![]() |
![]() |
|
|
|
![]() |
![]() |
กลุ่มงานจิตตาภิบาล ฝ่ายการศึกษา ร่วมกับ ศูนย์คริสตศาสนธรรม ฝ่ายงานอภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ร่วมจัด โครงการ หลักสูตรประกาศนียบัตรครูจิตตาภิบาล อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เพื่อพัฒนาศักยภาพของครู จิตตาภิบาลให้สามารถทำงานอภิบาลและประกาศข่าวดีและเป็นการส่งเสริมครูจิตตาภิบาลให้มีจิตตารมณ์แห่งพระวรสาร การอบรมครั้งที่ 3 หัวข้อ การภาวนา และชีวิตจิตครูจิตตาภิบาล โดยมี คุณพ่อชวลิต กิจเจริญ เป็นวิทยากร เมื่อวันที่ 24-25 มิถุนายน 2554 ณ ศูนย์ฝึกอบรมงานอภิบาล บ้านผู้หว่าน มีโรงเรียนเข้าร่วม 15 โรงเรียน ครูฝ่ายจิตตาภิบาล จำนวน 21 ท่าน |
![]() |
![]() |
|||
![]() |
![]() |
![]() |
||
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
เนื้อหาการอบรม เรื่องการภาวนา คุณพ่อนำเสนอรูปแบบการภาวนาที่ผู้ภาวนาสามารถใช้ร่างกายส่วนต่างๆ ประกอบท่าทาง เพื่อแสดงให้เห็นว่าเวลาที่เราสวดภาวนาด้วยส่วนต่างๆ ของร่างกาย เป็นการนมัสการ วิงวอนขอ โมทนาคุณและขอโทษพระเป็นเจ้า การสวดภาวนาในชีวิตประจำวัน การสวดภาวนาจากข่าวในหนังสือพิมพ์ การสวดภาวนาโดยอาศัยธรรมชาติ และเรื่องชีวิตจิตของครูจิตตาภิบาล เพื่อให้ครูจิตตาภิบาลเข้าใจถึงความสำคัญของชีวิตจิต ในการทำหน้าที่จิตตาภิบาล สร้างสัมพันธ์กับพระเป็นเจ้า โดยอาศัยการปฏิบัติหน้าที่จิตตาภิบาลด้วยความซื่อสัตย์ และเข้าใจว่าการปฏิบัติงานจิตตาภิบาลจะประสบความสำเร็จก็ต่อเมื่อมีชีวิตจิตที่เข้มแข็ง ในแต่ละช่วงของการอบรม คุณครูได้มีฝึกการภาวนา ออกมานำเสนอ แบ่งปัน และร่วมกันแสดงความคิดเห็น หลังการอบรมผู้แทนครูกล่าวขอบคุณวิทยากร และถ่ายภาพร่วมกัน |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
||||||||
จากการประเมินผล ผู้เข้ารับการอบรมได้รับ คือ ได้รับแรงบันดาลใจจากคุณพ่อชวลิต กิจเจริญ คุณพ่อมีความมุ่งมั่นที่จะสอนและถ่ายทอดด้วยความทันสมัยแม้วัยจะล่วงเลยแต่มิได้เป็นอุปสรรค เป็นกำลังใจสำหรับครูจิตตาภิบาล การเป็นครูจิตตาภิบาล เป็นสิ่งที่ยากลำบาก เป็นได้ยาก แต่สวรรค์จะเป็นของเรา เราต้องพัฒนาและปรับเปลี่ยนตัวเอง ทั้งด้านชีวิตจิต และเทคโนโลยี เพื่อทำงานอภิบาล และประกาศข่าวดีของพระเป็นเจ้าอย่างดีและ บังเกิดผล บรรยากาศการอบรมเต็มไปด้วยการแบ่งปัน รอยยิ้ม มิตรภาพ กำลังใจที่มอบให้ให้แก่กันและกัน |
||||||||||
![]() |
![]() |
![]() |
||||||||
![]() |
![]() |
|||||||||
![]() |