกามิสซาลาติน "อิล ปาปา" สมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 ทรง ยอมรับว่า มีพระสังฆราชคาทอลิกและบาทหลวงหลายคนที่แสดงอาการต่อต้านอย่างสุดขั้วกับการออกสมณกฤษฏีกานี้ พระองค์รู้ว่า พวกเขาเหล่านี้ (คนที่คัดค้าน) ต่างเกรงกลัวว่าสมณกฤษฏีดังกล่าวจะเป็นการท้าทายอำนาจและไ ม่ยอมรับ สังคยานาวาติกัน ครั้งที่ 2 แต่พระสันตะปาปาชาวเยอรมันทรงระบุในอรรถอธิบายว่า ความกลัวจะหมดสิ้นไป ถ้าสามารถทำให้สัตบุรุษตระหนักได้ว่า มิสซาทั้ง 2 รูปแบบนี้ เป็นพิธีที่ถูกต้องตามกฏพระศาสนจักรและยังเป็ นพิธีที่ถือเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก 
 

พระสันตะปาปาชาวเยอรมัน ทรงยอมรับอีกด้วยว่า มีคริสตังหลายคนที่ศรัทธาในจารีตมิสซาลาตินมากกว่ารูปแบบมิสซาหลังสังค ยานา วาติกัน ครั้งที่ 2 (บาทหลวงหันหน้าเข้าหาสัตบุรุษ) พระองค์ทรงคาดหวังว่า การเปิดโอกาสให้มีการถวายมิสซาลาติน จะทำให้สัตบุรุษทุกคนสามารถเข้าถึงมรดกอันมีค่าของพระศาสนจักร แม้ว่า รูปแบบมิสซาจะมี 2 แบบซึ่งมีความแตกต่างกันพอสมควร พระสันตะปาปาเชื่อมั่นว่า แม้พิธีกรรมจะแตกต่างกัน แต่นี่จะเป็นการสร้างความพึงพอใจให้กับคริส ตังทุกฝ่าย อันจะส่งผลให้พระศาสนจักรโรมันคาทอลิกเปิดประตูต้อนรับกลุ่มที่ไม่ยอมรับสังคยานาวาติกัน ครั้งที่ 2 กลับเข้ามาคืนดีและร่วมเป็นหนึ่งเดียวกันอีกครั้ง

Source : http://www.cwnews.com/news/viewstory.cfm?recnum=52234 , http://www.zenit.org/article-20078?l=english , http://www.zenit.org/article-20077?l=english , http://www.catholicnews.com/data/stories/cns/0703892.htm