โดย...ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

Share |

ซิสเตอร์สุภาวดี แข็งกิจ
แบ่งปันสิ่งที่ได้รับจากการอบรมSCC

คุณพ่อสมนึก สุทธ
แบ่งปันสิ่งที่ได้รับจากการอบรมSCC

คุณพ่อเอกชัย ชินโคตร
แบ่งปันสิ่งที่ได้รับจากการอบรมSCC

ภาพบรรยากาศบางส่วน...คุณพ่อถิรลักษณ์ วิจิตรวงศ์

          จากที่ได้มีพิธีเปิดการอบรมวิถีชุมชนวัด SCC THEOLOGY COURSE 2011ไปเมื่อ วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม 2011 เวลา 16.30น. โดยพระอัครสังฆราช ฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช พระอัครสังฆราชอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ แล้ว การอบรมครั้งนี้ก็ยังคงมีอย่างต่อเนื่องถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน

          วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2011ทางแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้เข้าไปติดตามการอบรมวิถีชุมชนวัดที่ยังคงอบรมอย่างเข้มข้นทุกวัน ผู้เข้าอบรมจำนวน 29 ท่านก็ยังคงตั้งหน้าตั้งตา ตั้งใจฟังการอบรมวิถีชุมชนวัดอย่างขมักเขม้น โดยการอบรมเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด โดยมีผู้แปลภาษาให้คือคุณพ่อประเสริฐ โลหะวิริยะสิริ และซิสเตอร์กัลยา ตรีโสภา ซึ่งวันนี้ Bishop Sebastianappan Singaroyan จากประเทศอินเดียเป็นวิทยากรให้การอบรมในหัวข้อเรื่อง ชีวิตจิตของคริสตชนในงานBEC ซึ่งวิทยากรท่านเดียวกันนี้ได้อบรมตั้งแต่ต้นสัปดาห์มาแล้วในหัวเรื่อง SCCs AND SACRAMENTS, SCCs &  SHARED MISSION และ NEW SPIRITUALITY และวันนี้ได้มีโอกาสพูดคุยกับซิสเตอร์สุวรรณี พันธุ์วิไล หนึ่งในวิทยากรคนไทยร่วมกับคุณพ่อปิยะชาติ มะกรครรภ์ และคุณพ่อเชษฐา ไชยเดช (Team Introductory and Team Training ) เกี่ยวกับการอบรม ซิสเตอร์พูดถึงการอบรมครั้งนี้เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม และในแต่ละวันจะมีการอบรมด้านเทววิทยาเกี่ยวกับBEC ซึ่งซิสเตอร์มาเป็นวิทยากรด้วยในช่วงแรกและยังมาศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทววิทยาในงานBEC  ที่เป็นเครื่องมือในการประกาศพระวรสาร และชีวิตจิตของBEC

ซิสเตอร์สุวรรณี ได้แบ่งปันสิ่งที่ได้รับให้ฟังว่าBEC เป็นเครื่องมือในการประกาศพระวรสาร BECเป็นผู้ประกาศข่าวดีอยู่แล้วในวิถีในกระบวนการเพราะในกระบวนการนี้มีการพัฒนาชีวิตส่วนตัวและกลุ่ม จากการมีพระวาจาเป็นศูนย์กลาง จะมีการเปลี่ยนแปลงและทำให้เราเป็นพระคริสตเจ้าอีกคนหนึ่ง ถ้าจะเห็นพระคริสตเจ้าก็ดูที่ตัวเราเอง เราต้องเป็นข่าวสารในพระคริสตเจ้า และในกลุ่มก็จะเป็นข่าวสารของพระคริสตเจ้าด้วยเช่นกัน

เราจะประกาศอย่างไร วิธีที่ดีที่สุดก็คือ one to one ตัวต่อตัว ถามว่าทำไม? เพราะมันง่าย การเป็นประจักษ์พยานไม่มีรูปแบบ ไม่ต้องนัดหมาย ถ้าเห็นเราคือเห็นพระคริสตเจ้า เป้าหมายของBEC ก็เพื่อสร้างชุมชนคริสตชนที่มีประสบการณ์ความเชื่อ และแบ่งปันความเชื่อแก่ผู้อื่น รูปแบบการสร้างมีหลายรูปแบบ

การเข้ารับการอบรมครั้งนี้ด้านเทววิทยาเกี่ยวกับBEC ของการเป็นวิถีชุมชนวัด โดยในแต่ละวันก็เริ่มต้นด้วยการแบ่งปันพระวาจาซึ่งในการแบ่งปันพระวาจาก็มีหลายรูปแบบสลับกันไปGroup Respon บ้าง Look Listen Love ไม่ใช่แค่แบบSeven Stepsอย่างเดียว พร้อมทั้งเรียนรู้เกี่ยวกับวิถีชุมชนวัด และยังมีพิธีมิสซา มีการฝึกการปฏิบัติ รวมทั้งเยี่ยมชาวบ้านในงานวิถีชุมชนวัด ซึ่งเดิมจะเยี่ยมที่ชุมชนวัดนักบุญเปโตร แต่ขณะนี้ประสบเหตุการณ์น้ำท่วมจึงไม่สามารถเข้าไปเรียนรู้ได้จึงได้ไปที่วัดเพลงที่สังฆมณฑลราชบุรี เพื่อที่จะฝึกปฏิบัติ สัมผัสชีวิตชาวบ้าน เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น เกี่ยวกับงานสังคมซึ่งมีความสำคัญ

สำหรับชีวิตจิตในหัวข้อที่อบรมนั้นทำให้เรามีความเป็นหนึ่งเดียวของคริสตชนผู้ที่มีประสบการณ์พระ กระบวนการที่สำคัญคือ มีความเป็นพี่เป็นน้อง เมื่อมีความเป็นพี่เป็นน้องแล้วก็จะเกิดการช่วยเหลือกันตามมา

และในวันนี้ก่อนที่จะรับประทานอาหารนั้น Bishop Sebastianappan Singaroyan วิทยากรในวันนี้ได้ให้แบ่งกลุ่มและไตร่ตรองว่ามีอะไรที่ดี แล้วหรือว่าทำดีแล้วหรือว่ามีอะไรที่เกิดขึ้นบ้างแล้ว และอะไรที่ยังไม่เกิดในงานBECวิถีชุมชนวัดของเราโดยมี 12 ข้อหลักที่เป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินการวิถีชุมชนวัด 12 ข้อหลักมีดังนี้

1.Relationship with God  ความสัมพันธ์กับพระเจ้า

2. Relationship with others  ความสัมพันธ์กับผู้อื่น

3.Christ Center  มีพระเจ้าเป็นศูนย์กลาง

4.Insertion into the world การอยู่ท่ามกลางโลก

5.Bring People togather  การนำคนมีส่วนร่วม

6.eing pophetic  การเป็นประกาศก

7.Word of God Centered ให้พระวาจาเป็นศูนย์กลาง

8.Eucharist Center การมีศีลมหาสนิทเป็นศูนย์กลาง

9.Personal Communion การสนิทสัมพันธ์และมีประสบการณ์ส่วนตัวกับพระเจ้า

10.Following christ Diseipleship การเป็นศิษย์ของพระเยซู

11.Concern- Compassion ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับผู้อื่น

12.Building Kingdom  สร้างอาณาจักรพระเจ้าด้วยกัน

และเมื่อไตร่ตรองเรียบร้อยแล้วนั้นซิสเตอร์ได้สรุปหลังจากที่ได้ทำวิถีชุมชนวัดมาประมาณ 2 ปี เราเห็นเรื่องความเป็นหนึ่งเดียวกันกับพระเจ้า และเพื่อนมนุษย์ โดยอาศัยพระวาจาของพระคริสตเจ้าเป็นศูนย์กลางในการดำเนินชีวิต ช่วยให้เราติดตามตระหนักถึงการเป็นศิษย์ของพระคริสตเจ้าและเข้ามามีส่วนร่วมในพระอาณาจักรของพระเจ้า ส่วนข้ออื่นๆเห็นว่ามีความจำเป็นและสำคัญและดำเนินต่อไปโดยอาศัยการเยี่ยมเยียน และปลุกจิตสำนึก การเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต การไปศึกษาดูงานในวัดที่เขากำลังดำเนินการมาแล้วเกิดผล ให้การสนับสนุนกระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น

ผู้เข้ารับการอบรมครั้งนี้นั้นจากสังฆมณฑลกรุงเทพฯ 7 ท่าน จากสังฆมณฑลนครราชสีมา 2 ท่าน จากสังฆมณฑลอุดรธานี 3 ท่าน สังฆมณฑลจันทบุรี 4 ท่าน สังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี3 ท่าน สังฆมณฑลอุบลราชธานี 2 ท่าน จากคณะพระหฤทัยกรุงเทพฯ 3 ท่าน คณะพระมหาไถ่ 1 ท่าน คณะเซนต์คาเบรียล 1 ท่าน จากประเทศมาเลเซีย 2 ท่าน และประเทศอินโดนีเซีย1ท่าน

          การจัดอบรมSCC นี้ เดิมจะมีการส่งพระสงฆ์ในประเทศไทยไปเข้าร่วมอบรมที่ประเทศอินเดีย แต่ในปีนี้เป็นพิเศษ ทางสภาพระสังฆราชได้เห็นถึงความสำคัญของวิถีชุมชนวัดจึงได้จัดการอบรมSCC นี้ที่ประเทศไทย และเพื่อจะได้มีผู้ที่มาร่วมอบรมมากขึ้น อีกทั้งเป็นการประหยัดงบประมาณอีกด้วย จึงได้เชิญทีมงานจากประเทศอินเดียมาเป็นวิทยากรในการอบรมครั้งนี้ ซึ่งการจัดอบรมนี้เป็นเวลา 30 วัน โดยก่อนหน้านี้จะจัดที่มีนบุรี แต่เนื่องด้วยความไม่สะดวกจึงเปลี่ยนมาเป็นที่บ้านผู้หว่าน สามพราน