พระสังฆราช วีระ อาภรณ์รัตน์  รายงาน  ดูเพิ่มเติมได้ที่  http://www.genfest.org

คณะโฟโคลาเรจัดงานชุมนุมเยาวชน  (Genfest = เจนเฟส)  ครั้งที่  10  ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม ถึง  2 กันยายน  ค.ศ. 2012 ณ  นครบูดาเปสต์  ประเทศฮังการี (ครั้งที่ 9  จัดเมื่อปี  ค.ศ. 2000 ที่กรุงโรม)

วันศุกร์ที่  31  สิงหาคม

10.00 น.การรับรองที่รัฐสภา (เฉพาะผู้รับเชิญ)

14.30 - 17.30 น.พิธีเปิดงานที่สนามกีฬา

17.45 น.อาหารเย็น

19.30 - 22.00 น.การแสดงของเยาวชนเพื่อโลกที่เป็นหนึ่ง โดยเยาวชนฮังกาเรียน

การกล่าวต้อนรับจากผู้ใหญ่ฝ่ายศาสนา และบ้านเมือง
ดนตรีจากศิลปินเยาวชน 5 ทวีป

วันเสาร์ที่  1 กันยายน

9.30 - 12.30 น.ภาค 1  รายการ  “ให้เราสร้างสะพาน”  ที่สนามกีฬา

เป็นการเปรียบเทียบการสร้างสะพาน  แต่ละสะพานต้องมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น  เยาวชนที่อุทิศตนเพื่อสร้างภราดรภาพกับเยาวชนจากประเทศต่างๆ แบ่งปันข้อคิด  การเป็นประจักษ์พยานชีวิตถึงวิธีการสร้างสะพานสลับกับการแสดงและเพลง

12.30 - 14.30 น.อาหารเที่ยง  และกิจกรรมสันทนาการ

15.30 - 17.00 น.ภาค  2 ของรายการ  “ให้เราสร้างสะพาน”
มารีอา โวเช่  ประธานคณะโฟโคลาเร ปราศรัยเรื่องภราดรภาพสากล  และเสนอโครงการโลกที่เป็นหนึ่ง และการแบ่งปันกับแอฟริกา

17.30 น.เดินทางจากสนามกีฬาไปยังสะพานลูกโซ่ (Chain Bridge)

22.10 - 22.30 น.Flash  Mob บนสะพานลูกโซ่

วันอาทิตย์ที่  2 กันยายน

10.00-12.00 น.พิธีกรรมของนิกายต่างๆ
บูชามิสซาที่จัตุรัสนักบุญสเตเฟน
การแบ่งปันของเยาวชนต่างศาสนาและลัทธิต่างๆ

12.00 น.ภาวนาเพื่อสันติภาพ ณ  จัตุรัสนักบุญสเตเฟน

12.30 น.อาหารเที่ยงที่จัตุรัสอิสรภาพ
บูดาเปสต์  เป็นนครหลวงของฮังการี มีความงดงานติดอันดับโลก  จนได้สมญานามว่า  ไข่มุกแห่งแม่น้ำดานูบ เพราะทัศนียภาพบนสองฝั่งแม่น้ำดานูบ  หรือที่ชาวฮังกาเรียนเรียก ดูนา เป็นแม่น้ำสายสำคัญผ่านกลางเมือง  มีมหาวิหารนักบุญสเตเฟน  ตั้งอยู่ใจกลางเมือง เป็นอนุสรณ์ถึงนักบุญสเตเฟน กษัตริย์พระองค์แรกของราชอาณาจักรฮังการี สร้างขึ้น  ค.ศ. 1851-1905 ใช้เวลา  54 ปี

ประเทศฮังการี  อยู่ในยุโรปกลาง ไม่มีทางออกทะเล  มีอาณาเขตจรดออสเตรีย  สโลวาเกีย ยูเครน โรมาเนีย เซอร์เปีย  โครเอเชียและสโลวีเนีย ในท้องถิ่นเรียกว่าประเทศของชาวแมกยาร์
 

ให้เราสร้างสะพาน

เคียร่า  ลูบิค ผู้ตั้งคณะโฟโคลาเร ได้ริเริ่มขบวนการเยาวชนคนรุ่นใหม่  (Gen  Movement) 45 ปีมาแล้ว  ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1967 ในช่วงเวลานั้นมีเยาวชนประท้วงเพราะปัญหาการเมืองและสังคม  ขบวนการเยาวชนคนรุ่นใหม่ (New Generation)  เสนอให้เยาวชนรวมพลังปฏิวัติแบบสันติ เพื่อเปลี่ยนหัวใจสร้างสรรค์สังคมให้ดีขึ้น  แตกต่างจากเดิม  ฟื้นฟูโครงสร้าง และนำชีวิตคุณค่าพระวรสารสู่สังคม

ระหว่างวันที่  31  สิงหาคม ถึง  2 กันยายน  2012  คณะโฟโคลาเรจัดงานชุมนุมเยาวชนนานาชาติ  (International Genfest) ครั้งที่ 9 ที่นครบูดาเปส  ประเทศฮังการี  หัวข้องานคือ  ให้เราสร้างสะพาน  (Let’s  Bridge)  หมายความถึง การสร้างความสัมพันธ์ที่แท้จริงต่อกัน

หลายปีที่ผ่านมาสมาชิกคณะโฟโคลาเร พยายามจัดกิจกรรมเสริมสร้างอุดมการณ์ความเป็นหนึ่งเดียวกัน ในบรรดาเยาวชนนิกายและศาสนาต่างๆ  เยาวชนบางคนมาจากประเทศที่มีความขัดแย้ง  เช่น  อิสราเอล  ปาเลสไตน์ อิรัค ฯลฯ  ปัจจุบันพวกเขาพยายามอุทิศตนเพื่อวัฒนธรรมแห่งสันติสุข

ปัจจุบัน สมาชิกเยาวชนราว  18,000 คน กระจายอยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก พวกเขาเป็นผู้นำเยาวชน  เพื่อขบวนการโลกที่รวมกันเป็นหนึ่ง  (United World  Movement) พวกเขาพยายามประสานรอยร้าว  สู่ความเป็นพี่น้องกัน พยายามจัดกิจกรรมที่ส่งผลต่อความคิดเห็นสาธารณะ  และให้คำตอบต่อความไม่เสมอภาคทางสังคมในประเทศของตน  บรรดาเยาวชนที่เคยร่วมงานเมื่อ 30-40 ปีก่อน ปัจจุบันบางคนเป็นนักเขียน  ผู้จัดการธนาคาร  นักพูด  นักธุรกิจ ศิลปิน แต่งงานมีครอบครัว  นักกิจกรรมสังคม พวกเขาพยายามเริ่มโครงการสังคม  ช่วยเหลือครอบครัวยากจน นี่เป็นผลของการปฏิวัติแบบสันติของสตรีชาวอิตาเลียนคนหนึ่ง  ที่อยู่ในยุคสงครามเย็น  เมื่อนักศึกษาในมหาวิทยาลัยหลงใหลแนวคิดของเมาเจอตุง  เยาวชนหลายคนสนใจยาเสพติด  และดนตรีร็อค

ขบวนการนี้ได้ช่วยเยาวชนหลายคนให้ดำเนินชีวิตศักดิ์สิทธิ์  เช่น  บุญราศีเคียร่า  บาดาโน, อัลแบร์โต มิเกลอตติ, คาร์โล  กรีโซเลีย, มารีอา  ออร์โซล่า บูสโซนา  อีกทั้งมีพระสงฆ์  นักบวช  และฆราวาสอุทิศตน  ได้รับอิทธิพลอุดมคติของเคียร่า  ลูบิค  คนเหล่านี้ได้รับความช่วยเหลือให้บรรลุความศักดิ์สิทธิ์ โดยอาศัยชีวิตจิตแห่งความเป็นหนึ่ง ในขณะเดียวกัน  จิตใจตามพระวรสารส่งผลให้เกิดนวตกรรมใหม่  ทางเศรษฐกิจ ตัวอย่างเช่น โปรเจคในประเทศบราซิล ปี 1991 ช่วยสร้างสะพานลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน  โดยอาศัยวัฒนธรรมแห่งความสัมพันธ์และการแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกัน

หัวข้องาน  “ให้เราสร้างสะพาน”  สำหรับงานชุมนุมเยาวชนนานาชาติครั้งนี้  พยายามสนใจความปรารถนายิ่งใหญ่ของเยาวชน  ให้แบ่งปัน  ทำให้บทภาวนาของพระคริสตเจ้า  เพื่อมนุษย์ทุกคนจะได้รวมกันเป็นหนึ่ง (ยน  17:21)  ดูอาจเป็นอุดมคติเพ้อฝัน แต่บรรดาเยาวชนในยุค 30-40  ปีที่ผ่านมา และเยาวชนคนรุ่นใหม่ยุคนี้ได้พิสูจน์ว่า  เป็นไปได้ เป็นจริงได้ในปัจจุบัน  ฝันนี้เป็นจริงได้ โดยทุกคนต้องออกแรง พยายามแม้จะเสี่ยง  ก็เพื่ออนาคตที่ดีของมนุษยชาติ

แปลจาก New  City – ฉบับมีนาคม 2012 หน้า 3.

ประวัติของเจนเฟส

1973 ที่ลอบเปียโน  เมืองฟลอเรนซ์ อิตาลี เยาวชน 8,000 คนจากยุโรป

1975 ที่กรุงโรม  อิตาลี  เยาวชน  20,000 คน

1980 ที่กรุงโรม  อิตาลี  เยาวชน  40,000 คน

1985 ที่กรุงโรม  กำเนิดเยาวชนเพื่อโลกที่เป็นหนึ่ง

1987 เยาวชน  120,000 คน  จาก 40 ประเทศ

1990 ที่กรุงโรม

1993 เยาวชน  130,000 คน

1995กรุงโรม

2000ที่กรุงโรม เป็นส่วนหนึ่งของงานชุมนุมเยาวชนโลก