หน้าหลักเช็คเมลล์ติดต่อเราสมุดเยี่ยมลิงค์คาทอลิกแผนผังเวบไซด์

ค้นหาข้อมูล :

 

คุณพ่อประวิทย์ เทศน์ให้ข้อคิด

 

พิธีมิสซาระลึกถึงพระสังฆราชยวง นิตโย

 

ชมพิธีมิสซาปลงศพพระคุณเจ้ายวง นิตโย 2 ตุลาคม 1998 ชุด1   ชุด2

 

ประมวลภาพพิธีมิสซาระลึกถึงพระสังฆราช

 

พิธีมิสซาระลึกถึงพระสังฆราชยวง นิตโย ครบ 9 ปี

โดย...ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม 2008 คุณพ่อประวิทย์ พงษ์วิรัชไชย เป็นประธาน ในพิธีมิสซาระลึกถึงพระอัครสังฆราชยอแซฟ ยวง นิตโย ครบรอบ 10 ปีในการจากไป ร่วมกับคุณพ่อศิริพจน์ สกุลทอง

และคุณพ่อทวีศักดิ์ กิจเจริญเจ้าอาวาสอาสนวิหารอัสสัมชัญ พร้อมด้วยพระสงฆ์อีก 15 องค์ และสัตบุรุษจำนวนหนึ่ง   หลังจากพิธีมิสาซาเสร็จสิ้นแล้วคุณพ่อประวิทย์ ได้ถวายกำยานแด่หลุมศพของพระสังฆราชยวง นิตโย ที่บริเวณ ใต้พระแท่นด้วย

ประวัติพระอัครสังฆราชยอแซฟ ยวง นิตโย

สมเด็จพระสันตะปาปาเปาโล ที่ 6 ได้ทรงสถาปนาพระฐานานุกรมศักดิ์สิทธิ์ ในประเทศไทยเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1965 สำหรับมิสซังกรุงเทพฯ ได้รับการยกฐานะเป็นอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ     และประมุขมิสซังก็ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอัครสังฆราชของอัครสังฆมณฑลด้วย

วันที่ 6 มีนาคม ค.ศ.1966พระคุณเจ้าได้ประกอบพิธีเสกสามเณราลัยนักบุญยอแซฟอย่างสง่า และเปิดเป็นทางการ มีสัตบุรุษกว่า 10,000 คนมาร่วมในพิธีนี้

วันพุธที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1966 เวลา 17.00 น.   ได้มีพิธีสถาปนาพระอัครสังฆราช ยวง นิตโย และอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ อย่างเป็นทางการ  ที่อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก โดยมี ฯพณฯ อันเยโล เปโดรนี พระสมณทูตวาติกันประจำประเทศไทย เป็นประธานในพิธี พระอัครสังฆราชยวงถวายมหาบูชามิสซาร่วมกับพระสังฆราชทุกองค์ในประเทศไทย ท่ามกลางบรรดาพระสงฆ์, ผู้แทนคณะนักบวช, ผู้แทนคณะกิจการคาทอลิก และสัตบุรุษจากวัดต่างๆ ม าร่วมพิธีกันอย่างเนืองแน่น หลังมิสซาพระสมณทูตอ่านสารตราตั้งสถาปนาพระฐานานุกรมในประเทศไทย แล้วเชิญพระอัครสังฆราชยวง นิตโย ขึ้นนั่งบัลลังก์ ต่อจากนั้นบรรดาพระสงฆ์, ผู้แทนคณะนักบวชต่างๆ ,คณะกิจการคาทอลิกและสัตบุรุษ เข้ามาแสดงความคาระต่อท่าน ในพิธีนี้ยังได้มีการมอบรถยนต์ 1 คัน เป็นของขวัญแด่พระอัครสังฆราชยวงด้วยหลังพิธีมีการเลี้ยงฉลองแสดงความยินดีบริเวณอัสสัมชัญ

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1967 กรุงโรมประกาศตั้งสังฆมณฑลนครสวรรค์  โดย แยก 12 จังหวัดออกจากอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ และแต่งตั้งคุณพ่อมีแชล  ลังเยร์เจ้าอาวาสวัดเซนต์หลุยส์ เป็นประมุขสัง ฆมณฑลนครสวรรค์ พระคุณเจ้ายวงได้เป็นผู้อภิเษกคุณพ่อลังเยร์เป็นพระสังฆราช ที่อาสนวิหารอัสสัมชัญ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1967 สร้างสามเณราลัยใหญ่แสงธรรม

ผู้ริเริ่มยุคใหม่

สามเณราลัยใหญ่ที่ปีนังจะยุบเลิกกิจการบ้านเณรใหญ่ ทางสภาพระสังฆราช แห่งประเทศไทยได้ พิจารณาสร้างบ้านเณรใหญ่ในประเทศไทยพระอัครสังฆราชยวง ไ ด้อนุมัติมอบที่ดินแปลงใหญ่ซึ่งตัดมาจากทุ่งนาของวัดนครชัยศรี ริมทางถนนเพชร  เกษม เพื่อสร้างบ้านเณรใหญ่  วิทยาลัยแสงธรรม (อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม)  ได้ทำการปรับพื้นที่ และลงมือก่อสร้างในปี ค.ศ. 1969 สร้างเสร็จและเปิดทำการสอน ในปี ค.ศ. 1972

ในระหว่างปี ค.ศ. 1965-1973 พระคุณเจ้ายวงได้เป็นผู้เปลี่ยนโฉมหน้าโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ โดยการอนุมัติสร้างอาคาร  ใหม่ เพื่อขยายและปรับปรุงกิจการของโรงพยาบาล พระคุณเจ้าได้เป็นผู้เสกและวางศิลาฤกษ์อาคารใหม่หลังแรกเมื่อวันที่10มีนาคม ค.ศ. 1973

ในประวัติพระศาสนจักรไทย
               ถือได้ว่าพระอัครสังฆราชยวงเป็นผู้ริเริ่มยุใหม่ในประวัติพระศาสนจักรไทย แต่ก่อนใครจะสร้าง โบสถ์ตามหมู่บ้านใหม่ๆ หรือที่ทรุดโทรมจำเป็นต้องสร้างใหม่ ตลอดจนโรงเรียน บ้านพักพระสงฆ์ นักบวชผู้แพร่ธรรมก็ไม่มีที่พึ่ง ต้องไปเรี่ยไรตามบ้านสัตบุรุษจากที่ต่างๆ และเสียเวลามากมายในการเดินทางแทน ที่จะทำงานในวัดของตน นับตั้งแต่ปี ค.ศ.1965เป็นต้นมาพระคุณเจ้ายวงมิเพียงแต่อนุมัติในการสร้าง โบสถ์เท่านั้นแต่ยังได้ออกเงินสมทบทุนในการสร้างโบสถ์ตามความสามารถแห่งการ เงินของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯและด้วยเหตุนี้จึงได้มีโบสถ์หลังใหม่ที่สวยงาม

และถาวรเกิดขึ้น  ได้แก่ วัดนักบุญเทเรซา หนองจอก, วัดพระชนนีของพระเป็นเจ้า รังสิต, วัดพระตรีเอกภาพ หนองหิน, วัดนักบุญหลุยส์มารีย์ บาง แค, วัดนักบุญเปโตร สามพราน, วัดอัครเทวดามีคาแอล สะพานใหม่, วัดศีลมหาสนิท ตลิ่งชัน

ลาออกจากตำแหน่งอัครสังฆราช
เนื่องจากสุขภาพไม่สู้ดี    และเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความสามารถตามน้ำพระทัยของพระเป็นเจ้าได้ รับหน้าที่สืบต่อไป พระคุณเจ้าได้ถวายใบลาเกษียณต่อสมเด็จพระสันตะปาปาเปาโล ที่ 6 ในปี ค.ศ. 1973 และพระคุณเจ้าไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ได้รับตำแหน่งประมุขมิสซังสืบแทนตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1973 รวมเวลาแห่งการปกครองดู แลอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เป็นระยะเวลา 10 ปีพอดี    (1963-1973) นับเป็นช่วง เวลาหัวเลี้ยวหัวต่อของความเปลี่ยนแปลง และต้องถือเป็นความโชคดีของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ที่พระเป็นเจ้าทรงพระเมตตาส่งพระคุณเจ้ายวงมาเป็นผู้ปกครองดูแลในสมัยนั้น