ภาพ / ข่าว : ภราดากันย์ วงษ์ชีรี   อธิการเจ้าคณะแขวงแห่งประเทศไทย     

Share |

ประมวลภาพฉลองครบรอบ 60 ปี คณะลาซาลของการเข้ามาทำงานในประเทศไทย

          คณะลาซาล ได้จัดให้มีพิธีโมทนาขอบพระคุณในโอกาสฉลองครบรอบ 60 ปี  ของการเข้ามาทำงานในประเทศไทย  ในวันจันทร์ที่  19 ธันวาคม  2554 โดยมีพระอัครสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช เป็นประธานในพิธี เวลา 10.30 น. ณ โรงเรียนลาซาล  กรุงเทพฯ ร่วมกับพระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู พระสังฆราชกิตติคุณ พระสังฆราชลอเรนซ์เทียนชัย สมานจิตร พระสังฆราชยอแซฟ ชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ พระสังฆราชยอแซฟพิบูลย์ วิสิฐนนทชัย พระสังฆราชซีลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี พระสังฆราชยอห์นบอสโก ปัญญา กฤษเจริญ พร้อมด้วยคณะสงฆ์ และนักบวชชายหญิง และพี่น้องสัตบุรุษมาร่วมพิธีฉลองวันนี้จำนวนมาก

โดยในเวลา9.30 น. ต้อนรับแขกผู้มีเกียรติและประธานในพิธี จากนั้นเวลา 10.30 น.เป็นพิธีโมทนาขอบพระคุณในโอกาสฉลองครบรอบ 60 ปี คณะลาซาลของการเข้ามาทำงานในประเทศไทย โดยมีพระอัครสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิชเป็นประธานร่วมกับคณะสังฆราช พระสงฆ์ ท้ายพิธีบูชาขอบพระคุณ 12.30 น. เปิดนิทรรศการ 60 ปี  คณะลาซาลของการเข้ามาทำงานในประเทศไทย   โดยพระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู และเวลา13.00 น. รับประทานอาหารและชมการแสดงของจากนักเรียนและครูจากโรงเรียนในเครือมูลนิธิลาซาล

ข้อมูล / หอจดหมายเหตุอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ //   ประวัติผู้ก่อตั้งคณะ

ประวัติและการทำงานในประเทศไทย

          คณะภราดาลาซาล เข้ามาทำงานด้านการศึกษาในประเทศไทยโดยคำเชิญของพระสังฆ ราช หลุยส์ เวย์ (BISHOP LOUIS VEY) แห่งมิสซังกรุงเทพฯ สมัยนั้น ได้เขียนจดหมายลงวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1898 ถึงภราดาหลุยส์ อิวาค ให้ส่งชาวคณะภราดามาดูแลโรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก ต่อมาคุณพ่อเอมิล กอลมเบต์ เจ้าอาวาสวัดอัสสัมชัญ ได้เขียนจดหมายลงวันที่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1899 ถึงภราดา หลุยส์ อิวาค ให้ส่งภราดามาเริ่มทำการสอน ตั้งแต่ต้น ปี ค.ศ. 1900 แต่ขณะนั้นทางคณะมิอาจสนองตอบคำเรียกร้องได้ เพราะต้องดำเนินงานโรงเรียนเต็มมือ ที่สิงค์โปร์ , มะละกา และไซ่ง่อน (เวียดนาม)

 50 ปี ต่อมา ทางคณะได้ตอบจดหมายตกลงจะมาตามคำเชิญชวนของพระสังฆราชหลุยส์ โชแรง (BISHOP LOUIS CHORIN) และเช้าตรู่วันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1951 ภราดาชาวฝรั่งเศส 5 ท่านแรกจากไซ่ง่อนก็เดินทางมาถึงประเทศไทย พระสังฆราชหลุยส์ โชแรง ไปรับด้วยตนเอง และให้พักอยู่ใกล้บริเวณสำนักพระสังฆราช ถนนสาทรใต้ ภราดาทั้ง 5 ท่านคือ


                     1. ภราดาโยเซฟ แมรตส์ ชาวฝรั่งเศส

                     2. ภราดาโดมิส โรเกเทียน ชาวฝรั่งเศส

                     3. ภราดาคอนสแตนติน มาร์ค

                     4. ภราดาคอลิน เอมิล

                     5. ภราดาเรอร์เนย์

   ภราดาชุดนี้เรียนภาษาไทยอยู่หลายเดือน โดยเฉพาะพระสงฆ์คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส (MEP) ช่วง 3 เดือนแรก ก็พอจะเขียนภาษาไทยได้บ้าง แต่การพูดค่อนข้างจะลำบาก อย่างไรก็ดี อาศัยความพากเพียรมิรู้หน่าย ภราดาทั้ง 5 ท่าน ก็สามารถสอบวิชาภาษาไทยได้สำเร็จมีสิทธิ์สอนเรียนได้

ต่อมาในปี ค.ศ. 1953 กลุ่มพ่อค้าชาวจีนที่นครสวรรค์ ได้เชิญคณะภราดาลาซาลไปเปิดโรงเรียนที่นครสวรรค์ เพราะต้องการเรียนภาษาอังกฤษ เพื่อจะได้ทำธุรกิจค้าขายกับชาวสิงค์โปรและฮ่องกงให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น ภราดากลุ่มนี้ได้เริ่มสอนที่โรงเรียนตงฮั้ว เป็นโรงเรียนจีนแต่ใช้ชื่อโรงเรียนโชติรวี มีนักเรียน 200 คน ครู 4 คน 

                     ปี ค.ศ. 1960 ได้สร้างโรงเรียนโชติรวี บนเนื้อที่ของตนเอง 37 ไร่ โดยซื้อที่ดินจากบริษัทบอร์เนียว ในนามมิสซังคาทอลิก    

                       ปี ค.ศ. 1962 ภราดาลาซาลได้เปิดโรงเรียนแห่งที่สองที่จันทบุรีใช้ชื่อว่า“โรงเรียนลาซาลจันทบุรี (มารดาพิทักษ์)” เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6

                     ปี ค.ศ. 1963 ภราดาลาซาลได้เปิดโรงเรียนแห่งที่สามที่กรุงเทพฯ ใช้ชื่อว่า“โรงเรียนลาซาล"  โดยได้รับบริจาคที่ดินจากคณะเซนต์คาเบรียล

                     ค.ศ. 1975 ภคินีลาซาล 5 ท่าน ได้เข้ามาร่วมงานกับคณะภราดาลาซาลซึ่งเป็นนักบวชที่ถือระเบียบวินัยเดียวกับคณะภราดาลาซาล

                     ค.ศ. 1989 คณะภราดาลาซาล ได้ทำการเปิดบ้านแห่งที่สี่ ที่สามพราน เพื่อใช้เป็นสถานที่ฝึกอบรมชายหนุ่มที่สมัครใจติดตามท่านนักบุญ ยอห์น แบพติสท์ เดอ ลาซาล ในรูปแบบของชีวิตนักบวช คณะภราดาลาซาล เป็นคณะนักบวชที่อุทิศตนเพื่อการศึกษาของเด็กและเยาวชนโดยเฉพาะเด็กยากจน