โดย...ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

Share |

             พระอัครสังฆราชเกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช พระอัครสังฆราชอัครคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เป็นประธานในพิธีบูชาขอบพระคุณโปรดศีลกำลังให้กับนักเรียนในเขต 2 จำนวนกว่า 80 คน เมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม 2014 ร่วมกับคุณพ่อเชษฐดนัย ไชยเผือก โดยมีคุณพ่อสมภพ เรืองวุฒิชนะพืช ผู้ช่วยพิธีกรรม บรรดาพ่อแม่อุปถัมภ์ นักเรียนคาทอลิกในเขต 2 และพี่น้องสัตบุรุษมาร่วมพิธีในวันนี้จำนวนมาก ณ วัดนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ สามเสน โดยก่อนหน้านี้เป็นการเตรียมจิตใจให้กับนักเรียน โดยพบปะกับพระอัครสังฆราชเกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช ณ ห้องประชุมของวัด

             ศีลกำลัง : ข้อมูลแผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

             ศีลกำลังทำให้สิ่งที่ศีลล้างบาปได้เริ่มต้นไว้สำเร็จและสมบูรณ์แบบ หรือถ้าจะใช้ภาษาง่ายๆ ก็คือศีลศักดิ์สิทธิ์ของการเติบโตขึ้นเป็นคริสตชนที่มีวุฒิภาวะ ผู้มีความเชื่อที่ยังเด็กอยู่ก็จะคงเป็นเด็ก ต่อไปและจะไม่มีวันที่จะเป็น "คริสตชนที่โตขึ้น" เช่นเดียวกันเมื่อเราพูดถึงผู้ที่ "โตเป็นผู้ใหญ่" ถ้าหากว่าเขาไม่ได้รับพระคุณของพระจิตในพิธีกรรมนี้ซึ่ง "ยืนยัน" อย่าง เข้มแข็งถึงการดำเนินชีวิตในพระคริสต์เพื่อจะรับศีลกำลัง เยาวชนต้องประกาศความเชื่ออย่างเปิดเผยและด้วยความเต็มใจ ความเชื่อซึ่งเขาได้รับจากครอบครัวของเขา   (และนับตั้งแต่อายุรู้ความก็สามารถรับศีลมหาสนิทเป็น) เพราะเหตุนี้คำพูด ที่ว่า "การประกาศความเชื่อ" จึงเป็นการเหมาะสมที่สุ ด ประเพณีของแต่ละแห่งย่อมแตก ต่างกันไป เช่นในประเทศฝรั่งเศสมีการรับ "ศีลมหาสนิทอย่างสง่า" และคริสตชนอาจรับศีลกำลังได้ก่อนการประกาศความเชื่อ ไม่ว่าจะถือธรรมเนียมปฏิบัติใดก็ตาม ศีลกำลังก็ยังเป็นส่วนที่ขาดเสียไม่ได้ในชีวิตของเรา เหมือน กับเปนเตกอสเตซึ่งเป็นการสรุปธรรมล้ำลึกของปัสกาและเปิดโอกาสให้บรรดาอัครสาวกออกไป เพื่อเป็นพยานยืนยันถึงความเชื่อของพวกท่านได้

             ภาคที่สำคัญที่สุดของพิธีกรรมศีลกำลังก็คือการเจิมน้ำมันคริสมา   น้ำมันศักดิ์สิทธิ์ที่ได้รับการเสกโดยพระสังฆราช    และบรรดาพระสงฆ์ในวันพฤหัสบดี ศักดิ์สิทธิ์ ซึมซาบเข้าไปในหน้าผากของผู้รับเพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าพระจิตซึ่งนับแต่นี้ไปจะต้อ งเป็นพลังนำเขาในทุกอย่างที่เขาจะทำ ในเวลาเดียวกันประธานในพิธี (ซึ่งโดยทั่วไปมักจะเป็นพระสังฆราชพร้อมกับบรรดาสงฆ์หรือท่านอาจมอบอำนาจให้พระสงฆ์องค์ใดองค์หนึ่งก็ได้)กล่าวว่า "......( ชื่อ)จงรับเครื่องหมายของพระจิต" และผู้รับศีลกำลังจะตอบว่า "อาแมน" และบันดลนั้นเองเขาจะเป็นสมาชิกเต็มตัวของประชากรของพระเจ้าเป็น "ประชากร"  (จากคำว่า laosในภาษากรีกซึ่งแปลว่า"ประชากร")

              

             การเจิมยังเป็นสัญลักษณ์ของความแข็งแกร่งที่พระจิตเจ้าประทานมา น้ำมันคริสมาเป็นเหมือนกับน้ำมันที่ใช้น วดกล้ามเนื้อของนักปล้ำให้มันยืดคลายพร้อมที่ จะต่อสู้และลื่นจับได้ยาก

             ศีลล้างบาป ศีลกำลังและศีลบวชประทับ "ตรา" บนวิญญาณ หมายถึงเครื่องหมายฝ่ายจิตที่ไม่อาจลบเลือนได้ซึ่งเปิดทางไปสู่ขั้นตอนต่างๆ  ในการเข้าสู่คริสตศาสนาเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมจึงรับได้เพียงครั้งเดียวซึ่งผิดกับศีลศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ ที่เราสามารถรับหลายครั้งได้

             ศีลศักดิ์สิทธิ์สามประการอันได้แก่ศีลล้างบาป  ศีลกำลังและศีลมหาสนิทรวมกันเป็น "พิธีเข้าเป็นคริสตชน" ในตอนเริ่มแรกของคริสตศาสนา นิยมโปรดศีลทั้งสามนี้พร้อมกันในคราวเดียวกัน (ช่วงเวลาที่นิยมทำกันที่สุด คือวันตื่นเฝ้าก่ อนวันสมโภชปัสกา) ซึ่งแนะนำสมาชิกใหม่ neophyte  ("ต้นอ่อน"ในภาษากรีก)   เข้าสู่ธรรมล้ำลึกของพระเจ้า วิธีการแบบนี้ยังคงปฏิบัติกันในทุกวันนี้เมื่อผู้ใหญ่ได้รับศีลล้างบาป