![]() |
|
|
|
|
|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สหพันธ์อธิการเจ้าคณะนักบวชในประเทศไทย จัดฉลองการถวายพระกุมารในพระวิหารและวันนักบวชสากล สำหรับนักบวชที่ปฏิบัติงานในอัครสังฆณฑลกรุงเทพ ฯ โดย พระอัครสังฆราช ฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย อธิการและอธิการิณี เจ้าคณะ รวมทั้งนักบวชประมาณ 200 คน นักบวชหญิง 13 คณะ และนักบวชชาย 12 คณะ ในวันเสาร์ที่ 28 มกราคม 2012 ณ วัดแม่พระองค์อุปถัมภ์ ถนนกรุงเทพกรีฑา เขตหัวหมาก กรุงเทพมหานคร พิธีในวันนี้ เริ่มต้นด้วยพิธีเสกเทียน ขบวนแห่เข้าวัด พิธีรื้อฟื้นคำปฏิญาณตน และพิธีบูชาขอบพระคุณ บทเทศน์โดย พระอัครสังฆราช ฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช ตอนหนึ่งกล่าวว่า ในการถวายพระกุมารในพระวิหาร เป็นการเผยแสดงองค์ของพระคริสตเจ้า พระองค์ทรงประกาศว่า พระองค์ทรงเป็นแสงสว่างแห่งนานาชาติ พระนางมารีย์และนักบุญโยเซฟถวายพระกุมารแด่พระเจ้า นั่นเปรียบเสมือนและเป็นตัวอย่างของความหมายถึง บิดามารดาย่อมถวายบุตรของตนเองแด่พระเจ้าด้วย นี่คือการเลี้ยงดูลูก ๆ ไม่เฉพาะทางร่างกายเท่านั้น แต่เป็นการเลี้ยงดูบุตรฝ่ายจิต ซึ่งมีความสำคัญเป็นอันดับแรก ดังนั้น พ่อแม่จึงมีหน้าที่เป็นครู คำสอนคนแรกของลูก เมื่อพ่อแม่ตอบคำถามเกี่ยวกับความเชื่อและประสบการณ์ชีวิตในแง่มุมต่าง ๆ พ่อแม่ยังเป็นเหมือนเทียนเล่มเล็ก ๆ ที่ส่องสว่างทางดำเนินชีวิตของลูก เฉกเช่นเดียวกับการถือเทียนเล่มเล็ก ๆ ที่พวกเราถือในวันฉลองการถวายพระกุมารในพระวิหาร และเป็นเทียนที่ได้รับการเสกก่อนเริ่มพิธีกรรมในวันนี้ |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
วันนี้ฉลองวันนักบวชสากล พระคุณเจ้าเริ่มต้นบทเทศน์ด้วยบทบาทของครอบครัว ซึ่งเป็นบ่อเกิดของกระแสเรียกนักบวช พระคุณเจ้าเน้นว่า กระแสเรียกชีวิตนักบวช เริ่มจากชีวิตความเชื่อคริสตชนภายในครอบครัว การปฏิญาณตนหรือการถวายตนของนักบวช เริ่มขึ้นเมื่อเราฟังและอ่านพระวาจาของพระเจ้า การที่เรามีความเชื่อในความรักของพระเจ้าจึงผลักดันให้เราถวายตัวแด่พระองค์ ยกตัวอย่างเช่น พระเยซูเจ้าตรัสกับเศรษฐีหนุ่มว่า ท่านยังขาดสิ่งหนึ่ง จงไปขายทุกสิ่งที่มี มอบเงินให้คนยากจน และท่านจะมีขุมทรัพย์ในสวรรค์ แล้วจงติดตามเรามาเถิด (มก 10: 21) ด้วยพระวาจาของพระเยซูเจ้าตอนนี้ ท่านนักบุญอันตน อธิการ จึงปฏิบัติตาม เมื่อท่านอ่านพระวาจาแล้ว ท่านจึงขายทุกสิ่ง แล้วเดินเข้าทะเลทราย บำเพ็ญจิตภาวนาเพื่อมีชีวิตใกล้ชิสนิทกับพระเจ้า นี่คือที่มาของชีวิตที่ปรารถนาถวายแด่พระเจ้า และปฏิบัติตามพระวาจา ต่อมาจึงเกิดมีอารามนักบวชต่าง ๆ ที่ปรารถนารับใช้พระเจ้า ท่านนักบุญผู้ก่อตั้งคณะนักบวชต่าง ๆ ก็ดำเนินตามแบบอย่างนี้เช่นเดียวกัน คือ ปรารถนารับใช้ผู้อื่น ผ่านทางการให้การศึกษา การรักษาพยาบาล เพื่อปฏิบัติตามพระวาจที่ว่า ท่านจะต้องรักองค์พระผู้เป็นเจ้า และรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง (มธ 22: 37-39) และ พระวาจาอีกตอนหนึ่งว่า ท่านทำสิ่งใดต่อพี่น้องผู้ต่ำต้อยที่สุดของเราคนหนึ่ง ท่านก็ทำสิ่งนั้นต่อเรา (มธ 25: 40) ท่านนักบุญผู้ก่อตั้งคณะนักบวชหลายต่อหลายท่าน ผู้ได้ปฏิบัติตามพระวาจาแบบเดียวกันนี้ เช่น นักบุญหลุยส์ มารีย์ กรีญอง เดอ มงฟอร์ต ผู้ก่อตั้งคณะภราดาเซนต์คาเบรียล นักบุญคามิลโล เดอ เลลิส ผู้ก่อตั้งคณะนักบวชคามิลเลียน นักบุญอังเยลา เมริชี ผู้ก่อตั้งคณะซิสเตอร์อุร์สุลิน และอีกหลายท่าน |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
วันฉลองการถวายพระกุมารในพระวิหารและวันนักบวชสากลนี้ เรายังเตือนตนเองถึงพระประสงค์ของสมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 ซึ่งมีต่อผู้ถวายตน พระองค์ตรัสไว้ในพระสมณสาสน์ถึงนักบวช (Vita Consecrata) ข้อ 110 ว่า พวกท่านผู้ถวายตัวมิเป็นเพียงประวัติศาสตร์ และเล่าถึงประวัติศาสตร์ดังกล่าวเท่านั้น แต่ท่านยังจะเป็นประวัติศาสตร์ที่จะต้องสานต่อและเป็นอนาคต จงมองไปสู่อนาคต ซึ่งพระจิตเจ้าทรงส่งท่านไป คือ สานต่อพระพรพิเศษที่จะทรงกระทำสิ่งยิ่งใหญ่กว่าเดิมร่วมกับท่าน หลังบทเทศน์ มีพิธีรื้อฟื้นคำปฏิญาณตนของนักบวช โดยผู้ฉลอง 60 ปี 50 ปี และ 25 ปี การปฏิญาณตน ทั้งหมด 7 ท่าน จาก 4 คณะนักบวช ได้ทำการรื้อฟื้นคำปฏิญาณตน จากนั้น นักบวชทุกท่านจึงกล่าวรื้อฟื้นคำปฏิญาณตนที่เคยให้ไว้ในคณะของตน |
|
|
|
|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
หลังจากนั้นผู้ร่วมพิธีภาวนาเพื่อกระแสเรียกตามพระประสงค์ของ สมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ที่ 16 ข้าแต่พระบิดาเจ้า ขอพระองค์โปรดประทานกระแสเรียกแห่งการเป็นสงฆ์ให้ทวีมากขึ้น ให้เป็นกระแสเรียกศักดิ์สิทธิ์ท่ามกลางบรรดา คริสตชน เพื่อจะได้ทำให้ความเชื่อดำรงอยู่อย่างมั่นคง และรักษาไว้ซึ่งความสำนึกในพระคุณของพระเยซูเจ้า พระบุตรของพระองค์ โดยอาศัยการประกาศพระวาจา และการโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งจะทำให้บรรดาสัตบุรุษได้รับการฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง ขอพระองค์ประทานศาสนบริกรประจำพระแท่นศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเป็นผู้พิทักษ์รักษาด้วยความเอาใจใส่และกระตือรือร้น ต่อการฉลองพิธีบูชาขอบพระคุณ ซึ่งเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการมอบถวายสูงสุดของพระคริสตเจ้า เพื่อไถ่กู้มนุษยชาติ ขอพระองค์ทรงเรียกให้มีผู้ที่จะเป็นศาสนบริกรแห่งพระเมตตาของพระองค์ เพื่อว่าโดยอาศัยศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการคืนดี ความชื่นชมยินดีแห่งการได้รับการอภัยจากพระองค์ จะได้แผ่กระจายไป ข้าแต่พระบิดาเจ้า ขอโปรดให้พระศาสนจักร น้อมรับการดลใจที่หลากหลายขององค์พระจิตเจ้าด้วยความชื่นชมยินดี เพื่อว่าเมื่อได้อ่อนน้อมต่อคำสอนของพระจิตเจ้าแล้ว จะได้สามารถเอาใจใส่ต่อกระแสเรียกการเป็นสงฆ์แห่งศาสนบริกร และต่อกระแสเรียกของผู้รับเจิมถวายตัว ขอพระองค์ทรงค้ำจุนพระสังฆราช พระสงฆ์ สังฆานุกร ผู้รับเจิมถวายตัว และผู้ที่รับศีลล้างบาปในพระคริสตเจ้าทุกคน เพื่อให้ทุกคนซื่อสัตย์ต่อพันธกิจของตน และรับใช้พระวรสาร ทั้งนี้ ขอพึ่งพระบารมีพระคริสตเจ้า พระเจ้าของข้าพเจ้าทั้งหลาย อาแมน เมื่อพิธีการต่าง ๆ เสร็จสิ้นแล้ว นักบวชและผู้ฝึกหัดทุกท่านที่มาร่วมพิธีรับประทานอาหารว่าง ณ สำนักอธิการเจ้าคณะแขวงซาเลเซียนแห่งประเทศไทย ซึ่งเต็มไปด้วยบรรยากาศของความเป็นพี่น้อง |
|
|
![]() |
![]() |
ครบ 50 ปี ซิสเตอร์ฟรังซิสกา สมศรี กิจพิทักษ์ ครบ 25 ปี เซอร์ชองตาล ตรีว่าอุดม คณะภคินีเมตตาธรรมแห่งออตตาวา (SISTERS OF CHARITY OF OTTAWA) ซิสเตอร์กิเอโกะ ซาโต (SR. KIEKO SATO) คณะภคินีธรรมทูตซาเวเรียน (XAVERIAN MISSIONARY SISTERS) ซิสเตอร์มารีอา อังเจลา เบร์เตลลี (SR. MARIA ANGELA BERTELLI) |
|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
|||
![]() |
|||||