หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

ภาพ / ข่าว : นายวิวัฒน์ ไพรเลิศ วัดนักบุญยอแซฟ อยุธยา
เรียบเรียง : แผนกเทคโนโลยีสารเสนเทศ อัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ 

วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม 2009 พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู เป็นประธานในพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ โอกาสสมโภชนักบุญยอแซฟ ภัสดาของพระนางพรหมจารีย์มารีย์ และฉลองชุมชนวัดที่เป็นต้นกำเนิดของกระแสเรียก บ้านเณรแห่งแรก ต้นกำเนิดการแพร่ธรรมในดินแดนสยามประเทศ 

เวลา 10.30 น. พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู เป็นประธานในพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ ร่วมกับคณะสงฆ์จำนวน 39 องค์ ท่ามกลางบรรยากาศชวนศรัทธาของคริสตชนวัดในเขต 6


ก่อนการฉลองวัด คุณพ่อธีระ กิจบำรุง เจ้าอาวาส ได้เชิญคุณพ่อสุรนันท์ กรวยมงคล เตรียมจิตใจสัตบุรุษเป็นเวลา 3 วัน โดยเิริ่มตั้งแต่วันพุธที่ 11 มีนาคม จนถึงวันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2009  มิสซาเวลา 19.30 น. มีพระสงฆ์มาร่วมจำนวน  19 องค์ ตลอดตรีวารนั้น คุณพ่อได้เทศน์เตือนใจสัตบุรุษว่า  “ อยากะย้ำ้เตือนให้สัตบุรุษทุกคนมีความเชื่อ ควา มศรัทธา และต้องหมั่นสวดภาวนา และสำรวจดูในชีวิตว่า เราได้มีการภาวนามากน้อยแค่ไหน  และในโอกาสฉลองชุมชนแห่งความเชื่อที่มีรากฐานมาจากบรรดามิสชันนารี คณะ MEP ที่มาบุกเบิก เริ่มต้น และถ่ายทอดความศรัทธาสู่ลูกวัดนักบุญอยุธยานั้น เราภาคภูมิใจในชุมชนแห่งนี้อย่างไร  และเน้นหนักถึงความสำคัญของการสวดภาวนาในชีวิตประจำวันของเรา”

ในคืนวันที่ 13 มีนาคม ได้จัดให้มีการแห่บุษบก แม่พระไปรอบๆ วัดเพื่อสรรเสริญ โมทนาคุณ พระเป็นเจ้า ผ่านทางแม่พระที่จะนำเสนอสิ่งที่เราวอนขอต่อพระเป็นเจ้าแทนเราทุกคน

เช่นกันทุก ๆ ปี ก่อนจะฉลองวัด  1 วัดทางวัดได้จัดให้มีการเสกสุสาน ปีนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2009 ( 2552 ) มีมิสซาบูชาขอบพระคุณ ระลึกถึงผู้ล่วงลับในสุสาน เวลา 16.30 น. โดยคุณพ่อเอกรัตน์ หอมประุุทุม เป็ นประธานร่วมกับ คุณพ่อศราวุธ อมรดิษฐ์ และพระสงฆ์จำนวน 15 องค์




สำหรับประวัติที่น่าสนใจของวัดนักบุญยอแซฟ อยุธยา

วัดนักบุญยอแซฟ หลักแรกเป็นอาคารไม้ ในปีพ.ศ. 2209 นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนและสามเณราลัยเป็นอาคารสร้างด้วยอิฐ เรียกรวมกันว่า ค่ายนักบุญยอแซฟต่อมา วัดอยุธยาได้เป็นศูนย์กลางของมิสซังต่างๆ ทั่วตะวันออกไกล คุณพ่อหลุยส์ ลาโน ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นพระสังฆราชประมุขมิสซังสยาม จึงได้ก่อสร้างวัดขึ้นใหม่เป็นอาคารอิฐ ทำการเสกในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2228 (ค.ศ. 1685) และให้อยู่ในความอุปถัมภ์ของนักบุญยอแซฟ

สมัยเสียกรุงครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 วัดได้ถูกพม่าเผาทำลาย และได้สร้างขึ้นใหม่ในพ.ศ. 2390 บนซากของวัดเดิม จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้สร้างวัดขึ้นใหม่อีกครั้ง เพื่อระลึกถึงวัดนักบุญยอแซฟหลังเดิมที่ถูกทำลาย การก่อสร้างใช้เวลา 8 ปี เริ่มในปีพ.ศ. 2426 แล้วเสร็จในปีพ.ศ. 2434 นับเป็นวัดหลังที่ 4 นับจากการก่อตั้ง และเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนอย่างถาวร หลังที่ 3 ของวัดนักบุญยอแซฟ

ลักษณะสถาปัตยกรรมของโบสถ์ เป็นแบบโรมาเนสก์รีไววัล (Romanesque Revival) ออกแบบโดยบาทหลว งแปร์โรซ์ ผู้เป็นเจ้าอาวาสในสมัยนั้นและเป็นสถาปนิกด้วย ซึ่งท่านได้ออกแบบร่วมกับนายโจอาคิม แกรซี สถาปนิกอิตาเลียน การก่อสร้างอาศัยแรงงานจากศรัทธาของคริสตศาสนิกชนในจังหวัดอยุธยา

ผังของอาคารเป็นรูปไม้กางเขน กว้าง 23.11 เมตร ยาว 42.74 เมตร เป็นผังแบบสมมาตร วางตามแนวแกนทิศตะวันออกเฉียงเหนือ – ตะวันตกเฉียงใต้ หันหน้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ก่อสร้างด้วยระบบผนังรับน้ำหนัก ลักษณะเด่น คือหอคอยสูง หลังคาเป็นยอดแหลม ซุ้มหน้าต่างโค้งกลม ประดับกระจกสีเป็นเรื่องราวในพระคริสตธรรมใหม่ เหนือแนวกรอบประตูกรุกระจกสีเรื่องประวัติการสร้างโบสถ์ แท่นบูชาอยู่ภายใต้ซุ้มโค้ง เพดานทำลวดลายปูนปั้น นอกจากนี้ยังประดิษฐานรูปปั้นนักบุญยอแซฟและนักบุญอื่นๆในซุ้มโค้ง  ส่วนพื้นของบริเวณศักดิ์สิทธิ์และพระแท่นทำด้วยหินอ่อน พื้นทั่วไปปูกระเบื้องซีเมนต์ เพดานสูง บรรยากาศสง่างามและศักดิ์สิทธิ์สมกับความเป็นวัดคาทอลิกที่ก่อตั้งมาช้านาน

วัดนักบุญยอแซฟ ได้รับการดูแลรักษาและซ่อมแซมเรื่อยมา มีการบูรณะใหญ่ครั้งล่าสุดในปีพ.ศ. 2547 – 2548 ดำเนินการโดยบริษัทมรดกโลก จำกัด การบูรณะที่สำคัญคือการเสริมโครงสร้างที่ผนังด้านหลังพระแท่น เพื่อป้องกันการแตกร้าว โดยความเห็นชอบของพระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู

วัดนักบุญยอแซฟ ได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น ในปี พ.ศ. 2548 ( ขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ มรดกสถาปัตยกรรมในประเทศไทย รางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น )

โอกาสนี้ หากใครที่ได้ผ่านมาแถวอยุธยา ก็อยากจะเชิญชวนให้ทุกท่านได้มาแสวงบุญที่วัดกันนะครับ ทางวัดยินดีต้อนรับทุกท่านครับ