ภาพ / บ้านผู้หว่าน     ข่าว....ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

Share |

ประมวลภาพวันที่สี่ของการสัมมนาพระสงฆ์ประจำปีครั้งที่28

          วันที่ 14 กรกฎาคม2011 วันนี้เป็นวันที่สี่ของการสัมมนาพระสงฆ์ เริ่มต้นด้วยพิธีมิสซาโดยพระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย พระคุณเจ้าเทศน์ให้ข้อคิดเกี่ยวกับเรื่องของการรับเอาแอกของพระเยซูเจ้าเข้ามาในชีวิตของเราซึ่งท่านก็ให้ข้อสังเกตไว้ว่าแอกไม่ได้หมายถึงการแบกเอาไว้คนเดียวเพราะแอกนั้นเป็นของพระองค์ซึ่งหลายๆครั้งบางทีเราก็อาจจะลืมไปว่าเราแบกแอกซึ่งเป็นภาระของพระคนเดียว ตามลำพังแต่จริงๆแล้วพระองค์ทรงแบกกับเราและเชื้อเชิญเราเข้ามาร่วมงานกับพระองค์ ก็เป็นข้อคิดที่ดีสำหรับพระสงฆ์และทุกๆคนด้วย

          ในช่วงเช้าทีมวิทยากรได้นำเสนอเอกสาร AsIPA A7มุมมองของพระเจ้า เป็นวิธีการกระจกสะท้อนภาพพระคัมภีร์ ซึ่งเป็นGroup response ให้กับที่ประชุมสัมมนาพระสงฆ์ โดยเรียนเชิญพระคุณเจ้าเกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช พระคุณเจ้าจำเนียร สันติสุขนิรันดร์ พระคุณเจ้าวีระ อาภรณ์รัตน์ พระคุณเจ้าบรรจง ไชยรา คุณพ่อประเสริฐ สิทธิ คุณพ่อเอกชัย ชินโคตรและทีมงานวิทยากร เป็นเหมือนกับตัวอย่างคริสตชนกลุ่มย่อยให้พระสงฆ์ได้เห็นถึงขั้นตอนและวิธีการของการประชุมสัมมนาด้วยวิธีการของGroup response ในมุมมองของพระเจ้านี้ ซึ่งมีขั้นตอนและลำดับทั้งหมด 5 ขั้นตอน คือไตร่ตรองพระวาจาของพระเจ้าเป็นอันดับแรก โดยใช้ 3 ขั้นตอนแรกของ Seven Steps มาในลำดับที่หนึ่งนี้ หลังจากนั้นแล้วจะเข้าสู่วิธีการที่สองคือไตร่ตรองพระวาจากันกับเหตุการณ์ กับสถานการณ์ ต่างๆของชีวิต ในความเป็นจริงของสังคม ชุมชน ไม่ว่าจะเป็นวัด โรงเรียน บ้าน หรือว่าที่ทำงานที่เป็นเหตุการณ์จริง สถานการณ์จริงของแต่ละคนเองแต่เราต้องไม่พูดถึงเรื่องส่วนตัว ลำดับที่ 3 เป็นการใช้จินตนาการให้มองตังเองในฐานะที่เป็นพระเจ้าด้วยความคิด ความรู้สึก และท่าทีของการมองต่อปัญหาที่เราได้พูดคุยกัน ถ้าหากเราเป็นพระเจ้าพระองค์จะคิดอย่างไร รู้สึกอย่างไร และจะกระทำอย่างไร หลังจากนั้นแล้วก็เข้าสู่การแบ่งปันความคิดเห็นที่ได้ไตร่ตรองในฐานะที่เราได้จินตนาการตนเองว่าเป็นพระเจ้าในมุมมองของพระเจ้าร่วมกันในปัญหาที่เราได้เลือกหยิบยกออกมาเพียงแค่ปัญหาเดียว และเข้าสู่ขั้นตอนที่ 5 คือวางแผนที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านั้นในแนวทางของพระอาณาจักรของพระเจ้าซึ่งขั้นตอนนี้อาจะใช้เวลานาน อาจจะต้องเอาไปอีกการประชุมหนึ่งหรือการพบปะกันอีกครั้งหนึ่งของคริสตชนกลุ่มย่อย  เพื่อที่จะให้การแก้ไขปัญหานั้นได้ถูกพิจารณาอย่างรอบคอบและอย่างเป็นระบบมากขึ้น

          ในช่วงที่สองของตอนเช้าเป็นการแบ่งปันประสบการณ์การอภิบาลของพระสังฆราชผู้ช่วย ปีเตอร์ อูลิกัง ซึ่งเป็นชาวเกาหลี คุณพ่ออาเธอร์ เพียร่า ซึ่งเป็นทีมวิทยากร คุณพ่อทวีชัย ศรีวรกุล จากท่าแร่ และคุณพ่อเอกชัย ชินโคตร     จากโคราช โดยมีบราเตอร์ทินรัตน์ เป็น ผู้ดำเนินรายการ

          หลังจากนั้นช่วงบ่าย เริ่มประชุมกลุ่มย่อยด้วยการพูดคุยถึงเรื่องราวของการสร้างชุมชนคริสตชนกลุ่มย่อยตามคำบอกเล่าของมัทธิอัสในเอกสารซึ่ง เราได้เห็นถึงประสบการณ์ของการสร้างคริสตชนทีมีขั้นตอนและมีลำดับและมีผลที่ดีที่ทำให้เราสามารถมองเห็นได้ว่าเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนในเอกสารนี้นำเราให้เข้ามาถึงเครื่องหมาย 4 ประการของชุมชนคริสตชนกลุ่มย่อยซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกนำเสนอไว้เพื่อให้เราพิจารณาไตร่ตรองว่าเป็น สิ่งที่จำเป็นที่จะต้องมีนั่นก็คือ ประการแรกเป็นเพื่อนบ้านกัน ซึ่งถ้าหากว่าความรู้สึกของการเป้นเพื่อนบ้านกันไม่เกิดขึ้นจริงๆการเป็นคริสตชนกลุ่มย่อยก็คงจะเป็นไปด้วยความยากลำบากอย่างมาก เพราะฉะนั้นจึงจำ เป็นที่จะต้องมีความรู้สึกถึงการเป็นเพื่อนบ้านที่ดีต่อกันซึ่งมันหมายถึงมิตรภาพ    ความรักความจริงใจและความเป็นน้ำหนึ่งใจเกียวกัน

คุณพ่อถนอมศักดิ์ เลื่อนประไพ
สรุปสัมมนาพระสงฆ์ครั้งที่ 28 วันที่สี่ ช่วงที่ 1

คุณพ่อถนอมศักดิ์ เลื่อนประไพ
สรุปสัมมนาพระสงฆ์ครั้งที่ 28 วันที่สี่ ช่วงที่ 2

เครื่องหมายที่สองหมายถึงเรื่องการแ่บ่งปันพระวาจาในการพบปะของชุมชนคริสตชนกลุ่มย่อยซึ่งเป็นการหล่้อเลี้ยงชีวิตของคริสตชนทั้งส่วนตัวและของชุมชนเองให้มีชีวิตชีวาและอาศัยพระวาจาของพระที่จะต้องแบ่งปันกันอย่างสม่ำเสมอซึ่งปกติก็จะใช้พระวาจาประจำอาทิตย์ถัดไปเพื่อที่จะเป็นการเตรียมชีวิตให้เ้ข้าสู่การเดินในพระวาจาของพระร่วมกันอย่างดี

เครื่องหมายประการที่สามของการเป็นชุมชนคริสตชนอย่างเป็นรูปธรรมนั่นก็คือการทำทุกสิ่งด้วยความเชื่อด้วยความรักต่อพระเป็นเจ้าซึ่งเป็นเหมือนกับภาพสะท้อนของความเป็นจริงของชีวิตแห่งความเชื่อในชีวิตคริสตังที่เราแต่ละคนก็ต้องไตร่ตรองว่า เวลาที่เราทำสิ่งต่างๆเหล่านั้น เพราะเราเชื่อ เรารักพระ เป็นสำคัญด้วยหรือเปล่า

และประการที่4 ของเครื่องหมายนี้ก็คือชุมชนครินตชนกลุ่มย่อยจำ้เป็นต้องมีความสัมพันธ์กับพระศาสนจักรสากลซึ่งหมายถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันความเป็นพี่เป็นน้อง

ที่เรามิอาจปฏิเสธถึงความเป็นหนึ่งเดียวในพระศาสนจักรได้เป็นหนึ่งเดียวในพระวาจาเป็นหนึ่งเดียวในพิธีมิสซาหรือศีลศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเราทุกคนได้รับการหล่อเลี้ยงจากพระวาจาและศีลศักดิ์สิทธิ์นี้ร่วมกัน และเติบโตด้วยกันในความรักของพระ้เป็นเจ้าเพราะฉะนั้นพิธีมิสซา และพระวาจาของพระจึงต้องก้าวเดินไปในชีวิตของเราอย่างสอดคล้องในความเป็นจริงของชีวิตเราเสมอ

          ช่วงที่สองของตอนบ่ายเป็นการฝึกปฏิบัติในกลุ่มย่อยในเรื่องของ Group response ในมุมมองของพระเจ้า ได้เห็นตัวอย่าง และมีประสบการณ์ในช่วงเช้าจากการนำเสนอของทีมวิทยากรแล้ว กลุ่มย่อยต่างๆลงมาฝึก ร่วมกันโดยใช้วิธีการของ   AsIPA A7 มุมมองของพระเจ้า เอามาใช้ในการไตร่ตรองพระวาจาของพระร่วมกับปัญหาเหตุการณ์ต่างๆในชีวิตของชุมชนของวัด ในสถานจริงของชีวิต และหยิบยกปัญหานั้นมาพิจารณาร่วมกันมาองร่วมในในท่าทีของความรู้สึกที่เราจินตนาการเราเป็นเหมือนกับพระเจ้า เป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ว่าพระองค์จะมองปัญหานี้อย่างไรจะคิดและรู้สึก จะบอกอะไรเกี่ยวกับปัญหาเหล่านี้บ้าง จากนั้นเรามองดูว่าเราจะมีแนวทางให้ปัญหานี้ได้รับการแก้ไขหรือว่านำปสู่หนทางแห่งพระอาณาจักรของพระเจ้าได้อย่างไรก็เป็นอันเสร็จสิ้นกิจกรรมในวันนี้