ภาพ / ข่าว วารุณี สิริสาธิต                     

Share |

          ฝ่ายการศึกษา ฯ อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จัดอบรมอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก  ให้กับ คณะครูโรงเรียนโยนออฟอาร์ค จำนวน  58 คน เมื่อ วันที่ 15 -16 พฤศจิกายน  2554 ที่โรงเรียน โยนออฟอาร์ค ซิสเตอร์อารี มั่นศิลป์  ผู้อำนวยการ และคุณพ่อวินัย ฤทธิบุญไชย  ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดนักบุญ ฟรังซิสเซเวียร์  ให้การต้อนรับคณะวิทยากร เวลา 8.30 น. บาทหลวงเดชา อาภรณ์รัตน์  ผู้อำนวยการฝ่ายการศึกษา  อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯเป็นประธานวจนพิธีการเปิดการอบรม โดยมี คุณพ่อชาญชัย  ทิวไผ่งาม  เจ้าอาวาสวัดพระกุมารเยซู และ ที่ปรึกษาฝ่ายอัตลักษณ์ สภาการศึกษาคาทอลิก และบาทหลวงวัชศิลป์ กฤษเจริญ ผู้อำนวยการสมณองค์กรสนับสนุนงานแพร่ธรรมในประเทศไทย เป็นวิทยากร  เนื้อหาการอบรม  ให้ครูได้ศึกษาสมณสาสน์ ร่วมคิดร่วมทำสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ ปัญหาความท้าทาย  เป้าหมาย  พันธกิจ และหน้าที่ของโรงเรียน,  กระบวนการศึกษาอบรมแบบคาทอลิก, ชุมชนการศึกษา และ อัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก ร่วมกันสร้างแนวปฏิบัติ  ในแต่ละช่วงของการอบรม วิทยากรแบ่งกลุ่มคุณครูตามระดับชั้น คือ ระดับอนุบาล,  ประถมศึกษาปีที่ 1-3 ,ประถมศึกษาปีที่ 4-6, มัธยมศึกษาตอนต้น ,มัธยมศึกษาตอนปลายและฝ่ายบริหารของโรงเรียน จำนวน 6  กลุ่ม แต่ละกลุ่มได้รับหัวข้อในการทำงาน และนำเสนอผลงานต่อที่ประชุมใหญ่

          ในช่วงสุดท้ายผลการดำเนินงานของแต่ละกลุ่มจะทำให้โรงเรียน  มีแผนยุทธศาสตร์  อัตลักษณ์การศึกษาของโรงเรียน โดยมี บาทหลวงวัชศิลป์ กฤษเจริญ เป็นผู้วิพากษ์  หลังการอบรมเสร็จสิ้น  ผู้แทนจากโรงเรียนรับมอบหนังสือการจัดบรรยากาศคาทอลิก ในโรงเรียนเพื่อการแพร่ธรรมจากบาทหลวงวัชศิลป์ กฤษเจริญ ผู้แทนครูกล่าวขอบคุณวิทยากร ซิสเตอร์อารี  มั่นศิลป์  มอบของที่ระลึกแด่วิทยากร และบาทหลวงเดชา  อาภรณ์รัตน์ เป็นประธานวจนพิธีกรรมปิดการอบรม       

          จากการประเมิน คุณครูที่เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ และมีความเข้าใจเรื่องอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิกชัดเจนขึ้น ได้รับความรู้เกี่ยวกับการไถ่กู้ของพระเยซูเจ้าและการประกาศข่าวดีอย่างดีมาก ทำให้เข้าใจลึกซึ้งถึงความเป็นคาทอลิก เข้าใจหลักศาสนา แนวปฏิบัติ ความเชื่อ และการจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม การสร้างบรรยากาศโรงเรียนคาทอลิก การทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ ได้รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน และสามารถนำไปปรับใช้ในการเรียนการสอนได้