ภาพ – ข่าว วารุณี สิริสาธิต           

Share |

ประมวลภาพ อบรมอัตตาลักษณ์การศึกษาคาทอลิกโรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนเซนต์ไมเกิ้ล และโรงเรียนสามัคคีสงเคราะห์

          ฝ่ายการศึกษา ฯ อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ จัดอบรมอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก ให้กับ คณะครูโรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา จำนวน 113 คน โรงเรียนเซนต์ไมเกิ้ล จำนวน 43 คน โรงเรียนสามัคคีสงเคราะห์ จำนวน 21คน เมื่อวันที่ 18 - 19ตุลาคม 2554 ที่โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา เวลา 8.30 น. บาทหลวงวัชศิลป์ กฤษเจริญ ผู้อำนวยการสมณองค์กรสนับสนุนงานแพร่ธรรมในประเทศไทย เป็นประธาน วจนพิธีการเปิดการอบรม โดยมี คุณพ่อชาญชัย ทิวไผ่งาม เจ้าอาวาสวัดพระกุมารเยซู และที่ปรึกษาฝ่ายอัตลักษณ์  สภาการศึกษาคาทอลิก และ บาทหลวงวัชศิลป์ กฤษเจริญ เป็นวิทยากร เนื้อหาการอบรมให้ครูได้ศึกษาสมณสาสน์ ร่วมคิดร่วมทำสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ ปัญหาความท้าทาย  เป้าหมาย  พันธกิจ และหน้าที่ของโรงเรียน, กระบวนการศึกษาอบรมแบบคาทอลิก, ชุมชนการศึกษา และ อัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก ร่วมกันสร้างแนวปฏิบัติ ในแต่ละช่วงของการอบรม วิทยากรแบ่งกลุ่มคุณครูตามระดับชั้น คือ ระดับอนุบาล, ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และฝ่ายบริหารของโรงเรียนอัสสัมชัญ10กลุ่ม โรงเรียนเซนต์ไมเกิ้ล 5 กลุ่ม และโรงเรียนสามัคคีสงเคราะห์ 2 กลุ่ม แต่ละกลุ่มได้รับหัวข้อในการทำงาน และนำเสนอผลงานต่อที่ประชุมใหญ่ ในช่วงสุดท้ายผลการดำเนินงานของแต่ละกลุ่มจะทำให้โรงเรียน มีแผนยุทธศาสตร์ อัตลักษณ์การศึกษาของโรงเรียน โดยมี บาทหลวงวัชศิลป์ กฤษเจริญ เป็นผู้วิพากษ์ หลังการอบรมเสร็จสิ้น ผู้แทนจากแต่ละโรงเรียน รับมอบหนังสือที่การจัดบรรยากาศคาทอลิกในโรงเรียนเพื่อการแพร่ธรรม ผู้แทนครูกล่าวขอบคุณวิทยากร บาทหลวงจินตศักดิ์  ยุชัยสิทธิกุล ผู้ทำการแทนผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนสามัคคีสงเคราะห์ มอบของที่ระลึกแด่วิทยากร และคุณพ่อชาญชัย ทิวไผ่งาม เป็นประธานวจนพิธีกรรมปิดการอบรม     

          จากการประเมิน คุณครูที่เข้ารับการอบรมมีความเข้าใจเรื่องอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิกชัดเจนขึ้น ได้รับความรู้ เกี่ยวกับการประกาศข่าวดี และการไถ่กู้ของพระเยซูเจ้าอย่างดีมาก  ทำให้เข้าใจลึกซึ้งถึงความเป็นคาทอลิก เข้าใจหลักศาสนา แนวปฏิบัติ ความเชื่อ และการจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม การสร้างบรรยากาศโรงเรียนคาทอลิก  การทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ ได้รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ได้แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน และสามารถนำไปปรับใช้ในการเรียนการสอนได้