เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ.2010 สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ทรงประกาศแต่งตั้งให้พระสมณทูตซัลวาตอเร เปนนักคีโอ เอกอัครสมณทูตรัฐวาติกันประจำประเทศไทย, กัมพูชา, ลาว, เมียนมาร์, มาเลเซีย, สิงคโปร์และบรูไน ไปรับหน้าที่เอกอัครสมณทูตฯประจำประเทศอินเดีย

พระสมณทูตซัลวาตอเร เปนนักคีโอ  Archbishop Salvatore Pennacchio ฯพณฯ เอกอัครสมณทูตวาติกันประจำประเทศไทย  ได้รับแต่งตั้งเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2546

พระสมณทูตองค์ใหม่ เป็นชาวอิตาเลียน อายุ 51 ปี เกิดวันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 1952 ที่มาราโน เขตเนเปิลส์ ประเทศอิตาลี บวชเป็นพระสงฆ์ วันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 1976   หลังจากจบการศึกษาที่สถาบันอบรมทางการทูตของพระศาสนจักรแล้ว ท่านได้ทำงานในสถานทูตวาติกันประจำประเทศต่างๆ และตำแหน่งสุดท้ายก่อนจะย้ายมาประจำที่ประเทศไทย ท่านดำรงตำแหน่งเอกอัครสมณทูตวาติกันประจำประเทศรวันดา

ในขณะที่ท่านปฏิบัติหน้าที่เป็นเอกอัครสมณทูตประจำประเทศไทยอยู่นี้ ท่านยังต้องดำรงตำแหน่งเป็นเอกอัครสมณทูตวาติกันประจำประเทศกัมพูชา สิงคโปร์ และเป็นผู้แทนสมเด็จพระสันตะปาปาในสหภาพเมียนมาร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มาเลเซีย และราชอาณาจักรบรูไน
 
         ท่านเดินทางมาถึงประเทศไทย วันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 2004 และได้ถวายสารตราตั้งแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  วันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 2004
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ ฯพณฯ พระ สมณทูตเข้าเฝ้าฯ ทูตเกล้าฯ ถวายพระราชสาสน์และอักษรสาสน์ตราตั้งเป็นเอกอัครสมณทูตวิสามัญ   ผู้มีอำนาจเต็มแห่งนครวาติกัน ประจำประเทศไทย ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ วันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 2004

สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย ทำพิธีต้อนรับพระอัครสังฆราช ซัลวาตอเร เปนนัคคีโอ เอกอัครสมณทูตประจำประเทศไทยอย่างเป็นทางการ
ในโอกา สเข้ารับหน้าที่ เอกอัครสมณทูตวาติกันประจำประเทศไทย โดย พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ประธานสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย เป็นประธานในพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ ร่วมกับพระสังฆราชยอร์ช ยอด พิมพิสาร รองประธานสภาพระสังฆราชฯ, พระสังฆราช ลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต, พระสังฆราชยออากิม พเยาว์ มณีทรัพย์, พระสังฆราช หลุยส์ จำเนียร สันติสุขนิรันดร์, มงซินญอร์ฟรานเชสโก เกา มินห์ ซุง อุปทูตแห่งเอกอัครสมณทูตวาติกัน พร้อมบรรดาพระสงฆ์ นักบวชชาย-หญิง และสัตบุรุษมาร่วมแสดงความยินดีและให้การต้อนรับจำนวนมาก เมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 2004 ที่วัดเซนต์หลุยส์ สาทร

คำปราศรัยของ ฯพณฯ สมณทูตวาติกันประจำประเทศไทย
 

       พระคาร์ดินัล บรรดาพระสังฆราช พระสงฆ์ นักบวช และฆราวาสในองค์พระคริสตเจ้า
“สันติสุขสถิตกับท่าน”
       ข้าพเจ้ามีความยินดีที่ได้ทักทายพวกท่านที่อยู่ ณ ที่นี้ ด้วยถ้อยคำที่องค์พระคริสตเจ้าทักท ายอัครสาวกของพระองค์ ดังที่เราได้ยินในพระวรสารวันนี้ และข้าพเจ้าขอภาวนาให้สันติสุขของพระองค์ผู้กลับคืนพระชนม์ชีพจงสถิตอยู่ตลอดไปกับทุกท่าน กับครอบครัวของท่าน คณะนักบวชของท่าน วัดของท่าน และสังฆมณฑลของท่าน ในขณะที่ท่านตอบสนองอย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อยต่อคำบัญชาที่ยิ่งใหญ่ขององค์พระคริสตเจ้า กล่าวคือ พระบิดาทรงส่งเรามาฉันใด เราก็ส่งท่านไปฉันนั้น จงรับพระจิตเจ้าเถิด...

         พี่น้องชายหญิงที่รัก
         ในเย็นวันนี้ ท่านและพี่น้องคริสตชนคาทอลิกในประเทศไทย ได้ให้การต้อนรับข้าพเจ้าอย่างเป็นทางการในฐานะเอกอัครสมณทูต ผู้แทนองค์สมเด็จพระสันตะปาปา ข้าพเจ้าขอขอบ คุณอย่างจริงใจสำหรับพิธีต้อนรับครั้งนี้ และข้าพเจ้าขอขอบคุณอย่างยิ่งที่ได้ให้เกียรติข้าพเจ้าด้วยพิธีบูชามิสซาขอบพระคุณที่สง่างามและมีความหมายยิ่ง ข้าพเจ้าขอแสดงความขอบคุณอย่างยิ่งต่อ  พระค าร์ดินัล สำหรับสุนทรพจน์ต้อนรับข้าพเจ้า และสำหรับคุณความดีต่างๆ ของพระคุณเจ้าที่สะท้อนถึงสภาพระสังฆราชและ พระศาสนจักรท้องถิ่น  ที่มีต่อข้าพเจ้านับตั้งแต่ที่ข้าพเจ้าเดินทางมาถึงสนามบินดอนเมืองเมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 2004 ในวันนั้น ข้าพเจ้ารู้สึกประทับใจอย่างยิ่ง เนื่องจากบิดาของ ข้าพเจ้าก็ได้เดินทางมาด้วย และในวันนี้ก็อยู่ที่นี่ด้วย ที่ได้เห็นผู้แทนของสภาพระสังฆราช นักบวช คณะต่างๆ สถานศึกษา สมาคมและกิจการฆราวาสต่างๆ จำนวนมาก ได้ไปให้การต้อนรับ
 
         ข้าพเจ้าขอขอบคุณอย่างจริงใจ ที่ในวันนี้มีพระสังฆราช พระสงฆ์ นักบวช และฆราวาสเป็นจำนวนมากมาให้การต้อนรับข้าพเจ้า และสวดภาวนาสำหรับกิจการงานของข้าพเจ้าที่ได้รับมอบหมายจากสมเด็จพระสันตะปาปา

         การแสดงออกต่อข้าพเจ้าเช่นนี้ เป็นสัญญาณที่ชัดเจนถึงความรักและการปวารณาตนของท่านต่อองค์สมเด็จ
พระสันตะปาปา ผู้ทรงส่งข้าพเจ้ามา อีกทั้งยังช่วยให้ข้าพเจ้ารู้สึกเหมือนอยู่บ้าน ข้าพเจ้าต้องการจะบอกท่านว่า ข้าพเจ้าต้องการอยู่กั บพวกท่าน อยู่ท่ามกลางพวกท่าน และอยู่เพื่อพวกท่าน

         ในโอกาสอันเป็นมงคลนี้ ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติอย่างสูงยิ่ง ที่จะนำความรักและความปรารถนาดี อีกทั้งคำอวยพรขององค์สมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2  มายังทุกๆ ท่าน ตลอดจนทุกคนที่ท่านรัก ในระหว่างการเข้าเฝ้าเป็นการส่วนตัว ก่อนที่ข้าพเจ้าจะเดินทางจากกรุงโรมมายังกรุงเทพมหานครเพื่อมารับตำแหน่งหน้าที่ สมเด็จพระสันตะปาปาได้ตรัสกับข้าพเจ้าด้วยความชื่นชมถึงเ มื่อครั้นที่พระองค์เสด็จเยือนประเทศไทย ว่ายังคงอยู่ในความทรงจำของพระองค์ไม่เสื่อมคลาย  พระองค์ยังระลึกถึงพวกท่านและประกาศไทยในคำภาวนาเสมอ

         พี่น้องชายหญิงที่รัก
         จากการที่ได้อยู่ในดินแดนแห่งรอยยิ้มมาเป็นเวลาพอสมควรแล้ว ทำให้ข้าพเจ้าได้รับรู้มากขึ้นถึงขนบธรรมเนียมที่เปี่ยมคุณค่าของผู้คนที่นี่ ความศรัทธาในศาสนา ความเอื้ออาทร และความมีน้ำใจ ในขณะเดียวกันข้าพเจ้าขอชมเชยอย่างจริงจังใจถึงความมีชีวิ ตของพระศาสนจักรที่นี่ ซึ่งมีความสัตย์ซื่อมั่นคงต่อคำสอนข้อความเชื่อ เปี่ยมด้วยจิตตารมณ์และกระแสเรียก มีพันธกิจที่ร้อนรนและกว้างไกลครอบคลุมความเป็นอยู่ของส่วนต่างๆ ในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ยากไร้ โดยไม่คำนึงถึงศาสนาและชาติพันธุ์ ข้าพเจ้าเชื่อว่าหากปราศจากการเอาใจใส่และความพยายามด้านอภิบาลของบรรดาพระสังฆราช ตลอดจนความเป็นผู้นำและผู้เลี้ยงดูอย่างดีเลิศในฐานะนายชุมพาบาล ผลงานมากมายก็คงจะไม่เกิดขึ้น

ข้าพเจ้าขอให้คำมั่นต่อท่านทั้งหลายว่า ข้าพเจ้าพร้อมที่จะรับใช้พระศาสนจักรท้องถิ่นดังต่อไปนี้
 
ประการที่หนึ่ง รับใช้ในความเป็นหนึ่งเดียวกับสันตะสำนัก เป็นการทำงานอย่างใกล้ชิดกับบรรดาพระสังฆราช สมเด็จ
พระสันตะปาปาทรงมีพระดำรัสแก่บรรดาสมณทูตและผู้แทนสมเด็จพระสันตะปาปาในโอกาสปี “ ปีติมหาการุญ” เมื่อวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 2000 ว่า  “เป็นความจริงที่พวกท่านเป็นผู้แทนของสมเด็จพระสันตะปาปา ต่อรัฐบาลในประเทศและองค์กรขนาดใหญ่ต่างๆ แต่ที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด พวกท่านเป็นพยานถึงภารกิจของสมเด็จพระสันตะปาปา เพื่อความเป็นหนึ่งเดียวในพระศาสนจักรท้องถิ่น ที่พวกท่านจะช่วยดูแลให้มีการติดต่ออย่างสม่ำเสมอกับสันตะสำนัก” (OR ฉบับภาษาอังกฤษรายสัปดาห์ ข้อ 38 หน้า 3 )

ประการที่สอง รับใช้ด้านความร่วมมือกับพระศาสนจักรท้องถิ่น โดยสร้างความสัมพันธ์ในการดำเนินงานที่ใกล้ชิดยิ่งกับสภาพระสังฆราช โดยให้ความช่วยเหลือในทุกสิ่งเท่าที่จะทำได้ ในพระดำรัส ในโอกาสปี “ปีติมหาการุญ” ครั้งนั้น สมเด็จพระสันตะปาปายังตรัสอีกว่า “ในฐานะผู้แทนของผู้สืบตำแหน่งต่อจากนักบุญเปโตร สมณทูตจะต้องมีความใกล้ชิดกับบรรดานายชุมพาบาลของพระศาสนจั กรท้องถิ่น มีส่วนในปัญหาต่างๆ ของพวกเขา ด้วยคำภาวนาเป็นพยาน และรูปแบบอื่นๆ ที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อประชากรของพระเจ้า โดยเคารพต่อความรับผิดชอบของพระสังฆราชแต่ละองค์”

ประการที่สาม รับใช้ด้านพระวรสาร ในพระดำรัส เดียวกันนั้นสมเด็จพระสันตะปาปาทรงชี้ให้เห็นต่อไปว่า “การรับใช้ที่โดยธรรมชาติของมัน จะต้องไม่เป็นลักษณะที่เย็นชาและมีขั้นตอนยุ่งยาก แต่ต้องเป็นลักษณะของการอภิบาลอย่างแท้จริง จักต้องไม่ลืมว่าสมณทู ตก็เป็นนายชุมพาด้วย และต้องอภิบาลด้วยจิตตารมณ์ขององค์พระคริสตเจ้าผู้เป็นนายชุมพาบาลที่ดี อย่างไรก็ตาม ที่สำคัญเหนือสิ่งใด แสงสว่างที่แท้จริงมาสู่พวกท่านจากองค์พระคริสตเจ้าและจากพระวาจาของพระองค์ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือท่านต้องใช้การทูตแบบพระวรสาร”
           การที่ข้าพเจ้ามาปฏิบัติหน้าที่เป็นครั้งแรกในประเทศไทยและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ภารกิจครั้งนี้เ ป็นสิ่งท้าทายต่อข้าพเจ้าอย่างยิ่ง แต่ด้วยความวางใจในการทรงนำของพระตรีเอกภาพ และเชื่อมมั่นในความร่วมประสานกันทรงคุณค่าของสมาชิกในสภาพระสังฆราชและด้วยความร่วมมือจากบรรดาพระสงฆ์ และคณะนักบวชต่างๆ ตลอดจนคำภาวนาอย่างร้อนรนของพี่น้องคริสตชนคาทอลิก ข้าพเจ้ามั่นใจว่า ข้าพเจ้าจะสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มความสามารถในการน้อมรับใช้พระศาสนจักรด้วยใจรัก
 
         โดยอาศัยการคุ้มครองของพระนางมารีย์ มารดาของพระศาสนจักร ข้าพเจ้าขออวยพรท่านทั้งหลายด้วยพระพรขององค์
พระคริสตเจ้าผู้กลับคืนพระชนม์ชีพ ผ่านคำวิงวอนของบุญราศีนิโคลาส บุญเกิด กฤษบำรุง

       ข้าพเจ้าขอจบด้วยคำว่า  “ขอบคุณมาก” อีกครั้งหนึ่ง สำหรับการต้อนรับที่อบอุ่นต่อข้าพเจ้า และของขวัญที่ประเสริฐยิ่งที่มอบให้ข้าพเจ้าด้วย.....สุขสันต์วันปัสกา

ข้อมูลจาก  : จากเว็บไซต์สภาพระสังฆราชคาทอลิกประเทศไทย | หอจดหมายเหตุอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ